Archive

Archive for the ‘Other’ Category

โลกแสนสุขของนักกฎหมายรัฐ, สมชาย ปรีชาศิลปะกุล

20 August 2011 Leave a comment

โลกแสนสุขของนักกฎหมายรัฐ

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล

ขณะที่ข้าราชการจำนวนมากกำลังตกอยู่ในภาวะรายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่สำหรับบรรดานักกฎหมายในระบบราชการถือได้ว่าเป็นยุคที่อิ่มหนำสำราญมากที่สุด

อันมีความหมายว่าค่าตอบแทนโดยรวมของนักกฎหมายอยู่ในระดับที่สูงกว่าข้าราชการประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกฎหมายที่ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ซึ่งกำลังจะรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบรรดาบุคลากรในองค์กรอิสระทุกองค์กรก็ต่างอยู่ในฐานะที่ “ล่ำซำ” ไม่ต่างไปจากกัน

โดยค่าตอบแทนของบุคลากรในองค์กรเหล่านี้ แม้ว่าฐานเงินเดือนจะไม่สู้มีความแตกต่างไปจากข้าราชการอื่นทั่วไป แต่จะมีเงินประจำตำแหน่งเป็นพิเศษตั้งแต่ระดับเริ่มต้นในหลักพันไปจนถึงประมาณถึงสี่หมื่นบาท ทำให้เงินเดือนตอบแทนของบุคลากรในระดับกลางอันมีอายุราชการประมาณสิบปีสามารถมีค่าตอบแทนได้ในหลักแสน

(ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่ารถประจำตำแหน่งอีกประมาณ 40,000 บาท ซึ่งจะจ่ายตอบแทนให้แก่บุคลากรบางตำแหน่งโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้มีหน้าที่ที่จำเป็นต้องเดินทางไปไหนมาไหนก็ตาม แม้ในตำแหน่งซึ่งทำหน้าหลักอยู่ในสำนักงานเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม)

หากเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ในระบบราชการไทย การจะสามารถได้รับค่าตอบแทนในลักษณะนี้ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่างๆ เท่านั้น หรือหากเป็นข้าราชการในหน่วยงานอื่นต่อให้ทำงานจนเกษียณอายุราชการ ก็ยังไม่สามารถมีรายได้สูงเทียบเท่ากับที่บรรดานักกฎหมายได้รับอยู่ แม้ว่านักกฎหมายเหล่านี้ จะมีอายุราชการน้อยกว่ามากก็ตาม

มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ตำแหน่งนักกฎหมายในระบบราชการสามารถได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างไปจากข้าราชการฝ่ายอื่น

ในปัจจุบันมีการจ่ายตอบแทนเป็นเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการบางตำแหน่ง เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ หรือข้าราชการด้านอื่น ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญก็คือว่าเป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนอันมีความหมายว่าไม่มีคนสนใจที่จะมาทำงาน เนื่องจากภาคเอกชนให้ผลตอบมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงจำเป็นต้องสร้างแรงดึงดูดใจกับบุคลากรในส่วนนี้

แต่เหตุผลดังกล่าวนี้ก็ไม่สามารถใช้กับตำแหน่งทางด้านกฎหมายได้ สถาบันการศึกษาแทบทุกแห่งล้วนมีการเปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ซึ่งสามารถกระทำได้โดยหาอาจารย์ประจำสักสี่ห้าคนส่วนที่เหลือก็เชิญอาจารย์พิเศษมาเป็นผู้ร่วมสอน ผู้จบการศึกษาในแต่ละปีจึงมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ในการเปิดสอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่ใช้วุฒินิติศาสตร์ก็จะมีผู้สมัครอย่างท่วมท้น พูดได้เต็มปากว่านักกฎหมายเป็นตำแหน่งที่มีผู้ต้องการทำงานอย่างมหาศาล

ถ้าเช่นนั้น จะเป็นด้วยเหตุผลใดสำหรับค่าตอบแทนให้กับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เหตุผลหนึ่งที่มักกล่าวถึงกันบ่อยครั้ง ก็คือ ค่าตอบแทนที่สูงจะเป็นผลให้เกิดการทำงานที่สุจริตมากขึ้น เหตุผลเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากความเชื่อแบบรวยแล้วไม่โกง ซึ่งก็เป็นชัดเจนแล้วมิใช่หรือว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อครหาในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาต่อกระบวนการยุติธรรมก็ล้วนเกี่ยวพันกับนักกฎหมายในระดับสูงมิใช่หรือ

หน่วยงานรัฐบางแห่งที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลก็เกาะกระแสความล่ำซำของกระบวนการยุติธรรม ด้วยการผลักดันให้ขึ้นค่าตอบแทนของตนในช่วงเวลาหลังจากการยึดอำนาจโดยคณะรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 นับเป็นสิ่งที่ชวนให้ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ฝ่ายนิติบัญญัติในยุครัฐประหารก็ผ่านกฎหมายให้สมใจหน่วยงานนี้

สถานะอันสุขสบายในบางหน่วยงานของระบบราชการไทยได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อบรรดานักกฎหมายในหน่วยงานอื่น สิ่งที่พบเห็นกันจนเป็นปกติและเป็นที่รับรู้กันทั่วไป ก็คือ นิติกรประจำหน่วยงานอื่นก็จะทำงานประจำและ “แบ่ง” เวลาบางส่วนในการทำงานเพื่อเตรียมตัวสำหรับการไปสอบเพื่อให้เข้าไปอยู่ในดินแดนอันแสนสุข ก็เห็นกันอยู่ว่าต่อให้ทุ่มเทให้กับหน่วยงานตนเองแค่ไหนก็ไม่มีวันพ้นไปจากความ “ดักดาน” เช่นเดียวกับข้าราชการคนอื่น

แน่นอนว่า ประสิทธิภาพของการทำงานของบุคคลคนนั้นย่อมไม่เทียบเท่ากับหากว่าได้ทำงานอย่างเต็มที่ถ้าเห็นอนาคตอยู่ในหน่วยงานตนเอง

หากมองในแง่ความเป็นธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอื่น ถ้าให้คำอธิบายว่างานทางด้านกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คำถามที่ติดตามมาก็คือว่าแล้วงานทางด้านปกครอง งานทางด้านเศรษฐศาสตร์ ครูอัตราจ้าง นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ นักประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งลูกจ้างของอุทยานแห่งชาติที่ต้องบุกป่าฝ่าฝนเพื่อนำศพของทหารออกมาจากป่าลึก มีความหมายเพียงน้อยนิดเท่านั้นหรือ พวกเขาจึงควรได้รับเงินเดือนประมาณสี่พันกว่าบาท

ทั้งหมดนี้ ก็ควรถูกประกาศออกมาให้ชัดเจนเลยว่าเป็นงานชั้นสอง ระบบราชการไทยไม่ให้ความสำคัญเทียบเท่ากับบุคคลที่ทำการศึกษาด้านกฎหมาย

งานแต่ละด้านล้วนมีความสำคัญในตัวของมันเองโดยที่ยากจะเอามาเปรียบเทียบ ดังนั้น ในแง่ของการบริหารจัดการค่าตอบแทน จึงต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมระหว่างสาขาวิชาชีพต่างๆ อย่างสมดุล หากมีจะมีความแตกต่างอยู่บ้างคงต้องสามารถให้เหตุผลได้อย่างชัดเจนไม่ใช่เป็นเรื่องที่มุบมิบหรือแอบกระทำกัน ดังเช่นการให้เงินเพิ่มพิเศษนานาประเภทแก่บุคลากรภายในองค์กรอย่างที่ได้เกิดขึ้น

(แว่วๆ มาว่าหน่วยงานบางแห่งซึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมามีเรื่องฉาวโฉ่ถึงความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่เกิดขึ้นหลายครั้งต่อสาธารณะ ก็กำลังเตรียมขออนุมัติเพื่อเพิ่มเงินประจำตำแหน่งให้กับบุคลากรในองค์กรของตน)

แต่ที่น่าสนใจมาก ก็คือว่า การให้ค่าตอบแทนเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคที่นักกฎหมายรวมทั้งสถาบันทางกฎหมายถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รวมทั้งความน่าเชื่อถือที่กำลังถูกสั่นคลอนอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของแวดวงนิติศาสตร์ไทย แต่กลับไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสถานะของนักกฎหมายแม้แต่น้อย สภาวะเช่นนี้จึงไม่อาจเรียกเป็นอื่นใดไปได้นอกจากเป็นโลกอันแสนสุขของโดยแท้ที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดต่อสังคม แม้จะกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนก็ตาม

กรุงเทพธุรกิจ, 18 สิงหาคม 2554

รายได้นักบิน

12 July 2011 3 comments

รายได้นักบิน

คงมีหลายๆคนที่สนใจและอยากรู้ว่าอาชีพนักบิน มีรายได้เท่าไหร่

ข้อมูลนี้มาจาก กัปตันวินัย ปราชญาพร นายกสมาคมนักบินไทย ที่ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับการที่ สายการบินเอทิฮัดเดินสายช็อปนักบินตามประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสายการบินไทย

กัปตันวินัย ปราชญาพร นายกสมาคมนักบินไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการที่สายการบินเอทิฮัด จากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เดินทางมาประเทศไทยพร้อมทั้งเปิดห้องบอลรูมของโรงแรม โกลเด้นทิวลิป เพื่อรับสมัครนักบินระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายนนี้ว่า จะส่งผลให้นักบินของสายการบินต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่การบินไทยเท่านั้นที่จะให้ความสนใจไปสมัครกันเป็นจำนวนมาก โดยจะรวมถึงสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ไทยแอร์เอเชียและอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากถือเป็นครั้งแรกที่มีการโรดโชว์ในลักษณะนี้จากเดิมที่ใช้วิธีการสมัครผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงอย่างเดียว

บิน 10 ปีมีเงินเก็บ 25 ล้าน

ส่วนสาเหตุที่จะทำให้นักบินให้ความสนใจเป็นเพราะผลตอบแทนทั้งรายได้ ในรูปของเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่าง ๆ ที่มอบให้นั้นถือว่าดีมากจนปฏิเสธไม่ลงโดยล่าสุดมีการคำนวณรายได้ในระดับกัปตันของเอทิฮัดกับการบินไทยพบว่า ถ้าใช้ระยะเวลาทำงาน 10 ปี พบว่าถ้าบินกับสายการบินเอทิฮัดจะมีรายได้มากกว่าการบินไทยไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท โดยเงินเดือนของเอทิฮัดจะอยู่ที่ราว 480,000 บาทต่อเดือน ถ้ามีใบอนุญาตเป็นครูสอนนักบินจะได้รายได้เพิ่มอีก 40,000 บาทต่อเดือนหรือทำให้มีรายได้ในราว 520,000 บาท ขณะที่กัปตันการบินไทยมีรายได้ในราว 280,000 บาทต่อเดือน

“นักบินเข้าใหม่การบินไทยมีรายได้เงินเดือน 60,000 บาท บวกเบี้ยเลี้ยงอีก 30,000 บาท ถ้าเป็นโคไพลอตจะมีรายได้อยู่ที่ 160,000-180,000 บาท แต่เอทิฮัดจ่าย 280,000 บาทต่อเดือน ระดับกัปตันจ่าย 480,000 บาท ขณะที่ อยู่การบินไทยได้ 280,000 บาท แสดงให้เห็นถึงส่วนต่างรายได้ ในราว 200,000 บาทต่อเดือนหรือปีละ 2,400,000 บาท ไม่รวมสวัสดิการอื่นๆ ที่จูงใจอีกเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้นักบินที่ยังโสดและมีประสบการณ์ 5-7 ปีอยากไปร่วมงานด้วย “  นายกสมาคมนักบินไทยกล่าว

ปรับเงินเดือน 6 หมื่นก็ไม่อยู่

เขายังระบุอีกว่าก่อนหน้าฝ่ายบริหารการบินไทยก็กลัวปัญหาสมองไหลและได้เสนอปรับรายได้นักบิน โดยล่าสุดคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาปรับรายได้โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือระดับกัปตันเพิ่ม 60,000 บาท ซีเนียร์โคไพลอต 45,000 บาทและจูเนียร์โคไพลอต 30,000 บาทต่อเดือน แต่ก็ต่ำกว่าที่เสนอไปมากและเชื่อว่าคงไม่สามารถแก้ปัญหาสมองไหลได้ เนื่องจากเทียบ
ผลตอบแทนที่สายการบิน ในตะวันออกกลาง อย่างเอทิฮัดจ่ายแล้วนับว่ายังมีความแตกต่างกันมาก

โดยเฉพาะกลุ่มนักบินในระดับซีเนียร์มีการปรับรายได้ต่ำกว่าที่ขอไปจำนวน 60,000 บาทต่อเดือนเนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการต้องการตัวของสายการบินต่างชาติมากที่สุดแต่ฝ่ายบริหารปรับให้เพียง 45,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่านักบินกลุ่มนี้คงจะมีการทยอยลาออกไปร่วมกับสายการบินต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีการเดินสายการจัดโรดโชว์ถึงในเมืองไทยด้วย

หวั่นนักบินขาดกระทบไฟลต์บิน

หลังจากขณะนี้ได้ลาออกไปแล้ว 42 คน สัมภาษณ์ไปแล้วกำลังรอการเรียกตัวอีก 30 คนและโรดโชว์ในครั้งนี้จะมีนักบินอีกจำนวนหนึ่งไปสมัครแม้จะมีการปรับรายได้แล้วก็ตาม โดย เอทิฮัดให้ความสนใจกลุ่มนักบินที่มีประสบการณ์ 5-7 ปี ในการบินเครื่องบินแบบโบอิ้ง 777 หรือโบอิ้ง 737 แอร์บัสเอ 330 แอร์บัสเอ 340 และยังไม่มีครอบครัว เพราะจะทำให้ประหยัดค่าเล่าเรียนลูกไปได้อีกจำนวนหนึ่ง และสามารถย้ายไปประจำที่อาบูดาบีได้ง่ายกว่าคนมีครอบครัว

นายกสมาคมนักบินไทย กล่าวต่ออีกว่า เดิมทีบริษัทจะจ่ายค่าเล่าเรียนในการฝึกอบรมนักบินและมีสัญญาผูกมัดในการทำงานอย่างน้อย 4 ปี แต่ปัจจุบันนักบินต้องจ่ายค่าเล่าเรียนเองคนละ 2 ล้านบาท ใช้ระยะเวลา 1 ปี และใช้วิธีหักเงินเดือนใช้คืนบริษัท ซึ่งถ้าไม่ครบสัญญาต้องเสียค่าปรับ กรณีลาออกต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน ไม่งั้นจะเสียค่าปรับแต่เมื่อเทียบรายได้ที่เอทิฮัดให้แล้ว ถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก ปัจจุบันการบินไทยมีกัปตัน 479 คน โคไพลอต 840 คน ขณะนี้ถือว่ายังพอรับมือไหว แต่ถ้าหากมีการลาออกไปอีกสักประมาณ 80 คนจะกระทบกับการจัดตารางการบินอย่างแน่นอน

“เวลานี้ต้องถือว่าตลาดเป็นของนักบิน ทั่วโลกยังมีความต้องการนักบินสูงมีการประเมินว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะถึง 1 แสนคน เนื่องจากมีการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศเกิดใหม่อย่าง จีน อินเดีย รวมทั้งประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ยังมีการสั่งซื้อเครื่องบินกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด มีการสั่งซื่อเครื่องบิน A 380 อีก 90 ลำที่จะส่งมอบภายใน 5 ปีที่น่าห่วงสำหรับประเทศไทยคือเรื่องมาตรฐานนักบินที่ต้องมีการพิจารณากันให้ดี สิ่งที่น่าทำคือรับสมัครนักบินที่ยังไม่มีไลเซนส์ เอามาฝึก น่าจะทำได้เร็วกว่าการเรียนตามปกติที่สามารถผลิตได้ปีละ 100 คนทั่วประเทศเท่านั้น” นายกสมาคมนักบินไทยกล่าว

โรดโชว์ 7 ประเทศทั่วเอเชีย

ทางด้านแหล่งข่าวจากวงการนักบินที่เดินทางไปร่วมโรดโชว์กับสายการบินเอทิฮัดที่ประเทศสิงคโปร์ เผยว่า การเดินทางมาประเทศไทยช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ถือเป็นประเทศสุดท้ายของการเดินสายรับสมัครนักบินทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยก่อนหน้านั้น ได้มีการจัดโรดโชว์มาแล้ว 6 ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่ 7 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ที่เมืองจาการ์ตาเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. เป็นแห่งแรกจากนั้นก็ไป สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา ฮ่องกง โฮจิมินห์ และกรุงเทพฯ เป็นแหล่งสุดท้าย

โดยสายการบินเอทิฮัดได้ทำพรีเซนเตชันแสดงความเป็นมาของสายการบินและเป้าหมายที่ชัดเจนแก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยระบุว่าเป็นสายการบินของรัฐบาลมีฐานการบินอยู่ที่เมืองอาบูดาบี และแหล่งผลิตน้ำมัน 90% ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อยู่ในเมืองอาบูดาบี ตั้งเป้าหมายจะมีเครื่องบิน 180 ลำ ไม่มีนโยบายเป็นพันธมิตรกับสายการบินใดกลุ่มใดไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย สตาร์อัลไลแอนซ์ หรือวันเวิลด์ ที่ถือว่าเป็นเครือข่ายพันธมิตรทางการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะบริหารเอง แต่จะโค้ดแชร์กับสายการบินใหญ่ ๆ เชื่อมโยงเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก

เศรษฐกิจแย่ไม่เคยลดเงินเดือน

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอข้อมูลทางด้านลูกเรือว่า 90% ของพนักงานเป็นชาวต่างชาติ และมีนักบิน 78 สัญชาติ ลูกเรือ 141 สัญชาติ บ่อยครั้งที่ลูกเรือในเที่ยวบินเดียวกัน 18-19 คน ต่างสัญชาติกันทั้งหมด และยังเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขัน เอฟวัน ที่มีผู้ชมปีละ 600 ล้านคน เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งเตรียมจะมีอาคารผู้โดยสารของเอทิฮัดโดยเฉพาะซึ่งในแผนการขยายสนามบินเทอร์มินัล 3 ของสนามบิน มีการสั่งเปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ใช้งบ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 540 ล้านบาท หลังจากใช้ไปแค่ 18 เดือน เพราะเห็นว่ามีข้อเสีย ที่นั่งในชั้นไดมอนด์คลาส สามารถปรับให้นั่งรับประทานอาหารค่ำได้ 4 คนเหมือนที่บ้านหรือภัตตาคาร มีจอทัชสกรีนในการขอเครื่องดื่มติดต่อกับลูกเรือโดยตรง

