Archive

Archive for May, 2008

พรรคประชาธิปัตย์ กับ วีรพงษ์ รามางกูร

31 May 2008 Leave a comment

พรรคประชาธิปัตย์ กับ วีรพงษ์ รามางกูร
ปชป. กับ ดร.โกร่ง

ผมได้อ่านบทความของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ครั้งแรก
ที่ชื่อว่า ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป ในประชาชาติธุรกิจ
ก็รู้สึกเห็นด้วยกับผู้เขียน
แต่ไม่ได้คิดว่าจะเป็นประเด็นใหญ่อะไร

จนไม่กี่วันถัดมา ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนหนังสือตอบโต้
บทความของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร
ชื่อว่า จดหมายเปิดผนึกจากพรรคประชาธิปัตย์ถึง นายวีรพงษ์ รามางกูร

ผมเลยคิดว่าน่าจะเก็บไว้
ว่าประเด็นที่แต่ละฝ่ายมองเป็นอย่างไร

โดยส่วนตัว
ผมไม่คิดว่าประเด็นเหล่านี้
พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องมาเขียนจดหมายตอบโต้
คิดซะว่าเป็นคำแนะนำ และนำไปปรับปรุงตัวเอง ก็น่าจะดีกว่า
(อย่างน้อยสิ่งที่คนนอกพรรคมอง พรรคก็น่าจะให้ความสำคัญ ถ้าคิดจะเป็นตัวแทนของกลุ่มคนต่างๆ

แต่การเขียนจดหมายตอบโต้ออกมา
ทำให้รู้สึกว่า พรรคประชาธิปัตย์ รู้สึกว่าตัวเองถูกแตะต้องไม่ได้
ซึ่งตรงข้ามกับภาพลักษณ์ของ หัวหน้าพรรคอย่าง คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ
ที่มีความเป็นนักประชาธิปไตยอยู่สูง
(อย่างน้อยก็สูงกว่าพรรคคู่ต่อสู้)

ว่าแล้วก็ลองอ่านดู ว่าแต่ละฝ่ายมีมุมมองอย่างไร ในเรื่องเดียวกัน


ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป

คอลัมน์ คนเดินตรอก

โดย วีรพงษ์ รามางกูร

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 4004 (3204)

การเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเรา ต้องการการปฏิรูป อย่างรุนแรงและขนานใหญ่ มิฉะนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มี ระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเราและ เราก็ไม่ต้องการอย่างนั้น

พรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะ ได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์

เรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ว่า การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทางนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ว่าตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบ ความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการ ร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้งโดยการ ช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4 เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค

ทรรศนะที่ถูกต้องก็คือ ต้องสร้าง ผลงานในทางสร้างสรรค์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการ ต่างประเทศ ในด้านการต่างประเทศ ประเทศเราใหญ่พอที่ผู้นำของเรา สามารถจะเป็นผู้นำของภูมิภาคอย่าง ดร.โมฮัมเหม็ด มหาเธร์ ได้

น่าเห็นใจผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนมากเป็นทนายความ เป็นครู เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มีนักธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จน้อย หัวหน้าพรรคแม้ว่าจะมีอายุพอสมควรแล้ว มีการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่ไม่เคยทำงานรับผิดชอบจริงๆ ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิด ผลจึงออกมาในสายตาประชาชนว่าที่คิดที่พูดนั้น ตนเอง ก็ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเลย แต่พูดไปตาม มติพรรคซึ่งล้าสมัยแล้ว

เรื่องที่สอง เหตุที่พรรคมีทัศนคติ ในทางลบและไม่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ก็เพราะพรรคถูกครอบงำด้วยผู้นำรุ่นเก่า ที่เคยประสบความสำเร็จโดยการทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้ามที่เป็นรัฐบาลทหาร ขณะนั้นโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นรัฐบาลไม่มี เพราะทหารกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเอาไว้

พรรคประชาธิปัตย์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ดีที่สุด ผู้นำพรรค ซึ่งบัดนี้อายุอยู่ระหว่าง 65-75 ปี จึงติดยึดอยู่กับยุทธวิธีแบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

เมื่อมีพรรคใหม่ที่ผู้นำพรรคเกือบ 100 คน มาจากคนที่มีประสบการณ์ ทั้งทางธุรกิจและทางราชการ มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในยุคโลกาภิวัตน์ ทำการบ้านว่าคนชั้นล่างซึ่งมีสัดส่วนที่สูงต้องการอะไร และสามารถทำอย่างที่ตนสัญญาไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งได้ พรรคประชาธิปัตย์จึงพ่ายแพ้อย่าง ยับเยินครั้งแล้วครั้งเล่า

ผู้นำพรรคก็ไม่ยอมรับความบกพร่องของตน แต่หลอกตนเองว่าพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เพราะฝ่ายตรงกันข้ามซื้อเสียง แต่ในกรณีที่ทหารและข้าราชการถูกสั่งให้มาช่วยอย่างเต็มที่ทั้งกำลังคน กำลังอำนาจ และกำลังเงินซื้อเสียงให้ แล้วยังแพ้อย่าง ยับเยิน ตนกลับไม่คำนึงถึง หลายคนบอกว่าแม้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่ซื้อเสียงเลย ก็ยังชนะพรรคประชาธิปัตย์

สิ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือ ผู้ที่ออกจากพรรคไทยรักไทยไปอยู่พรรคอื่น กลับสอบตกเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีกระสุนจากทหารมาช่วยจำนวนมาก

เรื่องที่สาม ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ อาจแบ่งเป็นสองพวก พวกนักกฎหมายกับพวกครู จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง กฎหมายระเบียบแบบแผนเป็นอย่างไรก็ถือเป็นคัมภีร์ ให้ข้าราชการเป็นผู้แนะนำและชี้นำนโยบายในการทำงาน อีกพวกหนึ่ง เป็นพวกที่มีผลประโยชน์ จึงไม่ยอมให้ คนรุ่นใหม่เข้าไปรับผิดชอบพรรคจริงๆ ยังกุมอำนาจพรรคไว้ด้วยผลประโยชน์

ส่วนฝ่ายตรงกันข้ามพูดเสมอว่า กฎหมายระเบียบแบบแผนเป็นเครื่องมือ ที่จะทำให้งานสำเร็จ ประชาชนได้ประโยชน์ ถ้ากฎหมายข้อบังคับเป็นอุปสรรคก็ต้องแก้ไข เพราะกฎหมายข้อบังคับระเบียบแบบแผนสร้างมาโดยมนุษย์ มนุษย์ย่อมสามารถแก้ไขได้ มนุษย์ต้องเป็นนายกฎหมาย ไม่ใช่ให้กฎหมายมาเป็นนายมนุษย์

ข้าราชการไม่ใช่ผู้กำหนดนโยบาย แต่เป็นผู้นำนโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ กลับกันกับวิธีคิดของประชาธิปัตย์

ผลงานของประชาธิปัตย์ในฐานะเป็นรัฐบาล ไม่ใช่ในฐานะของฝ่ายค้าน จึงไม่ค่อยมีเป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่เคยร่วมรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเวลากว่า 15 ปี

เคยถามเพื่อนฝูงชาวปักษ์ใต้ที่ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ฯ ว่าชอบผลงานของรัฐบาลพรรคไหน ไม่มีใครบอกว่าผลงานของประชาธิปัตย์ดีกว่าคู่ต่อสู้ ทุกคนบอกว่าผลงานของรัฐบาลคู่ต่อสู้ดีกว่า แต่ที่เลือกประชาธิปัตย์เพราะพ่อแม่ปู่ย่าตายายเลือกประชาธิปัตย์ หรือที่เลือกก็เพราะผู้นำพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายหัวเป็นคนใต้ เคยถามต่อว่าถ้านายหัวไม่อยู่แล้วจะเลือกอย่างไร ผู้ตอบก็ตอบไม่ถูกเหมือนกัน เอาไว้ถึงเวลานั้นแล้วค่อยคิด

พฤติกรรมการเลือก ส.ส.ของคนใต้ จึงต่างกับคนอีสานและคนเหนือ ที่เน้นว่า ส.ส.คนนั้นเคยทำประโยชน์ให้กับตนหรือชุมชนของตนแค่ไหน ส่วนในกรุงเทพฯเลือกไปตามกระแสที่สื่อมวลชนยัดเยียด ให้ เพราะตนก็ไม่เคยได้ประโยชน์อะไร เป็นชิ้นเป็นอันจาก ส.ส.ของตนอยู่แล้ว เพราะตนเองก็มีเส้นสายโยงใยเองอยู่แล้ว ไม่เดือดร้อนเหมือนคนในต่างจังหวัด

เรื่องที่สี่ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่พยายามเข้าถึง คนระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และแม้แต่ในกรุงเทพฯ พรรคไม่เน้นที่จะสร้างผลงาน แต่เน้นในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ทุกวิถีทาง พรรคจึงกลายเป็นทาร์ซาน พยายามจะช่วยเจนนี่โดยการโหนเถาวัลย์ โหนกระแส และโหนทหาร แล้วให้เจนนี่คอยกอดเอว พอเจนนี่จับพลาดในที่สุดทาร์ซานก็ต้องป้องปากโห่อย่างโหยหวนลั่นป่า

การทำตัวเป็นทาร์ซานจะไปถึงที่หมายโดยวิธีโหน จึงต้องละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางกฎหมาย ความถูกต้อง จารีต ประเพณี ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ร่วมมือ กับทหารสร้างทางตันเพื่อเชื้อเชิญให้ทหารปฏิวัติ ทำลายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคฝ่ายตรงกันข้ามถูกยุบ ให้นักการเมือง ฝ่ายตรงกันข้ามถูกตัดสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติ จะตอนพรรคการเมืองไม่ให้โต สร้างองค์กรอิสระที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นผลเสียกับตัวเองด้วยในระยะยาว แต่ก็ยอมทำ ทำให้พรรคเสียคะแนนจากผู้คนที่หัวก้าวหน้าและคนรุ่นใหม่อย่างน่าเสียดาย

การที่พรรคประณามนโยบายและโครงการที่เป็นประโยชน์กับคนระดับล่าง ทั้งๆ ที่อยู่ในกรอบที่การเงินการคลังของประเทศรับได้ เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเฟือจนธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยากจะได้ ว่าเป็นโครงการ "ประชานิยม" เท่ากับการทำลายเสียงของตนเองกับคนระดับล่างทั่วประเทศและ จำกัดตัวเอง เพราะถ้าตนเองเป็นรัฐบาล ก็คงต้องทำ หรืออาจจะทำมากกว่า เพราะที่ใช้หาเสียงสัญญาว่าจะทำมากกว่า

เรื่องที่ห้า พรรคประชาธิปัตย์เป็น พรรคปิด มีระบบอาวุโสที่เหนียวแน่น สมาชิกใหม่ให้อยู่ระดับล่าง หรือในสภา ก็อยู่แถวหลัง หรือที่อังกฤษเรียกว่า "Back Benchers" แต่อังกฤษผู้นำพรรคที่นำ พรรคไปแพ้เลือกตั้งจะลาออกเกือบหมด เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาแทน แต่ของเราไม่มีประเพณีอย่างนั้น สมาชิกรุ่นใหม่จึงไม่มีโอกาสมานำพรรค ผู้นำพรรค ไม่มุ่งจะทำพรรคให้ชนะการเลือกตั้ง เพียงแต่ได้ ส.ส.มากเพิ่มขึ้นก็พอใจจะอยู่ในตำแหน่ง ต่อไปแล้ว

ส่วนฝ่ายตรงกันข้าม เน้นในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจของผู้ออกเสียง เน้นคะแนนนิยมในตัว ส.ส. เน้นการเมืองที่มีผลสำเร็จของการเลือกตั้ง เน้นทางด้านการหาเงินช่วยพรรค ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงเข้าใจ ดังนั้นจึงมีการสับเปลี่ยนตัวผู้นำพรรคระดับรองๆ ลงไปอยู่ตลอดเวลา พรรคฝ่ายตรงกันข้ามจึงสามารถ "ดูด" นักการเมืองให้เข้าพรรคได้มากขึ้นเสมอ เพราะมาอยู่แล้วโอกาสชนะการเลือกตั้งมีสูง ไม่ใช่เพราะเงินอย่างเดียวอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจ

เรื่องที่หก พรรคไม่เคยหวังว่าจะชนะการเลือกตั้งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว หวังแต่เพียงเป็นแกนนำของรัฐบาลผสม เมื่อหวังเพียงเท่านี้ก็ทำให้มีทัศนคติว่า ถ้าสามารถทำลายพรรคคู่แข่งไม่ให้ลงมาแข่งในการเลือกตั้งก็พอแล้ว

ถ้าพรรครู้จุดอ่อนความสามารถในการสร้างนโยบายใหม่ๆ ไว้ขายกับประชาชน ถ้าคิดไม่ออกก็ขวนขวายหาบริษัทที่ปรึกษาที่ชำนาญการ แต่ก็ไม่มีความพยายาม แต่ใช้วิธีสะกดจิตตนเองว่า ตนเองเป็น ฝ่ายเทพ ฝ่ายตรงกันข้ามเป็นฝ่ายมาร แท้จริงในงานการเมืองไม่มีใครเป็นเทพ ไม่มีใครเป็นมาร มีแต่ผู้ชนะกับผู้แพ้ การเลือกตั้งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้เป็นจุดอ่อนของพรรค ประชาธิปัตย์ ผู้เสียภาษีอย่างพวกเราน่าจะมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนะให้แก้ไขปฏิรูปตนเอง เพราะผลการดำเนินงาน ของพรรคไม่คุ้มกับเงินภาษีที่รับไป

จะโกรธจะเคืองอย่างไรก็ไม่ว่า เพราะไม่อยากเห็นเมืองไทยเป็นระบบการเมืองแบบพรรคเดียว ถ้าเมืองไทยเป็นการเมืองพรรคเดียวก็ต้องโทษ ประชาธิปัตย์ อย่าไปโทษใคร

