Archive

Archive for September, 2008

สนทนาพิเศษกับ “ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์”

29 September 2008 1 comment

สนทนาพิเศษกับ “ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์”

ไปเจอบทสัมภาษณ์นี้ในประชาชาติธุรกิจมา
คิดว่าหลายๆเรื่องที่เกิดในสังคมไทยระยะหลัง เป็นอะไรที่ไม่ได้ถูกต้องตามหลักการอะไรนัก
แต่ก็ขี้เกียจเกินกว่าจะมานั่งเขียนคำอธิบายสวยๆ
โชคดีที่บทความนี้ ตอบโจทย์บางอย่างได้
คุ้มค่าแก่เวลาที่เสียไปในการอ่าน


ชำแหละการเมืองใหม่ สิ่งตกค้างจากปี 2475 “ผมว่า (มัน) ไร้สาระมากเกินไป”

ชั่วโมงนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองใหม่ฉบับ 5 แกนนำพันธมิตรฯอย่างกว้างขวาง แน่นอน…ข้อวิพากษ์การเมืองใหม่มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

นักวิชาการศิษย์เก่า สนช.ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ประสานเสียงการเมืองใหม่อย่างรู้งาน

ส่วนผู้ที่ยึดหลักการประชาธิปไตย (จริงๆ) หลายๆ คนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยและในศาลยุติธรรมและศาลปกครองบ่นว่า ข้อเสนอของฝูงชนหน้าทำเนียบรัฐบาล “โคตรมั่ว”

ล่าสุด “ประชาชาติธุรกิจ” สนทนาพิเศษกับ “ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์” หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน บนชั้น 4 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่การเมืองไร้ทางออก ขัดแย้งแบ่งขั้ว ขนาดที่หน้าห้องอาจารย์สอนกฎหมายคนหนึ่งติดโลโก้ “กู้ชาติ”

ด็อกเตอร์ทางกฎหมายจากเยอรมนี หอบตำรากฎหมายและคำพิพากษาคดีสำคัญมากองไว้ตรงหน้าแล้วพูดว่า “ผมพร้อมแล้ว”นักข่าวประชาชาติฯจึงกดเทปโดยพลัน

นี่คือบทวิพากษ์ที่ดุเด็ดเผ็ดร้อนอีกครั้ง…หลังจากอาจารย์วรเจตน์ปิดปากไม่พูดเรื่องการเมืองมา 3-4 เดือน

วันนี้เขาพร้อมที่จะเปิดศึกทางความคิดแล้ว

– ถึงชั่วโมงนี้อาจารย์มองเห็นทางออกความขัดแย้งในสังคมไทยหรือยัง

ผมยังมองไม่เห็นทางออก (ครับ) เพราะตอนนี้สังคมไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และผมเข้าใจว่าตอนนี้กลุ่มคู่ขัดแย้งกันทางการเมืองถือเหตุผลคนละชุด หลักการคนละเรื่อง ต่างฝ่ายต่างก็อ้างอิงว่าหลักการฝ่ายตัวเองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็เลยอาจจะยาก แล้วผมก็ไม่คิดว่าจะมีการสมานฉันท์เกิดขึ้นได้

จริงๆ เรื่องสมานฉันท์อาจไม่ใช่สิ่งถูกเท่าไร เพราะว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้วในระบอบประชาธิปไตย แต่ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเราเป็นความขัดแย้งระดับรากฐาน ในทางความคิดเลยทีเดียว เมื่อฐานความคิดมองกันคนละมุม ให้น้ำหนักกับปัญหาคนละอย่าง มันจึงไม่มีทางที่จะทำให้ลงตัวได้หรือเกิดการสู้กันอย่างสมดุลในระบบได้

– การเปิดประตูไปสู่การปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ผมคิดว่าในบรรยากาศอย่างนี้ก็เป็นไปไม่ได้ ฝ่ายซึ่งไม่ได้อำนาจรัฐยื่นข้อเสนอที่ค่อนข้างแข็งและตึงมาก เป็นข้อเสนอที่การเปลี่ยนระบอบการปกครอง ข้อเสนอ 70 : 30 เป็นข้อเสนอที่ตึงมาก ก็จะหาจุดไม่ได้ เพราะอีกทางหนึ่งก็จะไม่ยอมถอย เป็นผม ผมก็ไม่ถอย นี่พูดตรงๆ (นะ) เพราะมันไปไกลจากระบบ

– นักวิชาการบางคนเห็นว่า ระบบเลือกตั้งในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาและวิกฤต

ผมไม่แน่ใจสมมติฐานของบ้านเรา คือ…ถ้ามองในเชิงพัฒนาการทางประชาธิปไตยบ้านเรา ผมคิดว่าเรายังมีปัญหาในทางหลักการอยู่สูงมาก จริงๆ ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ได้คิดประเด็นนี้อย่างจริงจัง จนกระทั่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาผมนั่งคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้นว่า สมมติฐานของบ้านเราหรือความเข้าใจของเราที่ว่า ปัญหาในทางประชาธิปไตยของเราอยู่ที่นักการเมืองเป็นหลักมันจริงหรือเปล่า… นี่คือประเด็น

เพราะส่วนใหญ่เวลาเราคิดถึงปัญหาในทางประชาธิปไตย เรามักจะโฟกัสไปที่นักการเมืองเป็นสำคัญ เมื่อปัญหาอย่างนี้เราก็พยายามไปแก้ที่ตัวนักการเมือง พยายามสร้างระบบขึ้นมาใหม่ สร้างองค์กรอิสระขึ้นมาโดยเอาคนที่เป็นข้าราชการระดับสูงเข้าไป

อยู่ในองค์กรเหล่านั้น แล้วก็กลายเป็นการสร้างอำนาจขึ้นมาใหม่เพื่อพยายามมาคานนักการเมือง คือไปเพิ่มอำนาจอีกทางหนึ่ง แล้วมันเพิ่มเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กระทั่งอำนาจอย่างนี้กลายเป็นอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้อีกแล้ว เป็นอำนาจซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะดีกว่าอำนาจของนักการเมืองหรือเปล่า

ฉะนั้น เวลาเราพูดถึงการเมืองวันนี้ เราเคยพูดถึงเรื่องการปฏิรูปการเมือง เรื่องการมี “statesman” (รัฐบุรุษ) ผมคิดว่า มันเป็นไปไม่ได้ เป็นสิ่งที่เราเพ้อฝันมาก เกินไปแล้วผมไม่คิดเรามองปัญหาการเมืองครบกันทุกด้าน เพราะมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่มคนทุกกลุ่ม

ถ้าเรามองว่าการเมืองเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มคนทุกกลุ่ม นักการเมืองก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ง อาจจะใหญ่หน่อย อาจจะมีปัญหาหน่อย แต่ว่าเราเคยวิเคราะห์กันจริงๆ มั้ยถึงรากของสังคมไทยเราว่าที่เป็นอย่างนี้เป็นเพราะอะไรกันแน่ เป็นเพราะนักการเมืองอย่างเดียวหรือเปล่า

ความไม่มั่นคงทางการเมือง เป็นเพราะนักการเมืองอย่างเดียวหรือเปล่า หรือมีปัจจัยอื่นๆ อีก ซึ่งเราไม่ได้พูดกันอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การออกแบบทางการเมืองเราเป็นปัญหาตลอดเวลาเราหนีจากนักการเมืองไปหาองค์กรอิสระ บัดนี้เราเกิดปัญหาใหม่ในองค์กรอิสระ เราเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายข้าราชการประจำ เพิ่มอำนาจให้กับตุลาการ บัดนี้เริ่มเกิดปัญหาบางอย่างแล้วในวงการตุลาการ

ซึ่งผมคิดว่า แน่นอน…เรื่องของนักการเมืองที่ชี้กันให้เห็นมาตลอด เราปฏิเสธการมีอยู่จริงของปัญหานี้ไม่ได้ แต่ปัญหาอย่างนี้ผมยังเชื่อว่าสามารถที่จะแก้ไขไปได้โดยระบบ แน่นอน…การวางกลไกเป็นสิ่งซึ่งจะต้องทำ แต่ถ้าเราคิดว่าปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่นักการเมือง แล้วทุ่มทุกอย่างไปจัดการกับนักการเมือง แล้วก็สร้างหลักการแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา ทำผิดคนเดียว ยุบทั้งพรรค แบบเนี่ย…ก็จะไปกันใหญ่ ก็จะยิ่งหาทาง ออกไม่เจอ

เราทำรัฐธรรมนูญซึ่งมีปัญหาในทางหลักการขึ้นมาอย่างมาก บัดนี้เรามาบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ ถ้าแก้จะเป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง เราวนอยู่ในวงจร ปัญหาแบบนี้ละครับ แล้วจะหาทางออกยังไง ผมแปลกใจมากที่มีคนบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ แล้วพอผมบอกว่าต้องแก้ ผมก็กลายเป็นกลุ่มพรรคพลังประชาชน ทั้งที่จริงๆ ในเชิงหลักการมันเป็นไปไม่ได้ในระบบแบบนี้

– อาจารย์เห็นว่า หลักการบ้านเรา มันเพี้ยนไปหมดแล้ว

ใช่ (ครับ) ผมเห็นเป็นอย่างนั้นในหลายเรื่อง แล้วเวลาเราพูด เราไม่พูดถึงมาตรฐานอันเดียวกัน เรากลายเป็นทวิมาตรฐาน เป็น 2 มาตรฐานไปในหลายๆ เรื่อง เราเพียงแต่ว่าชอบหรือไม่ชอบคนใดคนหนึ่งหรือคนบางคนเท่านั้นเอง

– หลักการที่เพี้ยน อาจจะสะท้อน จากคำวินิจฉัยของศาลในช่วงหลังด้วยหรือเปล่า

ผมคิดว่าคำวินิจฉัยของศาลในช่วง หลังก็มีปัญหาหลายเรื่อง แล้วบางเรื่อง ก็อธิบายในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ วันนี้ สังคมไทยชอบพูดเรื่องจริยธรรมคุณธรรมเป็นหลัก เราพยายามเอาคุณธรรม และจริยธรรมเข้ามาเป็นเกณฑ์หรือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ในนามของกฎหมาย

เหมือนเราลืมกันไปว่า บรรทัดฐานในทางสังคมที่ควบคุมความประพฤติของบุคคล ซึ่งมีลักษณะเป็นศีลธรรมก็ดี จริยธรรมก็ดี คุณธรรมก็ดี หรือจารีตธรรมเนียมก็ดีกับเป็นกฎหมายนั้น มีเกณฑ์ในการตรวจวัดความประพฤติที่มีความแตกต่างกันอยู่

ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายเราเรียกร้องความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมายอันนี้เป็นหลัก แต่ว่ากฎหมายไม่ดูหน้าคนว่าคนที่มาอยู่เบื้องหน้ากฎหมายเป็นใคร ปฏิบัติต่อคนเสมอกัน นี่คือคุณค่าของทางกฎหมาย แต่จริยธรรมหรือคุณธรรมอาจจะไม่ได้เน้นไปที่ตรงนี้ จริยธรรม คุณธรรม เน้นเรื่องคนดี คนไม่ดี คือไปตัดสินคนจากความดีความไม่ดีของคน ถ้าคุณเป็นคนดีอาจจะได้รับยกเว้นทำอะไรบางอย่างได้ ถ้าคุณเป็นคน ไม่ดีคุณก็อาจจะทำอะไร บางอย่างไม่ได้ ไปมองกันจากตรงนั้น ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่า จริยธรรมหรือคุณธรรมนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ว่าเวลาเราใช้กฎหมาย เราจะเอาตรงนั้นเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการวัดไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคตามมา

ยกตัวอย่างคดีคุณสมัคร (สุนทรเวช) เรื่องลูกจ้าง ผมว่าถ้าคุณวินิจฉัยนะครับว่า ลูกจ้างมีความหมายแบบนี้ คุณต้องใช้เกณฑ์นี้กับทุกคน (นะ) ไม่ใช่เฉพาะคุณสมัคร นี่คือหลักในทางกฎหมายครับ รวมทั้งกับตัวคนที่วินิจฉัยด้วย บางทีเราอาจจะต้องมานั่งคิดว่า ตอนที่เรานั่งวินิจฉัยคดี ก่อนที่เราจะไปชี้ว่าลูกจ้างหมายความว่ายังไง เราต้องถามตัวเราเองก่อนหรือเปล่าว่า ตกลงวินิจฉัยไปแล้ว แล้วเราเป็นลูกจ้างในความหมายรัฐธรรมนูญหรือเปล่า

สิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือ ทำไมคุณไม่ใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ทำไมเกณฑ์นี้ใช้กับคนอื่นได้ แต่ทำไมกับตัวเองถึงเป็นข้อยกเว้น นี่คือปัญหา และเรื่องที่น่าเศร้า คือมีคนพยายามออกมาอธิบายไปจากหลักการในทางกฎหมายที่ควรจะเป็น แล้วยังอ้างอธิบายกฎหมายอยู่ คุณอธิบายเรื่องเสรีภาพทางวิชาการซึ่งไม่เกี่ยวกัน มันคนละประเด็น คุณไม่เอาประเด็นต่อประเด็นมาว่ากันตรงๆ นี่คือปัญหาของการใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นในเวลานี้

– ดูเหมือนอาจารย์จะเห็นด้านลบของตุลาการภิวัตน์ค่อนข้างชัด

ผมเห็นว่าเรื่องตุลาการภิวัตน์ที่ถูกนำเสนอมาในช่วงที่มีการต่อสู้ทางการเมืองมันก็ผิดพลาด คือไปเอาสิ่งซึ่งเกินไปกว่าอำนาจอันเป็นปกติธรรมดาขององค์กรนี้มาใช้ ที่ผมพูดก็ด้วยความเป็นห่วงระบบศาล ระบบตุลาการ (ครับ) ว่าที่สุดเมื่อเข้ามาพัวพันกับการเมืองมากเข้า คนก็จะมองว่าเป็นฝักเป็นฝ่ายในทางการเมือง