ปัจจุบันเอทิฮัดมีนักบิน 1,100 คน มีสถิติการลาออก 23 คน แม้เศรษฐกิจแย่แต่ก็ไม่เคยไปแตะเรื่องรายได้ของพนักงาน อาบูดาบี เป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงท็อป 30 แต่รายได้นักบินก็ถือว่าสูง ถ้าเทียบกับค่าครองชีพ สามารถซื้อบ้านหรู 4 ห้องนอน มีสระว่ายน้ำ มีรถ ปอร์ช ขับ ในราคาที่จับจ่ายซื้อหาได้ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นที่ถ้ารายได้เท่ากัน แต่ไม่สามารถซื้อบ้าน ซื้อรถแบบนี้ได้

ค่าหมอปีละ 20 ล้านเข้าร.พ.ทั่วโลก

ส่วนรายได้นักบิน 80% มาจากรายได้เงินเดือนขั้นพื้นฐาน อีก 20% มาจากการไปบิน เพื่อทำให้มีรายได้แน่นอนไม่ต้องมาติดกับการต้องบินมากเพื่อให้ได้รายได้มากมีนโยบายทำให้นักบินทุกฝูงบิน (FEET) มีรายได้เท่า ๆ กันทุกเส้นทางบิน ต่างกันตรงที่ค่าอาหาร รายได้ ขั้นพื้นฐาน กัปตันเริ่มต้นที่ 9,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 288,000 บาทต่อเดือน ค่าเช่าบ้าน (170,000 AED หรือราว 1.4 ล้านบาทต่อปี 1 เออีดีเท่ากับ 8 บาทเศษ)

ขณะที่บ้านเดี่ยว 4 ห้องนอน มีสระว่ายน้ำ ค่าเช่าปีละ 132,000 AED หรือราว 1,056,000 บาทต่อปี หรือจะเช่าถูกกว่าแต่บริษัทจ่ายเต็ม ค่าเล่าเรียนลูก ได้ 4 คนอายุ 4-19 ปี โดยช่วงอายุ 4-11 ปี ได้คนละ 30,000 เออีดี 240,000… บาท อายุ 11-19 ปีได้ 42,000 เออีดี หรือ 336,000 บาท จ่ายตามจริงตามใบเสร็จ เรียนที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ และกำลังพิจารณาเพิ่ม

นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการด้านสุขภาพมีการประกันค่ารักษาพยาบาลวงเงินปีละ 2,5000,000 AED หรือราว 20 ล้านบาท ต่อ 1 ครอบครัว มีบัตร เอโอเอสการ์ดให้ใช้ได้กับทุกคนในครอบครัว ทั้งขณะปฏิบัติหน้าที่และไม่ทำงานโดยเจ็บป่วยที่ไหนในโลกนี้แสดงบัตรจะได้รับการบริการเรื่องค่าใช้จ่าย นักบินเกษียณตอนอายุ 65 ปี ในกรณีเจ็บป่วยไม่ได้ทำงาน 3 เดือนสายการบินอื่นจะไม่ได้รับเงินเดือนแต่เอทิฮัด จะจัดให้ทำงานออฟฟิศ มีรายได้เดือนละประมาณ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 150,000 บาทต่อเดือน และทำได้นานถึง 5 ปี เป็นต้น แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

ข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ 23-25 มิถุนายน 2554

Categories: Other Tags:

น้ำตาไหลเมื่อดู ‘ซูสีไทเฮา’, นิธิ เอียวศรีวงศ์

14 February 2011 Leave a comment

น้ำตาไหลเมื่อดู ‘ซูสีไทเฮา’, นิธิ เอียวศรีวงศ์

ผมติดตามภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง “ซูสีไทเฮา ก่อนแผ่นดินสิ้นสลาย” จากทีวีไทยมาจนจบด้วยความประทับใจ

เรื่องของผู้หญิงที่เป็นทรราชนั้น ดูเหมือนดึงดูดความสนใจของผู้คนอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เพราะเราบัญญัติคุณสมบัติของผู้หญิงและทรราชไว้ให้เป็นตรงข้ามกัน ผู้หญิงย่อมอ่อนหวาน เมตตา และมีความรักอันไม่จำกัดเหมือนแม่ ในขณะที่ทรราชคือคนโหดร้าย, เอาแต่ใจตัวเอง, บ้าอำนาจ ซึ่งล้วนเป็นคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นของผู้ชาย (พ่อ)

เอาสองอย่างที่ตรงกันข้ามมาไว้ด้วยกัน จึงน่าสนใจดี

ในภาษาไทยนั้น มีหนังสือเรื่องซูสีไทเฮาไม่รู้จะกี่เล่ม ทั้งที่แปลมา และที่เขียนขึ้นใหม่จากข้อมูล (ที่แปลมาเหมือนกัน-และน่าเสียดายที่แปลจากภาษาฝรั่งเสียเป็นส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีที่แปลจากภาษาจีนเอาเลย)

น่าสังเกตด้วยนะครับ ว่ามีหนังสือไทยเรื่องจักรพรรดินีบูเชกเทียนน้อยกว่าซูสีไทเฮาอย่างเทียบกันไม่ได้ ยิ่งขยายไปถึงคัตรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย, อลิซาเบธที่หนึ่งของอังกฤษ หรือแม้แต่พระสุริโยทัย หรือท้าวศรีสุดาจันทร์ ก็ยิ่งมีน้อยกว่าซูสีไทเฮาขึ้นไปใหญ่

ผมอยากสรุปเอาดื้อๆ ว่า ผู้หญิงกับอำนาจสูงสุดนั้น แม้ไม่เป็นไปตามมโนภาพของเรานัก แต่ก็พอเห็นช่องทางที่เป็นไปได้ จึงไม่ดึงดูดความสนใจเท่ากับผู้หญิงกับทรราช

ยิ่งไปกว่านี้ เรื่องของมหาราชินียังมักคละเคล้าไปด้วยเรื่องคาวโลกีย์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ของเรื่องราวที่ชวนอ่าน ตรงกับคติความเชื่อเก่าแก่ของหลายวัฒนธรรมว่า ผู้หญิงนั้นมีธรรมชาติอ่อนแอด้านโลกียวิสัย อ่านมันส์ดีหรอกครับ แต่ไม่น่าสนใจเท่าทรราชหญิง

ซูสีไทเฮานั้นไม่มีชื่อเสียงด้านคาวโลกีย์-แม้ว่าในซีรีส์นี้จะมีบทของ “ชู้รัก” อยู่นิดหนึ่ง-แต่ไม่มีใครคิดถึงด้านนี้เมื่อพูดถึงซูสีไทเฮา คิดแต่ด้านเดียวถึงความเป็นทรราชของเธอซึ่งทำให้ “แผ่นดินสิ้นสลาย”

ซูสีไทเฮาของซีรีส์นี้ก็ยังเป็นทรราชเหมือนเดิม แต่ที่แตกต่างก็คือ เธอเป็นมนุษย์ด้วย มนุษย์ซึ่งมีอารมณ์ความรู้สึกภายใต้การกล่อมเกลาทางวัฒนธรรมเหมือนผู้หญิงคนอื่นในวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตของเธอเอง ซึ่งทำให้เธอต้องเป็นอย่างที่เธอเป็น

ผมขอพูดถึงข้อจำกัดของซูสีไทเฮาก่อน อย่างที่รู้กันอยู่แล้วและหนังไม่ต้องพูดก็คือ เธอถูกนำมาถวายเข้าวังเมื่อแรกรุ่น หลังจากนั้น เธอก็ใช้ชีวิตอยู่ในนครต้องห้ามไปจนตาย ฉะนั้น เมื่อเธอได้เห็นแผนที่โลกเป็นครั้งแรก เธอจึงถามว่าปักกิ่งอยู่ที่ไหน ครั้นมหาขันทีชี้ให้ดูปักกิ่งซึ่งเป็นแค่จุดจุดเดียวบนแผนที่ เธอจึงสงสัยว่าแล้วนครต้องห้ามอยู่ที่ไหนในปักกิ่งเล่า

(ความหมายที่แฝงในหนังก็คือ หากปักกิ่งไม่มีนครต้องห้าม ราชวงศ์ชิงก็ไม่มีในจีน)

หนังเสนอเรื่องของซูสีผ่านตัวละครสองตัว คือเหลียงเหวินซิ่วและหลี่ชุนอวิ๋น (ซึ่งคงไม่เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์) ทั้งสองเป็นพี่น้องแต่ต่างพ่อแม่กัน เพราะแม่ของเหวินซิ่วซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา รับเอาชุนซึ่งเป็นเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดูแต่เล็ก นอกจากนี้ ก็จำกัดเรื่องราวให้แวดล้อมอยู่กับเหตุการณ์เดียวในประวัติศาสตร์ คือ “การปฏิรูปร้อยวัน” ของกวางสู่

ในขณะที่เหวินซิ่วสอบได้เป็นจอหงวน และอยู่ในโลกข้างนอกในฐานะขุนนาง ชุนกลับกลายเป็นขันทีคนสนิทของซูสีและเข้าไปอยู่ในโลกของซูสี ด้วยเหตุดังนั้น พี่ชายจึงมองเห็นความโหดร้ายและไร้คุณธรรมของซูสีได้ถนัด

ในขณะที่น้องชายมองเห็นหญิงม่ายชราคนหนึ่ง ซึ่งรับภาระหนักของบ้านเมือง แต่มีความเป็นมนุษย์ที่มีความอ่อนโยนและเมตตา พร้อมกันไปกับความฉลาดหลักแหลม ที่จะเอาอำนาจของตนให้รอดในโลกแห่งอำนาจที่ลับลมคมในและโหดร้ายต่อกัน

ชุนคืออีกมุมมองหนึ่งของซูสีไทเฮา ซึ่งมักถูกละเลยไปในวรรณกรรมที่เกี่ยวกับเธอ ในขณะที่เหวินซิ่วคือซูสีไทเฮาที่รู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว

นี่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมชอบหนังเรื่องนี้ เพราะผู้สร้างไม่ต้องการหักล้างประวัติศาสตร์ที่รู้กันทั่วไปว่าซูสีไทเฮานั้นทั้งโหดร้ายและทั้งโฉดชั่ว แต่ประวัติศาสตร์มักไม่สนใจความเป็นมนุษย์ของเธอ จึงไม่เคยนำเธอเข้าไปอยู่ในเงื่อนไขที่เป็นจริงของพระราชวังต้องห้าม อันเป็นข้อจำกัดที่ปุถุชนทุกคนมีทางเลือกในการตอบสนองได้ไม่มากนัก

แต่หนังก็ไม่ดึงประเด็นนี้ไปจนสุดโต่ง เพื่อแก้ตัวแทนซูสีให้กลายเป็นมนุษย์สุดประเสริฐที่ถูกประวัติศาสตร์เข้าใจผิด อันเป็นการสร้างจุดขายอย่างหนึ่งของนิยายอิงประวัติศาสตร์แบบตื้นๆ ซึ่งมีผู้ทำอยู่บ่อยๆ

ดุลยภาพที่พอดีๆ ของนิยายอิงประวัติศาสตร์ และความพยายามจะเข้าให้ถึง “ส่วนใน” ของตัวละครในประวัติศาสตร์นี่แหละครับ เป็นหัวใจสำคัญของนิยายอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมักไม่ค่อยเห็นในนวนิยายไทย ส่วนใหญ่ที่เขียนกันขึ้นมามักไม่เกี่ยวอะไรกับตัวละครในประวัติศาสตร์ เพียงแต่สร้างนิยายขึ้นใหม่แล้วเอาไปแปะไว้ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เช่น เรื่องสี่แผ่นดิน ที่เกี่ยวกับตัวละคร (เกือบ) โดยตรงเช่นการปฏิวัติ 1475 คือการมองและตัดสินตัวละครจาก “ภายนอก” เหมือนที่นักประวัติศาสตร์ได้เขียนไว้แล้ว เพียงแต่ดำเนินเรื่องให้เป็นนิยายเท่านั้น

ความชั่วโฉดโหดร้ายของซูสีในหนังเรื่องนี้มาจากไหน?

ส่วนหนึ่งก็เพื่อความสุขความพอใจส่วนตัวอย่างแน่นอน แต่ส่วนนี้แยกไม่ออกจากความยึดมั่นว่า การดำรงอยู่ของราชวงศ์ต้าชิงเป็นความดีสูงสุดในตัวเอง ไม่ใช่ดำรงอยู่เฉยๆ นะครับ แต่ต้องดำรงอยู่อย่างที่มีอำนาจสูงสุด เป็นโอรสสวรรค์ที่ได้รับความชอบธรรมในการมีอำนาจสูงสุดนั้นตลอดไป

อำนาจของซูสีกับอำนาจของต้าชิงแยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อสนองกิเลสตัณหาของตัวซูสีเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อผดุงประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุขด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ โลกของจีน (ใต้หล้า) จะดำรงอยู่อย่างปรกติสุขได้ก็ต้องมีต้าชิง

หากบุคคลทำความชั่วเพื่อประโยชน์ตนแต่ถ่ายเดียว ในไม่ช้า ผู้คนก็ขจัดคนชั่วนั้นไป แต่คนที่สามารถทำชั่วในนามของประโยชน์สุขส่วนรวมนี่สิครับ ที่สามารถทำชั่วต่อไปได้นานๆ เพราะคนอื่นต่างร่วมสมาทานหลักการอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยเป็นอันมาก แม้ว่าบางคนอาจสมาทานด้วยจริงใจ และอีกหลายคนสมาทานเพื่อแฝงประโยชน์ส่วนตนเข้าไปในประโยชน์ส่วนรวมนั้นก็ตาม

ซูสีไทเฮาทำชั่วในนามของประโยชน์ส่วนรวมครับ

ผมไม่ปฏิเสธหรอกครับว่า คนชั่วส่วนใหญ่แล้วก็มักทำชั่วโดยอ้างประโยชน์สุขของส่วนรวม แต่พลังมันผิดกันไกลนะครับระหว่างคนที่เชื่ออย่างนั้นด้วยความจริงใจ กับคนที่ใช้ประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นข้ออ้าง พลังของซูสีที่สามารถเถลิงอำนาจมาได้ติดต่อกันถึง 4-50 ปีนั้น มาจากความเชื่ออย่างจริงใจของเธอ

ที่มันแย้งย้อนให้เรารู้สึกสมเพชเชิงอัศจรรย์ก็คือ แม้แต่ศัตรูของเธอเองก็เชื่ออย่างเดียวกัน

เหลียงเหวินซิ่วซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำคณะปฏิรูป ต้องการขจัดซูสีออกไปจากอำนาจการบริหารบ้านเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้จักรพรรดิกวางสู่ได้นำการปฏิรูปประเทศจีนเข้าสู่ความทันสมัย สร้างความแข็งแกร่งให้จีนสามารถเผชิญภัยคุกคามจากมหาอำนาจต่างๆ ได้ เหวินซิ่วจึงมีความจงรักภักดีต่อกวางสู่อย่างสูง เพราะกวางสู่และต้าชิงคือกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความสงบสุขของราษฎร

อย่างที่นักปราชญ์ขงจื๊อถูกอบรมสั่งสอนมานะครับ โลกที่จะผดุงอารยธรรมอันอำนวยความผาสุกแก่ราษฎรได้ ก็ต้องมีฮ่องเต้ผู้ปรีชาสามารถ หน้าที่ของราษฎรคือ ถวายความจงรักภักดีอย่างจริงใจ ตามแต่สถานะทางสังคมและการเมืองของแต่ละคนพึงกระทำ เหวินซิ่วเป็นขุนนางใกล้ชิด ก็ต้องเพ็ดทูลแต่ความสัตย์ความจริง ถวายคำแนะนำอย่างบริสุทธิ์ใจ แม้รู้ว่าจะทำให้กริ้วก็ต้องกราบทูล

ทั้งหมดนี้ เป้าหมายคือปวงประชาราษฎร แต่ปวงประชาราษฎรนั้นอยู่ลอยๆ ไม่ได้ เพราะจะสูญสิ้นอารยธรรม เกิดรบราฆ่าฟันกันเอง จนกลายเป็นจลาจลวุ่นวาย จึงต้องอยู่ภายใต้การนำของต้าชิงและฮ่องเต้ การยกย่องฮ่องเต้และราชวงศ์ก็เพื่อประชาราษฎร

เมื่อฝ่ายปฏิรูปแพ้เกมการเมือง ฮ่องเต้ถูกรอนอำนาจจนไม่เหลืออะไรเลยแล้ว เหวินซิ่วจึงหมดอาลัยตายอยากในชีวิต เพราะรู้แล้วว่าไม่มีทางที่จะปกป้องประชาราษฎรได้ต่อไป

ปราชญ์ขงจื๊อผู้นี้ยึดมั่นหลักการเช่นนี้มาจนถึงท้ายเรื่อง ในท่ามกลางความโดดเดี่ยว เขาปรึกษาปัญหาทางการเมืองกับน้องสาวต่างบิดามารดาซึ่งเป็นลูกกำพร้าที่มารดาของเขาชุบเลี้ยงมาแต่เล็ก ไม่มีการศึกษาแบบเขา จึงเหมือนชาวบ้านทั่วไป เพียงแต่รักนับถือเขาและครอบครัวของเขาอย่างสูงเท่านั้น

น้องสาวของเขาตอบว่า เธอไม่รู้อะไรหรอก ก่อนที่เธอจะตามเหวินซิ่วมาใช้ชีวิตในเมืองหลวง เธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีราชวงศ์ชิง มีฮ่องเต้ มีไทเฮา โลกของเธอมีความสุขอยู่กับครอบครัวของแม่และพี่ชายสองคนนี้เท่านั้น