คิดแล้วอ่อนใจ

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi04260551&day=2008-05-26&sectionid=0212


วิวาทะ’ปชป.-ดร.โกร่ง’ซัดกลับทัศนะคับแคบหลังถูกวิพากษ์ชอบทำลายล้าง-โค่นคู่ต่อสู้

วันที่ 30 พฤษภาคม 2551

หมายเหตุ’มติชนออนไลน์’-หลังจากนายวีรพงษ์ รามางกูร ผู้เขียนคอลัมน์ "คนเดินตรอก" แสดงความคิดเห็นในหัวเรื่อง ‘ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป’ ลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551  วิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ในแง่มุมต่างๆ

ล่าสุด วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมี่นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค เขียนหนังสือตอบโต้ดร.วีรพงษ์ว่าเสนอความคิดเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและทัศนคติที่คลาดเคลื่อนโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


จดหมายเปิดผนึกจากพรรคประชาธิปัตย์ถึง นายวีรพงษ์ รามางกูร

เรื่อง ขอชี้แจงทัศนะและข้อมูลที่คลาดเคลื่อนของนายวีรพงษ์ รามางกูร ต่อพรรคประชาธิปัตย์

เรียน นายวีรพงษ์ รามางกูร

ตามที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ผู้เขียนคอลัมน์ ‘คนเดินตรอก’ แสดงความคิดเห็นในหัวเรื่อง ‘ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป’ ลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26-28พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 4004 (3204) วิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ในแง่มุมต่างๆอย่างรุนแรงนั้น

ในเบื้องต้นพรรคประชาธิปัตย์ขอขอบคุณในการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนต่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำเนินกิจกรรมอย่างเปิดเผยตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรรคฯพร้อมจะรับฟังทุกความคิดเห็นและพร้อมจะนำข้อคิดเห็นเหล่านั้นไปพิจารณา

อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ข้อเขียนของนายวีรพงษ์ รามางกูร ในคอลัมน์ดังกล่าว เป็นการเสนอความคิดเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและทัศนคติที่คลาดเคลื่อน ทำให้ผู้อ่านบางส่วนอาจเข้าใจผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์จึงขอชี้แจงเป็นลำดับดังต่อไปนี้

ข้อ 1) นายวีรพงษ์ รามางกูร ระบุว่า "…พรรคประชาธิปัตย์ต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ว่า การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทาง…" โดยอ้างว่า พรรคฯประสบความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยร่วมมือกับทหาร ทั้งจอมพลผิณ ชุณหะวัณ และจอมพลป.พิบูลสงคราม จนได้เป็นรัฐบาลเมื่อปี 2491 นั้น 

พรรคประชาธิปัตย์ขอยืนยันว่า พรรคฯยืนหยัดทำงานการเมืองอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย โดยยึดมั่นระบบรัฐสภามาอย่างเหนียวแน่นและเคร่งครัด พรรคฯไม่เคยใช้วิธีการนอกกรอบกติกามาโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งขันทางการเมือง ไม่ว่าจะในช่วงการทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายค้าน  ซึ่งเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ในทุกกรณี

หากมีกรณีใดที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ข้องใจ สงสัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำผิดไปจากข้อกล่าวอ้างข้างต้นแล้ว ขอได้หยิบยกขึ้นมาตอบโต้เป็นกรณีๆไป

พรรคประชาธิปัตย์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2489 พรรคฯก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาที่ถูกควบคุมและครอบงำโดยกลุ่มเผด็จการทหารในขณะนั้น การกล่าวหาว่า ได้ไปร่วมมือกับทหาร จนได้เป็นรัฐบาลเมื่อปี 2491 นั้น ไม่เป็นความจริง

เรื่องนี้หากนายวีรพงษ์ รามางกูร กลับไปศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองในขณะนั้นให้ถี่ถ้วน จะพบว่า ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2490 มีการล้มรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่ยุคเผด็จการ ไม่มีสภาจากการเลือกตั้ง นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยในขณะนั้น ตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยคลี่คลายวิกฤตของประเทศ แต่สุดท้ายนายควง อภัยวงศ์ ก็ขัดแย้งกับฝ่ายทหารจนถูกรัฐประหารในเวลาต่อมา

นายวีรพงษ์ รามางกูร ระบุในประเด็นต่อมาว่า "…ทรรศนะที่ถูกต้องก็คือ ต้องสร้างผลงานในทางสร้างสรรค์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการต่างประเทศ ในด้านการต่างประเทศ ประเทศเราใหญ่พอที่ผู้นำของเราสามารถจะเป็นผู้นำของภูมิภาคอย่าง     ดร.โมฮัมเหม็ด มหาเธร์ ได้ น่าเห็นใจผู้นำพรรคประชาธิปัตย์   ส่วนมากเป็นทนายความ เป็นครู เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จน้อย หัวหน้าพรรคแม้ว่า จะมีอายุพอสมควรแล้ว มีการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่ไม่เคยทำงานรับผิดชอบจริงๆ ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิด ผลจึงออกมาในสายตาประชาชนว่าที่คิดที่พูดนั้น ตนเอง ก็ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเลย แต่พูดไปตามมติพรรคซึ่งล้าสมัยแล้ว…"

ประเด็นนี้หากแม้น นายวีรพงษ์ รามางกูร แยกแยะข้อเท็จจ่ริง มองปรากฏการณ์อย่างรอบด้านแล้วจะเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงผลงานสร้างสรรค์ดังกล่าวมาแล้วอย่างทั่วด้าน โดยเฉพาะนโยบาย 3 กระจายที่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ คือ การกระจายอำนาจ การกระจายความเจริญ และการกระจายโอกาส ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาชนบท การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ เช่นถนน 4 ช่องจราจรทุกภาค การวางรากฐานการแก้ไขปัญหาการศึกษา ที่สร้างโอกาสการศึกษาให้กับลูกหลานไทยในชนบทให้เท่าเทียมกับลูกหลานในสังคมเมือง ด้วยการจัดตั้งอนุบาลชนบท โครงการอาหารกลางวัน โครงการนมโรงเรียน เป็นต้น

ในด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์เข้ามารับผิดชอบประเทศในช่วงหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สามารถเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องของผู้บริหารประเทศก่อนหน้านั้น จนสามารถนำพาประเทศฟื้นตัวได้เป็นผลสำเร็จ

ในส่วนการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระและสร้างสรรค์ โดยไม่สนองผลประโยชน์ทางธุรกิจของผู้นำพรรคหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

ในด้านการเมืองรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย หรือ คพป. เริ่มต้นวางกรอบการปฏิรูปการเมืองจนนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2534 และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540  เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้ว ไม่มีใครบิดเบือนได้  

ที่สำคัญผลงานสร้างสรรค์ของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งที่ผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับรัฐบาลที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ชื่นชอบและรัฐบาลในบางยุคที่นายวีรพงษ์ รามางกูร เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งนายวีรพงษ์ รามางกูร เองคงปฏิเสธไม่ได้ 

ข้อกล่าวหาของ นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ระบุว่า ผู้นำของพรรคในอดีตมาจากอาชีพ ทนายความ ครู ข้าราชการเกษียณอายุ นั้น

ข้อเท็จจริงคือ ผู้นำพรรคในระดับหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค ไม่ได้จำกัดแต่ในอาชีพที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ระบุเท่านั้น แต่มาจากหลากหลายอาชีพ ทั้งนักการเมืองอาชีพ นักกฎหมาย อดีตราชการ นักการฑูต นักธุรกิจ นักวิชาการ ฯลฯ ซึ่งผู้นำพรรคประชาธิปัตย์แต่ละรุ่นได้แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถในการนำพาประเทศฝ่าวิกฤตมาอย่างเด็ดเดี่ยวหลายยุค ไม่ว่าจะเป็นนายควง อภัยวงศ์ ในยุควิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในช่วงวิกฤตการเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือนายชวน หลีกภัย ในช่วงหลังเหตุการณ์นองเลือดพฤษภาทมิฬ ปี 2535 และวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540

นายวีรพงษ์ รามางกูร เขียนอีกว่า "…ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิด…"

พรรคฯไม่ทราบว่า การแสดงออกใดของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกนิยามว่าเป็นการถูกล้างสมอง  มีเรื่องใดที่พรรคฯมีมติหรือแสดงบทบาทออกไปโดยลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ตามที่นายวีรพงษ์ รามางกูร กล่าวหา ตรงกันข้ามการแสดงออกของหัวหน้าพรรคจะยึดถือความถูกต้องตามหลักวิชาการมาโดยตลอด

ส่วนประเด็นที่กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ "ค้านทุกเรื่อง" ที่ฝ่ายตรงข้ามทำ หรือฝ่ายตรงข้ามคิดนั้น ถ้านายวีรพงษ์ รามางกูร เข้าใจว่า บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคฝ่ายค้านต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2544 เป็นต้นมาเป็นการค้านทุกเรื่องนั้น เป็นการเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง

ขอให้กลับไปทบทวนดูบทบาทแต่ละเรื่องที่พรรคฯได้แสดงออกไป จะเห็นว่า ในการทำหน้าที่ของพรรคฯแต่ละเรื่อง มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ประเด็น ควบคู่กันไปเสมอ คือ

1) การนำเสนอปัญหาที่เป็นประเด็นสาธารณะและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

และ 2) การนำเสนอทางออกหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทัศนะและจุดยืนของพรรคฯ

โดยเฉพาะในช่วงหลังการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้านได้ยกระดับขึ้นเป็นการทำงานรูปแบบของ "คณะรัฐมนตรีเงา" ที่เกาะติดปัญหาบ้านเมืองอย่างใกล้ชิด นำเสนอทางออกที่แหลมคม และเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดการทำงานที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนกับแนวทางที่ยึดผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลทางธุรกิจการเมือง ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ปัญหาการศึกษา ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งนี้ประชาชนทั่วไปมองเห็นและสัมผัสได้ นายวีรพงษ์ รามางกูร เอง ก็ย่อมสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่นเดียวกัน

ข้อ 2) นายวีรพงษ์ รามางกูร เขียนว่า "…เหตุที่พรรคมีทัศนคติในทางลบและไม่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ก็เพราะพรรคถูกครอบงำด้วยผู้นำรุ่นเก่าที่เคยประสบความสำเร็จโดยการทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้ามที่เป็นรัฐบาลทหาร ขณะนั้นโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นรัฐบาลไม่มี เพราะทหารกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเอาไว้ พรรคประชาธิปัตย์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ดีที่สุด ผู้นำพรรค  ซึ่งบัดนี้อายุอยู่ระหว่าง 65-75 ปี จึงติดยึดอยู่กับยุทธวิธีแบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง…"

การระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีทัศนคติในทางลบและไม่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ต้องย้อนถามกลับว่า อะไรคือทัศนคติทางลบ? อะไรคือการไม่สร้างสรรค์?

เป็นไปได้อย่างไรที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง มีบทบาททางการเมืองต่อเนื่องมาถึง 62 ปี จะมีแต่ทัศนคติทางลบและไม่สร้างสรรค์เลย ถ้าเป็นเช่นนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับเลือกตั้งหรือได้รับความนิยมจากประชาชน หรือคงความเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่เช่นนี้อยู่ได้อย่างไร?             

พรรคประชาธิปัตย์มีองค์ประกอบของบุคคลทั้งความรู้ความสามารถ เพศ วัย ที่แตกต่างหลากหลาย เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 62 ปี  มีผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้ามาสืบทอดอุดมการณ์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในพรรคจะมีทั้งผู้อาวุโส และคนรุ่นใหม่ แต่พรรคฯมีระบบพรรคที่แข็งแกร่ง

นั่นคือความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรค ไม่มีใครสามารถชี้นำ หรือบงการความคิดของพรรคฯได้

มติทุกครั้งที่ออกมาล้วนผ่านกระบวนการประชาธิปไตย คือการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ถกเถียง และหาข้อสรุปร่วมกันของคนในพรรค ไม่ใช่เดินตามคำชี้นำของใครคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เหมือนกับพรรคการเมืองใหม่ๆที่นายวีรพงษ์ รามางกูร นิยมชมชอบ

นอกจากนั้นหากพรรคประชาธิปัตย์แสดงบทบาทคัดค้านสิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อประเทศ โดยการหลบเลี่ยงหรือละเว้นการทำหน้าที่ ถือเป็นสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ สังคมก็จะไร้การถ่วงดุลและไม่เป็นประชาธิปไตย

การที่นายวีรพงษ์ รามางกูร สรุปเอาว่า "…เมื่อมีพรรคใหม่ที่ผู้นำพรรคเกือบ100 คน มาจากคนที่มีประสบการณ์ทั้งทางธุรกิจและทางราชการ มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในยุคโลกาภิวัตน์ ทำการบ้านว่า คนชั้นล่างซึ่งมีสัดส่วนที่สูงต้องการอะไร และสามารถทำอย่างที่ตนสัญญาไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งได้ พรรคประชาธิปัตย์จึงพ่ายแพ้อย่างยับเยินครั้งแล้วครั้งเล่า…"นั้น

เป็นทัศนะของนายวีรพงษ์ รามางกูร ที่มองข้ามข้อเท็จจริงที่ผู้คนทั่วประเทศมองเห็น ไม่ว่า จะเป็นเรื่อง คนเหล่านั้นรวมตัวกันบนพื้นฐานของอะไร รากฐานความเป็นมาของแต่ละกลุ่ม แต่ละพวกภายในพรรคการเมืองใหม่ที่ว่านั้นเป็นอย่างไร  มีผลประโยชน์เฉพาะหน้าร่วมกันอย่างไร  ใช้วิธีการใดในการเอาชนะการเลือกตั้ง และเมื่อได้อำนาจแล้ว   ใช้อำนาจอย่างไร ส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศนี้อย่างไรบ้าง