ผมถึงแปลกใจมากเลยว่า ในที่สุดเวลาศาลอ่านคำพิพากษาในคดีคุณหญิงพจมาน (ชินวัตร) ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลบอกว่า ศาลไม่เข้าข้างฝ่ายไหน (นะ) ศาลไม่พัวพันทางการเมือง ศาลต้องออกตัวก่อน (ครับ) แปลว่าเกิดอะไรขึ้นในเชิงระบบ แปลว่าศาลเองก็ต้องรู้แล้วใช่มั้ยว่าเริ่มมีปัญหาความเคลือบแคลงใจของคน

– เชื่อหรือไม่ว่านายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะเข้ามาแก้วิกฤตความขัดแย้งในสังคมได้

ผมจะไปบอกว่าแก้ได้หรือไม่ได้ ก็อาจจะฟันธงชัดเจนคงไม่ได้ แต่ผมเห็นว่าความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ ลึกลงไปถึงรากฐานแล้วในทางความคิดของคน ความแตกแยกในสังคมมากเกินกว่าที่ นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งจะเข้ามาแก้ไขได้ คู่ของความขัดแย้งจะยังมีอยู่ต่อไป

ฉะนั้น การปะทะกันในทางความคิด ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ผมถึงบอกว่ารัฐธรรมนูญปี”50 ตั้งแต่ตอนที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้วว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้จะนำประเทศไปสู่ทางตันข้างหน้าโดยตัวการออกแบบของมัน ผมถึงบอกให้ไม่รับรัฐธรรมนูญตั้งแต่คราวนั้น แล้วก็ไปทำ สร้างระบบที่ประสานกันได้ตั้งแต่คราวนั้น แต่บัดนี้เลยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ความแตกแยกก็ยังร้าวลึกลงไปในสังคม

– อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอการเมืองใหม่ก็ได้รับการขานรับบางระดับ เช่นเดียวกับเสียงไม่เห็นด้วยก็มีไม่ใช่น้อย

ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ปะทะกันครับ ไม่มีใครเขายอมคุณหรอก คนอีกครึ่งหนึ่ง อย่างน้อย (นะ) ผมคิดว่าเขาไม่ยอม หมายความว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯจะมีน้ำหนักและมีพลังมากถ้าคุณได้เสียง 80-90 เปอร์เซ็นต์ของคนในประเทศนี้ แต่ผมจะบอกว่า โดยข้อเสนอที่เสนอมานั้นไม่นำไปสู่อะไรเลย ผมเห็นข้อเสนอพันธมิตรฯแล้วผมก็หัวเราะ คุณเสนออะไรขึ้นมา 70 : 30 แล้วคุณบอกว่า คุณเสนอมาเป็นตุ๊กตา

ตัวคุณเองยังไม่ชัดกระจ่างในความคิดของคุณเลยว่า คุณต้องการอะไร คุณก็โยนขึ้นมา แล้วคุณก็ไม่มีทิศทางจะนำคนไปในทิศทางไหน ทิศทางของคุณมีอย่างเดียวคือ ขจัดศัตรูทางการเมืองของคุณเป็นหลัก ซึ่งบัดนี้ยังขจัดไม่ได้เพราะยังสืบต่อกันมา เพราะในระบบเลือกตั้งคนเขายังเลือกอยู่

ฉะนั้น คุณก็ต้องทำยังไง ให้ทำลายตัวระบบการเลือกตั้ง นี่พูดง่ายๆ ประเด็นอยู่ตรงนี้ แล้วผมเห็นว่าปัญหาประชาธิปไตยของไทยในเวลานี้ ผมสรุปก็ได้เลยนะว่า ไม่ได้อยู่ที่การซื้อเสียงเป็นปัญหาหลัก แต่อยู่ที่การไม่ยอมรับคะแนนเสียงของคนเป็น ด้านหลัก เราพยายามจะดึงกงล้อในทางประวัติศาสตร์ให้หมุนกลับไป ซึ่งมันหมุนกลับไปไม่ได้ มันต้องมีแต่หมุนไปข้างหน้า

– ทำไมอาจารย์ไม่ลุกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาในเรื่องการเมืองใหม่ 70 : 30 เพื่อให้การศึกษากับคนในสังคม

จริงๆ ใครมาถามผมเรื่องนี้ ผมก็มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระมากเกินไป แต่เราก็ไม่รู้นะว่าข้อเสนอบางอย่างซึ่งไร้สาระกลับกลายเป็นสิ่งซึ่งคนเอามาพูดกันจนเป็นเรื่องเป็นราว ตอนเราเห็น สนช.ระบบสรรหา 100 เปอร์เซ็นต์ คุณเห็นมั้ยว่า สนช.เป็นอย่างไร ทำงานกันอย่างไร ไม่ครบองค์ประชุมกันกี่ฉบับ คุณเคยวิจารณ์กันบ้างมั้ย เคยติดตามดู สนช.ตอนออกกฎหมายหรือเปล่า

กฎหมายบางเรื่องผมก็ยอมรับว่าเป็นประโยชน์ (ครับ) แต่กฎหมายที่เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบางกลุ่ม บางหน่วยบางองค์กร มีกี่ฉบับ เราได้มีการตามไปวิเคราะห์ตรงนั้นบ้างมั้ย เพื่อจะดูคุณภาพของกรณีที่เรียกว่ามาจากการสรรหา

จริงๆ ข้อเสนอของพันธมิตรฯก็มีข้อดีอย่างหนึ่ง (นะ) ข้อดีคือสะท้อนให้เห็นเลยว่า ปัญหาในทางประชาธิปไตยของเราที่ตกค้างมาตั้งแต่ปี 2475 ยังดำรงอยู่จนถึงวันนี้ 70 กว่าปีผ่านไปเราไม่ไปไหน น่าตกใจ อย่างน้อยในทางประชาธิปไตยเรายังไม่ไปไหนเลย เรายังไม่เห็นโทษของการทำรัฐประหารตัดตอนเพียงเพราะเรากลัวว่านักการเมืองจะมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล และจับกุมนักการเมืองไม่ได้ บางทีผมก็คิดว่า เอ๊ ! เราอาจจะกลัวอะไรมากไปมั้ย

แต่ในที่สุดก็ทำให้เราลดทอนคุณค่าของประชาธิปไตยลงไปเรื่อยๆ ทุกวัน จนเราก็รู้สึกว่าประชาธิปไตยนั้นไม่มีความหมายอะไรอีก เราไม่เคยปลูกฝังในทางความหมายเรื่องคะแนนเสียง ลงไปคุยกับ ชาวบ้านดูซิครับ คนขายลูกชิ้นปิ้ง คนขับแท็กซี่ คนขายก๋วยเตี๋ยว นักการภารโรงต่างๆ คนเหล่านี้เมื่อก่อนเขาก็ไปเลือกตั้งแบบแกนๆ แต่บัดนี้เขารู้สึกว่าเขาเลือกตั้งไปมีความหมาย (นะ) จะผิดจะถูกเรื่องหนึ่ง แต่ตรงนี้ไม่ใช่หรือครับที่เป็นความหมายสำคัญของประชาธิปไตย

…การต่อสู้ของพันธมิตรฯเป็นการทำร้ายคนอื่น ผมไม่ได้หมายถึงการทำร้ายโดยใช้กำลัง (นะ) แต่การใช้ความรุนแรงในทางวาจา คุณว่าทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณ จะเป็นประชาภิวัตน์ไปได้ยังไง คุณกลายเป็นสิ่งซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในหมู่ของแกนนำว่า ถ้าพูดอะไรมาต้องเชื่อตามคุณ ถ้าคุณชี้ว่าคนนี้เลวก็ต้องเลว คุณกำลังสร้างความคิดอย่างหนึ่งที่ปรากฏในบทประพันธ์ของชาติ กอบจิตติ เรื่องคำพิพากษา

คุณกำลังทำให้คนในสังคมต้องเชื่อทุกอย่างที่คุณพูด และคุณก็ชี้ไปว่าไอ้ฟักมันเลว และนี่คือไอ้ฟัก ผมเริ่มรู้สึกว่ามันเกิดสภาพแบบนี้ขึ้นแล้ว เพราะว่าคุณลดทอนพลังเหตุผลลง คุณเหลือเฉพาะให้เป็นเหตุผลของคุณเท่านั้น

คุณไม่เคยคิดเลยว่าคนอื่นเขาก็มีความหวังดีต่อชาติบ้านเมืองเหมือนกับคุณเหมือนกันนะ แต่อาจจะมีวิธีการคนละอย่างพูดง่ายๆ คุณใจไม่กว้าง แล้วคุณจะเป็นประชาภิวัตน์ได้ยังไง ไม่มีทางเป็นไปได้

– ในสถานการณ์อย่างนี้ อาจารย์ผิดหวังใครมากที่สุด

ในความเห็นผม (นะ) คือนักวิชาการกับสื่อเป็นกลุ่มที่ผมคิดว่าขาดความเป็นมืออาชีพ จริงๆ มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งที่มีความเป็นมืออาชีพสูง ก็มีคนอย่างนี้อยู่ในทุกวงการ แต่ผมไม่คิดว่าเขาเป็นข้างมากในวงการสื่อ แน่นอนสื่อมวลชนก็เหมือนกับกลุ่มคนอื่นๆ เหมือนกับนักวิชาการ คือมี ผลประโยชน์ของตัว

นักวิชาการก็มีผลประโยชน์ของตัว ผลประโยชน์อาจจะมาในหลายลักษณะหลายรูปแบบ ทั้งชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน่ง สื่อก็มีผลประโยชน์ของเขาให้ตัวเองอยู่ได้ แน่นอนสื่อจำนวนหนึ่งอาจจะต้องการมีเสียงดัง เป็นคนชี้ทิศทาง มีอิทธิพลในทางความคิดต่อคนจำนวนมาก

แต่ไม่ว่าคุณจะมีผลประโยชน์อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเข้าสู่วิชาชีพ คุณต้องมีความเป็นมืออาชีพ ความเป็นมืออาชีพของนักวิชาการก็คือ ในสาขาของตัวต้องพูดหรือ วิพากษ์วิจารณ์ไปตามหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชา ความรู้สึกในการมีอคตินั้น ซึ่งคุณแสดงออกไป คุณแสดงออกไปได้ แต่ว่าไม่ควรจะไปในนามของความเป็นวิชาการ

รวมทั้งสื่อมวลชนด้วย (นะ) ที่คุณเข้าไปรับนับตำแหน่งหลังจากเป็น สนช.แล้ว บางส่วนก็กลายมาเป็น ส.ว.สรรหาอีก มันใช่ เหรอ มันถูกหรือไม่ ทำไมไม่มีการตั้งคำถามแบบนี้กัน การที่เราไปตรวจสอบแต่นักการเมืองอย่างเดียว โยนทุกอย่างให้กับนักการเมือง เราละเลยกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ในสังคม และที่สำคัญบางทีคนเหล่านี้อาจจะสวมเสื้อคลุมคุณธรรมออกมาให้เราเห็น แต่ภายใต้หลังเสื้อคลุมคุณธรรมนั้นซ่อนอะไรไว้บ้าง เราก็ไม่รู้ ประชาชนไม่เห็น

เพราะบัดนี้ถูกปิดเสียแล้ว โดยเสื้อคลุมคุณธรรม แต่นักการเมืองไม่มีเสื้อคลุมตรงนี้ เราก็เห็นแจ้งๆ เลย แล้วในทุกค่ายของทางการเมืองด้วย แต่ที่ผมกำลังจะบอกคือ เราทำแค่นี้ไม่ได้ สื่อมวลชนทำแค่นี้ไม่ได้ สื่อต้องกล้าที่จะทำ กล้าที่จะตรวจสอบให้เสมอหน้ากันด้วย ทุกวันนี้ไม่มีการตั้งคำถามจำนวนหนึ่ง เพราะคนพูดเป็นคนคนหนึ่ง คนบางคนอาจจะมีเกียรติประวัติที่ดีงามมาตลอดชีวิต แต่ไม่ได้เป็นเครื่องประกันครับว่า ในวันหนึ่งเขายังถูกต้องอยู่หรือไม่

– ทุกวันนี้เวลาพูดความจริง พูดเรื่อง หลักการ กลัวไหมว่าจะถูกด่า

ผมว่าวันนี้ผมมีภูมิต้านทานมากพอแล้วที่ผมไม่จำเป็นต้องกลัวแบบนั้น ผมคิดว่าเวลาก็ได้พิสูจน์ตัวผมในระดับหนึ่งแล้ว แล้วผมก็บอกให้ดูผมต่อไปเรื่อยๆ วันนี้คุณจะพูดอะไร จะใส่ความอะไร…เชิญครับ แต่ว่าความพยายามที่จะดิสเครดิตมันก็มีการทำกันอยู่เรื่อยๆ แต่ผมคิดว่าผมจะไปสนใจเสียงแบบนั้น แล้วทำให้ไม่พูดอะไร คงทำไม่ได้ ถึงเวลาที่เราคิดว่าเราควรจะต้องพูดและต้องทำก็ต้องทำ ถึงเวลาที่เราต้องปะทะ พูดง่ายๆ คือต้องขัดแย้งกับใคร แม้อาจจะเป็นคนในทางส่วนตัวเราเคารพและนับถือก็ต้องปะทะ ก็ต้องแยกออกว่าทางส่วนตัวเป็น อันหนึ่ง แต่ในทางหลักการก็เป็นอีกอันหนึ่ง หลักการก็คือหลักการ หลักการไม่คำนึงถึงหน้าใคร