และเท่านั้นเองเหวินซิ่วก็ “ตาสว่าง” เขาตะโกนบอกตัวเองเหมือนบ้าคลั่งว่า ใช่แล้วๆ เขาเพิ่งเข้าใจเดี๋ยวนี้เองว่า “ไม่มีต้าชิง ไม่มีฮ่องเต้ ราษฎรก็ไม่เป็นไร”

จีนจะอยู่รอดได้ก็เพราะคนจีนเอง ไม่เกี่ยวกับกวางสู่หรือซูสี เพราะ “ไม่มีจักรพรรดิผู้ปรีชา ไม่มีประมุขโปรดสัตว์”

ผมได้แต่น้ำตาไหลพรากโดยไม่รู้สึกตัว

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554
มติชน, 12 กุมภาพันธ์ 2554

เมื่อชีวิตทางเลือกกลายเป็นสินค้า (ตอนที่ 2), อภิชาต สถิตนิรามัย

22 November 2010 Leave a comment

เมื่อชีวิตทางเลือกกลายเป็นสินค้า (ตอนที่ 2)

โดย อภิชาต สถิตนิรามัย apichat@ecom.tu.ac.th

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

ต่อจากฉบับที่แล้วผมเริ่มประเด็นการขยายตัวของสินค้าและการบริโภควัฒนธรรม ศาสนา และการศึกษาทางเลือก (Alternative culture, religion and education) ไปในส่วนของการศึกษาทางเลือก ซึ่งถูก popularize จนแทบจะกลายเป็นการศึกษากระแสหลักสำหรับชนชั้นกลางผู้มีอันจะกินไปแล้ว ฉบับนี้ผมขอพูดถึงอีกกรณีหนึ่ง คือ ปรากฏการณ์การเติบโตของศาสนาทางเลือก ซึ่งผมใช้ในความหมายรวม ๆ ทั้งสายปฏิบัติ วิปัสสนา สายพระป่า เช่น แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต, เสถียรธรรมสถาน, โกเอ็นก้า ฯลฯ หรือสายพระก้าวหน้า พระนักคิดพระนักกิจกรรม เช่น ท่านพุทธทาส, พระไพศาล วิสาโล, ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต ฯลฯ ซึ่งเดิมเป็นที่เคารพศรัทธากันเฉพาะในคนกลุ่มเล็ก ๆ รวมทั้งการประสบความสำเร็จของพระนักเทศน์รุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ว.วชิรเมธี หรือพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในการเข้าถึงคนรุ่นใหม่-วัยรุ่น

สำหรับผมปรากฏการณ์นี้คงไม่เพียง แค่ว่า ชนชั้นกลางไทยกำลังวิ่งเข้าหาศาสนาเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ หรือเป็นเพียงความดัดจริตของชนชั้นกลางในการเข้าหาศาสนาเพียงเพื่อพิธีการ เอาเปลือกไม่เอาแก่นของศาสนาพุทธ แต่ประเด็นของผมคือ ศาสนาในฐานะสินค้าทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถปรับตัวเจาะตลาดกลุ่มชนชั้นกลางโดยการเติมเต็มช่องว่างทางการตลาดที่ชนชั้นกลางกำลังแสวงหา กลายเป็นศาสนาที่สอดรับกับรสนิยมและความต้องการของคนกลุ่มนี้

ในขณะที่ชีวิตมั่นคงมากขึ้น lifestyle และมาตรฐานทางจริยธรรมของชนชั้นกลางระดับสูง เริ่มขยับตัวออกห่างจากชนชั้นล่างและชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งพวกเขาเหยียดว่า ยึดติดศาสนาเพียงพิธีกรรม และเสพติดกับความงมงาย นับตั้งแต่อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตลอดจนการใบ้หวย สิ่งที่พวกเขาแสวงหาจึงเป็นศาสนาที่จะต้องฉีกตัวออกจาก “อัปลักษณ์” ข้างต้น ศาสนาของคนชั้นกลางจะต้องแตกต่างออกไป และจะต้องสะท้อนจริตความเป็นชนชั้นกลางระดับสูงของตน (ต้องเท่ด้วย !) เห็นได้ว่าในปัจจุบันสิ่งที่พระหรือแม่ชีดัง ๆ ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากชนชั้นกลางนั้น หาใช่ความสามารถในการเข้าฌาน-สมาธิ การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือการใบ้หวย แต่บุคคลเหล่านี้มีลักษณะหลัก 2 อย่าง คือ

หนึ่ง ความสามารถและทักษะในการ เข้าถึงและสื่อสารกับชนชั้นกลาง ทั้งในแง่เนื้อหา ภาษา และเทคนิค ประเด็นการทำงานของพระไพศาลที่เน้นด้านสันติวิธี อหิงสา และการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่านั้นสอดคล้องกับจริตของชนชั้นกลางทางเลือกทั้งหลายที่รักสันติ เน้นปรองดอง รักต้นไม้ ใบหญ้า ท่วงทำนองการเทศน์ ว.วชิรเมธี ที่นุ่ม ๆ และเน้นการให้กำลังใจและสอนให้คนที่เหนื่อยล้ารู้จักช้าลง ก็เป็นที่จับจิตจับใจสำหรับชนชั้นกลางที่ต้องเผชิญกับชีวิตการทำงานในเมืองที่วุ่นวายอยู่ตลอดเวลาหรือสำหรับธรรมะจานร้อน หรือธรรมะ delivery ของพระมหาสมปอง ที่เน้นเทศน์ด้วยศัพท์ เนื้อหา ลีลา ทันสมัย ก็สามารถเจาะกลุ่มวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าท่านจะทำโดยรู้ตัวหรือตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ละท่านที่ว่ามานี้ต่างประสบความสำเร็จได้เพราะสามารถพัฒนาลักษณะเฉพาะ (product uniqueness) ของตัวเองจนสามารถเจาะเข้าสู่กลุ่มหรือลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (niche market) ของตัวเองได้เป็นอย่างดี

สำหรับเครื่องมือรูปแบบใหม่ ๆ ในการสื่อสารนั้น มีตั้งแต่การ popularize พระผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ พระที่ประสบความสำเร็จแต่ละท่านต้องเป็นนักเขียนตัวยง (ถึงไม่เขียนเองก็ต้องมีถอดเทปเทศน์) ปี ๆ หนึ่งไม่มีใครที่ออกหนังสือน้อยกว่าหนึ่งเล่ม จนหมวดหนังสือธรรมยึดพื้นที่จำนวนมหาศาลในร้านหนังสือชั้นนำทุกที่ นอกจากหนังสือแล้วยังมี Gimmick อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปฏิทิน แก้วน้ำ ปากกา ตัวอย่างขำ ๆ คือใครจะเชื่อว่าวันหนึ่งปฏิทินท่านพุทธทาสจะกลายเป็นปฏิทินพระที่ขายดีที่สุด และตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานของสาวหนุ่มออฟฟิศ ทั้งที่ในสมัยหนึ่งท่านเคยเป็นพระที่ถูกประณามว่าเป็นพระคอมมิวนิสต์ นอกจากสิ่งพิมพ์แล้ว พระและแม่ชีเกือบทุกองค์ที่เป็นที่นิยมมักมีเครื่องมือสื่อสารกับฆราวาสทาง website, youtube, facebook, twitter, webblock ฯลฯ เอาเป็นว่าถ้าใครได้ (หรือหลง) เข้าไป add พระไพศาล หรือ ว.วชิรเมธี เป็นเพื่อนแล้วละก็ ท่านจะได้ของดี ๆ จากท่านเหล่านี้วันละ 3 เวลาเลยทีเดียว

สอง การจัดเตรียมชุดพิธีกรรม (ceremony package) ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต หรือ lifestyle ของชนชั้นกลาง ความสามารถในการแสดงธรรมเทศนาอย่างเดียวไม่พอ การจัดเตรียมวัดที่ร่มรื่น สงบ สะอาด-สะอ้าน และมีชุดธรรมกิจกรรมให้กับคนทุกกลุ่มในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญมากที่ชนชั้นกลางต้องการ หรือถ้าเรียกให้ถูกก็ต้องบอกว่า ความสำเร็จจะเกิดได้นั้นวัดต้องสามารถปรับตัวให้กลายเป็น “สปาทางอารมณ์” และ “สปาทางจิตวิญญาณ” ให้ได้ด้วย เช่น ที่เสถียรธรรมสถาน เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งของผมไปใช้บริการอยู่เป็นประจำ เธอบอกว่าชอบมาก เช้าพาลูก ๆ ไปนั่งสมาธิกับแม่ชีศันสนีย์มีกิจกรรมเพนต์หน้าลูก ๆ ในขณะที่แม่ ๆ นั่งสมาธิ เที่ยงมีอาหารมังสวิรัติที่ใช้ผักออร์แกนิกให้กิน บ่าย ๆ พอลูกหลับ แม่ ๆ ก็ไปสวด เดินจงกรม โยคะ และที่สำคัญเธอเชื่อว่าการนั่งสมาธิไม่ใช่แค่ทำให้ลูกของเธอมีสมาธิ แต่จะทำให้เรียนเก่ง

นอกจากธรรมกิจกรรมสำหรับครอบครัวแล้ว คอร์สการนั่งสมาธิประสบความสำเร็จมาก หากมองในแง่ธุรกิจนอกจากจะมีความต้องการ (demand) ของชนชั้นกลางที่ต้องการหาทางบำบัด (ทางอารมณ์และจิตวิญญาณ) ทุกข์แล้ว supply ยังเติบโตเป็นดอกเห็ด มีทุกระดับ ทุกเวลา บางที่อยู่ในพื้นที่ป่าวิวสวยแบบสวิตเซอร์แลนด์เลยก็มี เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ต้องพูดถึง ไม่มีอีกแล้วปักกลด กลางป่า ซักผ้าเอง เพราะสถานปฏิบัติธรรมสมัยนี้มาตรฐานระดับรีสอร์ต

ในแง่นี้การเข้าคอร์สนั่งสมาธิแบบนี้ ไม่ใช่การเข้าวัดเข้าวาเหมือนในอดีตอีกแล้ว แต่มันกลายเป็นการผ่อนคลายจากสังคมที่วุ่นวาย ซึ่งเฉพาะคนที่รวยพอและมีเวลาเท่านั้นที่จะสามารถทำได้ ซึ่งถ้าไม่ใช่ระดับเจ้าของกิจการ/แม่บ้าน full-time ที่สามีเลี้ยงก็คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงกิจกรรมทางศาสนาแบบนี้ ตัวอย่างใกล้ตัวเลย แฟนผมซึ่งต้องถือว่าเป็น typical ชนชั้นกลาง เธอมักไปนั่งสมาธิ 10 (แบบห้ามพูดกันตลอดทั้ง 10 วัน) อย่างน้อยปีละรอบสองรอบ พี่สาวของผมที่มีกิจการเป็นของตัวเองเนี่ย มีกิจกรรมในวันหยุดคือ การตระเวนหาที่นั่งสมาธิ-เอาแบบให้ถูกรสนิยมสุด ๆ พี่สาวอีกคนนึ่งซึ่งเป็นแม่บ้าน full-time ปีหนึ่งอย่างน้อยต้องไปนั่งสมาธิ 3-4 ครั้ง ไปที 3-4 วัน เพื่อผ่อนคลายจากการรบกับลูกที่บ้าน สำหรับคนทำงานที่บ้านผมเนี่ย เนื่องจากเป็นชนชั้นแรงงานจึงไม่ค่อยมีโอกาสจะลาเจ้านายไปนั่งสมาธิยาวหลาย ๆ วันได้ ก็เสียบหูฟังเทศน์และธรรมเสวนาแทบจะแบบ 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

สำหรับเรื่องศาสนาผมว่าเอาสั้น ๆ แค่นี้ก่อนละกันนะครับ เอาแค่พอหอมปากหอมคอ พอชวนให้ท่าน ๆ มองศาสนา ผ่านแว่นทางโลก (secular world) กันดูบ้างแล้วกัน ผมยังกังวลอยู่เลยว่าถ้า คนที่บ้านผมหรือเพื่อน ๆ (ที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง) ได้มาอ่านเข้า ผมคงไม่วายถูกประณามว่าเป็นพวกไม่มีศาสนา ไม่เอาพระเอาเจ้า ดูหมิ่นศาสนา ฯลฯ แค่คิดก็หูชาแล้วครับ

ประชาชาติธุรกิจ, 18 พฤศจิกายน 2553

The Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

24 June 2009 Leave a comment

The Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
(French: Declaration Des Droits De l’Homme et du citoyen)

เพื่อเป็นการระลึกถึง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอดีต วันนี้ เคยเป็นวันชาติไทยด้วย
เลยนำเอา  Declaration Des Droits De l’Homme ของฝรั่งเศสมาลงรำลึก

Declaration Des Droits De l’Homme (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen)

Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

http://img146.imageshack.us/img146/648/declarationoftherightso.jpg
(ฉบับนี้เป็นฉบับที่ทำขึ้นที่หลัง หลังจากที่ได้ประกาศใช้แล้ว โดยสภาปฎิวัติได้นำประกาศฉบับลายมือ ไปทำเป็นกระดานศิลปะ)

ความหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ในรูป Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

1. ผู้หญิงขวามือ บนตัวประกาศ

ตัวแทนความยุติธรรม มือซ้ายชี้ไปที่ประกาศ ซึ่งต่อไปนี้ จะเป็นกฎหมายพื้นฐานใช้กับคนฝรั่งเศส
มือขวาชี้ไปที่สามเหลี่ยม ตัวแทน ของ เหตุผลตามปรัชญาเอนไลท์เมนท์ ซึ่งต่อไป เหตุผลจะเป็นตัวกำกับการกระทำของชาวฝรั่งเศส

2. ผู้หญิงซ้ายมือ บนตัวประกาศ

ตัวแทน ประเทศฝรั่งเศส (la France เป็นเพศหญิง)
ผู้หญิงคนนี้ใส่มงกุฎ สวมชุดน้ำเงิน และมีดอกเฟลอริส เป็นสัญลักษณ์ของระบอบกษัตริย์ หมายถึง ฝรั่งเศสที่มีกษัตริย์

ลองมาดูที่มือของผู้หญิงคนนี้ จะเห็นว่ากำลังปลดโซ่ตรวนออก
แสดงถึง การยุติระบอบแอบโซลูท โมนาร์ขี้ ไม่มีการอ้างเทวสิทธิ์ แต่จะปกครองโดย รธน.

จะเห็นว่าผู้หญิงทั้งสองคนนี้ เผชิญหน้ากัน

3. สามเหลี่ยม ตรงกลาง บนสุด

สัญลักษณ์ ของเหตุผล
มีการส่องแสง แสดงถึง เอนไลท์เมนท์
ส่องไปที่ขมุกขมัว แสดงถึง ปรัชญายุคเอนไลท์เมนท์ ยึดเหตุผล จะส่องสว่างพาหลุดพ้นจากอวิชชา

4. ตัวประกาศ มีคำปรารภ และ 17 มาตรา แบ่งเป็นสองข้าง ตรงกลางคั่นโดยหอก

หอกนี้ เป็นสัญลักษณ์ของประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้ โดยเฉพาะพวก Sans Culotte
ตรงหอก มีพุ่มขนๆอยู่ แสดงถึง กองกำลังทหาร ที่จะทำหน้าที่ปกป้องหลักการใหม่ของระบอบใหม่

5. สายเชือกยาวๆ ที่พาดอยู่บนประกาศ

แสดงถึง ภราดรภาพ ที่ร้อยเรียงและยึดโยงพลเมืองฝรั่งเศสไว้ด้วยกัน


Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

(ฉบับแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ)

Approved by the National Assembly of France, August 26, 1789

The representatives of the French people, organized as a National Assembly, believing that the ignorance, neglect, or contempt of the rights of man are the sole cause of public calamities and of the corruption of governments, have determined to set forth in a solemn declaration the natural, unalienable, and sacred rights of man, in order that this declaration, being constantly before all the members of the Social body, shall remind them continually of their rights and duties; in order that the acts of the legislative power, as well as those of the executive power, may be compared at any moment with the objects and purposes of all political institutions and may thus be more respected, and, lastly, in order that the grievances of the citizens, based hereafter upon simple and incontestable principles, shall tend to the maintenance of the constitution and redound to the happiness of all. Therefore the National Assembly recognizes and proclaims, in the presence and under the auspices of the Supreme Being, the following rights of man and of the citizen:

Articles:

1.  Men are born and remain free and equal in rights. Social distinctions may be founded only upon the general good.

2.  The aim of all political association is the preservation of the natural and imprescriptible rights of man. These rights are liberty, property, security, and resistance to oppression.

3.  The principle of all sovereignty resides essentially in the nation. No body nor individual may exercise any authority which does not proceed directly from the nation.

4.  Liberty consists in the freedom to do everything which injures no one else; hence the exercise of the natural rights of each man has no limits except those which assure to the other members of the society the enjoyment of the same rights. These limits can only be determined by law.

5.  Law can only prohibit such actions as are hurtful to society. Nothing may be prevented which is not forbidden by law, and no one may be forced to do anything not provided for by law.

6.  Law is the expression of the general will. Every citizen has a right to participate personally, or through his representative, in its foundation. It must be the same for all, whether it protects or punishes. All citizens, being equal in the eyes of the law, are equally eligible to all dignities and to all public positions and occupations, according to their abilities, and without distinction except that of their virtues and talents.

7.  No person shall be accused, arrested, or imprisoned except in the cases and according to the forms prescribed by law. Any one soliciting, transmitting, executing, or causing to be executed, any arbitrary order, shall be punished. But any citizen summoned or arrested in virtue of the law shall submit without delay, as resistance constitutes an offense.

8.  The law shall provide for such punishments only as are strictly and obviously necessary, and no one shall suffer punishment except it be legally inflicted in virtue of a law passed and promulgated before the commission of the offense.

9.  As all persons are held innocent until they shall have been declared guilty, if arrest shall be deemed indispensable, all harshness not essential to the securing of the prisoner’s person shall be severely repressed by law.

10.  No one shall be disquieted on account of his opinions, including his religious views, provided their manifestation does not disturb the public order established by law.