พรรคไทยรักไทยที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ชื่นชมเป็นแบบอย่างนั้น เกิดขึ้นจากนักธุรกิจการเมืองที่ต้องการเข้าสู่อำนาจโดยไม่ต้องผ่านการเป็นนักการเมืองอาชีพเหมือนในอดีต จึงรวบรวมนักการเมืองอาชีพที่ย้ายพรรคเป็นประจำเข้ามาร่วมก่อตั้งพรรค เมื่อผ่านการเลือกตั้งปี 2544 ก็ดำเนินการควบรวมหรือ "ดูด" พรรคการเมืองอีก 3 พรรคเข้ามาคือ พรรคเสรีธรรม พรรคชาติพัฒนา และพรรคความหวังใหม่ จนกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงเด็ดขาดในสภา

จากนั้นสถาปนาระบอบทักษิณขึ้นมารวมศูนย์การใช้อำนาจรัฐ สร้างระบบอุปถัมภ์ต่อส.ส.และประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เกิดการทุจริตเชิงนโยบาย สร้างความเสียหายกับประเทศอย่างร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมือง

สิ่งเหล่านี้หรือที่นายวีรพงษ์ รามางกูร เรียกว่า "…มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในยุคโลกาภิวัตน์…" นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่อ้างตัวเป็นนักวิชาการอิสระ ได้ใช้กรอบความคิดทางวิชาการในการมองปรากฏการณ์ทางการเมืองในแต่ละช่วงสถานการณ์อย่างรอบด้านแล้วหรือไม่

การที่นายวีรพงษ์ รามางกูร อ้างว่า มีทหารและข้าราชการถูกสั่งให้มาช่วยพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มที่ทั้งกำลังคน กำลังอำนาจ และกำลังเงินซื้อเสียงให้ แล้วยังแพ้อย่างยับเยิน แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่คำนึงถึง หลายคนบอกว่า แม้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่ซื้อเสียงเลยก็ยังชนะพรรคประชาธิปัตย์ และระบุว่า สิ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือ ผู้ที่ออกจากพรรคไทยรักไทยไปอยู่พรรคอื่น กลับสอบตกเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีกระสุนจากทหารมาช่วยจำนวนมากนั้น

หากเป็นเช่นที่นายวีรพงษ์ รามางกูร กล่าวอ้าง ก็ขอให้ไปแจ้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เร่งรีบตรวจสอบและเอาผิดกับพรรคประชาธิปัตย์อีกทางหนึ่งด้วย เพราะเป็นการซื้อเสียงให้และเป็นการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

อีกทั้งการกล่าวหาด้วยวิธีการเขียนใส่ร้ายเช่นนี้เป็นการทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเสื่อมเสีย ขอให้นายวีรพงษ์ รามางกูร ระบุออกมาให้ชัดเจนถึงตัวบุคคล ไม่ว่า จะเป็นทหาร หรือข้าราชการรายใดที่ดำเนินการช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์ หากไม่แสดงให้กระจ่างชัดก็เท่ากับเป็นการแต่งเรื่องเท็จมาใส่ร้ายผู้อื่น ไม่ใช่วิสัยของนักวิชาการหรือนักเขียนคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่มีผู้ให้ความนิยมเชื่อถือ

ข้อ 3) นายวีรพงษ์ รามางกูร พยายามอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ยึดติดแต่กฎหมาย ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และให้ข้าราชการเป็นผู้ชี้นำในการทำงาน เรื่องนี้เป็นอีกประเด็นที่กล่าวหา โดยไม่ได้ใส่ใจความเป็นจริง เพราะหากนายวีรพงษ์ รามางกูร ใฝ่รู้ด้วยการตรวจสอบผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ในการทำงานในช่วงรัฐบาลชวน 1 และชวน 2 ก็จะเห็นผลงานการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ กฎหมายที่ออกมาป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น กฎหมายที่กระจายอำนาจของรัฐส่วนกลางไปให้กับการปกครองในส่วนท้องถิ่นที่ให้ประชาชนทั่วทุกหัวระแหงได้กำหนดอนาคตและวิถีชีวิตของตนเอง หรือกฎหมายที่กระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับลูกหลานของพี่น้องประชาชนในชนบทห่างไกล  ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้นายวีรพงษ์ รามางกูร ไม่เคยได้รู้ ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ตระหนักเลยหรือ?

เพียงแต่นายวีรพงษ์ รามางกูร แอบนิยมชมชอบต่อหัวหน้าพรรคการเมืองบางคนแต่ไม่กล้าแสดงตน แล้วยกทุกสิ่งทุกอย่างของคนๆนั้นมาเป็นความถูกต้องเสียหมด โดยมองข้ามความจริงที่คนทั้งสังคมได้ประจักษ์แล้วถึงความมีวาระซ่อนเร้นในการออกกฎหมาย การยกเลิกกฎหมาย และการปรับปรุงกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกพระราชกำหนดเพื่อเอื้อต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ทำให้รัฐเสียหายนับหมื่นล้านบาท

การออกพระราชกำหนดให้อำนาจกับตนเองในการแก้ปัญหาความสงบเรียบร้อยในประเทศ  การออกกฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อวางรากฐานผลประโยชน์ทางธุรกิจให้กับตนเองและบริวาร ฯลฯ เหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่นักวิชาการอย่างนายวีรพงษ์ รามางกูร มองข้ามไปอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

ประเด็นสำคัญหนึ่ง ที่นายวีรพงษ์ รามางกูร กล่าวถึงพฤติกรรมการเลือกส.ส.ของชาวภาคใต้ ที่ระบุว่า "….ไม่มีใครบอกว่าผลงานของประชาธิปัตย์ดีกว่าคู่ต่อสู้ ทุกคนบอกว่าผลงานของรัฐบาลคู่ต่อสู้ดีกว่า แต่ที่เลือกประชาธิปัตย์เพราะพ่อแม่ปู่ย่าตายายเลือกประชาธิปัตย์ หรือที่เลือกก็เพราะผู้นำพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายหัวเป็นคนใต้เคยถามต่อว่า ถ้านายหัวไม่อยู่แล้วจะเลือกอย่างไร ผู้ตอบก็ตอบไม่ถูกเหมือนกันเอาไว้ถึงเวลานั้นแล้วค่อยคิด…"  และยังระบุอีกว่า "….พฤติกรรมการเลือก ส.ส.ของคนใต้  จึงต่างกับคนอีสานและคนเหนือ ที่เน้นว่า ส.ส.คนนั้นเคยทำประโยชน์ให้กับตนหรือชุมชนของตนแค่ไหน…" นับเป็นความคิดเห็นที่ห่างไกลสภาพความจริงอย่างยิ่ง นายวีรพงษ์ รามางกูร อาจจะไปฟังเสียงสนทนากับเพื่อนฝูงบนโต๊ะอาหาร หรือสัมผัสกับคนรู้จักแค่ 2-3 คนแล้วมาสรุปเหมารวมเอาอย่างไร้หลักวิชาการว่า นั่นคือ ความจริง

หากนายวีรพงษ์ รามางกูร ได้ลงไปทำวิจัย สอบถามอย่างเข้มงวดในหลักวิชาการ และเคารพในความจริง ก็จะพบว่า ข้อเขียนของนายวีรพงษ์ รามางกูร เองบกพร่องและห่างไกลข้อเท็จจริงอย่างมาก ไม่มีพื้นที่ไหนในประเทศนี้ที่ประชาชนเลือก ส.ส.หรือผู้แทนฯ ด้วยทัศนะคับแคบเช่นนั้น

พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมอย่างเหนียวแน่นจากพี่น้องภาคใต้ ก็เพราะบทบาทของผู้ปฏิบัติงานในสาขาพรรค, ส.ส., อดีตส.ส. และผู้สมัครของพรรคในการทำงาน การต่อสู้ การดูแลทุกข์สุขของพี่น้องประชาชน ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น จนเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความดีงามเหล่านั้นจะฝังอยู่ในความรู้สึกของพี่น้องประชาชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ขณะที่พรรคการเมืองที่เป็นคู่แข่ง มาแล้วก็ไป และไม่เคยเสนอนโยบายหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติสอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชนในภาคใต้ เหมือนกับที่คนของพรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำ

ข้อ 4) นายวีรพงษ์ รามางกูร อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์เน้นแต่การทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ทุกวิถีทาง พรรคจึงกลายเป็นทาร์ซาน คอยโหนกระแส โหนทหาร ละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย ละทิ้ง อุดมการณ์ทางกฎหมาย ความถูกต้อง จารีต ประเพณี ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ร่วมมือกับทหาร สร้างทางตันเพื่อเชื้อเชิญให้ทหารปฏิวัติ ทำลายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคฝ่ายตรงกันข้ามถูกยุบ ให้นักการเมือง ฝ่ายตรงกันข้ามถูกตัดสิทธิทางการเมือง

ข้อความข้างต้น นับเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และขอให้นายวีรพงษ์ รามางกูร กลับไปค้นหาข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมมายืนยันว่า

1. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำอะไรที่เป็นการ ละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางกฎหมาย และความถูกต้องจารีตประเพณีในระบอบประชาธิปไตย

2. พรรคประชาธิปัตย์ได้ร่วมมือกับทหารฝ่ายใด หรือกลุ่มไหน ที่สร้างทางตันจนให้เกิดการรัฐประหาร ทำลายรัฐธรรมนูญ  

การยกข้อกล่าวหามาใส่ร้ายกันลอยๆเช่นนี้ ไม่ควรเป็นวิสัยของการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ในสังคมประชาธิปไตย ยิ่งเป็นการบิดเบือนอย่างจงใจด้วยแล้ว ยิ่งต้องทบทวนอย่างมากที่สุด

หากนายวีรพงษ์ รามางกูร หมายความว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งโมฆะเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย หรือจารีตประเพณีของระบอบประชาธิปไตย ก็ขอให้นายวีรพงษ์ รามางกูร ทบทวนดูความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ก่อนและหลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549

ทบทวนดูถึงเหตุผล อ่านคำแถลง มติ และการชี้แจงต่อสาธารณชนครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างเป็นระบบของพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงขอให้กลับไปอ่านคำตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ปรากฏในคดียุบพรรคมาประกอบ ก็น่าจะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงได้รอบด้านมากขึ้น

นายวีรพงษ์ รามางกูร ควรจะตระหนักด้วยว่า สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศที่เดินเข้าสู่วิกฤตรุนแรงขึ้นเรื่อยๆนับจากการยุบสภาหนีความผิด หนีการตรวจสอบของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น คนทั้งโลกก็รู้ว่า  มาจากการไม่กล้าเผชิญความจริงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ฟังเสียงเรียกร้องของผู้คนในบ้านเมือง ไม่ฟังคำทักท้วงของผู้อาวุโส นักวิชาการ สื่อมวลชน ปัญญาชน รวมทั้งดื้อรั้นที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปโดยไม่ยืดหยุ่น

ในสถานการณ์เช่นนั้นพรรคประชาธิปัตย์พยายามเสนอทางออกเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ไม่ฟังเสียง และปลุกม็อบขึ้นมาเผชิญหน้ากัน จนบ้านเมืองเกือบเข้าสู่กลียุค ใครกันแน่ที่พาประเทศไปสู่ความเลวร้ายเช่นนี้?

ใครกันแน่ที่เป็นต้นเหตุของการสร้างเงื่อนไขไปสู่การรัฐประหาร

น่าแปลกที่เมื่อรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกล้มด้วยอำนาจรัฐประหาร  นายวีรพงษ์ รามางกูร กลับโยนความผิดมาให้พรรคประชาธิปัตย์

กรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร อ้างว่า "….พรรคประชาธิปัตย์ ประณามนโยบายและโครงการที่เป็นประโยชน์กับคนระดับล่าง ทั้งๆ ที่อยู่ในกรอบที่การเงินการคลังของประเทศรับได้ เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเฟือจนธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยากจะได้ ว่าเป็นโครงการ ‘ประชานิยม’ เท่ากับการทำลายเสียงของตนเองกับคนระดับล่างทั่วประเทศและจำกัดตัวเอง เพราะถ้าตนเองเป็นรัฐบาล   ก็คงต้องทำ หรืออาจจะทำมากกว่า เพราะที่ใช้หาเสียงสัญญาว่าจะทำมากกว่า…" นั้น

พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยประณามนโยบายที่เป็นประโยชน์ แต่การที่พรรคประชาธิปัตย์หยิบยกความไม่ชอบมาพากลในการใช้ "นโยบายประชานิยม" ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เนื่องจากเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศมาต่อรองเพื่อประโยชน์ของคะแนนนิยมอย่างเดียว โดยไม่ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน หวังที่จะให้ประชาชนตกเป็นผู้รอรับการช่วยเหลือ เป็นบุญคุณจากรัฐบาลอย่างเดียว

โดยเฉพาะการต่อรองที่เลวร้ายสามานย์ที่สุดคือ การข่มขู่ว่าจังหวัดใดไม่เลือกพรรคไทยรักไทย ต้องรอการพัฒนาไปก่อน นอกจากนั้นโครงการประชานิยมทั้งหลายก็ปรากฏให้เห็นในภายหลังแล้วว่า ล้วนแล้วแต่ไปเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับพ่อค้า นักธุรกิจ ในเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพวกพ้องบริวารทั้งสิ้น  สิ่งนี้นักวิชาการบริสุทธิ์จำนวนมากก็ออกมาแสดงความห่วงใยกันมากมาย แต่นายวีรพงษ์ รามางกูร กลับไม่ตระหนัก

ขณะเดียวกันแนวทางแก้ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูก นายวีรพงษ์ รามางกูร อ้างว่าเป็นประชานิยมยิ่งกว่านั้น น่าจะหมายถึง นโยบายเรียนฟรี และนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ60ปี ขึ้นไป เรื่องนี้เป็นข้อกล่าวหาในน้ำเสียงและระนาบเดียวกับคนจากพรรคพลังประชาชน ที่ไม่ได้สนใจนำเสนอนโยบายต่อประชาชนในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ประชาชนของประเทศนี้ควรจะได้รับสิทธิในสวัสดิการและบริการจากรัฐโดยเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องรอให้รัฐบาลมาหยิบยื่นให้เป็นครั้งๆคราวๆ การวางรากฐานโอกาสทางการศึกษาที่เทียมกัน โดยรัฐจัดสวัสดิการให้โดยลงทุนในเรื่องค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม รวมถึงการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จึงเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศ

การลงทุนเพื่อการศึกษาให้คนของชาตินั้นเป็นการลงทุนที่ทำให้ดอกผลในวันข้างหน้าเกิดขึ้นกับประเทศชาติโดยรวมอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากรัฐ ก็เป็นภารกิจเร่งด่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องเข้าไปดูแล เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองของประเทศ สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้คู่แข่งทางการเมืองหรือผู้มีทัศนคติเป็นลบกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่สบายใจ แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุนไม่ใช่หรือ?