ประชาชาติธุรกิจ, วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4040

อย่ากัดลิ้นตัวเอง

25 September 2008 Leave a comment

อีกหนึ่งบทความ ที่ทำให้เห็นว่าพันธมิตรฯ มีแนวร่วมน้อยลงทุกที (ในความคิดของผม)
ลอมาดูว่า บทความนี้ ที่มาจากประชาชาติธุรกิจ จะว่าอย่างไร


อย่ากัดลิ้นตัวเอง (ครับ)

คอลัมน์ ประชาชาติปริทัศน์ โดย ขุนสำราญภักดี

2 ปีมาแล้ว ผมเคยชื่นชอบ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเคยเถียงแทนแกนพันธมิตรฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะผมเห็นว่า มีแต่พันธมิตรฯเท่านั้นที่สู้กับระบอบทักษิณได้

แต่วันที่พันธมิตรฯ บุกเอ็นบีที ยึดทำเนียบรัฐบาล และไม่ยอมไปมอบตัว ทั้งๆ ที่รู้ว่าการกระทำของตนเองผิดกฎหมายอาญา

มิหนำซ้ำยังพูดมั่วๆ เรื่องการเมืองใหม่ 70: 30 ผมและเพื่อนๆ เริ่มเซ็ง และรู้สึกแล้วว่า คนไทยกำลังถูกตบหน้าฉาดใหญ่

วันนี้… ผมปฏิเสธพวกพันธมิตรฯ อย่างสิ้นเชิง เพราะรับไม่ได้กับพวกอนารยะที่ทำลายหลักนิติรัฐของบ้านเมือง

และที่สำคัญ ผมไม่เห็นความแตกต่างระหว่างพวกพันธมิตรและพวกทักษิณ เพราะพวกเขาต่างไม่เคารพกฎหมาย เหมือนๆ กัน

ผมนึกถึงคำพูดของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ที่ว่า "เกลียดทักษิณ อย่าทำอย่างทักษิณ"

สมัยผมเรียนนิติปรัชญา ผมชื่นชอบโสเครตีส (Socrates) เพราะนักปรัชญากรีกผู้นี้ ยอมตาย เพื่อรักษาหลักกฎหมายของบ้านเมือง

โสเครตีส ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิดอาญาอุกฉกรรจก์ ฐานปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าและสร้างพระเจ้าองค์ใหม่ อันเป็นอาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรงต่อศีลธรรมของสังคมในยุคนั้น

โสเครตีสถูกพิพากษาประหารชีวิต บรรดาลูกศิษย์ชักชวนให้อาจารย์หลบหนีโทษอาญา แต่โสเครตีสปฏิเสธโดยบอกว่า "เขาได้อุทิศชีวิตเขามาทั้งหมดเพื่อสอนให้คนอื่นเห็นถึงความสำคัญของความยุติธรรมและการเคารพกฎหมายของรัฐ การหลบหนีไม่ยอมรับผิดทางอาญาต่อคำพิพากษาของรัฐเป็นการทำลายสิ่งที่เขาได้สอนแก่สังคมมาทั้งหมด

แม้โสเครตีสจะยืนยันในความบริสุทธิ์ และคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตัดสินคดีก็ตาม แต่โสเครตีสเชื่อว่า การที่เขาดำรงอยู่ในสังคมนี้เท่ากับว่าเขาได้ทำข้อตกลงโดยปริยายที่จะยอมผูกมัดเชื่อฟังกฎหมาย

แม้ว่าผลลัพธ์ของมันจะทำให้เขาต้องสูญเสียประโยชน์หรือถูกพิพากษาประหารชีวิตก็ตาม โสเครตีส เชื่อว่า หากบุคคลสามารถคิดหรือตัดสินใจเอาเองว่ากฎหมายฉบับใดควรเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตาม และฉบับใดที่ไม่ควรเคารพเชื่อฟังและไม่ปฏิบัติตาม ในไม่ใช้ก็คงไม่มีกฎหมายอีกต่อไป

จริงๆ แล้วตามทรรศนะของผม แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 9 คนควรไปมอบตัวสู้คดี อย่าพูดเลยว่า ข้อหากบฏแรงเกินไป ถ้าอยากจะเป็นวีรชนกู้ชาติ อย่ากลัวโทษทัณฑ์ (ครับ)

ในช่วงที่มีข่าวว่า นายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่อสายตรงคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ผมบังเอิญไปเจอข่าวต่างประเทศชิ้นหนึ่ง อ่านแล้วนึกถึงแกนนำพันธมิตรฯมากๆ

เรื่องเกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อสุนัขสายพันธุ์ ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ (Tibetan mastiff) ตัวหนึ่ง กัดลิ้นตัวเองจนตาย หลังถูกเจ้าของเฆี่ยนตี

เหตุเกิดที่เมืองหังโจว เมืองเอกของมณฑลเจ้อเจียง โดยนายพาน เจ้าของสุนัขตัวนี้ได้ลงมือเฆี่ยนตีสุนัขที่ตัวเองเลี้ยงไว้ หวังจะสั่งสอนให้หลาบจำ เนื่องจากมันไปกัดกับสุนัขอีกตัวหนึ่ง แต่ไม่คาดคิดว่า การเฆี่ยนตีจะทำให้สุนัขตัวนี้ รู้สึกอับอายและน้อยใจจนถึงขั้นกัดลิ้นฆ่าตัวตาย

การตายของสุนัขทำให้เจ้าของซึ่งมีชื่อว่า นายพาน รู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก

นายพานเล่าว่า เพื่อนของเขาซึ่งเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ ทิเบทั่น มาสทิฟฟ์ มานานถึง 20 ปี เคยบอกเขาแล้วว่า สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ชื่อว่า เป็นราชาของสุนัขทั้งปวง และมีอุปนิสัยหยิ่งในศักดิ์ศรีของตัวเองอย่างมาก

ดังนั้น ถ้าถูกเฆี่ยนตีต่อหน้าสุนัขตัวอื่นๆ มันก็จะรู้สึกอับอายและเสียเกียรติจนถึงขั้นกัดลิ้นฆ่าตัวตาย

ผมชื่นชอบ ความมีศักดิ์ศรีของหมาตัวนี้ เพราะหมาตัวนี้ยอมตาย แต่ไม่ยอมให้ถูกหลู่เกียรติศักดิ์ศรีของตนเอง

ถ้าแกนนำพันธมิตรฯ ยอมต่อรองกับรัฐบาล เพื่อให้ตัวเองได้รับการยกเว้นโทษ

ผมว่า พวกคุณ กัดลิ้นตัวเองตายเสียดีกว่า !!!!

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi10250951&day=2008-09-25&sectionid=0212

Categories: News and politics

จงเลือกระหว่างคุณธรรมกับประชาธิปไตย

18 September 2008 Leave a comment

ว่าจะเขียนเรื่องที่ได้ไปเยี่ยมเยียนม๊อบพันธมิตรฯ
แต่ยังไม่มีเวลาว่าง บวกกับอารมณ์ยังไม่ได้ที่
ประกอบกับเริ่มสังเกตได้ว่า
สื่อมวลชน เริ่มเอาใจออกห่างพันธมิตรฯเหมือนกัน
เรียกได้ว่า น้ำเสียง เริ่มไม่พอใจ กับการเรียกร้องอันไม่รู้จบ และไม่ชัดเจนของพันธมิตรฯ (สื่อว่ามา… ไม่ใช่ความเห็นของผม)
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง


จงเลือกระหว่างคุณธรรมกับประชาธิปไตย

คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้ โดย ศุภวุฒิ สายเชื้อ

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4037

ขณะนี้คนไทยกำลังถูกบังคับให้เลือกระหว่างคุณธรรมและประชาธิปไตย โดยคนไทยส่วนใหญ่ที่ต้องการ "เป็นกลาง" กำลังถูกหล่อหลอมความคิดให้เห็นว่า ทางเลือกปัจจุบันคือการเลือกรัฐบาลคุณภาพต่ำที่มาจากการเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่ กับการนำเสนอการเมืองใหม่ที่สุดโต่งและยอมรับได้ยาก แต่คนกลุ่มนี้มีความมุ่งมั่นและขยันมั่นเพียรที่จะต่อต้านรัฐบาล และแม้ว่าเป็นสิทธิอันไม่ชอบธรรมที่จะยึดทำเนียบรัฐบาล แต่ก็ไม่มีกลไกทางกฎหมายอะไร (ไม่ว่าจะเป็นหมายจับ หรือภาวะฉุกเฉิน) ที่จะจัดการกับคนกลุ่มนี้ ทำให้สถานการณ์การเมืองดูเหมือนจะมาถึงทางตัน ทั้งนี้เพราะทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอยู่สุดโต่งคนละข้างและไม่สามารถใช้เหตุผลเจรจากันได้ จึงมีการนำเสนอแนวคิด "คนกลาง" หรือรัฐบาลแห่งชาติ มาแก้ปัญหา ซึ่งเริ่มมีหลายฝ่ายโดยเฉพาะนักธุรกิจกำลังคล้อยตาม

แนวคิดรัฐบาลแห่งชาตินั้นหากพิจารณาให้ดี เท่ากับเป็นการยึดอำนาจทางการเมืองของประชาชนคนไทยไปให้กับคนกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเรียกว่า รัฐบาลแห่งชาติ นายกฯคนกลาง หรือรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งผมถือว่า เป็นการปฏิวัติรัฐประหารเงียบ หลายคนอาจจะไม่เห็นด้วย แต่ผมมีเหตุผลที่จะอธิบายดังนี้ครับ

ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลคิดว่า ประชาธิปไตยปัจจุบันเป็นระบบที่นายทุนรวมตัวกันซื้อเสียงชาวบ้านที่ขาดความรู้และถูกมอมเมาให้เทคะแนนเสียงให้ ทำให้เราได้นักการเมืองที่ไร้คุณธรรม โกงกินบ้านเมืองมาบริหารประเทศ โดยนักการเมืองเหล่านี้จะนำเสนอนโยบายประชานิยมที่ชาวบ้านได้ประโยชน์ในระยะสั้น แต่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว

เพื่อสกัดกั้นระบอบประชาธิปไตยที่เลวร้ายดังกล่าว จึงต้องยึดอำนาจคืนจากประชาชน (ที่มอบหมายให้นักการเมืองที่ไร้คุณธรรมมาบริหารประเทศผ่านการเลือกตั้ง) มาให้บุคคลที่มีคุณธรรมสูง เป็นที่ยอมรับมาปกครองประเทศระยะหนึ่ง เพื่อสะสางความชั่วร้ายและปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบประชาธิปไตยที่ยึดถือแนวคิดแบบตะวันตกมากเกินไป ซึ่งคนไทยยังไม่มีความพร้อม (แม้จะมีพัฒนาการมาแล้วถึง 75 ปี มีการเลือกตั้งมาแล้ว 22 ครั้ง และถูกปฏิวัติยึดอำนาจจากประชาชนถึง 14 ครั้ง)

ปัญหาหลัก คือ การมีประชาธิปไตยมากเกินไป ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2550) จึงต้องลดอำนาจของประชาชนลง เช่น การให้ประชาชนเลือกตั้งวุฒิสภาเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งแต่งตั้งโดยกลุ่มบุคคลที่มีคุณธรรมและความรู้ ส่วนพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากๆ (เพราะการซื้อเสียง) แต่ขาดคุณธรรมในการปกครอง ก็ถือว่าเป็นผู้บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรถูกยุบพรรคและให้ผู้บริหารต้องเว้นวรรคจากการเมือง 5 ปี เพื่อล้างบางนักการเมืองไร้คุณภาพ โดยหวังว่าจะมีนักการเมืองรุ่นใหม่ที่เป็นคนดีและพร้อมเสียสละเพื่อชาติเข้ามาทดแทน (หรือเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่คณะปฏิวัติตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีคุณภาพ)

แต่ผลปรากฏว่าพรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรมฮึดสู้ นำเอาทีมบีลงเลือกตั้งจนได้ชัยชนะเกินความคาดหมาย ทำให้สามารถดึงพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก โดยทิ้งให้พรรคขนาดใหญ่เพียงพรรคเดียวเป็นฝ่ายค้าน จนกลุ่มพันธมิตรต้องออกมาเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยอ้างว่าได้อำนาจมาด้วยการซื้อเสียง (แต่ก็ไม่เห็นมีใครค้นพบว่า มีการโกงการเลือกตั้งอย่างแพร่หลาย) และได้ทำความผิดมากมาย เช่น กรณีเขาพระวิหาร คอร์รัปชั่น และรายการชิมไปบ่นไปของนายกรัฐมนตรี (ที่ถูกตัดสินให้ออกจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลกว่า การทำกับข้าวทำให้นายกรัฐมนตรีหลุดจากตำแหน่งได้ ในประเทศที่มีการทำรัฐประหารกว่า 20 ครั้ง)

ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารทำให้เรารู้สึกว่า

1)ประเทศมีปัญหาวิกฤตทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลไม่มีความสามารถที่จะแก้ปัญหา แต่ยังซ้ำเติมโดยประกาศภาวะฉุกเฉินทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ

2)รัฐบาลขาดความชอบธรรมแล้ว ดังนั้นจึงควรยุบสภาหรือให้คนนอกมาเป็นนายกฯ หรือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

3)ต้องยอมปล่อยให้พันธมิตรอาศัยอยู่ที่ทำเนียบต่อไป เพราะเขาใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย และรัฐบาลจะใช้ความรุนแรงกับประชาชนไม่ได้

4)การเลือกตั้งนั้นเป็นส่วนปลีกย่อยของระบอบประชาธิปไตย และเป็นตัวสร้างปัญหาต้องให้มีการเมืองใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม

ในความเห็นของผม หากคนไทยเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ประเทศไทยจะไม่มีวันเป็นประชาธิปไตยได้เลย เพราะจะถูกชนชั้นปกครองและนักเคลื่อนไหวอาชีพร่วมกันชี้นำและปกครองประเทศร่วมกับข้าราชการ

ประชาธิปไตย คือ การให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ด้วยความเชื่อพื้นฐานว่า ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีขนาดใหญ่และมีประชากรหลายล้านคน การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรงจึงทำไม่ได้ ต้องให้ประชาชนเลือกผู้แทนของตนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศ ดังนั้นการเลือกผู้แทนราษฎรและการมอบอำนาจและความชอบธรรมให้กับผู้แทนราษฎรไปปกครองประเทศ จึงเป็นแก่นสารของระบอบประชาธิปไตย แต่ผู้แทนราษฎรเองก็มีจำนวนมากและมาจากหลายจังหวัด จึงต้องมีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น เพื่อประสานแนวคิดต่างๆ ให้เกิดนโยบายที่มีความครบถ้วน สมดุลและมีทิศทางเดียวกัน จึงต้องสรุปว่า การเลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร และพรรคการเมือง เป็นแก่นสารของระบอบประชาธิปไตย เพราะทุกส่วนนั้นเป็นการกลั่นกรองอำนาจของประชาชนทุกคนในประเทศมาปกครองประเทศ

แต่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชักจูงให้เราเชื่อว่า การเลือกตั้งเป็นส่วนปลีกย่อย ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมมากกว่านั้น จะต้องเดินขบวนขับไล่รัฐบาลเป็นเดือนๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้นกลายเป็นว่าการเลือกตั้งไม่มีความหมายเพราะมีการซื้อเสียง และเมื่อประชาชนเลือกผิดพลาด คือเลือกคนไม่ดีเข้ามามีอำนาจ จึงต้องลดความสำคัญของการเลือกตั้งลงไปอีก คือ ให้คนไทยที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกว่า 40 ล้านคน เลือกตั้งผู้แทน 144 คน (30%) และให้กลุ่มบุคคล (น่าจะไม่เกิน 200-300 คน) เลือกผู้แทน 336 คน ซึ่งสามารถแปลความได้เพียงอย่างเดียวว่า ระบบ 30:70 นี้คือ ระบบที่ไม่เชื่อใจ และไม่เชื่อความสามารถของประชาชน ซึ่งจะเรียกว่าระบอบอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ "ระบอบประชาธิปไตย" เพื่อนชาวอเมริกันของผมคนหนึ่งเขียนอีเมล์มาบอกว่า เขาเพิ่งเคยเห็นว่ามีการเรียกร้องของประชาชนเพื่อ จำกัดสิทธิประชาชน ซึ่งแปลกมาก เพราะทุกครั้งประชาชนจะเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จำกัดสิทธิให้น้อยลง

อีกประเด็นที่พูดกันบ่อยๆ ว่า ประชาธิปไตยต้องไม่ใช่การหย่อนบัตรเลือกตั้ง ? นาที แต่จะต้องมีส่วนร่วมมากกว่านั้น ผมไม่เห็นด้วยกับการพูดว่า ประชาชนเดินไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง โดยไม่ได้ศึกษานโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ เขาไม่ได้พูดคุยกับเพื่อนฝูงญาติมิตร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเขาไม่ได้พยายามทำความรู้จักผู้สมัครผู้แทนฯว่า ใครเป็นคนดี คนไม่ดี ตรงกันข้ามผมเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ตื่นตัว และจริงจังกับการเลือกตั้งมากขึ้นด้วยซ้ำ

เหตุที่ผมและคนอื่นๆ ใช้เวลาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนไปเลือกตั้งก็เพราะว่า ผมมีภารกิจอื่นๆ มากมาย ต้องทำมาหากิน ต้องดูแลครอบครัว ต้องไปรับ-ส่งลูกไปโรงเรียน ฯลฯ ทำให้ผมไม่มีเวลาที่จะร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากนัก ผมจึงอยากที่จะให้การเมืองมีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือหากผมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปแล้ว ผมแทบจะไม่ต้องทำกิจกรรมการเมืองอื่นอีกเลย เพราะหากผมได้รัฐบาลที่ดำเนินนโยบายตามที่ผมคาดหวัง ก็จะเป็นเรื่องที่ดีกว่าการที่ผมจะต้องไปเดินขบวนเรียกร้องเรื่องนั้นเรื่องนี้ แบบวันเว้นวัน เพราะผมไม่เชื่อว่าผมทำได้ และผมก็ไม่เชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่จะปลีกเวลาไปทำได้เช่นกัน

จึงกลับมาที่เรื่องประสิทธิภาพและคุณธรรมของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้ข้อมูลข่าวสารทำให้เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีปัญหาและขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ จนกระทั่งทำให้ประเทศไทย "ถึงทางตัน" จึงต้องพึ่งพารัฐบาลแห่งชาติ

การตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่พูดกันนั้นไม่มีรายละเอียด แต่หากเป็นรัฐบาลที่เป็นคนนอกและมาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่แตกต่างอะไรจากการยึดอำนาจคืนจากประชาชน ไปให้คนกลุ่มเล็กๆ เลือกพวกเดียวกันมาปกครองประเทศ การยึดอำนาจจากประชาชนนั้นทำกันมาหลายครั้งแล้ว และประชาชนจำนวนมากมักจะไม่ค่อยรู้สึกอะไร เพราะ "อยากให้รีบแก้ปัญหาให้จบไวๆ"

แต่หลายคนก็จะบ่นว่า นักการเมืองที่เป็นตัวเลือกในขณะนี้มีที่อยากเลือกน้อยมาก ซึ่งก็ต้องตอบว่าหากเขียนรัฐธรรมนูญเช่นปัจจุบันนี้ จะมีคนดีมีความสามารถหน้าใหม่คนไหนที่อยากเข้ามาสู่การเมือง เพราะกฎเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ มีแต่การจำกัดอำนาจและจับผิด ทำให้การเป็นนักการเมืองมีความเสี่ยงอย่างมาก การทำอะไรผิดเล็กน้อยก็อาจจะถูกปลดจากตำแหน่งได้ (เช่น การเป็นพ่อครัว) หรืออาจไม่ได้ทำอะไรผิดก็อาจถูกลงโทษได้ เช่น เป็นผู้บริหารพรรคการเมืองก็อาจถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ทำผิด เมื่ออาชีพนักการเมืองมีความเสี่ยงสูง อายุงานสั้น และเงินเดือนต่ำ คนดีมีความสามารถก็จะไม่เลือกงานนี้ คนหน้าใหม่ที่จะเข้ามาในการเมืองภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน จะต้องเป็นคนกล้าได้-กล้าเสีย และส่วนใหญ่ไม่มีฝีมือมากนัก นั่นคือรัฐธรรมนูญปัจจุบันจะไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพนักการเมืองได้เลย ตรงกันข้ามจะยุบพรรคและให้ใบแดงนักการเมืองระดับบนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีนักการเมืองเหลือ ระบบการเมืองและประชาธิปไตยอ่อนแอ และประชาชนจะผิดหวังในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นกฎเกณฑ์ดังกล่าวควรจะต้องมีการแก้ไขโดยเร็ว

สรุปได้ว่า เงื่อนไขทางการเมืองที่ก่อตัวขึ้นมานั้นกำลังตีกรอบให้ประชาชนเลือกระหว่างประชาธิปไตยกับ "คุณธรรม" โดยชักจูงให้อยากได้คนดีมาบริหารประเทศเพื่อแก้ปัญหาให้จบสิ้นโดยเร็ว โดย "พัก" ประชาธิปไตยเอาไว้ก่อน เพราะนักการเมืองไทยไม่มีคุณภาพ เพราะชาวบ้านเลือกคนไม่มีคุณภาพ หรือเพราะว่า เราต้องมีความยืดหยุ่นไม่ยึดติดกับประชาธิปไตยมากจนเกินไป

หากเราเชื่อเช่นนั้น ประเทศไทยก็จะไม่มีวันเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยก็จะไม่มีความเท่าเทียมกันในทางการเมืองครับ

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi04180951&day=2008-09-18&sectionid=0212

Categories: News and politics

A Quarter Democracy: New Politics-Thai Style

14 September 2008 Leave a comment

บทความนี้ โดนใจจริงๆ อดที่จะเอามาช่วยเผยแพร่ไม่ได้
จาก อ. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งเคยเป็น อธิการบดีของ ธรรมศาสตร์


30:70 = การเมืองใหม่ = อประชาธิปไตย = ความไม่เสมอภาค = ความรุนแรง/ปฏิวัติรัฐประหาร/อำนาจนอกนิติธรรม

A Quarter Democracy: New Politics-Thai Style

(1)

ข้อเสนอ 30-70 นี้มองได้จาก “ชนชั้น” (class)

มองได้จาก “ชาติพันธุ์” (ethnicity)

หรือแม้กระทั่ง “เชื้อชาติ” (race)

(2)

ข้อเสนอเช่นนี้ส่วนหนึ่ง น่าจะมาจาก

ความเชื่อว่า "คนไม่เท่าเทียมกัน"

เช่น "กฏุมพีชาวกรุง" และคนในเมือง เชื่อว่า

"คนเหนือ" หรือ "คนอีสาน" (โดยเฉพาะคนในชนบท)

มีค่า = ngo หรือ "โง่"

(3)

ดังนั้น การที่มีสิทธิมีเสียงเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย คือ

"หนึ่งคน ต่อหนึ่งเสียง" จึงไม่ถูกต้อง

ไม่สมควรแก่ “ความเป็นไทยๆ”

ยังไม่ถึงเวลา

ใจร้อนเกินไป

เป็นการชิงสุกก่อนห่าม

จึงทำให้มีการ "ซื้อสิทธิ ขายเสียง" กันได้ง่าย

(4)

ดังนั้น ทางออกที่เป็น “ไทยๆ” คือข้อเสนอ 30-70

หรือ "ประชาธิปไตยหนึ่งสลึง"

a quarter-democracy หรือ ¾ dictatorship

ในอดีตก็เคยใช้มาแล้ว เช่น "ครึ่งใบ"

ดังที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญหลายๆฉบับของอำมาตยาเสนาธิปไตย

หากจะให้ได้ผล คราวนี้ต้องขอเพิ่มมากกว่า 50-50

(5)

ความเชื่อของ "กฎุมพีชาวกรุง" และคนในเมือง

เมื่อไม่เชื่อว่า

คนเท่าเทียมกัน

(นิ้วสิบนิ้ว ยังไม่เท่ากันเลย)

ก็เกิดความรังเกียจ และดูถูกเหยียดหยาม

(6)

การใช้ศัพท์แสงทาง "ชาติพันธุ์" หรือ “เชื้อชาติ” เช่น

"ลาว" หรือ "ขะเหมน" (แต่ก่อนเคยใช้คำว่า "เจ๊ก" ด้วย)

ที่เราได้ยินจาก "ตลกคาเฟ่" (โจ๊ก) ราคาถูกและรสนิยมต่ำนั้น

เราจะได้ยินจากเกมส์การเมืองของการ "โค่นรัฐบาลสมัคร" กับ

"ล้มระบอบทักษิณ" โดย "ลัทธิพันธมิตร" ในขณะนี้อยู่ตลอดเวลา

(โดยเฉพาะเมื่อปลุกระดมด้วย “ปราสาทเขาพระวิหาร”) รวมทั้งจาก

สื่อมวลชนกระแสหลัก

(7)

ดังนั้น วาทกรรม "ลูกจีนกู้ชาติ" จึงเกิดขึ้นในบริบทของ

ความเชื่อในเรื่อง "ความไม่เท่าเทียม" กันของ "คน"

"ความไม่เสมอภาค" กันของ "คนบ้านนอก" ในภาคเหนือและอีสาน

กับคนกรุงและเครือข่ายของคนในเมือง

กับความเป็น "ลาว" เป็น "ขะเหมน"

กับความเป็น "ไทย" และความเป็น "ชาติ"

(8)

เรื่องนี้ลึกล้ำ ซับซ้อน และยุ่งเหยิง

และน่าวิตกอย่างยิ่ง

เป็นทั้งเรื่องของ "ชนชั้น" กับ "วรรณะ-ชาติพันธุ์" หรือแม้กระทั่ง "เชื้อชาติ"

เป็นทั้ง class และเป็นทั้ง "ethnicity" หรือแม้กระทั่ง "race"

อันจะนำไปสู่การใช้ “ความรุนแรง” อนาธิปไตย การจลาจล

ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อ “ประชาธิปไตย” ของชาติแต่อย่างใด

(9)

Father Forgive Them, They Know Not What They Do

(or rather: They Know Exactly What They Are Doing?)