11.  The free communication of ideas and opinions is one of the most precious of the rights of man. Every citizen may, accordingly, speak, write, and print with freedom, but shall be responsible for such abuses of this freedom as shall be defined by law.

12.  The security of the rights of man and of the citizen requires public military forces. These forces are, therefore, established for the good of all and not for the personal advantage of those to whom they shall be intrusted.

13.  A common contribution is essential for the maintenance of the public forces and for the cost of administration. This should be equitably distributed among all the citizens in proportion to their means.

14.  All the citizens have a right to decide, either personally or by their representatives, as to the necessity of the public contribution; to grant this freely; to know to what uses it is put; and to fix the proportion, the mode of assessment and of collection and the duration of the taxes.

15.  Society has the right to require of every public agent an account of his administration.

16.  A society in which the observance of the law is not assured, nor the separation of powers defined, has no constitution at all.

17.  Since property is an inviolable and sacred right, no one shall be deprived thereof except where public necessity, legally determined, shall clearly demand it, and then only on condition that the owner shall have been previously and equitably indemnified.


Source
www.wikimedia.org – รูปภาพ Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
www.hrcr.org – คำประกาศฉบับภาษาอังกฤษ Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
อ.ปิยบุตร ม.ธรรมศาสตร์ – สัญลักษณ์ในกระดาน

เพิ่มเติม

1.
คำประกาศคณะราษฎร์ ฉบับที่ 1 ของประเทศไทย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เคยเอามาลงให้อ่านกันแล้ว
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!570.entry

2.
วันชาติของประเทศไทย เดิมคือวันที่ 24 มิถุนายน
อันเป็นวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475
ทั้งนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในรัฐบาล พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
วันที่ 24 มิถุนายน จึงเป็นวันชาติของไทยนับแต่นั้นมา
กระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ในรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ได้มีประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ดังกล่าว
แล้วกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม เป็น "วันชาติ" ตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

Categories: Other

28 Reasons Why REDS Should Be Proud.

25 May 2009 Leave a comment

28 Reasons Why REDS Should Be Proud.

We all know first place is everything at Anfield, but despite missing out on the Barclays Premier League by the slenderest of margins there are still plenty of reasons why we can look back with pride on our 2008-09 campaign.

Whether it be amassing a record points total, leading the goalscoring charts, enjoying our best away form for over one hundred years or completing memorable league doubles over both Manchester United and Chelsea, the past nine months have provided numerous reasons why we can look forward to the new campaign with hopes and expectations high.
 
We may not have ended the season as champions of England this time – but here are 28 reasons why we should feel positive when reflecting on the latest season in our glorious history.
 
1 The Reds amassed their highest points total ever in the Premier League (86) beating the 82 set in 2005-06. It is our highest in the league since 1987-88.
 
2 The total of 86 points is more than we needed to clinch 12 of our 18 league titles (all seasons based on three points for a win).
 
3 We won 14 points against the other members of the ‘Big Four’. It was as many points as we had won against Arsenal, Chelsea and Manchester United in the previous three seasons put together.
 
4 Liverpool scored 77 league goals this season – our best since 1990-91 when we also scored 77, and finished second in the title race to Arsenal.
 
5 16 players scored in the league this season – one fewer than the club record set in 1911-12.
 
6 We finished the campaign with a goal difference of +50 – our best for 21 years when we amassed +63 in 1987-88.
 
7 The Reds went through a league campaign at Anfield undefeated for the 10th time in their history and for the first time since 1987-88.
 
8 We extended our unbeaten run of league games at home to 30 – the best run for 28 years and equalled the fourth best sequence in our history.
 
9 We amassed seven more points than when we last won the title in 1989-90 (then it was 79).
 
10 We equalled the club record set in 1904-05 by winning 13 away league games.
 
11 Liverpool amassed 43 away points this season – the most in our history.
 
12 We finished the season averaging 2.26 points per game – the second best ever average in our 94 seasons in the top-flight. The best is 2.33 points in 1978-79 (98 points from 42 games based on 3 pts for a win).
 
13 We scored at least three goals in five successive league games for the first time since 1987.
 
14 And we netted at least three goals in six successive games in all competitions for the first time in the club’s history.
 
15 We only lost two league games this season – our best record since 1987-88 when we also lost twice. That season we drew 12 games but still won the title by nine points from Manchester United.
 
16 We became the first team ever to lose only two games in a season and not go on to win the league. Chelsea in 2007-08, 2006-07 and Nottingham Forest 1978-79 were all runners-up having lost three games.
 
17 Liverpool ended Chelsea’s 86-match unbeaten home record with a 1-0 victory at Stamford Bridge.
 
18 We recorded the club’s first league ‘double’ over Chelsea for 19 years.
 
19 A Yossi Benayoun goal ensured we became only the second English team to win in the Bernabeu.
 
20 And at Anfield we inflicted upon Real Madrid their biggest ever Champions League defeat as we went goal crazy with a 4-0 win.
 
21 Overall we sent Madrid crashing to their heaviest two-legged European defeat in the knockout stages for 20 years.
 
22 We recorded our biggest win at Old Trafford for 72 years. It was also the first time four Liverpool players had scored at United in the same game.
 
23 Rafael Benitez broke Bill Shankly’s record of 65 European matches as Liverpool manager.
 
24 The boss also broke Bob Paisley’s record of 40 European wins.
 
25 Rafa recorded his 100th league win as manager in his 181st game. It was the 3rd quickest ever by a Liverpool manager and 50 games faster than Alex Ferguson.
 
26 Liverpool have lost only six league games in total in the last two seasons. Manchester United have lost nine. Arsenal have also lost nine and Chelsea eight.
 
27 Liverpool finished the season as leading scorers in the Premier League. They scored 77 compared to Manchester United, Chelsea and Arsenal, who all scored 68.
 
28 The Reds boast the highest goals per game average of any team in all four divisions in England (1.93 goals per game) and will finish the season as such unless one of the following happens – Manchester United score nine in the Champions League Final or Chelsea score six in the F.A. Cup Final.

Paul Eaton 25 May 2009
http://www.liverpoolfc.tv/news/drilldown/N164486090525-1057.htm

Categories: Other

เปิดวงจรเงินใต้ดิน..แปะเจี๊ยะ

18 April 2009 Leave a comment

เปิดวงจรเงินใต้ดิน..แปะเจี๊ยะ

รัฐบาลประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ในอีกมุมของรั้วโรงเรียน ผู้ปกครองกลับต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าแปะเจี๊ยะ หลักแสน ถึงหลักล้าน

รัฐบาลประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ในอีกมุมของรั้วโรงเรียน ผู้ปกครองกลับต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าแปะเจี๊ยะ หลักแสน ถึงหลักล้าน เพื่อให้ลูกหลานได้เรียนในโรงเรียนดีๆ

วัฒนธรรมการจ่ายเงินค่าแปะเจี๊ยะหรือ เงินกินเปล่าในสังคมการศึกษาไทยเป็นเรื่อง “ธรรมดา” ที่ครู – ผู้ปกครองร่วมกันยอมรับว่า หากใครต้องการให้ลูกหลานได้เรียนโรงเรียนดังๆ แลกกับคุณภาพการสอนของโรงเรียนที่ (เชื่อว่า) ดีกว่า ก็ต้องยอมจ่ายเงินกินเปล่าก้อนนี้

ช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเหล่าผู้ปกครองจึงต้อง “วิ่งเต้น” หาเส้นสาย เพื่อให้ลูกหลานมีที่เรียน “ได้ดั่งใจ” โดยยอมแลกกับเม็ดเงินมากมาย ซึ่งมีทั้งการจ่ายบนโต๊ะ มีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานชัดเจน และใต้โต๊ะ ไร้ใบเสร็จ

แปะเจี๊ยะ "สูงสุด" 3 ล้าน

จากการสอบถามจากบรรดาเครือข่ายผู้ปกครองที่ต้องอาศัยการวิ่งเต้น ทำให้ได้ตัวเลขเงิน “บริจาค” ของโรงเรียนยอดนิยมแต่ละแห่ง ซึ่งมีตั้งแต่หลักแสนจนถึงหลักล้านบาททีเดียว โดยโรงเรียนในเครือมหาวิทยาลัยดัง ถูกระบุว่า ต้องใช้ค่าวิ่งเต้นสูงสุดถึง “หลักล้านบาท”

หนึ่งในโรงเรียนสาธิตที่ว่ากันว่าสูงสุด คือ โรงเรียนใน สังกัดมหาวิทยาลัยย่านสามย่าน ซึ่งปีนี้มีการขยับเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจาก 6 หลัก มาเป็น 1-3 ล้านบาท สำหรับชั้น ป. 1 ขึ้นกับระดับคะแนนสอบที่ทำได้ ถ้าได้คะแนนน้อย ก็ต้องจ่ายหนักหน่อย รวมไปถึงระดับ "เส้นสาย" ว่าใหญ่แค่ไหน

แม้จะต้องจ่ายกันเป็นล้านบาท แต่ผู้ปกครองรายหนึ่ง ยอมรับว่า เป็น การลงทุนที่คุ้มค่า สำหรับการเรียนตลอด 12 ปี ทั้งในแง่ค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าในระยะยาว และคุณภาพการศึกษาที่ (เชื่อว่า) ดีกว่า ที่สำคัญมีโอกาสต่อยาวถึงระดับมหาวิทยาลัยในสังกัด

โรงเรียนในเครือมหาวิทยาลัยย่านปทุมวันเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่ต้องจ่ายค่าแปะเจี๊ยะในหลักล้าน พ่อแม่ที่เลือกที่โรงเรียนแห่งนี้แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ต่างกัน แต่อาจจะมีการวางแผนล่วงหน้า เพราะระบบแปะเจี๊ยะของที่นี่ใช้วิธีสร้างพอร์ตการบริจาค หรือจะเรียกว่าระบบ "สะสมแต้ม" ก็ไม่ผิดนัก

หากมีเป้าหมายแน่นอนว่าจะให้ลูกเรียนที่นี่ก็ต้องเริ่มสร้าง พอร์ตในนามของผู้อุปถัมภ์กันแต่เนิ่นๆ โดยต้องมียอดไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท เพื่อการันตีที่นั่งว่ามีแน่ๆ ซึ่งเป็นโควต้าพิเศษสำหรับผู้มีอุปการคุณ

คุณแม่น้องจ๋อมแจ๋มเล่าให้ฟังว่า เงินบริจาคจะมีผลตอนพิจารณาคะแนนสอบ ซึ่งโรงเรียนสาธิตแห่งนี้จะประกาศผลสอบแบ่งเป็น 4 บัญชี หรือ 4 บอร์ด แต่จะไม่ปรากฎคะแนนสอบ

บัญชีชุดแรกเป็นเด็กที่สอบได้ด้วยตัวเอง มีคะแนนสูง บัญชีชุดที่สอง เป็นเด็กของผู้มีอุปการคุณของโรงเรียน บัญชีที่สาม เป็นเด็กที่มาจากโรงเรียนในสังกัดเดียวกันที่ถูกส่งมาสอบ ซึ่งจะตัดคะแนนเพียง 40% ส่วนบัญชีสุดท้ายเป็นเด็กที่จะเรียน English Programe หรืออีพี

สำหรับวิธีการสะสมแต้ม คุณแม่น้องจ๋อมแจ๋มเล่าให้ฟังว่า แต่ละปีโรงเรียนจะจัดกิจกรรมการกุศลเพื่อหารายได้หลายกิจกรรม เช่น กอล์ฟการกุศาล โบว์ลิ่งการกุศล ก็ต้องช่วยซื้อสม่ำเสมอ แล้วเก็บใบเสร็จไว้ พอถึงเวลาที่ลูกจะไปสอบก็แนบใบเสร็จไปพร้อมใบสมัคร การเป็นผู้มีอุปการคุณมายาวนานจะทำให้โรงเรียนพิจารณาก่อน หรืออาจจะติดต่อกับผอ.โรงเรียนกันแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ลูกเรียนอยู่ ป.5 เพื่อทำความคุ้นเคย ซึ่งการลงทุนต่อเนื่องทำให้ไม่ต้องจ่ายหนักกันทีเดียว

ยิ่งช้ายิ่งจ่ายแพง

นอกจากโรงเรียนในเครือมหาวิทยาลัยทั้งหลายแล้ว โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อีกหลายแห่งมีการเรียกเก็บเงินแปะเจี๊ยะ สำหรับรับเด็กนักเรียน "รอบสาม" ซึ่งมีทั้งที่ต้องใช้เส้นสาย ขณะที่บางแห่งตั้งโต๊ะให้ผู้ปกครอง "Walk in" เข้าไปเสนอเงินบริจาคได้ตรงๆ ไม่ต้องผ่านคนกลาง เราจะพาไปฟังปากคำของผู้ปกครองที่ผ่านประสบการณ์เหล่านี้กัน

พี่รีย์ คุณแม่ลูกสอง เล่าประสบการณ์ครั้งสำคัญของลูกสาวคนโตที่พลาดการสอบเข้าม.1 โรงเรียนสตรีบริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ให้ฟังว่า ปีก่อนลูกพี่สอบไม่ได้ จับสลากก็ไม่ได้ ขณะเดียวกันโรงเรียนนี้ก็เป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง พ่อแม่หลายคนที่ลูกสอบไม่ติดต่างนั่งเฝ้าหน้าโรงเรียนรอลุ้นว่า ผู้บริหารโรงเรียนจะขยายที่นั่งเพิ่มเท่าไร เพื่อให้ลูกของตัวเองมีสิทธิ์ได้เรียนที่นี่

"พี่เต็มใจจ่าย เพียงขอให้ได้เรียนในโรงเรียนที่มุ่งหวัง"

เธอ เล่าว่า สำหรับเธอเองโชคดีว่าปีนั้นยังไม่มีการจับตาเรื่องแปะเจี๊ยะเหมือน ปีนี้ ทำให้เรื่องทุกอย่างง่าย โดยเฉพาะปีนั้นโรงเรียนมีการ "ตั้งโต๊ะ" เปิดรับให้ผู้ปกครองเข้าไปยื่นคำร้องแล้วเสนอตัวเลขบริจาค โดยมี "ใบเสร็จ" รับเงินออกในนาม "สพฐ." ไม่ใช่นามของโรงเรียน ซึ่งมีตั้งแต่ 2 – 3 แสนบาท มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังทรัพย์ นอกจากนั้นก็ยังต้องดูปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วย

"บางคนก็เขียนบริจาค 2 แสนบ้าง 3 แสนบ้าง ส่วนพี่ใส่บริจาคไป 1 แสนบาท จะว่าไปก็เหมือนระบบประมูล ปีนี้ได้ยินว่า 1 แสนเอาไม่อยู่ แต่ขึ้นกับผลการเรียน จำนวนเงิน และมีใครฝากมาไม๊ ก็มีเหมือนกันที่ไม่ได้ แต่ถึงไม่ได้ก็มีคนรอนาทีสุดท้ายก็มี เผื่อว่าจะมีเด็กบางคนสละที่นั่งไปโรงเรียนอื่น"

คุณแม่น้องจ๋อมแจ๋ม ให้ข้อมูลโรงเรียนเดียวกันว่า ค่าแปะเจี๊ยะโรงเรียนนี้วิ่งกันประมาณ 2-4 แสนบาท แต่ข้อมูลที่ได้รับจากรองผอ.ทำให้รู้ว่าส่วนใหญ่โรงเรียนจะได้เพียง 1 แสนบาท ส่วนที่เหลือเป็น "ค่าหัวคิว" ซึ่งระดับเงินจะเพิ่มขึ้นตามวันเวลาที่งวดเข้ามา เช่น หากยื่นความจำนงค์ในระหว่างวันสมัครแปะเจี๊ยะจะ อยู่ราวๆ 2 แสนบาท แต่ถ้าสมัครและได้เลขที่สอบแล้วจะวิ่งขึ้นไป 2.5 แสนบาท และถ้าผ่านไปจนประกาศผลแล้วบางรายอาจจะต้องใช้เงินมากถึง 4.5 แสนบาท

"เพื่อนพี่ 2-3 คน ต้องเสียเงิน 4.5 แสนบาท เพราะรอจนประกาศผล"

ขณะที่โรงเรียนเกาะแนวรถไฟฟ้าย่านลาดพร้าว ผู้ปกครองระบุว่า ปีที่แล้ว 1 แสนบาท แต่ปีนี้วิ่งกันที่ 2 แสนบาท เพราะมีชื่อเสียง และเป็นโรงเรียนแนวรถไฟฟ้า เดินทางสะดวก เช่นเดียวกับโรงเรียนชายชื่อดังเลยสถานีหัวลำโพงไปไม่มากนักมีอัตราค่าแปะเจี๊ยะปี นี้ 2-3 แสนบาท หรือแม้แต่โรงเรียนย่านบางแก้วที่ไกลออกมาถึงนอกเมือง แต่มีชื่อเสียง ยังขอรับเงินบริจาคเป็นค่าห้องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 แสนบาท

แม้จะต้องจ่ายกันหนักๆ แต่สำหรับแม่ลูกสอง ยืนยันว่า "เต็มใจ" เพราะการวิ่งหาที่เรียนม.1 ได้ ก็สบายไปอีก 6 ปี ไม่ต้องเปลี่ยนโรงเรียนอีกครั้งตอน ม.4 ซึ่งโรงเรียนดีๆ ส่วนใหญ่เปิดรับน้อยมาก โอกาสที่จะพลาดที่นั่งไปอีกครั้งก็สูง

เธอ ปักใจเชื่อว่า ระบบอุปถัมภ์เป็นเรื่องปกติของสังคมไทยที่ยอมจ่ายเพื่อให้ลูกมีที่เรียน ซึ่งแต่ละโรงเรียนล้วนมีการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับ "ผู้มีอุปการคุณ" จากที่ได้สังเกตการรับเด็กแต่ละปีมักจะมีตัวเลขเกินกว่าที่ประกาศไว้ โดยแต่ละปีจะประกาศรับเด็กประมาณ 400 ที่นั่ง แต่เวลาลงทะเบียนมีเด็กนักเรียนประมาณ 580-600 คน ทุกปี

