Archive

Archive for July, 2009

เตือนเลี่ยงสะพานข้าม 13 แยก แชมป์รถติดสาหัสทั่วกรุงเทพฯ ปิดซ่อม ธ.ค.นี้

31 July 2009 Leave a comment

เตือนเลี่ยงสะพานข้าม 13 แยก แชมป์รถติดสาหัสทั่วกรุงเทพฯ ปิดซ่อม ธ.ค.นี้

แจ้งจุดซ่อมแซมรื้อสร้างใหม่13สะพานข้ามแยก ทั่วกรุงเทพฯ "รัชโยธิน-บางพลัด-พงษ์เพชร-พระราม4-คลองตัน"ปรับปรุงก่อนเริ่มธันวาคม ส่วนแยกวงศ์สว่าง-เกษตร-สามเหลี่ยมดินแดง-ประชานุกูล-ท่าพระคิวต้นปีหน้า วอนคนขับรถเลี่ยงเส้นทาง

พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงแผนทางเลี่ยงและปรับช่วงเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน เช้า-เย็น เนื่องจากจะมีการปรับปรุงพื้นผิวจราจร รวมไปถึงการรื้อสร้างใหม่ในบางแห่งจากจำนวน 13 สะพานข้ามแยกทั่วกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า บช.น.ได้ประชุมวางแผนแก้ไขปัญหาจราจรไปส่วนหนึ่งแล้ว ช่วงแรกตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2552 จำนวน 5 สะพาน ประกอบด้วย

1.สะพานข้ามแยกรัชโยธิน ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. 2552 ใช้เวลา 30 วัน
โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้า และเปิดใช้สะพานฝั่งขาออกให้รถขึ้นสวนกันได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจร ตลอดทั้งวัน
ปรับจังหวะสัญญาณไฟจราจรสี่แยกใต้สะพาน ให้ทุกด้านสามารถตรงไปและเลี้ยวขวาได้
เส้นทางเลี่ยงได้แก่ ถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว

2.สะพานข้ามแยกบางพลัด ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ธ.ค. 2552 ใช้เวลา 90 วัน
โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน
ขาเข้าช่วงเช้า ระหว่าง 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น ระหว่าง 15.00-22.00 น.
ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน
เส้นทางเลี่ยงได้แก่ ถนนบรมราชชนนี

3.สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค. 2552 ใช้เวลา 90 วัน
โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน
ขาเข้าช่วงเช้า ระหว่าง 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น ระหว่าง 15.00-22.00 น.
ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน
เส้นทางเลี่ยงได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรัชดา-วงศ์สว่าง

4.สะพานข้ามแยกพระรามที่ 4 ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ต.ค.-30 ธ.ค. 2552 ใช้เวลา 90 วัน
โดยจะปิดซ่อมสะพานฝั่งขาเข้าก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน
ขาเข้าช่วงเช้า ระหว่าง 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น ระหว่าง 15.00-22.00 น.
ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน
เส้นทางเลี่ยง ได้แก่ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนพระราม 3 ถนนสาทร ถนนจันทน์ ถนนพระราม 1 ถนนสุขุมวิท ถนนวิทยุ ทางด่วนพิเศษ ด่านพระราม 4 ด่านสาธุประดิษฐ์

5.สะพานข้ามแยกคลองตัน ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 2552-30 พ.ค. 2553 ใช้เวลา 180 วัน
ปิดซ่อมสะพานฝั่งขาออกก่อน และจัดเดินรถทางเดียว 2 ช่องจราจรบนสะพานในชั่วโมงเร่งด่วน
ขาเข้าช่วงเช้า ระหว่าง 06.00-10.00 น. และขาออกช่วงเย็น ระหว่าง 15.00-22.00 น.
ปรับจังหวะสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรในแต่ละวัน
เส้นทางเลี่ยง ได้แก่ ถนนพระราม 9 ถนนสุขุมวิท ทางด่วนพิเศษ ด่านพัฒนาการ ด่านพระราม 9