 

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ธนบุรี สยามประเทศ(ไทย)

9 กันยายน 2551

http://www.charnvitkasetsiri.com/Q&A2.htm

Categories: News and politics

“สมัคร” ไปไม่รอด !!! อารยะขัดขืนของพันธมิตรประหลาดๆ

11 September 2008 Leave a comment

“สมัคร” ไปไม่รอด !!! อารยะขัดขืนของพันธมิตรประหลาดๆ

สัมภาษณ์ นิธิ เอียวศรีวงศ์

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4035

“นิธิ เอียวศรีวงศ์” นักประวัติศาสตร์และคอลัมนิสต์ที่มีคนอ่านมากกว่า 1 ล้านคน ฟันธง (ฉับ) ว่า สมัครไปไม่รอด แน่ๆ

แต่ถึงกระนั้น อาจารย์นิธิก็เชื่อว่า สังคมไทยอยู่ในช่วงระยะปรับตัว ถึงแม้ไม่มีคนชื่อ “สมัคร สุนทรเวช” หรือ คนชื่อ “สนธิ ลิ้มทองกุล” วัฒนธรรมทางการเมืองไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ดี

“ประชาชาติธุรกิจ” นั่งสนทนากับอาจารย์นิธิในห้วงเวลาที่การเมืองไทยกำลังปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่

– หลายคนเริ่มหวั่นวิตกแล้วว่า ถ้าพันธมิตรฯชนะจะน่ากลัวมาก

ก็น่ากลัว ผมเห็นด้วย ถ้าเผื่อว่าคนที่จะเอาสมัครออก จะเป็นกองทัพ เป็นศาล เป็นอะไรก็แล้วแต่ ถ้าออกโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย เช่น ศาลสั่งจำคุก อันนี้ผมว่าจะไม่เกิดปฏิกิริยากับคนต่างจังหวัด รุนแรงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าสมมติว่าออกโดยการบังคับให้ออกแบบผิดกฎหมาย ผมว่าอันนี้ยุ่ง เพราะว่าคนต่างจังหวัดจะ ไม่ยอม

– หลายคนพูดถึงบทความอาจารย์ธงชัย (วินิจกุล) ว่า เมื่อเกลียดทักษิณก็อย่าทำอย่างทักษิณ และพันธมิตรฯก็ควรมอบตัวต่อศาล

จริง… ผมเห็นด้วย เพราะเป็นอารยะ ขัดขืนประหลาดๆ อารยะขัดขืนหมายความว่า คุณพร้อมที่จะรับโทษ เพราะการรับโทษทำให้ประเด็นคุณแข็งขึ้น เพราะกฎหมายหรือการลงโทษนั้นต้องไม่เป็นธรรม ใครๆ ก็เห็นว่าไม่เป็นธรรม ยิ่งคุณโดนลงโทษ ยิ่งดีใหญ่เลย แต่นี่มันไม่ใช่ สิ่งที่คุณขัดขืน คนยังไม่เห็นว่าไม่เป็นธรรม

– แถลงการณ์จากหลายองคกร์ให้ยุติความขัดแย้ง ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไร แล้วเราจะทำอะไรได้มากกว่านี้อีกมั้ย

ทำแค่นี้ไม่พอก็จริง แต่ขณะเดียวกัน ผมกลับคิดว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีของสังคมไทย เพราะเกิดความเห็นพ้องต้องกันทันทีหลังจากวันที่ปะทะกัน หรือวันที่ตำรวจเข้าไปลุยว่า เราต้องยุติความรุนแรง ผมว่าเป็นความเห็นร่วมกันที่ออกมาอย่าง ค่อนข้างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว แล้วก็แรง

เพราะผมคิดว่า ในอนาคตข้างหน้า กว่าระบบการเมืองจะลงตัว ไม่ว่ากี่ปีก็แล้วแต่ เราจะเสี่ยงกับความรุนแรงเยอะมาก ฉะนั้นสิ่งเดียวที่สังคมทำได้เวลานี้คือ ต้องพยายามอย่าให้รุนแรง อย่าให้ นองเลือด

– บ้านเราจะกลายเป็นเหมือนฟิลิปปินส์หรือไม่ คือมีแต่ความขัดแย้ง ปะทะกัน ยืดเยื้อยาวนาน

ก็เป็นไปได้ (นะ) ในฟิลิปปินส์จริงๆ แล้ว มันแบ่งระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ใช่คนชั้นกลางกับคนชั้นกลางชัดเจนมาก ทั้งในฟิลิปปินส์หรือละตินอเมริกา มีการปะทะกันอยู่ตลอดเวลา แต่ในละตินอเมริกาดีขึ้นในแง่ที่ว่า เริ่มมีการยอมรับว่าต้องใช้กติกาประชาธิปไตยในการตกลงความขัดแย้งมากขึ้น

– อาจารย์มองบทบาทสื่ออย่างไร ทำหน้าที่เป็นกลางพอหรือไม่

ไม่พอ…ผมว่าไม่พอ ขาดมากเลย จริงๆ แล้วผมว่ามีเรื่องที่สื่อจะเจาะ คือ ต้องเปิดทุกประเด็นออกมา เพื่อที่จะให้เราไม่ตกอยู่ในการที่จะต้องเลือกแค่ 2 ขั้ว ต่อมาคือ

ถ้าเลือก 2 ขั้ว ถามว่าคุณเจาะลึกพอมั้ย ผมว่าไม่พอ สื่อขยันพอที่จะไปถามว่าคนที่อยู่ใน นปก. ถูกจ้างมาเท่าไหร่ แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายที่คุณรู้ว่าไม่ถูกจ้าง แต่มีเหตุอะไร ที่ทำให้ออกมานั่งที่ทำเนียบฯ

ทำไมถึงคิดว่าการจ้างอย่างเดียวเป็น ความชั่ว หรือความโง่ แล้วไปถาม (นะ) ผมเชื่อเลยว่า คนที่ร่วมอยู่ในพันธมิตรฯ miss inform คือถูกบอกผิดเยอะมาก ข่าวแต่ละวันตอนนี้คือ สมัครพูดยังไง พันธมิตรฯ หรือ ผบ.ทบ. พูดว่าอะไรก็จบ ไม่พอครับ เพราะทำให้สังคมไม่รู้อะไร ที่อยู่เบื้องหลังระหว่างสมัครกับพันธมิตรฯเยอะมาก

– ถ้าสมัครลาออก หรือยุบสภา การชุมนุมยึดทำเนียบควรจะยุติหรือไม่

ถ้าสมัครลาออก ผมคิดว่าเหตุผลในการจะอยู่ที่ทำเนียบฯ จะลดลงแยะเลย แล้วรัฐบาลใหม่ที่ขึ้นมาอย่างี่เง่าเท่าสมัคร (นะ) ผมว่าลดได้ ถ้าคุณสมัครฉลาดกว่านี้ผมว่าลดไปตั้งนานแล้ว เพราะทุกครั้งที่กำลังจะลด สมัครก็ไปทำอะไรบางอย่างให้คนเพิ่มเข้ามาอีก

– อาจารย์มองจุดยืนประชาธิปัตย์ท่ามกลางความขัดแย้งอย่างไรบ้าง

ถ้าจะมีการเลือกตั้งในภายหน้า ความได้เปรียบที่จะทำให้ล้มรัฐบาลได้ แล้วรวบรวมพรรคพวกขึ้นมาเป็นรัฐบาลใหม่ ทำอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันผมว่ายังมีมิติการเมืองอื่นๆ ที่ประชาธิปัตย์ไม่ได้สนใจเลย ก็เลยทำให้กลายเป็นเกมการแย่งอำนาจธรรมดาๆ

ส่วนพรรคร่วม ผมคิดว่าเขาไม่มีทางเลือก เพราะเป็นพรรคเล็กทั้งนั้นคือ เลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่ ผมเชื่อว่าหลายพรรคอาจจะหายไปเลย แล้วพรรคใหญ่อย่าง ชาติไทย มีแต่จะหดลง ขยายไม่มี (นะ) เพราะฉะนั้น เขาไม่อยากเลือกตั้ง เขากลัวสมัครยุบสภา แล้วเขาก็รู้ด้วยว่า ถ้าเขาบีบหนักๆ ให้คุณสมัครออก คุณสมัครยุบ..

– ถึงนาทีนี้อาจารย์คิดว่า ยังไม่มีทางออกสำหรับสังคมไทย

มองไม่ออกครับว่าต่อไปข้างหน้าจะเป็นยังไง ผมรู้แต่เพียงว่าไม่ใช่แค่กรณีพันธมิตรฯ กรณีอย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ไม่ใช่เรื่องของสนธิกับสมัคร

– ชั่วโมงนี้ นายกฯสมัครจะไปไม่รอดหรือไม่ อย่างไร

ผมคิดว่าไม่รอด เพราะตอนนี้ไม่รู้จะออกทางไหนจริงๆ คุณเป็นนายกฯได้ยังไงโดยที่ทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง ไปไม่รอดหรอก จะรออยู่อย่างนี้ได้ยังไง เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง แล้วผมคิดว่าก็ไม่ช้าเท่าไหร่ด้วย ไม่น่าจะเกินเดือนหนึ่ง…ผมให้

– ในสภาพอย่างนี้ข้าราชการเองก็เกียร์ว่างกันหมด

ก็ไม่ใช่เกียร์ว่าง (นะ) คือ เขาไม่ใจแน่ว่าสิ่งที่คุณสมัครสั่งให้ทำจะถูกหรือผิดก็ไม่รู้ อย่างนี้ผมก็ไม่กล้าหรอก เป็นใครก็ไม่มีใครกล้า ไปสั่งคุณอนุพงษ์ (เผ่าจินดา) แกยังไม่เอาด้วยเลย

– ถ้าพูดเรื่องปฏิวัติรัฐประหารช่วงนี้ จะเชยไปมั้ย

เชย…มันเชยแน่ แต่ที่ผมเชื่อ 2 อย่างคือ อย่างแรกผมเชื่อว่า ไม่มีกองทัพไทยเหลือในเวลานี้ คือ พอพูดคำว่ากองทัพไทยขึ้นมา คุณหมายถึงองค์กรซึ่งมีศูนย์รวมของการบังคับบัญชา ซึ่งไม่มี เวลานี้แตกหมด ฉะนั้นคุณจะทำยังไง ไม่มีความเป็นเอกภาพ อย่างที่สอง คุณรัฐประหารแล้วคุณจะทำอะไรต่อ มันชัดเจนว่าถ้าคุณจะทำสิ่งที่คุณคิดว่าควรทำแน่ๆ รับรอง..นองเลือด นองเลือดแน่นอน

– มีสื่อมวลชนรายงานข่าวอ้างว่า ทักษิณ จะทุ่มเงินซื้อกองพลกองพัน อาจารย์คิดอย่างไร

ซื้อกองพัน ผมคิดว่าทำไม่ได้ ทหารไทยผมว่าแปลกอยู่อย่าง (นะ) ในบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด กองทัพไทยเป็นกองทัพเดียวกระมังที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลเป็นคนตั้งขึ้นมา ส่วนกองทัพอื่นเกิดเอง เป็นกองโจร พอได้เอกราชก็เอากองโจรมารวมกัน กลายเป็นกองทัพแห่งชาติขึ้นมา

และด้วยเหตุดังนั้น กองทัพไทยจึงเป็น กองทัพที่เชื่อฟังในระบบบังคับบัญชาสูงมาก คือ สั่งให้ผมเคลื่อนรถถังออกมา ต้องแน่ใจนะว่า ผบ.ทบ.เอาด้วย อย่างน้อยสุดต้องแม่ทัพภาค 1 เอาด้วย (นะ) คือเราทำเองไม่เป็น ไม่เหมือนกองทัพฟิลิปปินส์ แค่นายพันก็ยึดอำนาจแล้ว

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol01110951&day=2008-09-11&sectionid=0202

Writer Held For ‘Insulting’ Thai Royals

9 September 2008 Leave a comment

เข้า BBC เพื่อจะเข้าไปดูว่ามีเขียนถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คุณสมบัตินายกฯว่าอย่างไร
ปรากฎว่าเจอบทความนี้เข้า
ยังเกี่ยวกับ กรณีของ Harry Nicolaides กับหนังสือ Verisimilitude ที่โดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (lese-majeste)
หนังสือเล่มนี้ จะว่าไป ยังไม่เคยได้อ่าน นอกจากบทสรุปย่อสั้น เลยไม่มีความเห็นใดๆเกี่ยวกับเนื้อหา
แต่มาดูกันว่า BBC ลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร


Writer Held For ‘Insulting’ Thai Royals

By Jonathan Head

BBC News, Bangkok

Until this month, few people had ever heard of, let alone read, a novel by aspiring Australian writer Harry Nicolaides entitled Verisimilitude.

According to the author, it was published three years ago, and in his own words "pulls away the mask of benign congeniality that Thailand has disguised itself with for decades, and reveals a people who are obsessed with Western affluence and materialism".

The book sank into immediate obscurity. Only 50 copies were printed, and just seven sold.

Mr Nicolaides, 41, continued to work in Thailand – as a lecturer in hospitality and tourism at a university in the northern town of Chiang Rai, writing the occasional article on lurid topics like the trade in child pornography, or relationships with Thai bar-girls. There are plenty of other foreigners making a living in much the same way.

But one passage in his forgotten novel has come back to haunt him.

It refers briefly, and unflatteringly, to the lifestyle of a crown prince, presumed by the Thai authorities to be Prince Maha Vajiralongkorn, heir to the throne. They have used it as the basis for a charge of "lese-majeste" against Mr Nicolaides.

A warrant for his arrest was issued in March this year, but – such is the habitual secrecy that surrounds all "lese-majeste" cases – he was never informed of this.

He continued to travel in and out of Thailand on visa runs, until 31 August, when he was detained as he was about to board a flight to Australia.

‘Icy looks’

Today he is being held in a remand centre in Bangkok, awaiting trial.

He was able to raise bail of 500,000 Thai baht ($15,000), but denied it on the grounds that he might flee the country.

Clearly stressed and bewildered, he was able to speak to reporters briefly during visiting hour.

"I feel persecuted, to be honest," he said. "I don’t feel I belong here. I want to be given a chance to apologise and explain, but not be in here, and experience these indignities and inhumanities," Mr Nicolaides said.

He said he was being held in a cell with 90 other inmates, all of them Thai.

"Someone learned that I am here for offending the monarch, and I had some very icy looks from men with tattoos from neck-to-toe," he said.

‘Odd assortment’

The nightmarish situation Mr Nicolaides finds himself in is a chilling reminder of the severity of Thailand’s "lese-majeste" law – he faces up to 15 years in jail – and of the unpredictability of its enforcement.

The clause in all recent Thai constitutions (there have been 17 since 1932) simply reads: "The King shall be enthroned in a position of revered worship and shall not be violated. No person shall expose the King to any sort of accusation or action."