เช่นเดียวกับคุณแม่ลูกหนึ่งให้ข้อมูลว่า โรงเรียนย่านสามเสนที่ลูกสาวเรียนอยู่ก็มีเช่นกัน โดยแต่ละปีจะมีนักเรียนเกินกว่าที่ประกาศรับไว้ราว 1-2 ห้อง

ใครไม่มีเส้นถอยไป

ขณะที่ "น้ำ" คุณแม่ลูกสาม แม้จะยังไม่มีประสบการณ์จากตัวเอง แต่มีลูกวัยที่กำลังจะเข้า ม.1 ทำให้ต้องหาข้อมูลค่าธรรมเนียมเหล่านี้ เธอเล่าว่า เพื่อนๆ ผู้ปกครองบางคนต้องจ่ายเป็นหลักล้าน ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะมีโควตาพิเศษสำหรับเด็กเส้นเหล่านี้ประมาณ 2 ห้อง หรือ 90-100 คนต่อปี ซึ่งอัตราส่วนใหญ่ปีนี้วิ่งกันในระดับ 1-2 แสนบาท
"บางคนเส้นใหญ่ไม่ต้องเสียก็มี บางทีก็เป็นผู้มีอุปการคุณ ยิ่งตำแหน่งสูงก็ยิ่งจ่ายน้อย แต่ส่วนใหญ่จะอิงกับคะแนนที่เด็กสอบได้ด้วย"

แต่ใช่ว่าผู้ปกครองที่วิ่งเต้นจะทำให้ลูกหลานได้เรียนในโรงเรียนที่หวังเสมอไป

สำหรับโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วไป ส่วนใหญ่แบ่งเด็กออกเป็น 2 เกรด คือ ห้องเด็กอัจฉริยะ เกรด 3.5 อัพ หรือที่เรียกกันว่า "Gifted" กับเด็ก "Regular" ซึ่งผู้ปกครองจะวิ่งเต้นได้เฉพาะประเภทหลัง ที่มีการจัดสอบทั่วๆ ไป โดยส่วนใหญ่แต่ละโรงเรียนจะเปิดให้ "วิ่ง" กันใน "รอบ 3" หลังจากจัดสรรให้เด็กๆ ที่สอบได้ และจับสลากเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องวิ่งเต้นในโรงเรียนที่มีบุตรหลานสอบไว้ มักไม่ค่อยเห็นจะวิ่งกันข้ามโรงเรียน เนื่องจากไม่มีหลักฐาน รวมทั้งโรงเรียนต่างๆ จะใช้คะแนนเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับด้วย

แต่อย่างที่บอกไว้ ไม่ใช่ว่าวิ่งเต้นแล้วจะได้กันทุกคน แต่ขึ้นกับคะแนนใครดี เงินใครหนา และ…เส้นใครใหญ่กว่ากัน

แม้ว่าจะผู้ปกครองบางคนจะมีเงินหนา ยอมจ่าย แต่การ "เข้าถึง" เส้นสายเป็นเรื่องยาก เพราะหากไม่มีคนรู้จักที่จะพาเข้าถึงผู้ใหญ่ในโรงเรียนบอกได้คำเดียวว่า "ยาก" ที่จะให้ลูกเข้าโรงเรียนดังได้

"การจ่ายแปะเจี๊ยะ ไม่ใช่ได้ทุกคน ต้องมีเส้นสายพอสมควร บางทีขึ้นกับการ "ต่อรอง" อาจจะถามว่าเพิ่มกว่านี้ให้ไม๊ ไม่มีทางได้ทุกคน แล้วแต่ศักยภาพของพ่อแม่ และเส้นที่วิ่งด้วย เพราะบางที่ก็มีค่าหัวคิวด้วย" คุณแม่น้ำบอก

เธอ เล่าว่า ปีที่แล้วลูกของเพื่อนสอบม.1 ไม่ติด แต่คุณพ่อหรือคุณตาของเด็กเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน ส่วนตัวเพื่อนก็เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเหมือนกัน ทำให้พอมีช่องทางที่จะฝากลูกได้ ก็ผ่านไปทางสมาคมศิษย์เก่าแล้ว "ต่อท่อ" กันไป ใครบิ๊กบึ้มกว่า คะแนนดีกว่าก็ได้ไป

ส่วนคุณแม่น้องจ๋อมแจ๋ม ให้ข้อมูลเพิ่มว่า บางโรงเรียนผอ.และรองผอ. บางคนเท่านั้นที่จะสามารถฝากได้ แต่บางโรงเรียนต้องผ่านสมาคมศิษย์เก่า หรือสมาคมครูผู้ปกครองเท่านั้น อย่างโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านหลานหลวงโรงเรียนจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการฝากเด็ก แต่เป็นเรื่องของสมาคมศิษย์เก่าเท่านั้น

"สมาคมฯ จะบอกว่าปีนี้หาเงินให้โรงเรียนเท่าไร ซึ่งโรงเรียนจะไม่ยุ่งเลย ผู้ปกครองจะบอกกันว่าโรงเรียนนี้เสมอภาคโดยราคา เพราะมีราคาเดียวคือ 1 แสนบาท"

อยากเข้าโรงเรียนคริสต์ เตรียมไว้ไม่ต่ำกว่าแสน

แต่สำหรับโรงเรียนคริสต์ หรือเอกชนชื่อดังเป็นที่รู้กันว่า เงินบริจาคเป็นเรื่องที่ห้ามละเลย ยกเว้นจะเป็นเด็กหัวกะทิที่จะสร้างชื่อให้กับโรงเรียนจริงก็อาจจะได้รับการ ยกเว้น โดยอัตราบริจาคส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตราเดียวกับโรงเรียนรัฐ คือ ประมาณ 1.5-3 แสนบาท

"ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะเขียนเสนอเงินบริจาคตั้งแต่วันกรอกใบสมัครเลย เว้นแต่จะมั่นใจว่าลูกเราเก่ง จะทำคะแนนได้ดีก็อาจจะใส่ตัวเลขน้อยหน่อย แต่บางคนจะใส่ไปเลยทีเดียวจบ จะได้ไม่ต้องมาวิ่งรอบสอง ซึ่งต้องจ่ายมากกว่า" คุณแม่น้ำให้ข้อมูล

โรงเรียนคริสต์ย่านสีลม-บางรัก โรงเรียนอันดับ ต้นๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีฐานะนิยมพาลูกมาสอบ ซึ่งเงินบริจาคจะขยับขึ้นจากปีก่อน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับปีนั้นๆ มีก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมหรือลงทุนอุปกรณ์การเรียนมากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเรท 1 แสนบาทเป็นอย่างต่ำ หากรายไหนให้ต่ำกว่าเกณฑ์เจ้าหน้าที่หรือคุณครูจะเรียกไปให้เพิ่มตัวเลข

แปะเจี๊ยะ คือการลงทุนที่คุ้มค่า

แปะเจี๊ยะ เป็นเหมือนกับการ "ลงทุน" การศึกษาและ "ซื้อโอกาส" ที่ดีกว่า

จากที่พูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนที่จ่ายค่าแปะเจี๊ยะ ส่วนใหญ่จะให้ความเห็นตรงกันว่า ยินดีที่จะจ่ายเงินหลักแสน เพื่อให้ลูกเรียนในโรงเรียนดัง เพราะเชื่อว่า โรงเรียนเหล่านี้มีมาตรฐานการสอนที่ดีกว่า สังคมในโรงเรียนเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้บุตรหลานดีไปด้วย

คุณแม่รีย์ บอกว่า ผู้ปกครองไม่ได้เชื่อมั่นระบบการศึกษาว่าเท่าเทียมกัน ทำให้ยัดกันเข้าโรงเรียนดัง ยอมเสียเงินวิ่งเต้น ทำให้แต่ละห้องมีนักเรียน 45-50 คน ซึ่งมากเกินไปจนครูดูแลเด็กไม่ทั่วถึง

"แต่เราก็เชื่อว่าบุคลากรของโรงเรียนเพียงพอ เพราะถ้าครูไม่พอ โรงเรียนพร้อมจะจ้างครูในอัตราจ้างมากขึ้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนจ่ายเอง"

แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศ "เรียนฟรี 15 ปี" ซึ่งเป็นนโยบายที่ดี แต่คุณแม่รีย์ บอกว่า เรียนฟรีไม่สำคัญเท่ามาตรฐานการศึกษา ซึ่งรัฐบาลควรทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน หากทำได้ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องจ่ายแปะเจี๊ยะเพื่อแย่งกันเข้าโรงเรียนดัง ทำให้ห้องเรียนอยู่ในสภาพแออัด ในขณะที่โรงเรียนรอบข้างกลับมีที่นั่งเหลือ

"จะว่าไปเป็นเหมือนการเอาเปรียบคนในสังคมที่โรงเรียนไม่ได้เรียกเด็กที่ สอบได้ลำดับต่อไป แต่เลือกรับเด็กที่พ่อแม่ยอมจ่ายเงินให้ แต่จะโทษโรงเรียนอย่างเดียวไม่ได้ เพราะผู้ปกครองเต็มใจ ซึ่งต้องเข้าใจโรงเรียนด้วยว่าโรงเรียนก็ต้องหาเงินให้พอกับงบประมาณที่ใช้ จ่าย เพราะรัฐหนุนอย่างเดียวไม่พอ

พี่คิดว่า โรงเรียนทุก โรงเรียนดี แต่เด็กไม่ได้เหมาะกับทุกโรงเรียนๆ ชื่อดัง ลูกเราอาจจะไม่ชอบ นอกจากนั้นโรงเรียนดียังต้องมีปัจจัยอื่นเกื้อกูลกัน สังคมในโรงเรียนต้องเป็นภาคีกัน โรงเรียนช่วย ผู้ปกครองช่วย เด็กมีความสุข ผลการเรียนก็ดี ซึ่งเราเชื่อว่าโรงเรียนที่ดีสังคมมีการช่วยเหลือดูแลกัน ไม่ได้ปล่อยให้ลูกอยู่ไป ซึ่งการเข้าไปในโรงเรียนเหล่านี้เป็นเหมือนการซื้อสังคมที่ดี ซื้อโอกาสให้ลูกเราด้วย" คุณแม่รีย์กล่าวทิ้งท้าย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 19 เมษายน 2552

Categories: Other

Michael Wright (ไมเคิล ไรท์, เมฆ มณีวาจา)

15 February 2009 Leave a comment

มะเร็งปอดคร่า’ไมเคิล ไรท์’ฝรั่ง หัวใจไทย นักคิด นักเขียน ชื่อดัง ฌาปนกิจบ่าย3โมง 13 มกราฯ

‘ไมเคิล ไรท์’ฝรั่ง หัวใจไทย นักคิด- นักเขียนหนังสือด้านประวัติศาสตร์ไทย ประจำนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและมติชนสุดสัปดาห์ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งปอดอย่างสงบที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 7 มกราคม นายไมเคิล ไรท์ นักคิด นักเขียน คอลัมนิสต์ชื่อดัง ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย และลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เครือบริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด อย่างสงบที่โรงพยาบาลกรุงเทพ รวมอายุ 68 ปี

สำหรับพิธีศพนั้น รดน้ำศพ เวลา 16.30 น. วันที่ 8 มกราคม 2551 ณ ศาล 3 วันเสมียนนารี  ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. สวดพระอภิธรรม วันที่ 8 -12 มกราคม เวลา 19.00 น.  ฌาปนกิจ วันอังคารที่ 13 มกราคม เวลา 15.00 น.

‘ไมเคิล ไรท์’ (Michael wright)  หรือ ที่รู้จักกันดีในนาม ไมค์ มีชื่อไทยว่า นายเมฆ มณีวาจา เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2483  ที่เมืองเซาแธมตัน ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ   จบการศึกษาที่ St.Michaels College, Hitchin, Herts, U.K. โดยเขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ.2504)  และสนใจเรียนภาษาไทย วัฒนธรรมไทยและโบราณคดี  โดยอาศัยการศึกษางานประพันธ์ของอาจารย์ อนุมานราชธน, ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และหนังสือ สารสมเด็จ

สุจิตต์ วงษ์เทศ  ผู้ก่อตั้งศิลปวัฒนธรรม ได้เขียนถึง ไมเคิล ไรท์  ลงในคำนำเสนอ หนังสือ ‘ฝรั่งคลั่งสยาม นามไมเคิล ไรท์’ว่า  ตนและไมเคิล ไรท์ รู้จักและสนิทสนมกันจากการที่นัดถกกันเรื่องแคว้นสุโขทัยและศิลาจารึก ที่ร้านเหล้าริมถนนราชดำเนินเป็นประจำ ต่อมาจึงได้ชวนไมเคิล ไรท์  ให้มาเป็นหนึ่งในผู้เขียนคอลัมภ์ลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2522  โดย ไมเคิลไรท์ ได้เขียนบทความเรื่องส้วม เป็นบทความแรกในงานเขียนของเขา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไมเคิล ไรท์ ก็กลายเป็นคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารศิลปวัฒนธรรม มาจนถึงปัจจุบัน และมีงานเขียนลงในมติชนสุดสัปดาห์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543

สุจิตต์ เล่าถึงประวัติของไมเคิล ไรท์ ในคำนำหนังสือดังกล่าวต่อว่า ไมเคิล ไรท์ เป็นชาวอังกฤษที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เพระไม่ชอบห้องเรียน แล้วหนีออกจากบ้านตามประสาลูกฝรั่งวัยรุ่น ร่อนเร่ไปรับจ้างทำงานอยู่ลังกา จนเข้ามาเผชิญโชคในกรุงเทพฯ ท้ายที่สุดก็ได้งานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายแปลเอกสารที่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อพ.ศ.2513  ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ อยู่ประจำศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า นั่งทำงานห้องเดียวกับเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

สำหรับไมเคิล ไรท์   เป็นชาวอังกฤษที่สนใจในเรื่องประวัติศาสตร์สังคมวัฒธรรมสยามประเทศไทย ด้วยความที่เขาเป็นคนที่ชอบอ่านหนะงสือมาก จึงมักมีข้อมูลใหม่ๆ มาเสนอ หรือความคิดเห็นกับข้อสังเกตที่น่าสนใจต่อวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์สังคม วัฒธรรมอยู่เสมอ  บางคราวสามารถเชื่อมโยงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้เห็นภาพพรวมของ ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ให้เห็น แล้วนำผ่านคอลัมน์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและมติชนสุดสัปดาห์ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก  ไม่ใช่แต่เฉพาะวิธีการคิดเท่านั้น แต่รวมไปถึงวิธีการเขียนที่มีใจความกระชับและสอดแทรกอารมณ์ขันได้อย่างแนบ เนียน

ผลงานของไมเคิลไรท์ที่ผ่านมาทั้งหมด  มีดังนี้ ฝรั่ง คลั่งสยาม พ.ศ.2541, ฝรั่งอุษาคเนย์ พ.ศ.2542, ตะวันตกวิกฤติ คริสต์ศาสนา พ.ศ.2542, โองการแช่งน้ำ พ.ศ.2543, ฝรั่งหลังตะวันตก พ.ศ.2547, พระพิฆเนศ พ.ศ.2548, แผนที่แผนทาง พ.ศ.2548, ไมเคิล ไรท์ มองโลก พ.ศ.2549, โลกนี้มีอนาคตหรือ? พ.ศ.2550, ฝรั่งคลั่งผี พ.ศ.2550, ฝรั่งหายคลั่งหรือยัง พ.ศ.2551 นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆ อีกมาก และ มีบทความลงในหนังสือพิมพ์ The Nation ตั้งแต่ พ.ศ.2538 บทความภาษาอังกฤษต่างๆ ในวารสารสยามสมาคม

ไมเคิล ไรท์ ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ให้เป็นผู้มีอุปการคุณต่อวงการไทยคดีศึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลผู้ได้รับการยอกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น โดยกระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย


Capital and Politics in History บทความสุดท้าย มติชนสุดสัปดาห์

คอลัมน์ ‘ฝรั่งมองไทย’ในมติชนสุดสัปดาห์ ได้ตีพิมพ์บทความสุดท้ายของ ‘ไมเคิล ไรท์’ในฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2551 (ฉ.1469) เรื่อง ‘ทุนกับการเมืองในประวัติศาสตร์’

Capital and Politics in History

มีเนื้อหาดังนี้

บทนำ

ในหนังสือ The Last Day of Old Beijing (Walker&Co., N.Y., 2008) Michael Meyes ปรารภว่า ‘ปักกิ่งเป็นนครหลวงของเมืองจีนมาตั้งแต่ราชวงศ์หยวน, และในแปดรอยปีที่ผ่านมาไม่เคยเสียโฉมหรือเอกลักษณ์, แม้ในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของประธานเหมา’ปักกิ่งเพิ่งมาสิ้นศักดิ์ศรีและความงดงามในยุคเศรษฐกิจตลาดเสรี (Free Market Economy) นี้เอง จนมีหน้ามีตาขี้เหร่เยี่ยงชานเมืองสหรัฐประดับด้วยร้านแดกด่วน, ห้างสรรพสินค้าและลานจอดรถ, ไม่เป็นมนุษยวิสัยเสียแล้ว

ในยุคตลาด เสรีนี้ พรรคคอมมิวนิสต์กับเทศบาลกรุงปักกิ่งต่างเป็นใจนายทุนรื้อถอนกรุงเก่าให้ เหลือแต่โบราณสถานหลักๆ ที่ขายได้ให้นักท่องเที่ยวชม ส่วนปักกิ่งเดิมของชาวบ้านนั้นอย่าไว้ให้รกตา แต่ ‘เวนคืน’ให้บรรษัทใหญ่ๆ สร้างคอนโดฯ และห้างสรรพสินค้า

ผมคิดดูแล้วสงสัยว่า ถ้ามองจากมุมหนึ่งจะเห็นว่าประวัติศาสตร์โลกเกือบทั้งหมดคือการหามาตรการ ป้องกันไม่ให้ตลาดเสรี อาละวาดจนทำลายสังคมโดยสิ้นเชิง