ข้อ 5) นายวีรพงษ์ รามางกูร ระบุว่า "….พรรคประชาธิปัตย์เป็น พรรคปิด มีระบบอาวุโสที่เหนียวแน่น สมาชิกใหม่ให้อยู่ระดับล่าง หรือในสภาก็อยู่แถวหลังหรือที่อังกฤษเรียกว่า  ‘Back Benchers’ แต่อังกฤษผู้นำพรรคที่นำ พรรคไปแพ้เลือกตั้งจะลาออกเกือบหมด เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาแทน แต่ของเราไม่มีประเพณีอย่างนั้น สมาชิกรุ่นใหม่จึงไม่มีโอกาสมานำพรรค ผู้นำพรรค ไม่มุ่งจะทำพรรคให้ชนะการเลือกตั้ง   เพียงแต่ได้ ส.ส.มากเพิ่มขึ้นก็พอใจจะอยู่ในตำแหน่ง ต่อไปแล้ว…" 

เรื่องนี้ขอชี้แจงว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งพรรคประชาธิปัตย์ กำหนด นโยบาย และยุทธศาสตร์เพื่อการเลือกตั้งอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยมีการนำองค์ประกอบทางด้านสถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงคู่แข่งขันมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด

ในการเลือกตั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ ปี 2544, 2548 และ 2550 พรรคประชาธิปัตย์มียุทธศาสตร์หลักคือการเข้าไปเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยคำนึงถึงความพร้อมใน 2 ด้านหลัก คือ

1. นโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความเป็นจริงของประเทศ

2. บุคคลากรที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ต่างๆ ทุกครั้งในการเลือกตั้งพรรคฯได้เตรียมความพร้อมเหล่านี้อย่างจริงจัง

ดังนั้นเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา จำนวนที่นั่ง ส.ส.ของพรรคไม่สามารถเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า นโยบาย หรือบุคลากรของพรรคที่เตรียมไว้สำหรับการเป็นฝ่ายบริหารจะหมดค่าไปพร้อมกับผลการเลือกตั้ง แต่พรรคก็จะปรับโครงสร้างและมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ในเวลาที่เหมาะสม เช่น ที่กำลังจะมีการประชุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ ก่อนที่คณะกรรมการบริหารจะครบวาระ 1 ปี

ในการเลือกตั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ ปี 2544, 2548 และ 2550 พรรคประชาธิปัตย์มียุทธศาสตร์หลักคือการเข้าไปเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยคำนึงถึงความพร้อมใน 2 ด้านหลัก คือ

1. นโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความเป็นจริงของประเทศ

2. บุคคลากรที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ต่างๆ ทุกครั้งในการเลือกตั้งพรรคฯได้เตรียมความพร้อมเหล่านี้อย่างจริงจัง

ดังนั้นเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา จำนวนที่นั่ง ส.ส.ของพรรคไม่สามารถเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า นโยบาย หรือบุคลากรของพรรคที่เตรียมไว้สำหรับการเป็นฝ่ายบริหารจะหมดค่าไปพร้อมกับผลการเลือกตั้ง แต่พรรคก็จะปรับโครงสร้างและมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ในเวลาที่เหมาะสม เช่น ที่กำลังจะมีการประชุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ ก่อนที่คณะกรรมการบริหารจะครบวาระ 1 ปี

นายวีรพงษ์ รามางกูร ต้องเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งนโยบายและบุคคลากรของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นไปตามกลไกและกระบวนการประชาธิปไตยภายในพรรค ภายใต้กฎเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับของมวลสมาชิก ไม่ใช่การหวั่นไหวไปตามเสียงกระแนะกระแหนจากคู่แข่งขันทางการเมือง

นายวีรพงษ์ รามางกูร  อ้างว่า "…พรรคฝ่ายตรงข้ามกับพรรคประชาธิปัตย์  ที่เน้นในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจของผู้ออกเสียง เน้นคะแนนนิยมในตัว ส.ส. เน้นการเมืองที่มีผลสำเร็จของการเลือกตั้ง เน้นทางด้านการหาเงินช่วยพรรค จึงมีการสับเปลี่ยนตัวผู้นำพรรคระดับรองๆ ลงไปอยู่ตลอดเวลา พรรคฝ่ายตรงกันข้ามจึงสามารถ ‘ดูด’ นักการเมืองให้เข้าพรรคได้มากขึ้นเสมอ …."

คำถามที่ต้องย้อนกลับไปก็คือ บทบาทของพรรคฝ่ายตรงข้ามตามแนวคิดของนายวีรพงษ์ รามางกูร ควรจะเป็นทิศทางของการพัฒนาพรรคการเมืองจริงๆหรือ?

การเปลี่ยนแปลงผู้นำพรรคของพรรคการเมืองที่ว่าในวันนี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร?

และการสร้างพรรคการเมืองที่เน้นบทบาทของผู้ให้เงินสนับสนุนพรรค ได้สร้างวงจรอุบาทว์ทำความเสียหายให้กับการเมืองของประเทศนี้รุนแรงขนาดไหน นายวีรพงษ์ รามางกูร ไม่ได้นำเอาข้อเท็จจริงมาตรวจสอบเลยหรือ?

ข้อ 6) นายวีรพงษ์ รามางกูร คิดว่า "…พรรค(ประชาธิปัตย์)ไม่เคยหวังว่าจะชนะการเลือกตั้งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว หวังแต่เพียงเป็นแกนนำของรัฐบาลผสม เมื่อหวังเพียงเท่านี้ก็ทำให้มีทัศนคติว่า ถ้าสามารถทำลายพรรคคู่แข่งไม่ให้ลงมาแข่งในการเลือกตั้งก็พอแล้ว…" ซึ่งคงไม่จำเป็นต้องอธิบายตอบโต้ เพราะสะท้อนให้เห็นว่านายวีรพงษ์ รามางกูร ไม่เคารพกับข้อเท็จจริง ละเลยการสืบค้นข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ในทุกด้าน

แม้แต่ข้อมูล ข้อเท็จจริงในระยะใกล้ๆที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอตัวเป็นผู้นำพาประเทศก้าวพ้นภาวะวิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ด้วยการนำเสนอนโยบาย แนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างเป็น รูปธรรม  นายวีรพงษ์ รามางกูร กลับไม่ให้ความสนใจ ทำให้ทัศนะผ่านข้อเขียนดังกล่าวเต็มไปด้วยความคับแคบและคลาดเคลื่อน

อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณนายวีรพงษ์ รามางกูร ที่สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ผ่านคอลัมน์ประจำของตนเอง เพราะได้ทำให้ได้เข้าใจและรู้จักผู้เขียนดีขึ้น พรรคประชาธิปัตย์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการแสดงความคิดเห็นครั้งต่อๆไป  นายวีรพงษ์ รามางกูร จะมีความซื่อสัตย์และให้ความเคารพในข้อเท็จจริง มองปรากฎการณ์แต่ละเรื่องแต่ละประเด็นอย่างรอบคอบ รอบด้านมากขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ยินดีที่จะให้ข้อมูลและความจริงเพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของนายวีรพงษ์ รามางกูร ในฐานะผู้เขียนคอลัมน์ได้สมบูรณ์เป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากกว่าที่เป็นอยู่

ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมจะปรับปรุง พัฒนาตนเอง เพื่อให้เป็นพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สามารถทำหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง สมกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศคาดหวัง

จึงเรียนมาเพื่อได้รับทราบ

พรรคประชาธิปัตย์
29 พฤษภาคม 2551

http://www.matichon.co.th/news_title.php?id=2149

Categories: News and politics

เงิน แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง

29 May 2008 Leave a comment

เงิน แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
(ละครไทยกับค่านิยมในสังคม)

วันนี้ได้อ่านบทความเกี่ยวกับละครไทย
ต้องยอมรับว่า ผมแทบไม่เคยดูละครไทยเลย ยกเว้นตอนเด็กๆมากๆ
ซึ่งสมัยนั้น คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มี เครื่องเกมส์คอนโซลก็แพงมาก
เทปวีดีโอก็มีไม่หลากหลาย ทำให้ทีวีเป็นทางเลือกที่ถูกที่สุด

จนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งที่สื่ออื่นๆมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
แต่ละครไทยก็ยังไม่ตาย โดยเฉพาะที่เรียกกันว่าละครน้ำเน่า
หลายๆเรื่อง สร้างซ้ำไปซ้ำมา ตั้งแต่เด็กผมเคยได้ยินชื่อละครนี้ โตมา ก็ได้ยินอีก

ผมคิดว่าหนึ่งในสิ่งที่แสดงถึงค่านิยมของคนไทยได้ดี คือ ละครทีวีน้ำเน่า ทั้งหลายนั่นเอง
ในนั้นเต็มไปด้วย ทัศนคติ อุดมคติ ค่านิยมต่างๆของสังคม ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามที

ทุกคนอยากเกิดมาบนกองเงินกองทอง ร่ำรวย ไม่ต้องทำงานมากมายนัก อย่างตัวเอกในละคร
ถ้าเป็นพระเอก ก็มีสิทธิข่มขืนนางเอกได้ เรียกง่ายๆว่า ถ้าหล่อรวย การทำเรื่องพวกนี้ ไม่มีความผิด

จริงๆผมไม่ได้อยากจะโยงไปการเมือง
แต่ละครไทย สะท้อนให้เห็นถึง ค่านิยมทางการเมืองได้อีก
ลองคิดดูว่า พระเอกที่ข่มขืนนางเอกทั้งหลายแล้วไม่ผิด แถมผู้ชมยังชอบและเชียร์นั้น
ล้วนมีสิ่งหนึ่งเหมือนกัน นั่นคือ เงิน
และบางคน จะมีอำนาจเข้ามาเพิ่มเติมอีก เป็นลูกคนใหญ่คนโตมีหน้าตาในสังคม
ใครมีเงิน มีอำนาจ ทำอะไรก็ถูกไปหมดในสังคม อย่างนี้คือค่านิยมที่อยากให้ปลูกฝังลงในเยาวชนหรือ !?

คนส่วนใหญ่ ชอบคาดหวังให้เยาวชน คิดแบบนู้นแบบนี้ มีค่านิยมแบบนู้นแบบนี้ คาดหวังต่างๆนาๆ
แต่คนส่วนใหญ่นี่แหละ สนับสนุนในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความคาดหวังในเยาวชน
ตั้งแต่ ผู้ผลิต ผู้โฆษณา สปอนเซอร์ ผู้ชม ทุกคนต้องรับผิดชอบหมด

อย่าคาดหวังว่าอะไรจะดีขึ้น ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเองก่อน


บางส่วนที่ อ นิธิ พูดถึง ตัดตอนจากในประชาชาติธุรกิจมา

ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าวว่า ผมคิดว่าการรีเมกละคร เป็นการตอกย้ำเงิน อย่างสวรรค์เบี่ยง ผมก็ไม่ได้ดูทุกตอน (นะ) แต่ก็มานึกในใจว่า ถ้าคนที่จับนางเอกไปขังแล้วข่มขืน เป็นแรงงานก่อสร้าง คนดูจะอึดอัดมั้ย

ดังนั้นมันก็ต้องเป็นพระเอก และเป็นลูกคนรวย ผมคิดว่าละครเหล่านี้ตอกย้ำสิ่งที่เรายึดถือมาเป็นเวลานาน อาจจะตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัชต์) เลยก็ได้คือ เงิน แก้ปัญหาทุกอย่าง

แม้โครงสร้างสังคมในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ผมคิดว่ามันจะยิ่งกว่าเก่าอีก ในเรื่องการให้ความสำคัญกับเงิน (นะ) เดี๋ยวนี้เรื่องเงินเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เลย

อย่างไม่นานมานี้ คนมาคุยกับผม เขาทำงานเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมทางเพศของเด็กวัยรุ่น เขาบอกว่าเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งเล่าให้เขาฟังว่า เด็กคนนี้นั่งดูจำเลยรัก แล้วก็ดูฉาก ประเภทตบจูบๆ แล้วเด็กก็บอกว่า พ่อแม่เขาก็ดู เขาก็ดู พ่อแม่ก็ลุ้นก็เชียร์กันใหญ่ว่า ตบเลย จูบเลย เด็กก็นั่งอยู่

แต่พอเวลาลูกจะออกไปกับแฟน แม่ไม่ยอม ไม่อยากให้ออกไปกับผู้ชายตอนกลางคืน แต่ในขณะที่ดูทีวี พ่อแม่ก็ลุ้นให้ตบจูบอยู่ตลอดเวลา…มันสวนทางกัน (ว่ะ)