Article 112 of the Thai Criminal Code reads: "Whoever defames, insults or threatens the King, Queen, the Heir-apparent or the Regent, shall be punished with imprisonment of three to 15 years."

Nowhere is there a definition of what constitutes an insult to the monarchy. Nor does the royal family ever invoke the law itself – "lese-majeste" complaints can be filed by anyone, against anyone, and they must always be formally investigated by the police.

So, the law has netted an odd assortment of offenders over the years.

A drunk Swiss man who sprayed graffiti on the king’s portrait; a French passenger on Thai Airways who refused to turn off his reading light while sitting next to a princess; and more recently two young Thais who failed to stand up for the king’s anthem in the cinema.

Heightened sensitivity

But the authorities do appear to be getting tougher on any comments deemed insulting or damaging to the royal family.

The government recently announced it was blocking 1,200 websites, a third of them because they referred to the monarchy (the rest were blocked mainly because they were pornographic).

This heightened sensitivity is understandable, as King Bhumibol is 80 years old, and there is acute public anxiety over the succession and the untested capabilities of the crown prince.

At a time of such political turmoil, maintaining the monarchy’s image has become a vital priority.

Harry Nicolaides now says he wants to apologise wholeheartedly for any offence his novel caused.

"I do feel some clemency should be extended to cases where a person’s record demonstrates they are not running an ongoing campaign against the crown," he said.

He is probably fortunate. Even if he is convicted and sentenced, in the past King Bhumibol has always quickly pardoned foreigners who have found themselves on the wrong side of this law.

http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7604935.stm

Categories: News and politics

Thailand’s New Crisis

8 September 2008 Leave a comment

ว่าแล้วก็มาดูว่า บทบรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ กล่าวถึงเหตุการณ์ในประเทศไทยอย่างไร
ตอนแรกก็คิดอยู่ว่า จะเอามาลงดีไหม
แต่คิดไปคิดมา เขียนได้ชัดเจนและตรงประเด็นขนาดนี้ ไม่น่าจะมองข้าม
เลยเอามาให้อ่านกัน


Thailand’s New Crisis

Editorial

An opposition movement claiming to defend democracy does its best to destroy it.
 
Saturday, September 6, 2008; Page A16

THE GOOD news about democracy is that as elected government has spread and deepened its roots around the world during the past two decades, poor people and neglected ethnic groups in many countries have gained power. In countries such as Brazil, Indonesia and Mexico, government policies have shifted to accommodate the newly enfranchised, and their lives have improved. The downside is that the expansion of the political system has, in a few countries, touched off cultural or class warfare that has undermined the new freedom. In some cases, such as Venezuela and Bolivia, populists claiming to represent a poor or indigenous majority have won elections, then sought to entrench themselves in power and eliminate competition from the old elite. We’ve had a lot to say about the harm Venezuela’s Hugo Chávez and Bolivia’s Evo Morales have done to their countries.

But a parallel danger has come from elites who respond to the surging influence of once-excluded populations by trying to check the democracy that empowered them. That is what has happened in Turkey, where a secular establishment has tried using both the military and the courts to overturn the election victories of the moderately Islamist AK Party. And a broadly similar story has unfolded in Thailand, which this week found itself paralyzed by a political crisis for the second time in less than two years.

Thailand’s struggle centers on the movement created by former prime minister Thaksin Shinawatra, a billionaire tycoon-turned-populist who won two landslide elections by promising economic improvement to poor people in the countryside. To a large extent, Mr. Thaksin delivered, creating health-care programs and providing credit to farmers. He also abused his power at times, leaning on the media and allowing human rights violations by the police and army. Two years ago, a movement backed by traditional political parties and claiming to defend democracy paralyzed Bangkok with demonstrations and eventually provoked a military coup. Predictably, the generals found themselves unable to govern the country, and last December they allowed new elections. Just as predictably, Mr. Thaksin’s party, with a new name and a surrogate leader, once again won.

The Bangkok-based elite is once again trying to bring down the government by force. Thousands are occupying the central government offices; violent clashes on Tuesday forced Prime Minister Samak Sundaravej to declare a state of emergency. The insurgents still style themselves as the "People’s Alliance for Democracy," but this time some of their leaders are explicit in calling for just the opposite: the restoration of a full monarchy or a military-backed autocracy that would keep Mr. Thaksin’s movement out of power.

Fortunately, Thai military leaders appear to have learned from their last intervention. The current commander in chief has ruled out a coup — though he also refused to enforce the state of emergency and disperse the demonstrators. Mr. Samak has resisted pressure to resign and instead announced a plan for a referendum on his continuance in office. That means the burden for ending the crisis peacefully lies with the opposition. Those among that opposition who genuinely believe in democracy should demonstrate as much by breaking with those who seek to destroy the system.

From : http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2008/09/05/AR2008090503718.html

Categories: News and politics

Thailand Threatens Jail For Defaming king (Lèse-Majesté)

6 September 2008 Leave a comment

ได้อ่านข่าวเมื่อหลายวันก่อน จากสื่อสิ่งพิมพ์ในไทย
ที่คุณ Harry Nicolaides ชาวออสเตรเลีย ถูกจับที่สนามบิน
ในความผิดฐาน Lese-Majeste หรือ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
แต่เป็นแบบที่สั้นมากๆ แทบไม่มีรายละเอียดเท่าไหร่
วันนี้บังเอิญเห็นจาก times ว่าเค้าคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร


Thailand Threatens Jail For Defaming king (Lèse-Majesté)

Richard Lloyd Parry in Bangkok

From The Times, September 6, 2008

Until six days ago when the men in uniform led him away at Bangkok airport, Harry Nicolaides was just one more flamboyant expatriate in Thailand. He visited first from Australia five years ago, and made his living as an English teacher with a bit of writing on the side.

He wrote seedy columns about his escapades with Thai bar girls and serious articles about child pornography. He described himself as “an individual who achieved brilliance with raw talent and tenacity”. He liked to wear Panama hats and cream suits.

Last Sunday, as he was about to board a flight home to Melbourne, his career came to a crashing end.

Since then he has been locked in a cell – ill, scared and suicidal, and facing a 15-year sentence on one of the gravest charges in the Thai criminal code. Mr Nicolaides, 41, is not a drug smuggler or gunrunner, like plenty of the other foreign prisoners here. The trouble in which he finds himself is over nothing more vicious than an obscure and forgotten book.
Related Links

Mr Nicolaides is the latest person to be charged with lèse-majesté, the crime of defaming the monarchy. In 2005 he published a novel entitled Verisimilitude, which contains references to rumours about the “romantic entanglements and intrigues” of the family of the Thai king, Bhumibol Adulyadej, and particularly his son, Crown Prince Maha Vajiralongkorn. The contentious material amounts to 103 words that could change Mr Nicolaides’ life.

In an interview with The Times at the Bangkok Remand Prison yesterday, he said that he has suffered from a seizure and fever and has been unable to sleep in a cell that he shares with 90 Thai detainees, some of whom are hostile because of the charge against him.

“I’ve been getting icy stares from men covered in tattoos,” he said. “On the first night I would have committed suicide if I’d had the means … I want to immediately apologise to the Royal Family for my reckless choice of words. I want to write a letter of apology, with the greatest humility.”

Mr Nicolaides says that before publication he wrote to Thailand’s Bureau of the Royal Household, asking for their reaction to the contentious paragraph, and received no reply. He has raised 500,000 baht (£8,200) bail, but this was denied. It is unclear why he has been arrested this week after coming and going over the past seven months. But there seems to have been a general increase in lèse-majesté prosecutions over the past few years.

Within Thailand the law has made any discussion of the role and future of the monarchy impossibly dangerous. There seems to be no limit on what can qualify as insulting the monarchy. Jonathan Head, the BBC’s Bangkok correspondent, is under investigation for lèse-majesté. Among the complaints against him is that a photograph of King Bhumibol appeared below that of a Thai politician on a page on the BBC website – rather than at the top.

http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article4687103.ece


Verisimilitude – Book Review
http://www.akha.org/content/bookreviews/verisimilitude.html

The Australian – Thais Detain Aussie Writer
http://www.theaustralian.news.com.au/story/0,25197,24296244-5013404,00.html

Categories: News and politics

Worse than a coup & ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตร

4 September 2008 1 comment

ช่วงนี้ ต้องยอมรับว่า เรื่องของ พันธมิตรฯ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทั่วไป
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่ละวัน เราไม่สามารถหลุดพ้นจากข่าวสารที่เกี่ยวเนื่องถึง พันธมิตรฯ ได้

ไหนๆก็หนีไม่พ้นแล้ว ลองอ่าน 2 บทความที่หามาฝาก ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เริ่มกันที่ "ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตร" โดย เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยการวิเคราะห์ ข้อสังเกตุต่างๆที่เกิดขึ้น กับปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตร
ปิดท้ายด้วย Worse than a coup จากนิตรสาร The Economist
เป็นบทความว่าด้วยมุมมองของโลกภายนอก มองเข้ามาในประเทศไทย
มีการนำทั้งเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2006 มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน


"ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตร"

โดย เกษียร เตชะพีระ

วันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11136 มติชนรายวัน
 
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ และจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างก็ตาม การเคลื่อนไหวประท้วงของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" รอบ 2 ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมศกนี้เป็นต้นมา นับเป็นปรากฏการณ์น่าสนใจชวนขบคิดวิเคราะห์

โดยที่ยังไม่อาจคิดเรียบเรียงเป็นระบบครบถ้วนกระบวนความ ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตขั้นต้นบางอย่างเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะและแนวโน้มของม็อบพันธมิตรในที่นี้ : –

1) การชุมนุมมาราธอนของพันธมิตรที่ยืดเยื้อมาได้นานร่วม 100 วันเพราะได้แรงความชอบธรรม หรืออย่างน้อยก็อดกลั้นอดออมจากสาธารณชนที่ตระหนักเห็นความบกพร่องพิกลพิการของระบอบการเมืองประชาธิปไตยรัฐสภาจากการเลือกตั้งดังที่เป็นอยู่

จะว่าไปแล้วตลอด 100 วันที่ผ่านมานั้น ตัวรัฐบาลสมัครและระบบรัฐสภาเองนั่นแหละที่ราวกับเปิดช่องชงเรื่องตั้งลูกจุดประเด็น-ไม่ว่าโดยจงใจหรือไร้เจตนา ไม่ว่าโดยแผนการหรือเป็นไปตามระบบ-ให้พันธมิตรหยิบไปเปิดโปงตีกินขยายความปลุกระดมความไม่พอใจและไม่ไว้วางใจของสาธารณชนได้เรื่องแล้วเรื่องเล่าไม่หยุดหย่อน

ตั้งแต่กรณีผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างปิดแคบรีบร้อนรวบรัด, คำปราศรัยในอดีตของ รมต.จักรภพ, มรดกโลกเขาพระวิหาร, การปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว, แผนเมกะโปรเจ็คต์บางโครงการ, การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับควบคุมตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทย, ไปจนถึงโครงการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่เบียดขับรุกรานเด็กนักเรียนและชาวบ้าน ฯลฯ

พูดอีกอย่างก็คือ โดยไม่ต้องเห็นด้วยกับเป้าหมายและวิธีการทั้งหมดทุกอย่างของพันธมิตร แต่สาธารณชนก็รู้สึกได้ว่าระบอบประชาธิปไตยรัฐสภายังแสดงอาการรวมศูนย์อำนาจและผูกขาดอธิปัตย์ (centralism & monism ในการวิเคราะห์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์) เรื้อรังออกมาไม่หยุดหย่อนเหมือนดังที่เคยเป็นมาและเป็นอยู่ จึงต้องการพลังอะไรสักอย่างไปคัดคานถ่วงดุลตรวจสอบมันไว้

หากศาลตุลาการและองค์กรอิสระเป็นพลังถ่วงดุลตรวจสอบภายในระบบ พันธมิตรก็ทำตัวเสมือนเป็นพลังถ่วงดุลตรวจสอบหนุนเสริมอยู่นอกระบบ – ในกรณีที่พลังภายในระบบทัดทานไม่ไหวหรือไม่ทันกาล

มองเฉพาะแง่มุมเดียวนี้ พันธมิตรจึงดูเหมือนแสดงบทบาทหน้าที่จำเป็นบางอย่างสำหรับระบบการเมืองแบบนี้ (systemic function)

2) ม็อบมาราธอนของพันธมิตรน่าจะเป็นการชุมนุมประท้วงครั้งแรกของโลกที่ถ่ายทอดสดทางทีวีดาวเทียม, วิทยุ และอินเตอร์เน็ต 24/7 (วันละ 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ละ 7 วัน) ต่อเนื่องกันนานนับ 100 วัน

ทำให้มันมีลักษณะผสมผสานอย่างพิสดารระหว่าง reality show กับการรณรงค์ต่อสู้ทางการเมือง

ซึ่งเปลี่ยนขยายปรากฏการณ์ audience democracy (ประชาธิปไตยของผู้ชมในตะวันตกช่วงหลังนี้ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นแค่ผู้ชมผู้ฟังบรรดานักการเมืองอาชีพเล่นบทบาทกันไปบนเวทีการเมืองแล้วก็ให้เรตติ้งคะแนนนิยมผ่านการสำรวจหยั่งเสียง) ออกไป

ให้สามารถมี virtual participants นอกสถานที่ชุมนุม (ผู้เสมือนเข้าร่วมจริง – ไปม็อบได้โดยไม่ต้องออกนอกบ้านหรือออฟฟิศ) มากมายเหลือคณานับกว่าที่พบเห็นในที่ชุมนุม โดยเสียบหูฟังวิทยุคลื่น FM 97.75 หรือเปิดโฮมเธียเตอร์ช่องเอเอสทีวีดังสนั่นลั่นห้อง ให้ความรู้สึกเหมือนร่วมรับฟัง/รับเห็น/รับรู้/รู้สึกอยู่ในที่ชุมนุมตลอดเวลาไม่ว่ากำลังทำงาน ทานข้าว หรือเข้านอน