สมัยโบราณ

เป็นที่เชื่อว่าในสมัยบุพกาลมนุษย์ปกครองกันเองในระดับเผ่าอย่างเรียบง่าย การเมืองคือ Primitive Democracy (ตกลงกันเอง) และเศรษฐกิจคือ Primitive Communism (แบ่งกันเอง) การเงินยังไม่มี, และกิจการค้าไม่เป็นปัญหาเพราะยังอยู่ในรูปเรียบง่าย (แลกเปลี่ยนกันเอง โดยสมัครใจ)

พอย่างเข้ายุคประวัติศาสตร์สังคมบุพกาลก็ใช้ไม่ได้เสีย แล้วเพราะคนในเผ่าเพิ่มจำนวนมากจนตกลงกันเองไม่สะดวก, และแบ่งกันเองได้ยากเพราะคนมาก อยากได้ทรัพย์จำกัด

ทันใดนั้นเกิด สิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาสองอย่างควบคู่กัน, คือ การเมือง (Politics) และการพาณิชย์ (Commevec) มนุษยกิจสองอย่างนี้ดำเนินควบคู่กันจริง, แต่ไม่เคยลงรอยด้วยกันตลอดประวัติศาสตร์โลกจนทุกวันนี้

ดูประวัติศาสตร์ทุกชาติทุกภาษาต่างมีชนชั้นอื่น (นักรบ, เจ้าของที่ดิน, ตระกูลสูงศักดิ์, นักศาสนาเจ้าฟ้า-เจ้าพิธี) ต่าง อวดอ้างสิทธิการปกครองโดยเขี่ยเศรษฐีพ่อค้าอยู่ชายขอบ ทั้งนี้ เพราะหากอำนาจการปกครองกับอำนาจเศรษฐกิจตกอยู่ในมือเดียวกัน, สังคมจะขาดความสมดุลและความยืดหยุ่นแล้ว ‘ตาย’หรือ ‘แตก’

(ใครไม่เชื่อให้ลองอ่านประวัติศาสตร์จีน, อินเดีย, กรีก-โรมัน, ยุโรปสมัยกลาง จะอ่านประวัติศาสตร์ ‘ไทย’ก็ไร้ประโยชน์ เพราะยังไม่มีใครลงมือเขียนนอกจากจะสรรเสริญบารมีปลอบใจกันเอง)

สมัยใหม่

เศรษฐกิจ และการเมืองสมัยใหม่เริ่มที่ยุโรปในยุคจักรวรรดินิยม (เริ่มราว ค.ศ.ที่ 16) และยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ.ที่ 18-19), ทำให้พ่อค้าเศรษฐีใหญ่ๆ สามารถสะสมทุนมหาศาลจนยากที่รัฐจะควบคุมได้ ผลก็คือระบอบประชาธิปไตยได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว, โดยหวังว่า ‘สภา'(ที่รับการเลือกตั้ง) จะคุมนายทุนในนามของประชาชนโดยที่อภิสิทธิ์ชนเก่ายังคงรักษาอภิสิทธิ์ไว้ได้ บ้าง และประชาชนได้สิทธิ์บ้างในการเสริมสวัสดิการของตน

ประชาธิปไตย พัฒนาไปได้ดีในบางประเทศที่มีความยืดหยุ่นพอสมควร แต่ในประเทศอื่น (เช่น สเปน, อิตาลี, เยอรมนี, รัสเซีย) ประชาธิปไตยปลูกไม่ขึ้น

ผลก็คือใน ครึ่งหลัง ค.ศ.ที่ 19-ครึ่งแรก ค.ศ.ที่ 20 เกิดสองระบอบสำคัญขึ้นมาใหม่, คือ 1)ฟาสซิสต์-นาซี (National Socialism) และ 2)คอมมิวนิสต์ (Marsism-Leninism)

ในระบอบฟาสซิสต์ ‘ท่านผู้นำ’อาสาจะคุม ‘ทุน’ในนามของมหาชน; ในระบอบคอมมิวนิสต์ ‘รัฐ’เป็น ‘นายทุน’แต่ผู้เดียวหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สองระบอบนี้พังทลายตามๆ กันจนเหลือแต่ประชาธิปไตยเท่านั้น ที่ยังพอนับถือหรือฝากความหวังได้

แต่แล้ว (แปลกไหม ?) ประชาธิปไตยเริ่มแสดงข้อบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือแก๊งนายทุนสามารถซื้ออำนาจรัฐได้ภายใต้เงื่อนไขอันถูกต้องตามกฎหมาย ของระบอบ เรื่องนี้คงแอบเกิดอยู่ทั่วไป, แต่ที่โจ่งแจ้งที่สุดคือ สหรัฐ, อังกฤษ, อิตาลี, ประเทศอดีตโซเวียต, และเมืองไทย

กรณีไทยปัจจุบัน

อย่าให้กล่าวถึงปัญหาในประเทศอื่นเลย เพราะมีลักษณะเฉพาะต่างๆ นานาในแต่ละประเทศ แล้วอย่าให้สาธยายประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่เพราะใครๆ รู้ดีแล้ว

เท่าที่ผมเห็นปัจจุบันการเมืองไทยมีเพียงสองสำนักที่สำคัญ นั่นคือ :-

1)สำนัก ‘ไทยรักไทย”พลังประชาชน’ของศาสดาในชนชั้น (มาเฟียบ้านนอก) ที่เห็นว่า นายทุน ซื้ออำนาจรัฐถูกต้องอยู่แล้ว, และ

2)สำนัก ‘พันธมิตร’ที่มีหลายศาสดาแต่โดยมากมีคำสอนไปทาง Neo-Fascist ‘เชื่อผู้นำ’, แต่ใครจะเป็นผู้นำนั้นยังเป็นปริศนา

ดูเหมือนกับว่าสองสำนักนี้หมายจะสู้เอาแพ้เอาชนะกันให้ขาดจนได้, โดยไม่มีสำนักที่สาม (ทางเลือก) ทำไมเป็นเช่นนี้ ? ท่านผู้อ่านช่วยอธิบายได้ไหม ?

ใจผมอยากให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นทางเลือก, แต่แล้วดูเหมือนพรรคนี้ เข้าโยคนิตรามานานแล้ว คล้ายพรรค อนุรักษนิยมอังกฤษ

เราหมดสมัย ‘อัศวินม้าขาว’เสียแล้ว ชะรอยคนไทยต้องรีบคิดกันใหม่ให้ดี หรือว่าจะเล่นลิเกกันอีกต่อไป ? อย่าหวังหาคำตอบสำเร็จรูปจากโลกตะวันตก, เพราะ ‘เมืองนอก’ก็กำลังหลงเขาวงกตพอๆ กับไทย


จากเพื่อนถึงเพื่อน…จาก นิธิ ถึง ไมเคิล ไรท์ เขาเป็นพวก CRITICAL MIND

บ่าย 4 โมงวันที่ 6 มกราคม หลังกองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจทราบข่าวการจากไปของ ไมเคิล ไรท ฝรั่งหัวใจไทย

นักข่าวโทรศัพท์ไปแจ้งข่าว อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เชียงใหม่

หลังรับทราบ อาจารย์นิธิอึ้งไปพักใหญ่

ก่อนที่นักข่าวจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า พิธีอาบน้ำศพเวลา 16.30 น. วันที่ 8 มกราคม 2552 ณ ศาลา 3 วัดเสมียนนารี

…ผมจะไปกรุงเทพฯ…อาจารย์นิธิกล่าว

ต่อไปนี้ คือบทสนทนาล่าสุดของอาจารย์นิธิ กับ กรรณิกา เพชรแก้ว นักข่าวประชาชาติธุรกิจ ที่ จ.เชียงใหม่

‘รู้จักกันมา 20 กว่าปี เขารู้จักสุจิตต์ (วงษ์เทศ) มาก่อนหน้า จะก่อนนานแค่ไหนไม่รู้ แต่ผมเจอเขาครั้งแรกก็ที่บ้านสุจิตต์ แล้วก็คุยกันถูกคอ’

– ในฐานะเพื่อน คุณไมค์เป็นอย่างไร ?

‘สั้นๆ ง่ายๆ คือเป็นคนน่ารักมากๆ คนหนึ่ง เป็นคนพูดอะไรตรงไปตรงมา แต่ ขณะเดียวกันก็คงจะเป็นวัฒนธรรมฝรั่ง คือจะรักษามารยาท แต่ตรงไปตรงมา และ เป็นคนมี critical mind ความคิดเชิง วิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา เขาเห็นอะไร เขาจะพูดตรงไปตรงมา แต่จะรักษามารยาท

– ที่ว่าพูดตรงนี่ตรงจริง ไม่ใช่เพราะภาษาไทยไม่แข็งแรง ?

ไม่ใช่ เขาเป็นคนตรงไปตรงมาเลย บางครั้งเราก็พูดภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เขาก็ใช้ได้ดี

– คุยกันเรื่องประวัติศาสตร์ ?

‘ก็แบบนั้น เพราะไมค์เขาเป็นคนไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเรื่องปัจจุบันเท่าไหร่ คือพูดถึงบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่สนใจเรื่องวัฒนธรรมมากกว่า ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ พูดถึงประวัติศาสตร์ในแง่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม’

– ในการถกเถียงด้านวิชาการที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย นักวิชาการจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับคุณไมค์ เพราะไม่ได้เรียนมาโดยตรง แต่เรียนรู้จากการอ่านเท่านั้น ?

‘ผมว่าไม่ยอมรับเป็นคนๆ มากกว่า แล้วทำไมยอมรับกรมพระยาดำรงฯ ท่านก็ไม่เคยเรียนเหมือนกัน ท่านก็มาจากการอ่านเหมือนกัน’

– อาจารย์ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โดยตรง เคยรู้สึกแบบนั้นบ้างไหมเวลาถกเถียงกับคุณไมค์ ?

‘ไม่เลย (เสียงหนักแน่น) เพราะเขาแสดงความรู้หลายอย่าง ซึ่งผมว่าน่าเสียดายที่คนสนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับไทยกลุ่มหนึ่ง ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ตำรา ไม่สนใจจึงไม่รู้ภาษาทมิฬ ไม่รู้ภาษาลังกา’

‘คือไมค์ให้มุมมองใหม่อันหนึ่งที่ผมคิดว่ามีความ สำคัญในทางไทยคดีศึกษา แต่ว่าหานักไทยคดีศึกษาที่พอจะสนใจเรื่องนี้ หรือว่าสนใจพอจะเรียนรู้ภาษาทมิฬ ภาษาลังกาอะไรพวกนี้น้อยมาก’

– ตอนที่คุณไมค์อยู่ศรีลังกา เขาเรียนรู้เรื่องพวกนี้แล้วหรือ ?

‘โอ๊ย ผมว่าคนแบบนี้คงหลงใหลในการศึกษาในการเรียนรู้ด้วยตนเองมาตั้งแต่ไหนแล้ว คนแบบนี้ไม่ใช่อยู่ๆ ลุกขึ้นมาทำ’

‘สิ่งที่ไมค์นำมาให้ที่ยอดเยี่ยมมากๆ คือความรู้ที่เขาได้มาจากอินเดีย มาจากลังกา เราไม่ได้เรียนรู้อย่างไมค์ เราจึงขาดไป คือเรามีความรู้แค่ว่าเรากับลังกามีความสัมพันธ์กัน แต่ว่าไม่มีใครลงไปศึกษาในรายละเอียดจริงๆ ว่า ไอ้วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มันเป็นยังไง มันคืออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นมุมมองของเราที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมไทยทั้งหลาย มันไม่ได้มาจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ที่รู้จริง หรืออย่างบางทีเราก็ตีขลุมว่า อันนี้เอามาจากลังกา ปรากฏว่าลังกาไม่มี’

– เป็นเพื่อนกันแล้ว ถกเถียงกันหนักไหม ?

‘เยอะ แม้แต่ในบทความของผม เขาบอกเขาชอบตามอ่านบทความผม แล้วบางอันนี่เขาไม่เห็นด้วย เขาก็เขียนแย้ง แย้งเสียงดังฟังชัดเลย (หัวเราะ)’

– จากนั้นคุยกันนอกรอบอีกไหม ?

‘มีครับ ที่เขาแย้งนี่บางทีผมก็เห็นด้วยกับเขานะ แต่บางทีผมก็ไม่เห็นด้วย เวลาเจอหน้าก็คุยกัน ผมก็บอกเฮ้ยไม่ใช่นะ ก็ถกกันใหม่อีกยก’

– คิดว่าชีวิตของคุณไมค์มีคุณูปการต่อสังคมไทยให้เราต้องจดจำตรงไหน ?

‘การรู้จักตั้งคำถาม ผมว่าสำคัญมากๆ คือการตั้งคำถาม’

‘แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึง แต่ผมอยากจะพูดก็คือ ผมว่าไมค์นี่เป็นตัวอย่างของ a modern man มนุษย์สมัยใหม่ เพราะอะไร ? เพราะว่า ถามว่าไมค์นี่รักเมืองไทยไหม ? รักมาก รักกว่าอังกฤษไหม ? ไม่ ผมคิดว่าเขารักอังกฤษ ลึกลงไปในใจเขานะครับ ถึงแม้ว่าด้วยความที่เขารักในอังกฤษมาก จึงมีเรื่องไปวิพากษ์วิจารณ์อังกฤษเยอะมาก แต่แม้กระนั้น ลึกลงไปนี่ ไมค์ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนอื่นนอกจากคนอังกฤษ คนเรามันต้องรักรากเหง้าของตัวเองก่อน มันถึงจะรักคนอื่นเป็น แล้วด้วยเหตุนั้น ถึงแม้ว่าไมค์รักอังกฤษมากขนาดไหน ไมค์ก็รักเมืองไทยมากเหมือนกัน รักคนไทย รักคนเอเชียว่างั้นเถอะ’

‘ผมว่านี่คือตัวอย่างของคนสมัยใหม่ ของโลกยุคใหม่ที่ควรจะเป็น คุณมีรากเหง้าของตัวคุณเอง แต่ไม่ปิดกั้นที่จะรักคนอื่นๆ ได้ด้วย เราอยู่ในโลกที่มันเล็กลง โลกที่เราต้องสัมพันธ์กันมากขึ้น คุณรักรากเหง้าของตนเอง แต่คุณไม่ปิดตัวเองที่จะอยู่กับรากเหง้า คุณเปิดตัวเองบนพื้นฐานของรากเหง้าของตัวคุณเอง เพื่อไปสัมพันธ์กับคนอื่น มีความเคารพเขา มีความรักต่อเขาเท่าเทียมกัน’

‘ผมคิดว่านี่คือ ตัวอย่างของคนในโลกสมัยใหม่ที่คนไทยน่าจะเรียนรู้ เราควรจะเป็นอย่างนี้ รักคนเขมรเป็น รักคนลาวเป็น รักพม่าเป็น รักคนอื่นเขาแต่ก็ไม่ลืมว่ารากเหง้าของคนไทยคือตรงไหน’

– การเป็นคนแบบคุณไมค์ในสังคมที่ค่อนข้างปิดอย่างสังคมไทยน่าจะไม่ราบรื่นนัก มีปัญหาเรื่องการยอมรับของคนกลุ่มหนึ่งที่มองว่า คุณไมค์ยังไงก็เป็นคนนอก เป็นฝรั่ง จะมารู้ดีกว่าคนไทยได้อย่างไร ?

‘โอ๊ยแยะมาก แต่ไมค์ไม่งี่เง่าพอที่จะไปต่อสู้ด้วยเท่านั้นเอง เช่น มีนักวิชาการชื่อดังคนหนึ่ง บัดนี้ท่านก็เสียไปแล้ว ท่านก็ไม่เคยยอมรับคุณไมค์เลย ก็ด้วยเหตุผลที่คุณไมค์อาจไม่ได้เชื่อถือบรมครูของไทย อย่างเช่นสมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯทุกคำพูด คุณไมค์ให้ความนับถือ ให้ความเคารพกรมพระยาดำรงฯพอสมควร แต่ว่าจะให้ เชื่อไม่ทั้งหมด มันเป็นไปไม่ได้’

‘แต่ผมว่าไมค์ไม่ใช่คนที่จะมาสนใจกับอะไรหยุมหยิม จุกจิกของนักวิชาการไทยหรอก มันฟังปั๊บจะขุ่นเคืองหรือเปล่าผมก็ไม่รู้นะ ไม่เคยแสดงให้เห็น แต่ว่าพักเดียว ผมว่ามันลืมไปแล้ว ไม่สนใจแล้ว’

‘ไมค์ตั้งคำถามกับปูชนียบุคคลในวงการประวัติศาสตร์ ซึ่งคนไทยบางกลุ่มไม่ชอบ แต่เขาไม่ได้ตั้งคำถามที่ตัวบุคคล เขาตั้งคำถามทางวิชาการของเขา ซึ่งอาจารย์หลายคนของไทยหรือของฝรั่งเองก็รับไม่ได้’

– อ่านงานคุณไมค์แล้วสงสัยว่ามีคนช่วยเรื่องการใช้ภาษาไทยหรือเปล่า เพราะใช้ภาษาไทยเชิงเสียดสีได้ลึก เช่น คำว่าอนาถาทางวิชาการ คำว่าคลำร่องประวัติศาสตร์ผิดพลาด อะไรพวกนี้ หรือแม้แต่คำด่าผ่านอีโมหิณีแมวตัวโปรด…

‘ผมว่าไม่ใช่นะ หลายเรื่องผมคิดว่าเป็นการแปลมาจากภาษาอังกฤษ อย่าลืมว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาพื้นฐานของเขา ภาษาน้ำนมของเขา ฉะนั้นเวลาเขาเขียนเป็นภาษาไทยนี่ ผมคิดว่าเขาคิดเป็นภาษาอังกฤษแล้วแปลมันออกมา มันเลยฟังตลก คนหนึ่งที่ผมว่าเป็นตัวอย่างของการใช้ภาษาไทยแบบนี้ คือคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ หลายสำนวนของคุณ’รงค์ มาจากภาษาอังกฤษ แต่คุณ’รงค์แกเป็นคนไทย ฉะนั้นแกแปลออกมาแล้วอาจจะรื่นหูกว่า ผมว่าหลายอันของไมค์ก็ไม่ได้ตรงเผงหรอก คือผมไม่เห็นด้วยกับกระทรวงวัฒนธรรม ที่ยกให้ไมค์ เป็นคนใช้ภาษาไทยดีเด่น (หัวเราะสนุก) ผมว่าถ้าไมค์แม่งเป็นคนไทย มันไม่มีทางได้ (หัวเราะ) มันเขียนอะไรตลกชิบเป๋ง (หัวเราะ) เผอิญมันเป็นฝรั่ง (หัวเราะอีกยาว)’

– แล้วคุณไมค์ประสบความสำเร็จไหมในความเป็นมนุษย์สมัยใหม่ มนุษย์เชิงวิพากษ์ ?