ผมถามว่าถ้าผู้ชายที่ลูกสาวคุณออกไปด้วยเป็นโอ๊ค (พานทองแท้ ชินวัตร) คุณจะว่าไง ถามว่าถ้าพานทองแท้มาจีบลูกสาวเรา เราจะห่วงเท่ากับที่ไอ้หนุ่มที่ไหนไม่รู้มาจีบลูกเรา

คือละคร จริงๆ เขาก็ทำตามนวนิยายนั่นแหละนะ แต่ผมก็ไม่ค่อยอ่านหนอกนะ ไม่รู้จักคนเขียนด้วย แต่ผมนึกในใจว่า คนเขียนเป็นผู้หญิงผู้ชาย สมมติเป็นผู้หญิงที่ยังไม่โดนข่มขืน แต่ขอโทษเถอะ คุณเป็น นักเขียน แล้วอยากจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการข่มขืน คุณไม่แคร์พอจะไปคุยกับผู้หญิงที่เขาถูกดข่มขืนบ้างหรือ

เคยลองไปคุยกับเขาบ้างหรือเปล่า ว่าเขาเจ็บปวดขนาดไหน แล้วคุณไปเป็นเมียคนที่ข่มขืนคุณเหรอ จะมีเหรอ คือคุณเขียนเรื่องการข่มขืนโดยที่คุณไม่ได้สนใจว่า นี่เป็นประสบการณ์จริงของมนุษย์ ถามว่าคุณทำได้ยังไง เขียนได้ยังไง คุณไม่คิดที่จะไปคุยกับคนที่เจ็บปวดเหล่านี้หรือ

Categories: Other

A More Perfect Union, Obama

26 May 2008 Leave a comment

A More Perfect Union, Obama

A More Perfect Union เป็นชื่อของ speech (สุนทรพจน์)
ว่ากันว่า นี่คือหนึ่งใน speech (สุนทรพจน์) ที่ดีที่สุด ของ Barack Obama (บารัค โอบาม่า)
ซึ่ง Barack Obama ได้กล่าว speech นี้เมื่อ 18 มีนาคม 2008
ที่ the National Constitution Center in Philadelphia, Pennsylvania (มลรัฐเพนซิลเวเนีย)

ที่มาที่ไปคร่าวๆ ก็คือ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เห็นด้วย กับ สาธุคุณ Jeremiah A. Wright, Jr.
ซึ่ง สาธุคุณ Wright นี้เป็น นักบวช ที่ตัว Obama ให้ความเคารพ และรู้จักกันมานาน
แต่สาธุคุณคนนี้ ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับสีผิว ที่ค่อนข้างรุนแรง
จนทำให้คะแนนของ Obama ในกลุ่มชนผิวขาว ตกต่ำลงไป

ไม่ว่า speech นี้จะพูดออกมาจากใจจริงหรือไม่อย่างไร
แต่เทียบกับการเมืองไทยในตอนนี้
อ่านแล้วก็ได้แต่ท้อใจ

ประเทศในอีกซีกโลก นักการเมืองพยายามทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกัน
ส่วนประเทศไทย แค่แตกต่างในความคิด ก็แทบจะไม่อยากให้มีชีวิตอยู่
มันน่าท้อใจหรือเหนื่อยใจไหม ที่มีนักการเมือง หรือสื่อกระแสหลักบางสื่อ แบบในประเทศไทยนี้

ฟังหรืออ่าน A More Perfect Union เต็มๆได้ที่นี่

http://my.barackobama.com/page/content/hisownwords
http://www.youtube.com/watch?v=pWe7wTVbLUU
http://en.wikipedia.org/wiki/A_More_Perfect_Union_%28Barack_Obama_speech%29


Remarks of Senator Barack Obama: ‘A More Perfect Union’

March 18, 2008

"We the people, in order to form a more perfect union."

Two hundred and twenty one years ago, in a hall that still stands across the street, a group of men gathered and, with these simple words, launched America’s improbable experiment in democracy. Farmers and scholars; statesmen and patriots who had traveled across an ocean to escape tyranny and persecution finally made real their declaration of independence at a Philadelphia convention that lasted through the spring of 1787.

The document they produced was eventually signed but ultimately unfinished. It was stained by this nation’s original sin of slavery, a question that divided the colonies and brought the convention to a stalemate until the founders chose to allow the slave trade to continue for at least twenty more years, and to leave any final resolution to future generations.

Of course, the answer to the slavery question was already embedded within our Constitution – a Constitution that had at its very core the ideal of equal citizenship under the law; a Constitution that promised its people liberty, and justice, and a union that could be and should be perfected over time.

And yet words on a parchment would not be enough to deliver slaves from bondage, or provide men and women of every color and creed their full rights and obligations as citizens of the United States. What would be needed were Americans in successive generations who were willing to do their part – through protests and struggle, on the streets and in the courts, through a civil war and civil disobedience and always at great risk – to narrow that gap between the promise of our ideals and the reality of their time.

This was one of the tasks we set forth at the beginning of this campaign – to continue the long march of those who came before us, a march for a more just, more equal, more free, more caring and more prosperous America. I chose to run for the presidency at this moment in history because I believe deeply that we cannot solve the challenges of our time unless we solve them together – unless we perfect our union by understanding that we may have different stories, but we hold common hopes; that we may not look the same and we may not have come from the same place, but we all want to move in the same direction – towards a better future for our children and our grandchildren.

This belief comes from my unyielding faith in the decency and generosity of the American people. But it also comes from my own American story.

I am the son of a black man from Kenya and a white woman from Kansas. I was raised with the help of a white grandfather who survived a Depression to serve in Patton’s Army during World War II and a white grandmother who worked on a bomber assembly line at Fort Leavenworth while he was overseas. I’ve gone to some of the best schools in America and lived in one of the world’s poorest nations. I am married to a black American who carries within her the blood of slaves and slaveowners – an inheritance we pass on to our two precious daughters. I have brothers, sisters, nieces, nephews, uncles and cousins, of every race and every hue, scattered across three continents, and for as long as I live, I will never forget that in no other country on Earth is my story even possible.

It’s a story that hasn’t made me the most conventional candidate. But it is a story that has seared into my genetic makeup the idea that this nation is more than the sum of its parts – that out of many, we are truly one.

Throughout the first year of this campaign, against all predictions to the contrary, we saw how hungry the American people were for this message of unity. Despite the temptation to view my candidacy through a purely racial lens, we won commanding victories in states with some of the whitest populations in the country. In South Carolina, where the Confederate Flag still flies, we built a powerful coalition of African Americans and white Americans.

This is not to say that race has not been an issue in the campaign. At various stages in the campaign, some commentators have deemed me either "too black" or "not black enough." We saw racial tensions bubble to the surface during the week before the South Carolina primary. The press has scoured every exit poll for the latest evidence of racial polarization, not just in terms of white and black, but black and brown as well.

And yet, it has only been in the last couple of weeks that the discussion of race in this campaign has taken a particularly divisive turn.

On one end of the spectrum, we’ve heard the implication that my candidacy is somehow an exercise in affirmative action; that it’s based solely on the desire of wide-eyed liberals to purchase racial reconciliation on the cheap. On the other end, we’ve heard my former pastor, Reverend Jeremiah Wright, use incendiary language to express views that have the potential not only to widen the racial divide, but views that denigrate both the greatness and the goodness of our nation; that rightly offend white and black alike.

I have already condemned, in unequivocal terms, the statements of Reverend Wright that have caused such controversy. For some, nagging questions remain. Did I know him to be an occasionally fierce critic of American domestic and foreign policy? Of course. Did I ever hear him make remarks that could be considered controversial while I sat in church? Yes. Did I strongly disagree with many of his political views? Absolutely – just as I’m sure many of you have heard remarks from your pastors, priests, or rabbis with which you strongly disagreed.

But the remarks that have caused this recent firestorm weren’t simply controversial. They weren’t simply a religious leader’s effort to speak out against perceived injustice. Instead, they expressed a profoundly distorted view of this country – a view that sees white racism as endemic, and that elevates what is wrong with America above all that we know is right with America; a view that sees the conflicts in the Middle East as rooted primarily in the actions of stalwart allies like Israel, instead of emanating from the perverse and hateful ideologies of radical Islam.

As such, Reverend Wright’s comments were not only wrong but divisive, divisive at a time when we need unity; racially charged at a time when we need to come together to solve a set of monumental problems – two wars, a terrorist threat, a falling economy, a chronic health care crisis and potentially devastating climate change; problems that are neither black or white or Latino or Asian, but rather problems that confront us all.

Given my background, my politics, and my professed values and ideals, there will no doubt be those for whom my statements of condemnation are not enough. Why associate myself with Reverend Wright in the first place, they may ask? Why not join another church? And I confess that if all that I knew of Reverend Wright were the snippets of those sermons that have run in an endless loop on the television and You Tube, or if Trinity United Church of Christ conformed to the caricatures being peddled by some commentators, there is no doubt that I would react in much the same way

But the truth is, that isn’t all that I know of the man. The man I met more than twenty years ago is a man who helped introduce me to my Christian faith, a man who spoke to me about our obligations to love one another; to care for the sick and lift up the poor. He is a man who served his country as a U.S. Marine; who has studied and lectured at some of the finest universities and seminaries in the country, and who for over thirty years led a church that serves the community by doing God’s work here on Earth – by housing the homeless, ministering to the needy, providing day care services and scholarships and prison ministries, and reaching out to those suffering from HIV/AIDS.

In my first book, Dreams From My Father, I described the experience of my first service at Trinity:

"People began to shout, to rise from their seats and clap and cry out, a forceful wind carrying the reverend’s voice up into the rafters….And in that single note – hope! – I heard something else; at the foot of that cross, inside the thousands of churches across the city, I imagined the stories of ordinary black people merging with the stories of David and Goliath, Moses and Pharaoh, the Christians in the lion’s den, Ezekiel’s field of dry bones. Those stories – of survival, and freedom, and hope – became our story, my story; the blood that had spilled was our blood, the tears our tears; until this black church, on this bright day, seemed once more a vessel carrying the story of a people into future generations and into a larger world. Our trials and triumphs became at once unique and universal, black and more than black; in chronicling our journey, the stories and songs gave us a means to reclaim memories that we didn’t need to feel shame about…memories that all people might study and cherish – and with which we could start to rebuild."

That has been my experience at Trinity. Like other predominantly black churches across the country, Trinity embodies the black community in its entirety – the doctor and the welfare mom, the model student and the former gang-banger. Like other black churches, Trinity’s services are full of raucous laughter and sometimes bawdy humor. They are full of dancing, clapping, screaming and shouting that may seem jarring to the untrained ear. The church contains in full the kindness and cruelty, the fierce intelligence and the shocking ignorance, the struggles and successes, the love and yes, the bitterness and bias that make up the black experience in America.

And this helps explain, perhaps, my relationship with Reverend Wright. As imperfect as he may be, he has been like family to me. He strengthened my faith, officiated my wedding, and baptized my children. Not once in my conversations with him have I heard him talk about any ethnic group in derogatory terms, or treat whites with whom he interacted with anything but courtesy and respect. He contains within him the contradictions – the good and the bad – of the community that he has served diligently for so many years.

I can no more disown him than I can disown the black community. I can no more disown him than I can my white grandmother – a woman who helped raise me, a woman who sacrificed again and again for me, a woman who loves me as much as she loves anything in this world, but a woman who once confessed her fear of black men who passed by her on the street, and who on more than one occasion has uttered racial or ethnic stereotypes that made me cringe.

These people are a part of me. And they are a part of America, this country that I love.

Some will see this as an attempt to justify or excuse comments that are simply inexcusable. I can assure you it is not. I suppose the politically safe thing would be to move on from this episode and just hope that it fades into the woodwork. We can dismiss Reverend Wright as a crank or a demagogue, just as some have dismissed Geraldine Ferraro, in the aftermath of her recent statements, as harboring some deep-seated racial bias.

But race is an issue that I believe this nation cannot afford to ignore right now. We would be making the same mistake that Reverend Wright made in his offending sermons about America – to simplify and stereotype and amplify the negative to the point that it distorts reality.

The fact is that the comments that have been made and the issues that have surfaced over the last few weeks reflect the complexities of race in this country that we’ve never really worked through – a part of our union that we have yet to perfect. And if we walk away now, if we simply retreat into our respective corners, we will never be able to come together and solve challenges like health care, or education, or the need to find good jobs for every American.

Understanding this reality requires a reminder of how we arrived at this point. As William Faulkner once wrote, "The past isn’t dead and buried. In fact, it isn’t even past." We do not need to recite here the history of racial injustice in this country. But we do need to remind ourselves that so many of the disparities that exist in the African-American community today can be directly traced to inequalities passed on from an earlier generation that suffered under the brutal legacy of slavery and Jim Crow.

Segregated schools were, and are, inferior schools; we still haven’t fixed them, fifty years after Brown v. Board of Education, and the inferior education they provided, then and now, helps explain the pervasive achievement gap between today’s black and white students.

Legalized discrimination – where blacks were prevented, often through violence, from owning property, or loans were not granted to African-American business owners, or black homeowners could not access FHA mortgages, or blacks were excluded from unions, or the police force, or fire departments – meant that black families could not amass any meaningful wealth to bequeath to future generations. That history helps explain the wealth and income gap between black and white, and the concentrated pockets of poverty that persists in so many of today’s urban and rural communities.

A lack of economic opportunity among black men, and the shame and frustration that came from not being able to provide for one’s family, contributed to the erosion of black families – a problem that welfare policies for many years may have worsened. And the lack of basic services in so many urban black neighborhoods – parks for kids to play in, police walking the beat, regular garbage pick-up and building code enforcement – all helped create a cycle of violence, blight and neglect that continue to haunt us.