ทว่า ผลด้านกลับของมันคือทำให้การชุมนุมของพันธมิตรน่าจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายรายวันแพงที่สุดในโลกด้วย เพราะไม่เพียงค่าเช่าเวทีอุปกรณ์แสงเสียง ค่าน้ำมันปั่นเครื่องไฟ ค่าสวัสดิการอาหารของคณะทำงาน วิทยากรและศิลปิน ยังมีเงินเดือนและค่าดำเนินการถ่ายทอดสดจากที่ชุมนุมของทีมเอเอสทีวีอีกต่างหาก รวมแล้วตกถึงวันละ 5 แสน-1 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนผู้ชุมนุม ขณะเงินบริจาคและรายได้จากการขายเสื้อยืดสิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงเข้ามาประมาณวันละ 3 แสน-กว่า 1 ล้านบาท

ด้วยเงินงบประมาณรายวันขนาดนี้คงพอให้การชุมนุมประท้วงปกติธรรมดาของชาวบ้าน หรือแม้แต่ของ นปก. ที่ย่อมเยากว่ายืนยาวไปได้นานเป็นสัปดาห์ทีเดียว

ปรากฏว่าใน 25 วันแรกของการชุมนุม พันธมิตรมีรายได้ 26 ล้านบาท ใช้จ่ายไป 24 ล้านบาท (สุริยะใส กตะศิลา), ในการชุมนุมกว่า 3 เดือน พันธมิตรผลิตเสื้อ "ลูกจีนรักชาติ" ออกขาย 9 หมื่นตัว ได้เงินกว่า 25 ล้านบาท (ชัยอนันต์ สมุทวณิช), จนหลังบุกยึดทำเนียบ พันธมิตรก็ยังมีเงินเหลือในบัญชี 6.6 ล้านบาทและทองคำแท่งหนัก 80 บาท (จำลอง ศรีเมือง)

การชุมนุมแบบพันธมิตรจึงมีภาระทางการเงินหนักเป็นพิเศษ ความข้อนี้บ่งชี้ลักษณะด้านฐานะเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของฐานผู้สนับสนุนและเข้าร่วมได้พอสมควร

3) พูดอย่างรวบยอด การชุมนุมของพันธมิตรคือพลังฝ่ายค้านทางการเมืองตัวจริงเสียงจริงในปัจจุบัน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแค่ตัวประกอบ (ใครยังจำได้ว่ามีพรรคฝ่ายค้านนี้อยู่บ้าง…?)

เพียงแต่ข้อต่างที่มีนัยสำคัญคือพันธมิตรเป็นพลังฝ่ายค้านที่ต่อต้านทั้งระบบการเมือง (ในความหมาย a force of resistance to the whole political system) ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านปกติธรรมดาในระบบการเมือง (ในความหมาย an opposition party in the political system)

พูดเพื่อเข้าใจง่ายๆ ได้ว่า พันธมิตรคือ "พรรค" ราชาชาตินิยมฝ่ายค้านตัวจริงนอกระบบรัฐสภา ที่ไม่ลงเลือกตั้งเพราะถึงลงก็คงแพ้พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอื่นซึ่งทุนหนาและกุมเสียงส่วนใหญ่ในชนบทแน่นกว่า

ทางเดียวที่ "พรรค" พันธมิตรจะชนะและยึดอำนาจรัฐได้จึงไม่ใช่ผ่านการเลือกตั้ง แต่ต้องโดยวิถีทางอื่น-ดังได้พิสูจน์ให้เห็นซ้ำซากครั้งแล้วครั้งเล่าตลอด 3 ปีที่ผ่านมา-ไม่ว่าโดยการชุมนุมประท้วง, รัฐประหาร, หรือลุกขึ้นสู้ (general uprising-ปราโมทย์ นาครทรรพ) ในครั้งนี้ก็ตามที

การดำรงอยู่ของพันธมิตรรวมทั้งพลังทางการเมืองและสังคมซึ่งมีพวกเขาเป็นตัวแทนในฐานะขั้วหนึ่งของคู่ขัดแย้งหลักทางการเมืองปัจจุบันจึงเป็นปัจจัยแห่งความไร้เสถียรภาพในระบบการเมืองอยู่แล้วโดยตัวของมันเองเป็นธรรมดา

ยิ่งกว่านั้นการที่พันธมิตรเข้าใจว่าตนเองเป็นเครื่องมือแบบการเมืองมวลชนเพื่อไปบรรลุสิ่งซึ่งตนเองเข้าใจว่าเป็นพระราชประสงค์ขององค์พระประมุข โดยก้าวข้ามช่องทางสถาบันการเมืองทางการทั้งหมด (คำปราศรัยบนเวทีก่อนเป่านกหวีดบุกยึดทำเนียบของสนธิ ลิ้มทองกุล, พิภพ ธงไชย เป็นต้น) จึงน่าวิตกว่าจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิอาจทำงานตามครรลองกลไกกระบวนการปกติของมันได้ เกิดอาการไฟช็อร์ตลัดวงจร กระทั่งหมดสภาพลง

กรณีตัวอย่างที่พอยกมาเปรียบเทียบได้ในบางแง่มุมคือสถานการณ์ในเมืองจีนช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

4) ในสายตาผม แนวโน้มน่าห่วงที่สุดของม็อบพันธมิตร คือท่าทีต่อปัญหาจริยธรรมว่าด้วยวิธีการ (the ethics of means)

เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่ตนเห็นว่าถูกต้องดีงาม พันธมิตรไม่เลือกวิธีการที่ใช้ จะใช้วิธีการอะไรก็ได้ จะชอบหรือไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือหลักการทางการเมืองอย่างไรก็ได้ ขอแต่ให้บรรลุเป้าหมายได้เป็นพอ เข้าทำนอง The end justifies the means. หรือเป้าหมายให้ความชอบธรรมกับวิธีการ

เหตุผลที่พันธมิตรอ้างมักมี 2 ประการด้วยกัน คือ

ก) ศัตรูที่เราสู้ด้วยเป็นคนสกปรกเลวทรามต่ำช้าถึงขนาดฝ่ายมันเองก็ไม่เลือกวิธีการเวลาสู้กับเรา ฉะนั้น จัดการกับคนชั่วช้าแบบนี้ก็ไม่ต้องเลือกหรือจำกัดรูปแบบวิธีการเหมือนกัน มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อมัน (ประพันธ์ คูณมี, และชุดคำอธิบายเหตุที่พยายามบุกยึดสถานี NBT ของผู้นำพันธมิตร)

ข) สิ่งที่เรามุ่งพิทักษ์ปกป้องไว้นั้นสำคัญสูงสุดเสียจนกระทั่งกดลบกลบทับหลักเกณฑ์หลักการอื่นๆ ทั้งหมด หลักเกณฑ์หลักการอื่นจึงชาชืดจืดจางลงสิ้นเมื่อนำมาเปรียบด้วย เพราะฉะนั้นเพื่อรักษาสิ่งสำคัญสุดยอดไว้ แม้จะต้องละเมิดหักรานหลักเกณฑ์หลักการอื่นไปบ้างก็ต้องทำ (สนธิ ลิ้มทองกุล)

พันธมิตรจึงพร้อมหยิบฉวยประเด็นร้อนแรงแหลมคมต่างๆ ไม่ว่า ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, ปลุกความคลั่งชาติเรื่องดินแดน ฯลฯ มาเป็นยุทธวิธีปลุกเร้าผู้คนให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลและทักษิณ

ผมไม่เห็นด้วยกับท่าทีเช่นนี้ ผมเห็นว่ามันสุ่มเสี่ยงอันตรายที่จะปลุกพลังรุนแรงที่อาจควบคุมไว้ไม่อยู่ขึ้นมาจนพลอยไปทำร้ายทำลายผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออย่างเกินกว่าเหตุ อีกทั้งยังเห็นมนุษย์คนอื่นเป็นเครื่องมือ เป็นเหยื่อ และเป็นเครื่องบูชายัญสังเวยเป้าหมายความเชื่อของตนเอง

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ว่า วิธีการคือหน่ออ่อนที่จะเติบใหญ่ขยายตัวกลายเป็นเป้าหมายในอนาคตข้างหน้า (Means is the end in the process of becoming.) ฉะนั้น หากเลือกวิธีการเลวร้ายตอนนี้แม้ในนามของเป้าหมายที่ดีงามในอนาคต แต่ในที่สุดแล้ววิธีการเลวร้ายที่เลือกก็รังแต่จะเติบใหญ่ขยายตัวลงเอยกลายเป็นเป้าหมายที่เลวร้ายในบั้นปลายนั่นเอง

ฐานคิดทางปรัชญาของปฏิบัติการไม่รุนแรงและอารยะขัดขืนที่แท้จึงได้แก่หลักความเป็นเอกภาพของคุณค่าทางศีลธรรมระหว่างเป้าหมายกับวิธีการ (moral unity of the end and the means) เป้าหมายดี ต้องเลือกใช้วิธีการดีด้วย, หากเลือกใช้วิธีการเลว เป้าหมายจะออกมาดีนั้นเป็นไปไม่ได้

5) ตอนนี้บ้านเมืองของเรากำลังอยู่ตรงริมเหวแห่งการลุกขึ้นสู้ทั่วไปของประชาชนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านรัฐบาล

เป็นจุดเดียวกับที่บ้านเมืองเราเคยเดินมาถึง ณ วันสุกดิบก่อน 14 ตุลาคม 2516 และ 17 พฤษภาคม 2535…และแล้วเราก็ถลำลึกลงไป

เราเดินมาถึงจุดนี้วันนี้ได้ก็เพราะความผิดพลาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง และที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย

จากจุดนี้ไปอีกนิดเดียว น่ากลัวว่าไฟจะลุกเผาบ้านเผาเมือง เลือดไทยจะนองถนนด้วยฝีมือไทยกันเองอีก

จะหยุดและหลีกพ้นหุบเหวนี้ได้

-ฝ่ายรัฐต้องถอนกำลังฝ่ายความมั่นคงหลีกห่างออกมาจากการเผชิญหน้ากับมวลชนพันธมิตรทุกที่ทุกแห่งอย่างเร่งด่วน

-ผู้นำพันธมิตรที่ถูกออกหมายจับทั้ง 9 คนต้องมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพื่อเข้าสู่การต่อสู้ในกระบวนยุติธรรมตามกฎหมายทันที

จากนี้กระบวนการทางการเมืองและกฎหมายจะได้ดำเนินต่อไปตามกฎเกณฑ์กติกาของมัน แทนที่จะเดินหน้าสู่การทำร้ายทำลายกันที่ทุกฝ่ายล้วนพ่ายแพ้

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04050951&sectionid=0130&day=2008-09-05


Worse than a coup

The Economist print edition

Sep 4th 2008

An authoritarian rabble should not be allowed to turf out a deeply flawed but popularly elected government

STANDING up for democracy sometimes entails standing up for some unappealing democrats. Thailand’s pugnacious prime minister, Samak Sundaravej, is an especially hard man to defend. A ferocious rightist, Mr Samak was accused of inciting the policemen and vigilantes who slaughtered dozens of unarmed student protesters in Bangkok in 1976. On becoming prime minister following the election last December that restored democratic rule after a 2006 coup, Mr Samak chose for his cabinet some of the most unsavoury figures linked to the government of Thaksin Shinawatra, the prime minister deposed in the coup. But with the army on the streets of Bangkok again, Mr Samak is for once, if not in the right, then at least less wrong than those calling for his head.

His government is deeply flawed. But it would be wrong and dangerous if the authoritarian rabble who have seized Government House in Bangkok forced it out of office. After violent clashes between supporters and opponents of the government, Mr Samak this week declared a state of emergency in Bangkok (see article). The army chief backed his decision, but by mid-week was still ruling out the use of force to clear the squatters out. If the protesters, the woefully misnamed People’s Alliance for Democracy (PAD), do succeed, democracy in Thailand—not so long ago a beacon, by Asian standards, of pluralistic politics—will be in grave danger.

Some in the crowds at PAD rallies are liberals, appalled both at the abuses of power in Mr Thaksin’s government and the sad signs that Mr Samak’s is no better. The PAD’s leaders, however, are neither liberals nor democrats. A gruesome bunch of reactionary businessmen, generals and aristocrats, they demand not fresh elections, which they would lose, but “new politics”—in fact a return to old-fashioned authoritarian rule, with a mostly appointed parliament and powers for the army to step in when it chooses. They argue that the rural masses who favour Mr Thaksin and Mr Samak are too “ill-educated” to use their votes sensibly. This overlooks an inconvenient electoral truth: the two prime ministers had genuinely popular policies, such as cheap health care and credit.

The palace and a Burmese road to ruin

As in the build-up to the 2006 coup, PAD leaders are trying to oust a popular government on the bogus pretext of “saving” Thailand’s revered King Bhumibol from a supposed republican plot. Some of the PAD protesters reportedly believe their sit-in has the crown’s tacit backing. Almost anywhere else, the police would have removed them, forcibly if necessary, by now. But it is whispered that the PAD has protectors “on high”—hardline army generals and possibly figures in the royal palace (though not the king himself). This may be nonsense; but by preventing the discussion and hence refutation of such royal rumours, Thailand’s harsh, much-abused lèse-majesté law has the ironic effect of helping them spread.

In the official version of modern Thai history, the king is the great defender of peace and democracy, who comes to the rescue at moments of crisis. Now would seem to be one such moment: some wise words from the king could do much to defuse tension. Thais like to believe they are good at seeking compromise to avoid conflict. But there has been little sign of compromise in the past three years, and there is now the risk of a bad one. The elected government might be forced out of office to pacify the PAD’s demagogues, it might be made to share power with the undeserving opposition Democrat party, which has shown little leadership while waiting for power to be handed it on a plate, or, as in Bangladesh, a civilian front might provide a cloak for de facto military rule.