‘ในแง่ modern man อาจไม่ประสบ ผลสำเร็จเลย เพราะว่าในประเทศไทย คนก็ยังมองไม่เห็นเรื่องนี้ว่า โลกข้างหน้านี่เราจะต้องเป็นแบบไมค์ เป็นมนุษย์สมัยใหม่แบบไมค์ แต่ว่าในแง่ของการตั้งคำถาม ในแง่วิชาการ เขาทำให้คนไทยโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่มีใจกล้าขึ้น กระตุกให้ลุกขึ้น ตั้งคำถามกันมากขึ้น’

‘แล้ววิธีตั้งคำถามของเขานี่ ผมคิดว่าสุภาพนะ คนที่เคยโจมตีกรมพระยาดำรงฯ คนเคยโจมตีนักปราชญ์ไทยรุ่นเก่าๆ มา บางทีเราไปโจมตีเรื่องของบุคคล ไม่ได้โจมตีความเห็น ซึ่งไมค์ไม่เคยทำสิ่งเหล่านี้ ไมค์จะโจมตีความเห็น คือวิพากษ์วิจารณ์ความเห็นว่ามันผิดมันถูก อะไรก็แล้วแต่ ผมว่ามันเป็นท่าทีที่สุภาพ แล้วผมคิดว่าคนทั่วไปจะไม่ค่อยรู้สึกว่าเป็นเรื่องลบหลู่อะไร ยกเว้นจะเป็นลูกหลานกรมพระยาดำรงฯ หรือหลงใหลกรมพระยาดำรงฯสุดขั้ว แตะไม่ได้อะไรแบบนั้น มันก็ทำให้เกิดความคิดว่า ซักได้ ก็ถามได้’

– ในทางกลับกัน พบว่าคนที่คัดค้านหรือ ไม่ยอมรับคุณไมค์ จะไม่ค่อยเน้นเรื่องเนื้อหา แต่จะเน้นเรื่องตัวบุคคล เช่น เป็นฝรั่ง เป็นคนนอก ไม่ใช่เจ้าของประวัติศาสตร์…

‘เพราะคนไทยไม่ค่อยมีความ รู้ไง พูดกันตรงไปตรงมานะครับ ความรู้ของนักวิชาการไทยค่อนข้างจำกัด จะเถียงเรื่องเนื้อหาก็เถียงไม่ได้ เพราะตัวเองก็ไม่รู้ (หัวเราะ)’

‘สำหรับไมค์นะ ผมว่าเขาเป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่ได้ใช้ชีวิตคุ้มแล้ว’


อัสดง ‘ฝรั่งคลั่งสยาม’ ความตายของ… ไมเคิล ไรท์

กว้าง คูณยาวตามขนาดของห้อง 4 เหลี่ยมบนชั้น 2 ตึก ‘มติชน’ หลายเดือนก่อน ‘ไมเคิล ไรท์’ ยืนข้างหน้าต่างที่เปิดกว้าง ขะมักเขม้นลำพังกับการอ่านหนังสือพลางสูบบุหรี่

มุมมองจากลานจอดรถเงยหน้าขึ้นไป ภาพเช่นนี้ดูปกติธรรมดาและชินตา

ครั้น เมื่อได้เข้าไปนั่งในมุมเดียวกัน ที่ ‘ไมเคิล ไรท์’ เคยยืนสูบบุหรี่ เพื่อพูดคุยกับ’สุพจน์ แจ้งเร็ว’ บรรณาธิการนิตยสาร ‘ศิลปวัฒนธรรม’ ผู้ที่มีโต๊ะทำงานอยู่ในห้องเดียวกันกับ ‘ไมเคิล ไรท์’

จึงพอได้สัมผัสลมที่พัดโชยเข้ามา พร้อมๆ กับกลิ่นอวลของบรรยากาศที่กรุ่นอยู่ทั่ว

ในวันที่ ‘ฝรั่งคลั่งสยาม’ ปูชนียบุคคลของไทยอีกคนหนึ่ง นอนสงบนิ่งนิรันดร์

และกลิ่นควันบุหรี่ยี่ห้อ ‘ลอนดอน’ ยังลอยเอื่อยบางเบา…

‘ไมเคิล ไรท์อ่านศิลาจารึกได้ ถนัดศิลาจารึกด้วยซ้ำ วรรณคดีไทย แล้วก็เขียนภาษาไทยได้ ต้นฉบับลายมือก็ยังมีอยู่ แต่อาจจะสะกดผิดสะกดถูกบ้าง แต่สำนวนภาษาของแก 100 เปอร์เซ็นต์ สำนวนกวนๆ’ บรรณาธิการศิลปวัฒนธรรมกล่าวและว่า

‘ไมเคิล ไรท์เคยให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องแรกที่เขียนลงศิลปวัฒนธรรมก็คือเรื่องส้วมในสมัยสุโขทัย จากนั้นก็มาทำเรื่องศิลาจารึก จนเมื่อแกมาอยู่มติชนแล้ว เขียนลงมติชนสุดสัปดาห์ในเรื่องทรรศนะสังคม การเมือง เป็นการขยายออกไปอีกที จากเดิมที่แกเขียนเรื่องประวัติศาสตร์’

‘เรื่องแมวอีนังโมหิณี คือเขาเป็นคนอังกฤษ เขาเป็นคนชอบเลี้ยงแมว ทีนี้แมวที่บ้านชื่ออะไร ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ว่าเขาก็อาศัยตัวนั้นละมาเป็นทรรศนะตบท้าย เป็นลูกเล่นในการเขียนหนังสือ เป็นทรรศนะกวนๆ ไมเคิลเวลาพูดเขาก็จะมีสำบัดสำนวนเหมือนภาษาเขียนเขานั่นละ’

สุพจน์ เล่าให้ฟังอีกว่า ไมเคิล ไรท์ชอบอ่านหนังสือมากมายสารพัดจิปาถะ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง และมักจะ แลกเปลี่ยนหนังสือกันอ่านอยู่เสมอ

‘ปกติแล้วตอนสายๆ เขาจะมานั่งโต๊ะข้างๆ นี้ละ นั่งเขียนหนังสือ หารูปอะไรต่างๆ บางทีก็มีหนังสือติดมือมา เฮ้ พจน์ เล่มนี้ลองเอาไปอ่านดูสิ น่าสนใจนะ ผมก็อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง เล่มสุดท้าย ดูเหมือนว่าเขาเห็นผมนั่งอ่าน นั่งสนใจเรื่องเกี่ยวกับไบเบิล เขาก็เลยเอา Who wrote the bible มาให้อ่าน ผมอ่านรวดเดียวจบเลย’

‘บางทีทางสำนักพิมพ์ก็มาปรึกษา เอาหนังสือมาเสนอ หนังสือเล่มนี้ควรจะแปลเป็นไทยไหม แกก็ทำให้เต็มที่ แกก็อ่านทุกเล่ม แล้วก็มีคอมเมนต์ว่า เฮ้ยมันไม่เข้าท่า หรือมันดี หรือเล่มนี้โยนทิ้งไปได้เลย ปกติเขาเป็นคนอารมณ์ดี’

สุพจน์ย้อนระลึกว่า ไมเคิล ไรท์เข้าโรงพยาบาลเมื่อตอนประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในขณะนั้นอาการป่วยยังไม่สำแดงมากมาย

‘อยู่มาวันหนึ่ง ผมจำได้ว่าแกยืนอยู่ตรงนี้ แล้วแกก็บอกว่า ผมไปหาหมอ หมอตรวจแล้วว่ามีจุดที่ปอด ก็ยังไม่รู้ผล รอผลหมออยู่ แล้วแกก็ป่วยเป็นอาทิตย์ แล้วแกก็มาใหม่ แล้วก็มาบอกว่าหมอบอกว่าคงไม่เป็นไร คงต้องตรวจผลอีกทีอะไรทำนองนี้ หลังจากนั้นมาแกก็ไม่ได้มาอีกเลยเพราะเข้า โรงพยาบาล’

‘ที่จริงก่อน จะป่วย ไมเคิล ไรท์ก็เพิ่งไปทำตามา แกเป็นต้อ แกยังเขียนลงมติชน สุดสัปดาห์อยู่ว่า แกใช้ชื่อไทยเข้าโรงพยาบาล แล้วบังเอิญว่าวันนั้นมีฝรั่งคนหนึ่งเข้าไปด้วย แกบอกว่าแกเกือบจะได้ตาของหมอนั่นแล้ว พยาบาลเห็นว่าแกเป็นฝรั่งคง จะใช้ชื่อฝรั่ง แต่แกใช้ชื่อเมฆ มณีวาจา ซึ่งเป็นชื่อไทยของแก แล้วแกก็ถือสัญชาติไทยด้วย พยาบาลก็นึกไม่ถึง ทั้งๆ ที่นายเมฆก็คือตัวไมเคิล ไรท์นั่นเอง นึกว่าแกเป็นคนอื่น แกก็เอามาเขียนลงมติชนสุดสัปดาห์แบบตลกๆ ว่า ผมเกือบจะได้ตาคนอื่น’

บนโต๊ะที่ว่างเปล่าข้างๆ กับกองหนังสือ ที่ถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ สุพจน์ ทิ้งท้ายว่า

‘ไมเคิล ไรท์เป็นลูกคนเดียว ญาติพี่น้องที่ประเทศอังกฤษก็ไม่มีแล้ว’

….

ศิลป วัฒนธรรม ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (มกราคม 2545) ‘ไมเคิล ไรท์’ เขียนบทความชิ้นหนึ่งเรื่อง ‘เชิญรู้จักกับแม่ผม’ มาตาธิปไตยมีจริงหรือ ? Is Matriarchy Real ?

บางคำ บางวรรคตอน เมื่อ 7 ปีที่แล้ว น่าจดจำยิ่งนัก

… เมื่อผมอายุราว 5-6 ขวบ และเพิ่งเรียนรู้ว่า ‘ตาย’ หมายความว่าอย่างไร ผมตรึกตรองเป็นนานแล้วอธิษฐานว่า ‘ขอให้ผมตายก่อน แม่จะได้มีอายุยืนแทน’

หลังจากที่ตรึกตรองอีกครั้งหนึ่ง ผมเปลี่ยนคำอธิษฐานว่า ‘ความทุกข์อันเร่าร้อนที่เกิดจากการพลัดพรากกันเป็นความเจ็บปวดที่เหลือทน ดังนั้นขอให้แม่ตายไปก่อนและขอให้ความทุกข์ทรมานทั้งหมดตกแก่ผม ผมทนได้ทุกอย่าง แต่อย่าให้เห็นแม่เป็นทุกข์’

ไมเคิล ไรท์บันทึกในศิลปวัฒนธรรมฉบับดังกล่าวว่า ในปี 1985 แม่ (Eva) เดินทางจากประเทศอังกฤษมาอยู่ประเทศไทย

‘แม่มาอยู่กับผม, สุขภาพทรุดโทรมมาก อยู่ได้ 3 เดือนแล้วเข้าโรงพยาบาล’

ผมอยู่กับแม่เป็นครั้งสุดท้ายในห้องไอซียู ผมจับมือแม่ แม่ลืมตายิ้มร่าเหมือนชื่นใจ แล้วพูดชัดถ้อยชัดคำว่า ‘Pull your britches up !’ (‘จับกางเกงไว้ให้ดี !’ เป็นสำนวนที่พ่อแม่ใช้ปลอบใจลูก คล้าย ‘ทำใจให้ดีนะ !’) แล้วหลับตา ทันใดนั้นเส้นหัวใจบนจอทีวีราบลงเรียบเป็นบรรทัด และผมรู้ว่าแม่จากไปแล้ว

… ต่อจากนั้นมาตลอดจนทุกวันนี้ผมเจอะกับแม่ในฝันบ่อยๆ โดยมากผมฝันจะทำอะไรดีๆ เด่นๆ ให้แม่, แต่ล้มเหลว แม่จะยิ้มเศร้าๆ, สั่นหัว แล้วปรารภว่า ‘เอาอีกแล้วนะลูก ! ทำไมลูกช่างไม่เอาไหน ? ทำไม ทำไม…? ผมไม่เคยทันตอบแม่เพราะผมมักตื่นขึ้นก่อน และไม่มีคำตอบอยู่ดี…

ความรัก ความผูกพัน ระหว่างไมเคิล ไรท์กับแม่ ยังมีพยานอีกคนหนึ่งบนโลกนี้ที่ได้จารึกไว้ ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’

เดือนกรกฎาคม 2541 ในคำนำเสนอ ‘ฝรั่งคลั่งสยาม นาม ไมเคิล ไรท์’ สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุตอนหนึ่งว่า

‘… แม่ของไมเคิล ไรท์เป็นชาวอังกฤษ อายุกว่า 76 ปีแล้ว อยู่บ้านนอกกรุงลอนดอนเพียงคนเดียว เพราะไมเคิล ไรท์เองก็ตัดสินใจอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ไม่กลับไปครองบ้านที่อังกฤษแล้ว แต่แม่ที่อายุมากท่านป่วยกระเสาะกระแสะตามประสาคนที่ชราภาพ

ปลายปี ที่แล้วแม่ก็เดินทางมาหาไมเคิล ไรท์ที่กรุงเทพฯ ประหนึ่งว่าจะมาฝากผีฝากไข้บั้นปลายชีวิตไว้ที่แผ่นดินสยามนี้ ซึ่งไมเคิล ไรท์ก็ปรนนิบัติพัดวีแม่อย่างดีที่สุด

ไมเคิล ไรท์เล่าให้ผมฟังเรื่องแม่ของเขาเสมอๆ เพราะเขารักแม่ และเมื่อผมได้ยินเรื่องราวที่เขาเล่าเกี่ยวกับแม่ ผมไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องราวของแม่-ลูกชาวยุโรปหรือชาวต่างชาติอื่นใด หากเป็นบรรยากาศของแม่-ลูกอย่างไทยๆ ที่เข้าถึงพระไตรลักษณ์ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

‘แม่ผมสั่ง ว่า ถ้าแกตายวันไหน ขอให้จัดงานเลี้ยงใหญ่ในวันนั้น เพราะความตายไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาทุกข์โศก…ผมจำได้ว่าไมเคิล ไรท์เล่าให้ผมฟังอย่างนี้จริงๆ’


ปิดฉาก ‘ฝรั่งคลั่งสยาม’ อาลัย ‘ไมเคิล ไรท’

โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช

ใครๆ รู้จักเขาในสมญา ‘ฝรั่งคลั่งสยาม’ ที่ได้รับการประทับตรารับรองไม่เพียงเพราะเขาเป็นหนึ่งในชาวอังกฤษที่ตกหลุมรักเมืองไทย

เข้ามาปักหลักอยู่ในเมืองไทยตั้งแต่ยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ รวมทั้งตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าชีวิตนี้จะอยู่เมืองไทย และตายที่เมืองไทย

แต่เพราะเขา- ไมเคิล ไรท (Michael Anthony Stanley Wright-ชื่อตามพาสปอร์ต) หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า ‘คุณไมค์’ จุดประเด็นการศึกษาในแวดวงประวัติศาสตร์-โบราณคดีไว้ไม่น้อย

โดยเฉพาะเรื่องศิลาจารึกหลักที่ 2 หรือ ‘จารึกวัดศรีชุม’ ที่เมื่อก่อนไม่มีใครให้ความสนใจ มองว่าเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ

ไมเคิล ไรท คนนี้ที่เป็นคนที่ยืนยันว่า จารึกวัดศรีชุมมีความสำคัญมาก พรรณนาเรื่องราวในลังกาถูกต้องหมดทุกอย่าง รวมทั้งยังใช้ภาษาที่งดงาม ทั้งเชื่อว่าจารึกวัดศรีชุมน่าจะมีอายุเก่าแก่กว่าจารึกพ่อขุนรามคำแหง

เหตุเพราะก่อนหน้าจะมาอยู่เมืองไทย คุณไมค์ไปเที่ยวเล่นอยู่ในศรีลังกาอยู่ 1 ปี ด้วยความหลงใหลในงานศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย

ไม่แปลกที่คุณไมค์จะอ่านศิลาจารึกได้คล่อง และเข้าใจถึงสิ่งที่จารึกวัดศรีชุมได้จดจารไว้

ไมเคิล ไรท เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2483 ที่เมืองเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ โตขึ้นมาตามโรงเรียนสอนศาสนาคาทอลิก

เป็นลูกคนเดียว ที่มีความผูกพันกับแม่มาก

เขาเคยเขียนจดหมายถึงสุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าถึงแม่หลังจากฌาปนกิจศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 ว่า

‘เห็นกวีไทยเขียนมามากเรื่องพระคุณแม่ว่าให้กำเนิดลูกด้วยความเจ็บปวดยิ่งนัก เคยมีใครเขียนเรื่องความร้อนที่แผ่ออกจากเมรุเผาแม่ไหม? ผมประสบมาแล้วแต่เขียนไม่ได้ เพราะไม่เป็นภาษาไทย

แม่ให้เราผุดเป็นคนขึ้นมาด้วยความยากลำบากและเจ็บปวด แล้วในที่สุดเรามีหน้าที่ส่งแม่ดับสูญไปท่ามกลางเปลวเพลิงที่ร้อนยิ่งกว่าเพลิงกัลปาวสานที่ผลาญถึงพรหมโลก ผมรู้สึกมาแล้วเมื่อเทกระจาดดอกไม้จันทน์ใส่เมรุแม่และถูกเผาไปส่วนหนึ่งของวิญญาณ’