This is the reality in which Reverend Wright and other African-Americans of his generation grew up. They came of age in the late fifties and early sixties, a time when segregation was still the law of the land and opportunity was systematically constricted. What’s remarkable is not how many failed in the face of discrimination, but rather how many men and women overcame the odds; how many were able to make a way out of no way for those like me who would come after them.

But for all those who scratched and clawed their way to get a piece of the American Dream, there were many who didn’t make it – those who were ultimately defeated, in one way or another, by discrimination. That legacy of defeat was passed on to future generations – those young men and increasingly young women who we see standing on street corners or languishing in our prisons, without hope or prospects for the future. Even for those blacks who did make it, questions of race, and racism, continue to define their worldview in fundamental ways. For the men and women of Reverend Wright’s generation, the memories of humiliation and doubt and fear have not gone away; nor has the anger and the bitterness of those years. That anger may not get expressed in public, in front of white co-workers or white friends. But it does find voice in the barbershop or around the kitchen table. At times, that anger is exploited by politicians, to gin up votes along racial lines, or to make up for a politician’s own failings.

And occasionally it finds voice in the church on Sunday morning, in the pulpit and in the pews. The fact that so many people are surprised to hear that anger in some of Reverend Wright’s sermons simply reminds us of the old truism that the most segregated hour in American life occurs on Sunday morning. That anger is not always productive; indeed, all too often it distracts attention from solving real problems; it keeps us from squarely facing our own complicity in our condition, and prevents the African-American community from forging the alliances it needs to bring about real change. But the anger is real; it is powerful; and to simply wish it away, to condemn it without understanding its roots, only serves to widen the chasm of misunderstanding that exists between the races.

In fact, a similar anger exists within segments of the white community. Most working- and middle-class white Americans don’t feel that they have been particularly privileged by their race. Their experience is the immigrant experience – as far as they’re concerned, no one’s handed them anything, they’ve built it from scratch. They’ve worked hard all their lives, many times only to see their jobs shipped overseas or their pension dumped after a lifetime of labor. They are anxious about their futures, and feel their dreams slipping away; in an era of stagnant wages and global competition, opportunity comes to be seen as a zero sum game, in which your dreams come at my expense. So when they are told to bus their children to a school across town; when they hear that an African American is getting an advantage in landing a good job or a spot in a good college because of an injustice that they themselves never committed; when they’re told that their fears about crime in urban neighborhoods are somehow prejudiced, resentment builds over time.

Like the anger within the black community, these resentments aren’t always expressed in polite company. But they have helped shape the political landscape for at least a generation. Anger over welfare and affirmative action helped forge the Reagan Coalition. Politicians routinely exploited fears of crime for their own electoral ends. Talk show hosts and conservative commentators built entire careers unmasking bogus claims of racism while dismissing legitimate discussions of racial injustice and inequality as mere political correctness or reverse racism.

Just as black anger often proved counterproductive, so have these white resentments distracted attention from the real culprits of the middle class squeeze – a corporate culture rife with inside dealing, questionable accounting practices, and short-term greed; a Washington dominated by lobbyists and special interests; economic policies that favor the few over the many. And yet, to wish away the resentments of white Americans, to label them as misguided or even racist, without recognizing they are grounded in legitimate concerns – this too widens the racial divide, and blocks the path to understanding.

This is where we are right now. It’s a racial stalemate we’ve been stuck in for years. Contrary to the claims of some of my critics, black and white, I have never been so naïve as to believe that we can get beyond our racial divisions in a single election cycle, or with a single candidacy – particularly a candidacy as imperfect as my own.

But I have asserted a firm conviction – a conviction rooted in my faith in God and my faith in the American people – that working together we can move beyond some of our old racial wounds, and that in fact we have no choice if we are to continue on the path of a more perfect union.

For the African-American community, that path means embracing the burdens of our past without becoming victims of our past. It means continuing to insist on a full measure of justice in every aspect of American life. But it also means binding our particular grievances – for better health care, and better schools, and better jobs – to the larger aspirations of all Americans — the white woman struggling to break the glass ceiling, the white man whose been laid off, the immigrant trying to feed his family. And it means taking full responsibility for own lives – by demanding more from our fathers, and spending more time with our children, and reading to them, and teaching them that while they may face challenges and discrimination in their own lives, they must never succumb to despair or cynicism; they must always believe that they can write their own destiny.

Ironically, this quintessentially American – and yes, conservative – notion of self-help found frequent expression in Reverend Wright’s sermons. But what my former pastor too often failed to understand is that embarking on a program of self-help also requires a belief that society can change.

The profound mistake of Reverend Wright’s sermons is not that he spoke about racism in our society. It’s that he spoke as if our society was static; as if no progress has been made; as if this country – a country that has made it possible for one of his own members to run for the highest office in the land and build a coalition of white and black; Latino and Asian, rich and poor, young and old — is still irrevocably bound to a tragic past. But what we know — what we have seen – is that America can change. That is the true genius of this nation. What we have already achieved gives us hope – the audacity to hope – for what we can and must achieve tomorrow.

In the white community, the path to a more perfect union means acknowledging that what ails the African-American community does not just exist in the minds of black people; that the legacy of discrimination – and current incidents of discrimination, while less overt than in the past – are real and must be addressed. Not just with words, but with deeds – by investing in our schools and our communities; by enforcing our civil rights laws and ensuring fairness in our criminal justice system; by providing this generation with ladders of opportunity that were unavailable for previous generations. It requires all Americans to realize that your dreams do not have to come at the expense of my dreams; that investing in the health, welfare, and education of black and brown and white children will ultimately help all of America prosper.

In the end, then, what is called for is nothing more, and nothing less, than what all the world’s great religions demand – that we do unto others as we would have them do unto us. Let us be our brother’s keeper, Scripture tells us. Let us be our sister’s keeper. Let us find that common stake we all have in one another, and let our politics reflect that spirit as well.

For we have a choice in this country. We can accept a politics that breeds division, and conflict, and cynicism. We can tackle race only as spectacle – as we did in the OJ trial – or in the wake of tragedy, as we did in the aftermath of Katrina – or as fodder for the nightly news. We can play Reverend Wright’s sermons on every channel, every day and talk about them from now until the election, and make the only question in this campaign whether or not the American people think that I somehow believe or sympathize with his most offensive words. We can pounce on some gaffe by a Hillary supporter as evidence that she’s playing the race card, or we can speculate on whether white men will all flock to John McCain in the general election regardless of his policies.

We can do that.

But if we do, I can tell you that in the next election, we’ll be talking about some other distraction. And then another one. And then another one. And nothing will change.

That is one option. Or, at this moment, in this election, we can come together and say, "Not this time." This time we want to talk about the crumbling schools that are stealing the future of black children and white children and Asian children and Hispanic children and Native American children. This time we want to reject the cynicism that tells us that these kids can’t learn; that those kids who don’t look like us are somebody else’s problem. The children of America are not those kids, they are our kids, and we will not let them fall behind in a 21st century economy. Not this time.

This time we want to talk about how the lines in the Emergency Room are filled with whites and blacks and Hispanics who do not have health care; who don’t have the power on their own to overcome the special interests in Washington, but who can take them on if we do it together.

This time we want to talk about the shuttered mills that once provided a decent life for men and women of every race, and the homes for sale that once belonged to Americans from every religion, every region, every walk of life. This time we want to talk about the fact that the real problem is not that someone who doesn’t look like you might take your job; it’s that the corporation you work for will ship it overseas for nothing more than a profit.

This time we want to talk about the men and women of every color and creed who serve together, and fight together, and bleed together under the same proud flag. We want to talk about how to bring them home from a war that never should’ve been authorized and never should’ve been waged, and we want to talk about how we’ll show our patriotism by caring for them, and their families, and giving them the benefits they have earned.

I would not be running for President if I didn’t believe with all my heart that this is what the vast majority of Americans want for this country. This union may never be perfect, but generation after generation has shown that it can always be perfected. And today, whenever I find myself feeling doubtful or cynical about this possibility, what gives me the most hope is the next generation – the young people whose attitudes and beliefs and openness to change have already made history in this election.

There is one story in particularly that I’d like to leave you with today – a story I told when I had the great honor of speaking on Dr. King’s birthday at his home church, Ebenezer Baptist, in Atlanta.

There is a young, twenty-three year old white woman named Ashley Baia who organized for our campaign in Florence, South Carolina. She had been working to organize a mostly African-American community since the beginning of this campaign, and one day she was at a roundtable discussion where everyone went around telling their story and why they were there.

And Ashley said that when she was nine years old, her mother got cancer. And because she had to miss days of work, she was let go and lost her health care. They had to file for bankruptcy, and that’s when Ashley decided that she had to do something to help her mom.

She knew that food was one of their most expensive costs, and so Ashley convinced her mother that what she really liked and really wanted to eat more than anything else was mustard and relish sandwiches. Because that was the cheapest way to eat.

She did this for a year until her mom got better, and she told everyone at the roundtable that the reason she joined our campaign was so that she could help the millions of other children in the country who want and need to help their parents too.

Now Ashley might have made a different choice. Perhaps somebody told her along the way that the source of her mother’s problems were blacks who were on welfare and too lazy to work, or Hispanics who were coming into the country illegally. But she didn’t. She sought out allies in her fight against injustice.

Anyway, Ashley finishes her story and then goes around the room and asks everyone else why they’re supporting the campaign. They all have different stories and reasons. Many bring up a specific issue. And finally they come to this elderly black man who’s been sitting there quietly the entire time. And Ashley asks him why he’s there. And he does not bring up a specific issue. He does not say health care or the economy. He does not say education or the war. He does not say that he was there because of Barack Obama. He simply says to everyone in the room, "I am here because of Ashley."

"I’m here because of Ashley." By itself, that single moment of recognition between that young white girl and that old black man is not enough. It is not enough to give health care to the sick, or jobs to the jobless, or education to our children.

But it is where we start. It is where our union grows stronger. And as so many generations have come to realize over the course of the two-hundred and twenty one years since a band of patriots signed that document in Philadelphia, that is where the perfection begins.

Categories: News and politics

Midnight University & Democrat Party

23 May 2008 Leave a comment

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกับพรรคประชาธิปัตย์
Midnight University & Democrat Party

ในที่สุดก็ออกมาโต้ตอบซักที
เมื่อ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการที่ชื่อว่า
‘มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกับพรรคประชาธิปัตย์: เสรีภาพกับความโง่เขลา’
ออกมาโต้ตอบพรรคประชาธิปัตย์
จากกรณีนายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ระบุว่า มีเว็บไซต์ 29 เว็บ (29 เวป หมิ่นสถาบัน) ซึ่งส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง
โดยเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที)
แสดงความรับผิดชอบ

รายละเอียดอ่านได้จากข่าวด้านล่าง


มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกับพรรคประชาธิปัตย์: เสรีภาพกับความโง่เขลา

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นรากฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ในอันที่จะทำให้สังคมได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และถกเถียงกันอย่างเสมอภาค
บนรากฐานของเหตุผลและข้อเท็จจริง เพราะในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อน และเต็มไปด้วยความหลากหลายนั้น
การมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา และจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่าง
หากยึดติดกับกรอบคิดที่คับแคบตายตัว จะทำให้มองเห็นทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างจำกัด
และยากจะปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง จนอาจนำพาสังคมไทยไปสู่จุดวิกฤตที่หาทางออกไม่ได้ในที่สุด

เสรีภาพในแสดงความคิดเห็น มิใช่เป็นเพียงการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นการคุ้มครองสังคมมิให้ตกอยู่ในความมืดมิดทางปัญญา
ตลอดจนความกลัวในความเห็นที่แตกต่าง และความขลาดในการเรียนรู้
ด้วยเสรีภาพดังกล่าวนี้เท่านั้น ที่จะทำให้สังคมฉลาดและมีความรู้มากขึ้น มีศักยภาพในการปรับตัวมากขึ้น
และเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง สามารถต่อรองกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตย
โดยไม่มีกำปั้นใหญ่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คอยลงทัณฑ์ผู้ที่คิดเห็นแตกต่างออกไป
อันจะนำไปสู่ความรุนแรงและความแตกร้าวภายในสังคมมากยิ่งขึ้น

มีแต่ผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญาและผู้ที่มัวเมาในอำนาจเท่านั้น ที่พยายามปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอยืนยันในเสรีภาพนี้ และจะต่อสู้อย่างสันติ
จนกว่าการคุกคามหรือละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่ชอบธรรมจะหมดไป

คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


ปชป.เปิดลายแทง"29เว็บ"ล่อแหลม

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6383 ข่าวสดรายวัน

สืบเนื่องจาก คำบรรยายของ นายจักรภพ เพ็ญแข รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ที่กลายเป็นประเด็นร้อนรอการตรวจสอบอยู่ในขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์ขยายผลด้วยการเปิดโปงมี 29 เว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบัน เรียกร้องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ปิดด่วน

วันที่ 20 พ.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงย้ำอีกครั้งพร้อมเปิดรายชื่อทั้ง 29 เว็บไซต์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ขอเรียกร้องให้รมว.ไอซีที ตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ จำนวน 5 เว็บ ที่เป็นประเภทล้มล้างสถาบัน ประกอบด้วย

www.youtube.com/StopleseMajeste เว็บที่แสดงภาพการตัดต่อล้อเลียนที่ไม่เหมาะสม

www.2519me.com เว็บที่มีการปลุกระดมมวลชนให้สร้างเครือข่ายคอมมิวนิสต์ทำลายสถาบัน ภายใต้ชื่อ "สำนักคิดไทยใหม่"