สำหรับช่วงที่สองระหว่างเดือนมกราคม 2553-กรกฎาคม 2553 จำนวน 5 สะพาน ประกอบด้วย

6.สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-30 มี.ค. 2553 ใช้เวลา 90 วัน
7.สะพานข้ามแยกเกษตร ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 เม.ย. 2553 ใช้เวลา 30 วัน
8.สะพานข้ามแยกสามเหลี่ยมดินแดง ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 เม.ย. 2553 ใช้เวลา 30 วัน
9.สะพานข้ามแยกประชานุกูล ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 พ.ค.-30 ก.ค. 2553 ใช้เวลา 90 วัน
10.สะพานข้ามแยกท่าพระ ปิดการจราจรระหว่างวันที่ 1 พ.ค.-30 ก.ค. 2553 ใช้เวลา 90 วัน

ส่วนสะพานอีก 3 แห่งที่เหลือ คือ

11.สะพานข้ามแยกพระราม 9-รามคำแหง
12.สะพานพระราม 9-อสมท
13.สะพานอโศก-เพชรบุรี

ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาดำเนินการ เนื่องจากอยู่ใกล้กับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่กำลังก่อสร้าง และการซ่อมถนนโรคัลโรด กทม.จำเป็นต้องชะลอการปรับปรุงไว้ก่อน

มติชนออนไลน์, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Categories: News and politics

รถไฟฟ้า 12 สาย 3 เฟส 20 ปี 8.3 แสนล้าน 2552 2009

26 July 2009 Leave a comment

มาสเตอร์แปลน รถไฟฟ้า 12 สาย ลงทุน 3 เฟส 20 ปี 8.3 แสนล้าน 2552 2009

ภายในเดือนสิงหาคมนี้ (2552,2009) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) จะเสนอแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ปริมณฑล ให้คณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ "รัฐบาลมาร์ค 1" พิจารณา โดยแผนแม่บทใหม่ล็อกระยะเวลาการพัฒนาไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2572 ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 700 ตารางกิโลเมตร เปลี่ยนแปลง ไปจากแผนเดิม มีทั้งเป็นเส้นทางขีดขึ้นใหม่ ตัดตอนและต่อเติมจากเส้นทางเดิมให้สั้นลงและยืดออกไปชานเมืองมากขึ้น มีโครงข่ายทั้งหมด 12 สาย ระยะทางรวม 487 ก.ม. สถานี 311 สถานี เงินลงทุน 838,250 ล้านบาท

เปิดโพย 12 เส้นทางใหม่

เที่ยวนี้ สนข.การันตีว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้การเมืองผลัดใบ ประกอบด้วย

1.สีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย) 85.3 ก.ม. เงินลงทุน 147,750 ล้านบาท เป็นเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอน และช่วงบางบอน-มหาชัย

2.สีแดงอ่อน (ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก) 58.5 ก.ม. 86,340 ล้านบาท แนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนว ร.ฟ.ท. มีช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และตลิ่งชัน-มักกะสัน

3.สีแดงเลือดหมู (แอร์พอร์ตลิงก์) จากพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ 28.5 ก.ม. 25,920 ล้านบาท

4.สีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-หมอชิต-สมุทรปราการ-บางปู) 66.5 ก.ม. 102,420 ล้านบาท แนวเหนือ-ตะวันออก ตามแนวถนนพหลโยธิน และสุขุมวิท มีช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต-ลำลูกกา ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู

5.สีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) 15.5 ก.ม. 15,130 ล้านบาท แนวตะวันตก-ใต้ ตามแนวถนนพระรามที่ 1 ถนนสาทร มีช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ช่วงถนนตากสิน-บางหว้า และ ช่วงสนามกีฬา-ยศเส

6.สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) 55 ก.ม. 93,100 ล้านบาทเป็นเส้นทางสายวงแหวนและแนวถนนเพชรเกษม มีช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค และช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

7.สีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ และแคราย-ปากเกร็ด) 49.8 ก.ม. 135,880 ล้านบาท เส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ มีช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และแคราย-ปากเกร็ด