ขณะที่กับ พ่อ คุณไมค์บอกว่า เป็นกัปตันเรือ…ไม่รู้จักพ่อเลย ไม่ค่อยได้เจอกัน

เด็กชายไมค์ เรียนระดับประถม-มัธยมที่ วิทยาลัยเซนต์ไมเคิล คอลเลจ ในเมืองเซาแธมป์ตัน แต่ไม่ทันได้เรียนจบก็เลิกราจากการศึกษาในกรอบ ออกเผชิญโลกด้วยวัยเพียง 19 ปี ไปตามหาเมืองในฝัน

เขาจับเครื่องบินไปประเทศศรีลังกาเพียงเพราะสนใจศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย

ก่อนจับพลัดจับผลูมาอยู่ในกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร

เกลอเก่าที่เคยรู้จักคุณไมค์ตั้งแต่สมัยรุ่นๆ เล่าว่า คุณไมค์เมื่อแรกเข้ามาอยู่เมืองไทย ทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กระทั่งได้รู้จักกับ บุญชู โรจนเสถียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพในขณะนั้น และได้รับการทาบทามเข้าไปทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ โดยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายแปลเอกสาร รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของบุญชู

ทว่า ความที่คุณไมค์ เป็นผู้คลั่งไคล้ในเรื่องศิลาจารึก เมื่อคุยเปิดประเด็นนี้กับคนรอบข้าง รวมทั้งกับ วิทยากร เชียงกูร และ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ในห้องเดียวกันที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานผ่านฟ้า -คนฟัง ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พากันส่ายศีรษะและลงความเห็นว่า คุณไมค์เป็นโรคศิลาจารึกสุโขทัยขึ้นสมอง

เด็กชายไมค์กับแม่

ที่สุดจึงแนะนำให้รู้จักกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ตอนนั้นกำลังค้นประวัติศาสตร์ยุคสุโขทัยจากเอกสารต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการจัดทำหนังสือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

หลังจากนั้นคนทั้งคู่ คือ ไมเคิล ไรท และ สุจิตต์ วงษ์เทศ ก็นั่งถกเถียงเรื่องศิลาจารึกสุโขทัยกันที่ร้านเหล้าริมถนนราชดำเนิน

และเป็นที่มาของการเปิดประเด็นร้อนๆ เกี่ยวกับจารึกวัดศรีชุม

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2522 เมื่อนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับปฐมฤกษ์ออกวางตลาด พร้อมกับบทความแรกของ ไมเคิล ไรท เรื่อง ‘ส้วม ในประวัติศาสตร์สุโขทัย’ โดยใช้หลักฐานส้วมจากลังกามาอธิบาย สร้างกระแสความตื่นตัวให้แก่วงการประวัติศาสตร์-โบราณคดีอย่างคึกคัก

สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนถึง ไมเคิล ไรท ในหน้าคำนำเสนอของหนังสือ ‘ฝรั่งคลั่งสยาม นามไมเคิล ไรท’ ว่า

‘ผมไม่เคยถาม และไม่อยากถามว่าทำไมถึงมาสนใจอ่านศิลาจารึกในสยามประเทศ แต่ผมรู้ว่าคุณไมค์เริ่มสนใจจารึกสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะจารึกวัดศรีชุมที่นักวิชาการไทยมักบอกว่าเป็นจารึกเลอะเทอะ เพราะข้อความไม่ปะติดปะต่อ วกไปวนมาคล้ายคนเขียนสติไม่เต็ม

คุณไมค์บอกว่าจารึกวัดศรีชุมสำคัญมาก พรรณนาเรื่องราวในลังกาถูกต้องหมดทุกอย่าง ภาษาก็งามหมดจด เสียแต่ว่านักวิชาการไทยไม่สนใจศึกษาเรื่องลังกา และอ่านภาษาไทยในจารึกไม่เข้าใจ ทำให้กล่าวโทษจารึกหลักนี้ว่าเลอะเทอะ ความจริงคนอ่านไม่รู้เรื่องนั่นแหละเลอะเทอะ’

หลังจากที่คุณไมค์เขียนบทความเรื่องศิลาจารึกวัดศรีชุมลงใน ศิลปวัฒนธรรม และ เมืองโบราณ ที่สุดก็เป็นที่ยอมรับจากวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนได้รับเชิญจากหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้เป็นกรรมการชำระและตรวจสอบจารึกวัดศรีชุม

ไมเคิล ไรท มีชื่อตามบัตรประชาชนว่า ‘เมฆ มณีวาจา’ ชื่อที่เจ้าตัว-ตั้งขึ้นเองเมื่อครั้งทำการโอนสัญชาติจากอังกฤษเป็นไทย

เคยใช้นามปากกาที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ตั้งให้เมื่อแรกเขียนคอลัมน์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมว่า ‘ไมตรี ไรพระศก’

บุคลิกภายนอกที่สุภาพอ่อนน้อม มีรอยยิ้มระบายบนใบหน้าอยู่เป็นนิจ แต่ในบทบาทของคอลัมนิสต์ คุณไมค์ กลับตรงกันข้าม

เป็นผู้ที่กล้าวิพากษ์วัฒนธรรม ‘ไทย’ อย่างตรงไปตรงมา ไม่หวั่นแม้จะมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า เป็นฝรั่งที่ไม่มีศาสนาด้วยซ้ำ แต่บังอาจวิพากษ์คนไทย วิพากษ์ศาสนาพุทธ

เขาบอกเพียงว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่มีคนสนใจอ่านบทความที่เขาเขียน ดีกว่าการที่ไม่มีคนสนใจอ่าน

เป็นคนหนึ่งที่ยืนยันว่าไม่มี ‘ความเป็นไทย’ ในโลกนี้ ความเป็นชาติเป็นเพียงสิ่งสมมุติ…เมืองไทยเข้าใจตัวเองไม่ได้ถ้าไม่มองประเทศเพื่อนบ้าน

คุณไมค์เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษาไทยอย่างดีเยี่ยม เป็นผู้ที่เริ่มใช้คำว่า ‘อุษาคเนย์’ แทนคำว่าเอเชียอาคเนย์
(บน) วงสนทนาวิชาการของ ‘ศิลปวัฒนธรรม’ (ซ้ายสุด) สุจิตต์ วงษ์เทศ (ที่ 2 จากขวา) ไมเคิล ไรท (ขวาสุด) ศรีศักร วัลลิโภดม

จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะยกย่องเชิดชู ไมเคิล ไรท ให้เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี พ.ศ.2550 และมูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป ยกย่องให้เป็นผู้มีอุปการคุณต่อวงการไทยคดีศึกษา

ในส่วนของการทำงาน ไมเคิล ไรท ทำงานอยู่ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ พ.ศ.2513-2543 เป็นที่ปรึกษา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ.2543-ปัจจุบัน เป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2522-ปัจจุบัน และเป็นนักเขียนในคอลัมน์ ‘ฝรั่งมองไทย’ ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่ พ.ศ.2535-ปัจจุบัน

มีผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นเล่มมากมาย อย่าง ฝรั่งคลั่งสยาม (พ.ศ.2541), ฝรั่งอุษาคเนย์ (พ.ศ.2542), ตะวันตกวิกฤต คริสต์ศาสนา (พ.ศ.2542), โองการแช่งน้ำ (พ.ศ.2543), ฝรั่งหลังตะวันตก (พ.ศ.2547), พระพิฆเนศ (พ.ศ.2548), แผนที่แผนทาง (พ.ศ.2548), ไมเคิล ไรท มองโลก (พ.ศ.2549), โลกนี้มีอนาคตหรือ? (พ.ศ.2550), ฝรั่งคลั่งผี (พ.ศ.2550), ฝรั่งหายคลั่งหรือยัง (พ.ศ.2551)

บ่ายวันพุธที่ 7 มกราคม 2552 ‘ไมเคิล ไรท’ สิ้นใจลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอด ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุรวม 68 ปี


ไมเคิล ไรท เปิดใจ สวช.ยกย่องใช้ภาษาไทยดีเด่น ปี’50

ไมเคิล ไรท ให้สัมภาษณ์ ‘ประชาชื่น’ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2550 ครั้งที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ยกย่องเชิดชูให้เป็นหนึ่งในผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี พ.ศ.2550 ว่า…

@ เริ่มเรียนภาษาไทยอย่างไร?

ที่จริงผมไม่ได้เริ่มที่ภาษาไทย เริ่มที่ภาษาบาลีสันสกฤต เริ่มที่ภาษาตะวันออก ภาษาอื่นด้วย ภาษาจีนด้วย แล้วค่อยเรียนภาษาไทยทีหลัง

@ เริ่มอย่างไร?

ก่อนที่จะมาเมืองไทยสัก 6 เดือนหรือปีหนึ่ง ผมเริ่มเรียน ก ข ค ง ก่อน คือที่จริง ก ข ค ง ก็คือภาษาบาลี-สันสกฤต มันเลยสะดวก

เรียนด้วยตนเอง จากหลายตำรา

@ มาอยู่เมืองไทยก่อนเป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปี 2522?

ผมมาเมืองไทยปี 2503 แต่เรียนภาษาไทยก่อนหน้านี้

ก่อนที่จะมาเมืองไทย ผมไปอยู่ลังกา 1 ปี ตอนนั้นไปเที่ยวและเรียนด้วย แล้วมาเมืองไทย ผมก็เห็นความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ระหว่างลังกากับไทย โดยเฉพาะที่สุโขทัย ทำให้ผมสนใจเรียนภาษาไทย

@ เรียนเพื่อจะอ่านตำรา?

ใช่ครับ เรียนเพื่อจะอ่านจารึก และตำนาน และเพื่อใช้ประโยชน์ด้วย จารึกภาษาไทยเยอะแยะไปหมด ตั้งแต่สมัยสุโขทัยก็มีจารึกภาษาไทยแล้ว

@ ศึกษาเอง?

มีเพื่อนดีๆ หลายๆ คนที่เป็นปัญญาชนที่รู้เรื่องดี ผมก็เลยได้ครูดีเต็มไปหมด ไม่มีครูเฉพาะ แต่มีคนตัวอย่างที่ผมนับถือว่าเป็นครู เช่น คึกฤทธิ์ ปราโมช สุจิตต์ วงษ์เทศ ทำนองนั้น

ผมได้ความรู้จากท่านทั้งๆ ที่เราไม่ได้เป็นครูกับศิษย์โดยทางการ ผมทึ่งมากเกี่ยวกับการใช้ภาษา คุณก็คงรู้ๆ อยู่ดีว่าใครๆ ชอบอ่านคึกฤทธิ์ ใครๆ ชอบอ่านสุจิตต์ เพราะเขียนสนุก

@ อ่านจารึกได้ก่อนรู้ภาษาไทย?

จะว่าอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเรียนพูดเขียนให้คล่องก่อน แล้วค่อยหัดดูจารึก แต่…ว่าง่ายๆ คือ ผมเรียนภาษาไทยกลับหัวกลับหาง คือคนโดยมากขึ้นต้นด้วยคำง่ายๆ พ่อ แม่ สวัสดี แต่ผมเรียนจากข้างบนมาข้างล่าง ผมรู้จักคำว่า ‘ธรรมาสน์’ ก่อนจะรู้จัก ‘เก้าอี้’

@ มีเคล็ดลับในการเรียนภาษาไทย?

ผมมีเคล็ดลับอยู่อย่างหนึ่งที่ผมอยากจะเสนอให้นักเรียนไทยเอาเยี่ยงอย่าง คือ ไม่ต้องตั้งใจเรียนเฉพาะเรื่องดีๆ สวยๆ งามๆ แต่ควรจะเปิดหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วถ้าหากว่ามีอะไรที่สนุกสนาน หรือว่าทะลึ่งๆ ที่จับจิตจับใจ ก็เรียนจากหน้าหนังสือพิมพ์ คือไม่ต้องไปหาเรื่องเคร่งๆ เครียดๆ อย่างคำแรกๆ ที่ผมหัดจากหน้าหนังสือพิมพ์คือ คำว่า ตะลุมบอน ฆาตกรรม ทมิฬ อะไรทำนองนั้น เพราะเรื่องน่าตื่นเต้นมันจำได้ง่าย

@ ตอนเรียนภาษาไทยแรกๆ

ลำบากมาก (เน้นเสียง) คือตอนแรกๆ ก็จับถ้อยความไม่ได้ มันยากเพราะว่ามันไม่ใช่ภาษาแม่ผม การเรียนภาษาต่างประเทศทุกภาษายากทั้งนั้น ใช้เวลาครับ แต่เรียนภาษาไทยมันได้ประโยชน์อยู่อย่างคือ เวลาพูด คนไทยโดยมากจะพูดแยกคำ ฉัน-รัก-เธอ ผิดกับภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ที่พูดแต่ละคำจะสลายต่อกัน อย่าง I have not got เขาจะว่า haven’t got เหมือนกับว่าเป็นคำเดียวกัน คนไทยโดยมากพูดค่อนข้างจะชัดถ้อยชัดคำ พอจะจับความได้

ผมรู้สึกว่าสัก 5 ปีจนกว่าจะพูดจา ฟังเขาได้อย่างราบรื่นสบายใจ คือพูดจาได้โดยไม่ต้องคิด

@ หมายถึงคิดเป็นภาษาไทย

นั่นล่ะครับ แต่ผมโชคดีที่ผมมาอยู่เมืองไทย ผมได้ยินภาษาไทยตลอดทุกวัน

@ มีความเห็นอย่างไรกับการใช้ภาษาไทยของคนไทยปัจจุบัน

อันนี้ผมถือว่า นับว่าผิดไม่ได้ คือ ภาษาของเขามีชีวิต และภาษาก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

@ ไม่แปลกที่จะมีศัพท์แสลง

ไม่แปลก ไม่เห็นเสียหายตรงไหน โดยมากผมพอจับความหมายได้จากบริบท บางทีก็งงเหมือนกัน

@ นอกจากภาษาไทยแล้วรู้ภาษาอะไรอีก?

ผมอ่านฝรั่งเศสได้สะดวก แต่ภาษาอื่นผมสนใจมาก ชอบเรียนหลักภาษา อย่างภาษามอญ ภาษาเขมร พม่า สิงหล ทมิฬ ผมพยายามเรียนหลักภาษาของเขา และเรียนศัพท์อยู่บ้าง แต่ใช้ภาษาของเขาไม่ได้

@ ชอบภาษาไทย?

ชอบสิครับ มันสะดวกและสนุก ก็พอๆ กับภาษาอังกฤษ ใช้เล่นแง่ได้หลายแง่ มันไม่ใช่ภาษาแข็งทื่อ

@ มีความเห็นอย่างไรที่กระทรวงวัฒนธรรมยกย่องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น?

ได้ก็ดี ดีกว่าโดนด่า (อมยิ้ม) ได้ก็ดีใจมาก และผมขอบคุณท่านที่ให้เกียรติ และขอบคุณในพรหมวิหารทั้ง 4 ของคนไทย คือเมตตาผม กรุณาผม มุทิตาผม แล้วก็มีอุเบกขา อดทนต่อความบกพร่องของผม

@ สุขภาพตอนนี้

สุขภาพก็ไม่เลวร้าย เพียงแต่มันเป็นไปตามอายุขัย หูผมหนวกข้างหนึ่ง ตาก็เป็นต้อ ก็เป็นธรรมดาสำหรับคนอายุ 60 ขึ้นไป

Categories: Other

The Rule Of Understanding Thai Politics For Foreigners

13 December 2008 Leave a comment

The Rule Of Understanding Thai Politics For Foreigners

Before you read this.
I want to say "I’m so sorry for you."
Lots of Thais think foreigner always don’t and will never understand Thailand situation.
D’you know why … because most of them think as the rule below.

The Rule Of Understanding Thai Politics For Foreigners

Rule 1 : Foreigners cannot understand anything in Thailand. Why ? Because … Because … they’re not Thai.

Rule 2 : Foreign journalists who violate Rule 1 and who dare to criticise, are … bought by Thaksin & CO.

Rule 3 : There is no Rule 3. Please, Go back to Rule 1.

Categories: Other

พระเวสสันดรชาดก กับทัศนคติของความเป็นมนุษย์

1 September 2008 7 comments

พระเวสสันดรชาดก กับทัศนคติของความเป็นมนุษย์

ได้ยินทีวีพูดถึง พระเวสสันดรชาดก
ที่ว่า ทำทานบารมี โดยการบริจาคลูกให้ชูชก
พอได้ฟัง ก็เลยรู้สึกขึ้นมาว่า
นี่คือปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติของคนจำนวนมาก ที่นับถือศาสนาพุทธแน่ๆ

ทำไม การบริจาคลูก ถือว่าเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ได้หล่ะ
ทำไม ไม่คิดว่านี่คือการทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง คือต้องการบารมี ก็เลยบริจาค

การบริจาคลูก เพราะเห็นลูกเสมือนหนึ่งเป็นสิ่งของของตัวเอง
แตกต่างอะไรจากการค้ามนุษย์เหรอ
เหมือนกับการค้าขายทาศ ของพวกนายทาศ เพื่อประโยชน์ส่วนตน
ซึ่งนายทาศเหล่านั้นคงไม่ได้รู้สึกผิดอะไร

แล้วการสอนหรือเทศน์เรื่องพระเวสสันดอนที่ว่า
ได้ทำให้เกิดค่านิยม และทัศนคติผิดๆกับสังคมหรือไม่

ไม่มีการยอมรับถึงความเป็นปัจเจก
ทั้งที่มนุษย์ทุกคน มีสิทธิเสรีภาพ ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

ตั้งแต่เด็ก ไม่เคยมองมุมนี้เลย
นี่ถ้าวันนี้ไม่บังเอิญได้ยินเสียงจากทีวีมาเข้าหู
ก็คงไม่นึกแบบนี้

หรือนี่คือเหตุผลที่สังคมไทยที่ส่วนใหญ่เป็นพุทธ
กลับเกิดปัญหาขึ้นมาอย่างมากมาย

ที่อาจเป็นเพราะทัศนคติผิดๆจากคำสอนของศาสนา

PS
ตามเนื้อเรื่อง พระเวสสันดร แต่งงานตอนอายุ 16 นะครับ
สมัยนี้ เด็กมหาลัย (assume ว่าตั้งแต่ 18 ขึ้นไปอ่ะนะ) จะเช่าห้องอยู่ด้วยกัน
สังคมยังเต้นเป็นเจ้าเข้าเลย

Categories: Other