ผมสอบถามเจ้าของเว็บบอกว่าไม่ได้นำเอกสาร ข้อมูล ของสำนักคิดไทยใหม่มาเผยแพร่และไม่รู้เรื่อง เพราะเขาทำเรื่องออทิสติก แต่ก็แปลกใจว่าทำไมมีข้อความที่หมิ่นเหม่นี้เต็มไปหมด

http://hello-siam.blogspot.com เว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์

http://rukchard.blogspot.com มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 โยงใยถึงนายปรีดี พนมยงค์ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟังคลิปเสียงได้ด้วย โดยใช้ชื่อว่า อ.ชีพ ชูชัย

http://chakridynasty.googlepages.com มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 เนื้อความระบุถึงความต้องการล้มสถาบันโดยตรง

ทั้ง 5 เว็บ มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวมานานแล้ว แต่เห็นว่ายังมีการปล่อยให้ลอยนวล ขณะที่รมว.ไอซีที ระบุจะดำเนินการให้เร็วที่สุดใน 7 วัน วันนี้ล่วงเลยมาพอสมควรจึงเรียกร้องให้ไปจัดการ

ขณะที่เว็บลามกเกาหลี เว็บโป๊ต่างๆ กลับสั่งปิดได้ภายใน 2-3 วัน แต่เรื่องแบบนี้ไม่ดำเนินการจึงเกิดความสงสัย และเรียกร้องให้เข้าไปตรวจสอบ

นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์อื่นๆ อีก 24 เว็บ ที่มีการเปิดกระทู้ไว้โดยเจ้าของปล่อยปละละเลย ปล่อยให้มีการตั้งกระทู้พาดพิงถึงบุคคลอื่นจนได้รับความเสียหาย เช่น โจมตีสถาบันองคมนตรี โจมตีพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่แสดงความชื่นชมเชียร์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

เว็บเหล่านี้ ประกอบด้วย

1 http://www.midnightuniv.org/
2 http://www.sameskybooks.org/
3 http://www.prachatai.com/05/th/home/
4 http://www.newskythailand.com
5 http://www.chupong.net/
6 http://www.sapaprachachon.blogspot.com/
7 http://www.pcc-thai.com/web2/
8 http://www.datopido.newsit.es/
9 http://www.serichon.com/
10 http://www.Sapaprachachon.org/index.thml
11 http://s125.photobucket.com/albums/p73/nicolejung99/?
12 http://www.weloveudon.net/
13 http://www.mvnews.net/home.php
14 http://www.cptradio.com/
15 http://www.thaipeoplevoice.org/
16 http://www.nationsiam.com/frontpage/Itemid,1/
17 http://www.arayachon.org/
18 http://www.siamreview.net/
19 http://www.warotah.blogspot.com/
20 http://www.killerpress.wordpress.com/
21 http://www.gunner2007.wordpress.com/
22 http://www.tlt-global.com/web/
23 http://thai-journalist-democratic-front.com/
24 http://www.secondclass111.com/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1

ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเว็บทั่วๆ ไป บางแห่งไม่ได้ตั้งมาเพื่อโจมตีใคร แต่มีคนตั้งกระทู้เข้าไป ทั้งที่มีกติกาห้ามพูดถึงสถาบัน คำหยาบ แต่เจ้าของเว็บละเลยในการตรวจสอบ

ปล่อยให้มีการตั้งกระทู้พาดพิงบุคคลอื่นแบบเสียๆ หายๆ โดยที่ไม่ได้ลบออก บางเว็บพูดถึงสถาบัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รวมถึงการโจมตีพรรคประชาธิปัตย์

ดูจากชื่อเว็บจะเห็นว่าบางแห่งสันนิษฐานได้ว่าเป็น กลุ่มไหน แต่ในทางข้อมูลเจาะไม่ถึงว่าใครเป็นเจ้าของ

สันติบาลคงมีข้อมูล และปล่อยให้หน่วยงานที่มีกลไกตรวจสอบต่อไป เพราะการดำเนินการเรื่องนี้ระมัดระวัง เพราะกระทบกับหลายฝ่ายและไม่อยากให้เป็นประเด็นดึงสถาบันมาเกี่ยวกับการเมือง

ยืนยันการออกมาเปิดประเด็นเรื่องเว็บ ทำในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญหมวด 4 มาตรา 70 ไม่ควรละเลยเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ และไม่ใช่เป็นประเด็นการเมืองแต่ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNekl4TURVMU1RPT0=&sectionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBd09DMHdOUzB5TVE9PQ==


อ่าน blog ก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้อง ’29 เวปไซต์ ที่ ปชป เรียกร้องให้ Block’
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!556.entry

Categories: News and politics

29 เวปไซต์ ที่ ปชป เรียกร้องให้ Block

21 May 2008 Leave a comment

29 เวปไซต์ ที่ ปชป เรียกร้องให้ Block

หลังจากก่อนหน้านี้ มีข่าวออกมาทางผู้จัดการ
ซึ่งเปิดเผยออกมาแค่ 5 เวปไซต์
มาวันนี้ ผมได้รายชื่อมาครบแล้ว
แต่จริงๆ ก็ไม่แน่ใจ ว่าใช่เวปที่ถูกร้องเรียนจริงๆ ทั้งหมดหรือไม่อย่างไร

มีรายชื่อ 29 เวปไซต์ดังนี้

1 http://www.youtube.com/StopleseMajeste
2 http://www.2519me.com
3 http://hello-siam.blogspot.com
4 http://rukchard.blogspot.com
5 http://chakridynasty.googlepages.com
5 http://www.midnightuniv.org
6 http://www.serichon.com
7 http://www.prachatai.com/05/th/home/
8 http://www.sapaprachachon.blogspot.com/
9 http://s125.photobucket.com/albums/p73/nicolejung99/?
10
http://www.weloveudon.net
11 http://www.secondclass111.com/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1
12 http://thai-journalist-democratic-front.com
13 http://www.sameskybooks.org
14 http://www.newskythailand.com
15 http://www.chupong.net/
16 http://www.sapaprachachon.blogspot.com/
17 http://www.pcc-thai.com/web2/
18 http://www.datopido.newsit.es
19 http://thai-journalist-democratic-front.com
20 http://www.Sapaprachachon.org/index.thml
21 http://www.mvnews.net/home.php
22 http://www.cptradio.com
23 http://www.thaipeoplevoice.org
24 http://www.nationsiam.com/frontpage/Itemid,1/
25 http://www.arayachon.org
26 http://www.siamreview.net
27 http://www.warotah.blogspot.com
28 http://www.killerpress.wordpress.com
29 http://www.gunner2007.wordpress.com

เกือบทั้งหมด เป็นเวปไซต์ที่ผมไม่เคยเข้าหรือไม่เคยรู้จักเลย
แต่ที่น่าแปลกใจ ก็เห็นจะเป็น
www.midnightuniv.org หรือ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นั่นเอง

ผมไม่คิดว่า เวปอย่าง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จะอยู่ในรายชื่อพวกนี้ได้ ถ้ารายชื่อดังกล่าวมันเป็นความจริง
เพราะมันแน่นไปด้วยข้อมูลวิชาการมากมาย
ซึ่งผมเคยอ่านครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2544 และติดตามอ่านมาตลอด
ตั้งแต่ที่ทาง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ยังไปขอใช้พื้นที่ฟรีของ Geocities

ดังนั้น ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริงแล้วละก็
ต้องขอไว้อาลัยให้ทัศนคติของคนในพรรค ปชป (พรรคประชาธิปัตย์) 
ที่ไม่สามารถเปิดพื้นที่ให้กับความคิดเห็นที่แตกต่าง แม้แต่ในทางวิชาการ
(ว่าแต่ มันแตกต่างจากอะไรตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัย)

ผมไม่รู้ว่า ทาง ปชป (พรรคประชาธิปัตย์) เอง จะเคยรู้ตัวบ้างไหม
ว่าสิ่งที่ทำอยู่ทุกๆวันนี้ มันสร้างความผิดหวัง ให้กับหลายๆคนที่เคยลงคะแนนเสียงให้
ถ้าคิดว่าดี ก็ทำต่อไป แล้วเลือกตั้งครั้งหน้า ก็คงจะสำนึกได้เอง ว่าประสบความสำเร็จในวิธีเหล่านี้หรือไม่

ไปอ่านบทความเกี่ยวเนื่องได้ที่
‘มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกับพรรคประชาธิปัตย์’ (‘Midnight University & Democrat Party’)
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!557.entry 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง จาก manager.co.th 

ปชป. แฉเครือข่าย 5 เว็บไซต์ จ้องล้มสถาบันกษัตริย์

20 พ.ค.51 นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซด์จำนวน 5 เว็บ ที่เป็นประเภทล้มล้างสถาบัน ประกอบด้วย 1 www.youtube.com/StopleseMajeste ซึ่งเป็นเว็บที่แสดงภาพการตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ ที่ไม่เหมาะสม 2 www.2519me.com เป็นเว็บที่มีการมีการปลุกระดมมวลชนให้สร้างเครือข่ายคอมมิวนิสต์ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้ชื่อ "สำนักคิดไทยใหม่" 3 http://hello-siam.blogspot.com มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ 4 http://rukchard.blogspot.com มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 โดยโยงใยมาถึงนายปรีดี พนมยงค์ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟังคลิปเสียงได้ โดยใช้ชื่อว่า อ.ชีพ ชูชัย และ 5 http://chakridynasty.googlepages.com ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์จักรีตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 โดยในความระบุถึงความต้องการล้มสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง

นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์อื่นๆ อีก 24 เว็บที่มีการเปิดกระทู้ไว้โดยเจ้าของปล่อยปละละเลย ปล่อยให้มีการตั้งกระทู้พาดพิงถึงบุคคลอื่นจนได้รับความเสียหาย เช่น โจมตีสถาบันองคมนตรี โจมตีพรรคประชาธิปัตย์ และชื่นชมเชียร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

"การที่มีคนออกมาเรียกร้องให้ยุติการทำเรื่องสถาบันมาโยงให้เป็นประเด็น การเมืองนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็เห็นด้วย แต่เปรียบเหมือนกับคนที่เห็นไฟไหม้บ้านแล้วพยายามตะโกนบอก แต่มีอีกฝ่ายบอกว่าไม่ควรตะโกน อยากให้ไฟไหม้บ้านหรืออย่างไร แม้ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย บอกว่าจะจัดการและได้เข้าไปดูเว็บไซด์แล้ว แต่ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่คนที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ คือ นายมั่น พัธโนทัย รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะต้องเข้ามาจัดการ ไม่ทราบว่าท่านไปไหน ไม่รู้ว่าตอนนี้เปิดคอมพิวเตอร์เป็นแล้วหรือยัง"

อย่างไรก็ตาม นายเทพไทยืนยันว่า การที่ออกมาเปิดประเด็นนั้น เราทำในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญหมวด 4 มาตรา 70 ไม่ควรละเลยเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ และไม่ใช่เป็นประเด็นการเมือง แต่ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

Categories: News and politics

เมื่อเพลงชาติไทย ไม่ทำให้คนยืน

18 May 2008 Leave a comment

เมื่อเพลงชาติไทย ไม่ทำให้คนยืน

เหตุการณ์เนื่องมาจาก วันอาทิตย์ที่ 17 หรือเมื่อวานนี้
ผมได้ไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งจับกลุ่มลูกค้าระดับ B ถึง B+
ผมไปตั้งแต่เช้าตรู่ 7 นาฬิกากว่าๆ
ถึงกระนั่น ก็ยังมีคนมาใช้บริการกันอย่างพลุกพล่านจนน่าตกใจ
บริเวณที่ผมอยู่นั้น เป็นเหมือนห้องโถง ที่ต่อกันยาวๆ ร่วมร้อยเมตร
แต่ละช่วงห่างกันไม่มาก ก็จะมีจอ LCD TV 32" เปิดทีวีดูไปเรื่อย แต่ละจอ ก็ต่างช่องกันบ้าง

พอถึงเวลา 8.00 AM ก็มีเสียงเพลงชาติดังขึ้นมา
ปรากฎว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยครับ
ไม่ว่าจะเป็น พนักงานของโรงพยาบาล บ้างเข็นรถ บ้างขับรถคันเล็ก บ้างก็ยืนคุย หรือเดินไปมา
หรือผู้ป่วยและญาติ ที่คุยกันบ้าง เดินกันอยู่บ้าง หรือนั่งอ่านหนังสือพิมพ์
ตั้งแต่ห้องโถงแรกสุด ยันท้ายสุด ระยะทางยาวมากพอสมควร
มีคนจำนวนหลายร้อยคนแน่นอน เพราะผมตั้งใจนับคร่าวๆให้เร็วที่สุด

ไม่มีใครยืน ไม่มีใครสนใจกับเพลงชาติ หรืออาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าเพลงที่เปิดคือเพลงชาติ

หรือวาทกรรมรักชาติ ใช้ไม่ได้ในโรงพยาบาลเอกชน
เท่าที่จำได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง นานมากแล้ว เข้าใจว่าร่วม 10 ปีก่อน เคยไปโรงพยาบาลรัฐบาล
ผมเห็นคนยืนกัน ถึงแม้จะมีคนไม่ยืนอยู่บ้าง

สำหรับผม ยืนหรือไม่ยืน ไม่ใช่เรื่องผิดใดๆ
ผมแค่สงสัยว่า การเปิดเพลงชาติทางทีวีเช้าเย็นนั้น
มีความสำคัญจริงๆมากแค่ไหน ปลูกจิตสำนึกอะไรอย่างไร มากเพียงใด
หรือเป็นแค่ผลผลิตตกทอด ที่มาจากยุคที่พยาบาลปลุกกระแสชาตินิยม
เพื่อให้พ้นจากยุคสงครามโลกหรือยุคคอมมิวนิสต์

ผมจำได้ว่า
อ่านในกระทู้ต่างๆ หรือตามคอลัมม์ในหนังสือพิมพ์
กรณีคุณโชติศักดิ์บ้าง กรณีการเขียนชื่อบนธงชาติบ้าง
รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเพลงชาติและเพลงสรรเสริญฯ