It is just possible to imagine a decent compromise in which Mr Samak gives way to a more emollient figure from the ruling coalition—and the PAD and its supporters in the army, the bureaucracy and (if they exist) the royal palace accept the verdict of the people. But the PAD’s leaders may well not stop until they have imposed their own, undemocratic vision of Thailand. In this sense they are even more pernicious than the coupmakers of 2006, who at least promised to restore elected government and, under popular pressure, did so.

Prosperous, modern and open, Thailand has so far inhabited a different era from the dark ages in which its dismal neighbour, Myanmar, languishes under a thuggish, isolationist junta. Thailand’s foreign friends should make clear to the Thai elite that toppling elected governments would be a step backwards. As Myanmar has found, it might also court sanctions. Foreign tourists, seeing the unchecked disorder on their television screens, including blockades of some airports, may soon be imposing a boycott of their own.

From : http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12070465


Other Interesting Related Items From The Economist

Thailand’s political stand-off – Sep 4th 2008
http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=12056833
A state of emergency in Thailand – Sep 2nd 2008
http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=12037612

Categories: News and politics

ทางออกธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา (ธงชัย วินิจจะกูล)

4 September 2008 Leave a comment

"…ผมเชื่อในศักยภาพของคน แม้ว่าจะเป็นชาวบ้านเขาก็เรียนรู้
เขารู้ในบริบทของเขาเหมือนกับคนชั้นกลางรู้ในบริบทของเขา
ปัญหาคือเรากล้าพอไหมที่จะเคารพการตัดสินใจของคนพวกนี้
อย่่างที่ผมเคยบอกว่าประชาธิปไตยคือถ้าเขาเลือกผู้ปกครองผิดก็ให้เขารู้ว่า
เขาเลือกผู้ปกครองผิด ต่อไปเขาจะได้เลือกมันให้ถูก

แต่ถึงที่สุดเราต้องเคารพคน
ไม่ควรจะมีใครเป็นผู้วิเศษมาชี้แล้วบอกว่าพวกคุณผิด
ปัญหาคือชนชั้นนำไทยชอบชี้เองว่ามันผิดหรือถูก
โดยที่ลืมไปว่า เมื่อเราชี้นั้น ตัวเราก็พัวพันอยู่ในผลประโยชน์ในทางชนชั้นด้วยส่วนหนึ่ง…"

บางส่วนจาก สัมภาษณ์ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

นิตยสาร สารคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 282 สิงหาคม 2551


ทางออกธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา

ธงชัย วินิจจะกูล

ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2551 มีแถลงการณ์จากกลุ่มบุคคลใหญ่น้อยสารพัดพยายามเสนอทางออกต่อสถานการณ์ขณะนี้รวม 17 ฉบับ ผมได้รับร่างที่ส่งผ่านกันมาให้พิจารณาอีก 2 ฉบับ รวมเป็น 19 ฉบับ

ในจำนวนนี้ 11 ฉบับเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก อีก 3 ฉบับเสนอให้ยุบสภา อีก 2 ฉบับเสนอว่ายุบสภาก็ได้ นายกฯ ลาออกก็ได้ อีก 3 ฉบับไม่เสนออะไรเลย ข้อเสนอเหล่านี้ให้เหตุผลไปต่างๆกัน ผู้สนใจการเมืองคงคิดคำนวณข้อดีข้อเสียของแต่ละทางออกด้วยความลำเอียงเลือกข้างตามจริตของตน

น่าดีใจที่ไม่มีใครเสนอทางออกซึ่งอาจอยู่ในใจบางคนแต่ไม่กล้าพูดออกมา นั่นคือรัฐประหาร อย่างน้อยก็ยังมีความละอายใจกันอยู่บ้าง

น่าดีใจที่ไม่มีใครเสนอทางออกอีกอย่างซึ่งอาจอยู่ในใจหลายคน แต่มิอาจเอื้อมเสนอ อย่างน้อยก็ยังมีความยับยั้งชั่งใจกันอยู่บ้าง

แต่น่าตกใจที่มีไม่กี่คนที่เสนอทางออกอีกอย่างซึ่งอาจจะง่ายที่สุดและถูกต้องชอบธรรมที่สุด (เกษียร เตชะพีระเสนอความคิดนี้ในบทความของเขาแต่โดนปัญญาชนพันธมิตรฯ โจมตีราวเป็นศัตรู นักวิชาการจำนวนหนึ่งก็เสนอในการประชุมเร็วๆนี้ที่จุฬาฯ ก่อนการปะทะกัน) นั่นคือ

ผู้นำพันธมิตรฯ ควรมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อให้เผชิญกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่นที่เหมาะสมกับการแสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย (ที่ไม่ใช่เพื่อยึดอำนาจรัฐ)

ทางออกนี้ต้องการความกล้าหาญและความรับผิดชอบของผู้นำพันธมิตรฯ เมื่อกล้าก่อปัญหา กล้าขัดขืน ก็สมควรกล้าเผชิญหน้ากับกฎหมายอย่างมีอารยะ ต้องทำเช่นนี้ต่างหาก การประท้วงของพันธมิตรฯ จึงจะนับเป็นอารยะขัดขืน

หากไม่ทำเช่นนี้การกระทำของพันธมิตรฯ ย่อมนับเป็นการกระทำของอันธพาลการเมืองที่วางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย ถึงจะใหญ่โตแค่ไหนก็เป็นแค่กุ๊ยการเมืองระดับชาติที่น่ารังเกียจ

ในสังคมไทย แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังอยู่ใต้กฎหมาย ผู้นำพันธมิตรฯเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกันจึงวางอำนาจบาตรใหญ่เหนือกฎหมายได้

เกลียดทักษิณ ก็อย่าทำตัวอย่างเดียวกับที่ตนกล่าวหาทักษิณ

ผมอยากเห็นท่าน ผบ.ทบ. หรือคนระดับนั้นไปเชิญตัวผู้นำพันธมิตรฯถึงที่ชุมนุม ไปมือเปล่าๆ ขอให้ผู้ชุมนุมเปิดทางให้มีการมอบตัวกันแต่โดยดี จากนั้นเป็นเรื่องของศาล

ผู้นำพันธมิตรฯ ควรกล้าหาญรับผิดชอบความบกพร่องของตน (หรือใครคิดว่าพวกเขาไม่มีความบกพร่อง?) อย่าเอาชีวิตเลือดเนื้อของมวลชนผู้สนับสนุนตน เข้าเสี่ยงตายแทนตัวเองเลย

ความกล้าหาญอาจช่วยให้ผู้นำพันธมิตรฯ กลายเป็นวีรบุรุษในฉับพลันอีกด้วย

อาจมีข้อโต้แย้งว่าเป็นไปได้ยาก เพราะผู้นำพันธมิตรฯ คงไม่ยอม เหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะทางออกอื่นก็ไม่ง่ายสักข้อ และก็คงมีคนอื่นไม่ยอมเช่นกัน ผู้นำพันธมิตรฯเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกันที่เราต้องคอยเอาใจ

อาจมีข้อโต้แย้งว่าทางออกนี้ไม่ยุติความขัดแย้งในปัจจุบันอย่างถึงราก เหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะทางออกอื่น ไม่ว่ายุบสภาหรือลาออก ก็ไม่ยุติความขัดแย้งพื้นฐานแต่อย่างใด เรากำลังหาทางเพียงแค่ลดการประจันหน้าและลดอุณหภูมิทางการเมืองลง ทุกทางออกหวังผลแค่ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าด้วยกันทั้งนั้น

อาจมีข้อโต้แย้งว่า มวลชนของพันธมิตรฯ คงยอมไม่ได้ เหตุผลข้อนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะขึ้นอยู่กับผู้นำพันธมิตรฯ จะกล้าหาญทำความเข้าใจกับคนของตนหรือไม่ต่างหาก มวลชนของพันธมิตรฯ เป็นคนมีการศึกษาและโตๆกันแล้วทั้งนั้น

ทั้งทางออกอื่นก็คงมีมวลชนของฝ่ายตรงข้ามพันธมิตรไม่ยอมรับเช่นกัน ไม่เห็นมีปัญญาชนนักวิชาการคิดถึงเขาบ้างเลย

ทางออกที่เสนอนี้ยังเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย และไม่ทำลายความน่าเชื่อถือของศาลอีกด้วย ในทางกลับกันการทำตัวอยู่เหนือกฎหมายของพันธมิตรฯ เป็นการทำร้ายอำนาจตุลาการที่ตนยกย่องเชิดชู

อยากจะสร้างการเมืองใหม่ ก็กรุณาอดทนจนกว่าประชาชนจะเห็นด้วย มิใช่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ บังคับขู่เข็ญ ยัดเยียดให้คนครึ่งค่อนประเทศจำต้องยอมรับ

ทางออกง่ายๆ ตรงๆ และถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายข้อนี้ถูกมองข้ามเสียสิ้นเพราะความลำเอียงที่แผ่ซ่านจนน่ากลัว จนไม่ฟังกันอีกต่อไป

น่าตกใจที่ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกฎหมายทนายความและนักสิทธิมนุษยชนทิ้งหลักการ หลักวิชาชีพ กลายเป็นนักเคลื่อนไหวมวลชนที่มุ่งเอาชนะกันไปหมด ต่างลำเอียงกระเท่เร่ให้ท้ายการวางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย ลำเอียงจนขาดความยั้งคิด เอาแต่ได้ เลือกปฏิบัติ ขาดหลักการ เกลียดชังทักษิณจนขาดสติ ทำลายทุกอย่างและใครก็ตามที่ขวางหน้า

พวกตนข่มขู่คุกคามคนอื่นก็ถือเป็นความรักชาติ ใช้ความรุนแรงก็ถือเป็นการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ พกอาวุธก็ถือเป็นสันติวิธี รวมกันแล้วก็ถือเป็น “ข้ออ่อนที่มีอยู่บ้าง”พอรับได้ หากฝ่ายตรงข้ามตนทำผิดก็เรียกร้องเอาผิดราวจะกินเลือดกินเนื้อ

คนมากมายไม่กล้าทักท้วงทัดทานเพราะไม่อยากโดนก่นด่าทำลาย เสียเพื่อนเปลืองตัว

ประชาชนหลายสิบล้านที่กำลังเฝ้าดูพันธมิตรฯ และปัญญาชนชาวกรุง จะให้พวกเขาเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไรกัน พวกเขาย่อมคิดว่าประเทศชาติไม่ใช่ของเขาแต่เป็นของเทวดาชาวกรุงที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง แถมยังมีนิสัยเด็กๆ คือ เอาแต่ได้แต่ไม่กล้ารับผิดชอบ

พวกเขากำลังอัดอั้นตันใจจนกำลังจะระเบิดสักวันว่า พวกเขาเป็นแค่ไพร่ทาส เป็นพลเมืองชั้นต่ำกว่าพันธมิตรฯ และปัญญาชนชาวกรุงหรืออย่างไร

ทางออกที่ถูกมองข้ามนี้ เป็นวิถีปฏิบัติปกติที่ใช้กันอยู่เป็นประจำในนานาอารยะประเทศที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ เพื่อไม่ให้การประท้วงลามปามกลายเป็นการนองเลือด เป็นทางออกอย่างแรกๆที่ใครๆก็นึกได้จนเป็นสามัญสำนึก

ประเทศไทยประหลาดกว่าใครอื่นขนาดไหนกัน จึงมองข้ามทางออกธรรมดาๆและตรงไปตรงมาข้อนี้กันหมด หรือประเทศไทยมีระดับอารยะธรรมสูงต่ำผิดปกติกว่าคนอื่น จึงถือกฎหมายเป็นของเล่นที่จะใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ทิ้งเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจชอบ

หรือปัญญาชนประเทศไทยมีระดับสติปัญญา ความเที่ยงตรงและความยึดมั่นในหลักการ อยู่ในระดับสูงต่ำผิดปกติต่างจากที่อื่นๆในโลก จึงนึกไม่ถึงทางออกอย่างแรกๆที่น่าจะเป็นสามัญสำนึก

ผมพบว่า มีหลายคนยอมรับว่าตนลำเอียง และเห็นว่าการเลือกปฎิบัติและเลือกใช้กฎหมายตามแต่ประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเขาเห็นว่ามีภารกิจที่สำคัญกว่ากฎหมายซึ่งต้องเอาชนะให้ได้

พวกเขาจึงจงใจมองข้ามทางออกธรรมดาๆและตรงไปตรงมาข้อนี้ เพราะเขาหวังบรรลุชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่าการเคารพกฎหมาย

ความขัดแย้งทางการเมือง 2-3 ปีที่ผ่านมาวนเวียนอยู่กับหายนะก็เพราะความคิดสั้นพรรค์นี้แหละ

สรุป ยุบสภา? ลาออก? หรือมอบตัวแล้วเชิญชุมนุมกันต่อไปในสถานที่อื่นที่เหมาะสม?

ขอความกรุณาพิจารณาอย่างมีสติ อย่าเอาแต่ได้ อย่าคิดแต่จะเอาชนะกันจนทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า อย่าเกลียดกลัวจนถูกอวิชชาครอบงำ

ขณะนี้สายไปแล้วที่สำหรับทางออกที่สมบูรณ์ มีแต่ทางออกที่ก่อความเสียหายมากกว่ากับน้อยกว่า รักษาระบบสถาบันหลักต่างๆ มากกว่ากับน้อยกว่า และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน

ผมเบื่อแถลงการณ์ทั้งหลายเต็มทน แต่หากมีใครเสนอทางออกนี้ ผมจะขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง และขอจองลงชื่อล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ทันร่างไว้เลย

Categories: News and politics