8.สีส้ม (บางบำหรุ-มีนบุรี) 32 ก.ม. 117,600 ล้านบาท เส้นทางหลักแนว ตะวันออก-ตะวันตก มีช่วงบางบำหรุ- ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ และบางกะปิ-มีนบุรี

9.สีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี) 29.9 ก.ม. 31,240 ล้านบาท รองรับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และการเติบโตทางด้านเหนือ เริ่มจากปากเกร็ด-วงเวียนหลักสี่-วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี

10.สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 ก.ม. 38,120 ล้านบาท รองรับพื้นที่ย่านลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และทางด้านตะวันออกของ กทม. เริ่มจากลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง

11.สีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) 26 ก.ม. 31,870 ล้านบาท รองรับพื้นที่ย่านสาธุประดิษฐ์และการโตทางด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือของ กทม. เริ่มจากวัชรพล-ลาดพร้าว ช่วงลาดพร้าว- พระราม 4 และพระราม 4-สะพานพระราม 9 12.สีดำ (ดินแดง-สาทร) 9.5 ก.ม. 12,880 ล้านบาท รองรับย่านดินแดง ย่านมักกะสัน เริ่มจากช่วง กทม.2-ดินแดง-ศูนย์มักกะสัน-สาทร

แบ่งการลงทุนเป็น 3 เฟส

ด้านการก่อสร้าง สนข.แบ่งเป็น 3 ระยะ นับตามปีเปิดบริการ คือ

ระยะ 5 ปีแรก (2553-2557) เปิดบริการปี 2557 มี 5 สาย คือ

สีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์) 36.3 ก.ม. สร้างต้นปี 2553
สีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่) 11.4 ก.ม. และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2554
สีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 23 ก.ม. สร้างต้นปี 2553
สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 ก.ม. สร้างกลางปี 2553

ระยะ 10 ปี (2553-2562) เปิดบริการปี 2562 มี

สีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอน) 29 ก.ม.
สีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน) 9 ก.ม. และช่วงมักกะสัน-หัวหมาก 10 ก.ม. สร้างต้นปี 2555
ช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน 10.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2558 ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14 ก.ม. สร้างต้นปี 2557
สีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-คูคต) 7 ก.ม. สร้างต้นปี 2554
สีเขียวอ่อน (สนามกีฬา- ยศเส) 1 ก.ม. สร้างต้นปี 2556
สีม่วง (บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) 19.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2557
สีส้ม (บางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรม) 12 ก.ม. สร้างต้นปี 2557 ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ 9 ก.ม. และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี สร้างต้นปี 2555
สีชมพู (ปากเกร็ด-หลักสี่) 12 ก.ม. และช่วงวงเวียนหลักสี่-วงแหวนรอบนอก 10.4 ก.ม. สร้างต้นปี 2555
และช่วงวงแหวนรอบนอก-มีนบุรี 7.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2558

ระยะ 10 ปีหลัง (2562-2572) เปิดบริการปี 2572 มี

สีแดงเข้ม (บางบอน-มหาชัย) 18 ก.ม. สร้างต้นปี 2559
สีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) 8 ก.ม. สร้างต้นปี 2561
สีม่วง (แคราย-ปากเกร็ด) 7 ก.ม. สร้างกลางปี 2560
สีเหลือง (ลาดพร้าว-พัฒนาการ) 12.6 ก.ม. สร้างต้นปี 2563 ช่วงพัฒนาการ-สำโรง 17.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2565
สีเทา (วัชรพล-ลาดพร้าว) 8 ก.ม. สร้างต้นปี 2568
ช่วงลาดพร้าว-พระราม 4 รวม 12 ก.ม. และพระราม 4-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 6 ก.ม. สร้าง ต้นปี 2566
สีดำ (ดินแดง-มักกะสัน-สาทร) 9.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2563
สีเขียวเข้ม (คูคต-ลำลูกกา) 6.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2567 และช่วงสมุทรปราการ-บางปู 7 ก.ม. สร้างต้นปี 2569

ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4126  ประชาชาติธุรกิจ

Categories: News and politics