การไม่ยืนนี่เป็นเรื่องผิดอย่างใหญ่หลวง ถึงขั้นโดนจับได้ง่ายๆ

นี่เกิดมีใครซักคนบ้าจี้ ไปเรียกตำรวจ
หาว่าที่โรงพยาบาลถือว่าเป็นที่สาธารณะ การเปิดเพลงชาติ แล้วไม่ยืนเป็นความผิด
จะได้เข้าคุกกันไม่เว้น ทั้งคนป่วยคนไม่ป่วย หมอ หรือพยาบาล
ก็คงเป็นเรื่องที่น่าคิดดี ว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นอย่างไร

สมมติว่าเกิดโรงพยาบาลนี้ คุณทักษิณมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น
สื่อบางสื่อ (ที่ไม่น่าจะเรียกตัวเองว่าสื่อ) ก็อาจจะนำไปออกข่าวใหญ่
ว่าโรงพยาบาลที่นี่ สมรู้ร่วมคิด ต้องการล้มสถาบัน อะไรประเภทนี้

ในเมื่อกฎหมายเกิดจากมนุษย์
เมื่อเวลาผ่านไป กฎหมายบางอย่างก็ควรเปลี่ยนแปลง
ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์นั่นเอง (โชคร้าย มนุษย์บางคนไม่สนใจหรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ)
จะมีก็แต่หลักใหญ่ๆอย่างพวกสิทธิมนุษยชน หรือเสรีภาพทางความคิด
ที่เป็นสากล ที่กฎหมายไม่ควรมาแตะต้องหรือมาเปลี่ยนแปลงสร้างข้อจำกัดใดๆ

Categories: News and politics

SameSkyBooks.org was Blocked by ICT

15 May 2008 1 comment

ฟ้าเดียวกัน โดน ICT block
SameSkyBooks.org was Blocked by ICT

ในที่สุด หลายๆคน คงจะสมความปรารถนากันซักที
เมื่อ ICT ได้ block ฟ้าเดียวกัน (
www.sameskybooks.org) เรียบร้อยแล้ว

ปัญหาคือ ไม่ว่าเวปไซต์นั้น จะมีมุมมองความคิดเห็นอะไรอย่างไร
ให้ผู้ชมหรือผู้อ่าน มีสิทธิที่จะตัดสินเนื้อหา ตัดสินที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ
ให้น้ำหนักกับเรื่องต่างๆในเวปนั้นแค่ไหน
ด้วยตัวของผู้อ่านหรือผู้เยี่ยมชมเอง
เป็นทางเลือกที่ดี แต่รัฐไทยไม่เคยทำ

PS อาจจะไม่ใช่ internet ทุก ISP ที่ block ฟ้าเดียวกัน (www.sameskybooks.org) แต่เท่าที่รู้ TOT block ไปแล้ว … ดูได้จากรูปครับ

http://img140.imageshack.us/img140/8485/sameskybooksblockictip1.jpg

Categories: News and politics

สิทธิมนุษยชนกับความเห็นที่แตกต่าง

10 May 2008 1 comment

สิทธิมนุษยชนกับความเห็นที่แตกต่าง
Human Rights and Thinking Differently (Part II)

เสวนาวิชาการ : ‘สิทธิมนุษยชน กับความคิดเห็นที่แตกต่าง’
เมื่อวันที่ 2 พ.ค.51 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์
ซึ่งจัดโดยสถาบันสันติประชาธรรม
โดยมีรายชื่อผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์. นายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยที่ตามกำหนดการเดิมนั้น นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีรายชื่อเป็นผู้ร่วมเสวนาด้วย แต่ได้ขอถอนตัวไป

เนื่องจากผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
แต่ยังใส่รายละเอียดไม่หมด

ในครั้งนี้ ผมนำ file video ที่มี ไปแปลงเป็น audio mp3 แล้วเอามาลงในเวป
ไปฟังเสียงการเสวนากันสดๆได้ที่
อ. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
http://www.oknation.net/blog/NOZ/video/23600
อ. สุลักษณ์ ศิวรักษ์
http://www.oknation.net/blog/NOZ/video/23578
(ยังขาดช่วงที่ คุณ ประวิตร โรจนพฤกษ์ พูดนะครับ)

ส่วนใครขี้เกียจฟัง
ก็อ่านด้านล่างนี้ ซึ่งเป็นการถอดความมาจากการสัมมนานี่เอง โดยเวปไซต์ประชาไท

หมายเหตุ

Blog ภาคแรกที่ผมเขียนเกี่ยวกับ เสวนาวิชาการ : ‘สิทธิมนุษยชน กับความคิดเห็นที่แตกต่าง’ ครับ
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!546.entry

Blog เกี่ยวกับรายการ เมโทรไลฟ์ (Metro Life) ในเครือผู้จัดการ manager.co.th
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!549.entry


สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

1
สังคมที่ทุกคนต้องพูด เห็น เหมือนกันไปหมด
และไม่ต้องการตั้งคำถาม ได้ยินคำถาม ฟังคำตอบ หรือแม้กระทั่งตั้งคำถามไม่ได้
คงมิอาจเรียกว่าเป็นสังคมมนุษย์ได้
เพราะการตั้งคำถามเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง
ของการเป็นมนุษย์

2
ผมฝัน ว่าตนเองหลงหลุดไปในเมืองลับแล ที่ผู้คนเชื่อว่า
เมืองตนนั้นแปลกแตกต่าง มีเอกลักษณ์วิเศษพิสดารกว่าที่อื่น และรักสันติ
แต่ ณ เมืองนั้นผมเห็นผู้คนถูกปลุกระดมจนบ้าคลั่ง
ไล่ล่าฆ่าคนที่เห็นต่างอย่างกระหายเลือด

3
สื่อกระแสหลักจำนวนมากในไทยเลือกที่จะเซ็นเซอร์ตัวเอง 
พวกเขามิเพียงละเลยหน้าที่ที่จะเป็นเวทีเปิดของความเห็นต่าง
ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนโต้เถียงอย่างสันติ
มิหนำซ้ำ ยังนิ่งดูดายกับการที่สื่อเครือข่ายพันธมิตรฯ
พยายามเรียกร้องให้มีการกดทับ ปราบปราม หรือทำร้าย

เรื่องสิทธิมนุษยชนกับความเห็น ประเด็นสำคัญที่ต้องพูดถึงคงเป็นเรื่องของคุณโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญใน โรงหนัง ซึ่งมีความพยายามในการโยงเรื่องนี้เข้ากับอีกคดีหนึ่งของคุณชาญวิทย์ จริยานุกูล ที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีเดียวกัน ผมคิดว่าวันนี้มาพูดเรื่องคุณโชติศักดิ์ก่อน เพราะกรณีคุณชาญวิทย์อาจผูกพันกับอีกหลายเรื่อง

เมื่อพูดถึงคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกรณีคุณโชติศักดิ์ คงต้องเริ่มที่ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ‘เพลงสรรเสริญพระบารมี’ เราต้องเข้าใจว่าโดยธรรมชาติว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงปลุกใจชนิด หนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็มีคนให้ความคือ คุณตติกานต์ เดชชพงศ เขียนบทความไว้ว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีเกิดขึ้นก่อนในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 สมัยที่ชาวฮอลแลนด์ปฏิวัติสเปน ต่อมาก็เกิดเพลงลักษณะเดียวกันที่สดุดีกษัตริย์ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อังกฤษ คือ เพลง God Save the Queen ซึ่งประเพณีการยืนเคารพรูปพระมหากษัตริย์ในอังกฤษเกิดขึ้นในสมัยก่อนนานแล้ว เมื่อฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ก็ต้องเปิดเพลง God Save the king หรือ god save the queen การเริ่มในอังกฤษเริ่มในสมัยชาตินิยม แล้วต่อมาประเพณีนี้ก็แพร่ไปในอาณานิคมของอังกฤษด้วยโลก ซึ่งข้อมูลที่มีมาพบว่าได้ยกเลิกประเพณีไปนานแล้ว ว่ากันว่าเป็นเพราะเมื่อราว 30-40 ปีก่อน พวกนักศึกษาปัญญาชนคัดค้าน ประท้วงโดยการไม่ยืน เมื่อไม่ยืนกันมากเข้ารัฐบาลอังกฤษก็เลิก

ความสำคัญอยู่ที่ว่า จารีตนี้พวกฟาสซิสม์ได้นำไปใช้ด้วย ในเยอรมนีช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยฮิตเลอร์ ในอิตาลียุคของมุสโสลินี และในญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน มีการเปิดเพลงแล้วให้ประชาชนยืนตรงเคารพรูปอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เคารพรูปมุสโสลินี หรือเคารพรูปจักรพรรดิญี่ปุ่น แต่เมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วประเพณีนี้ก็เลิกไป ไม่มีแล้วทั้งในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

กลับมาดูประเทศไทย เราต้องเข้าใจว่าแต่เดิมมา การเคารพกษัตริย์ไม่ใช่การยืน แต่เป็นการหมอบกราบกับพื้น ถ้าขุนนางยืนต่อหน้ากษัตริย์นั่นคือการกระด้างกระเดื่อง เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดังนั้น จารีตการยืนในความหมายเดิมจึงไม่ใช่การเคารพ จนกระทั่งจารีของทางตะวันตกเข้ามาในสังคมไทยประมาณรัชการที่5 จึงยอมให้ขุนนางนั่งเก้าอี้หรือยืนหรือถวายคำนับ เนื่องจากการหมอบกราบดูเป็นเรื่องล้าสมัย ฉะนั้น การยืนเคารพเป็นเรื่องใหม่ เมื่อมีการเปลี่ยนจารีตตามฝรั่ง และหลังจากนั้นราวปี 2430 จึงเริ่มมีการแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีในสมัยรัชกาล5 นั้นเอง โดยก่อนหน้านี้ก็ได้ขอยืมเพลง god save the queen มาใช้ก่อนโดยการบรรเลงเพื่อสดุดีพระมหากษัตริย์ จนมีการแต่งเพลงสรรเสริญเองครั้งแรก ซึ่งก็มีแค่ 4 วรรค คำ ‘ข้าวรพุทธเจ้า’ แล้วมาที่ ‘ธ ประสงค์ใด ……’ เลย แล้วที่เห็นเนื้อยาวขึ้นอย่างในปัจจุบันนั้นแต่งในสมัยรัชการที่ 6 เพิ่มเติมเข้าไป

เพลงนี้ใช้ในพระราชพิธีอย่างเป็นทางการที่ต้องทำแบบตะวันตกเท่านั้น ถ้าเป็นพิธีแบบพราหมณ์ก็ใช้เพลงอื่น จะมีแบบแผนว่าใช้เพลงสรรเสริญเพื่อรับเสด็จ ส่งเสด็จ ใช้ในงานเป็นทางการ ใช้ในงานที่มีผู้แทนพระองค์ ฯ และต้องบรรเลงเพื่อถวายพระเกียรติยศเท่านั้น ดังนั้น การใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีในอดีตเป็นเรื่องของพิธีการในราชสำนักและเป็น เรื่องที่ “ไม่เกี่ยว” กับไพร่เลย เพราะในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นไพร่ห่างไกลกับสถาบันกษัตริย์มาก แม้กระทั่งพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ไพร่ไม่มีสิทธิกลืน มีแต่พวกขุนนางเท่านั้นที่มีสิทธิดื่มได้ ไพร่ต้องภักดีแต่ไม่ต้องอยู่ในพิธีกรรม

การที่มีการจารึกไว้ว่า เพลงสรรเสริญเริ่มใช้ในการแสดงหนังละครก่อน ปี 2475 นั่นไม่จริง มันมีการนำเพลงของตะวันตกมาใช้จริง แต่เท่าที่มีการสอบถามนั้นเป็นการใช้เพลงอื่นเพราะไม่ใช่พิธีในพระราชสำนัก

แล้วใครที่ทำให้เกิดพิธีการยืนตรงแบบนี้ มันเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ราษฎร ประชาชนทั่วไปกลายเป็นเป้าหมาย ต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง เริ่มต้นเมื่อจอมพล ป. ดำเนินนโยบายรัฐนิยม มีแบบแผนให้มีการยืนตรงเคารพเพลงชาติ และยังรวมไปถึงเพลงสรรเสริญด้วยในที่สาธารณะ ดังนั้น จารีตการใส่เพลงสรรเสริญพระบารมีเข้าไปในการแสดงหนัง ละคร น่าจะเริ่มหลังจากนี้ เพราะก่อนหน้านั้นหนังก็เข้ามาฉายน้อย และหลังสงครามโลกจึงเริ่มมีหนังเข้ามาฉายมากขึ้น สถานีวิทยุต่างๆ ก็เริ่มเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี ดังนั้น การฉายหนังสมัยนั้นจึงปิดท้ายด้วยเพลงสรรเสริญ ขอย้ำว่าสมัยนั้นเป็นเพลง ‘ปิดท้าย’ เราจะรู้กันว่าถ้าขึ้น ‘ข่าวอ’ แปลว่าหนังจบ เราไม่เรียกว่า ‘ข้าวอ’ [ข้าวรพุทธเจ้า] แต่เรียก ‘ข่าวอ’

แล้วทำไมเปลี่ยนมาเปิดเพลงนี้ก่อน มันเริ่มช่วงหลัง 14 ตุลา [2516] จนราวปี 2520 ที่เริ่มเกิดความวิตกต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์จากการคุกคามของ พวกสังคมนิยม ชนชั้นนำไทยจึงบีบบังคับให้ประชาชนเคารพมากขึ้น การเปิดเพลงทีหลังมีปัญหาว่าประชาชนพากันเดินออกก่อน ซึ่งคงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเคารพหรือไม่เคารพ จึงตัดปัญหา ดังนั้น ในสมัยธานินทร์ [กรัยวิเชียร] จึงเปลี่ยนเอามาเปิดเพลงก่อนการฉายหนังเพื่อให้ประชาชนยืนเคารพก่อน

อันนี้จะชี้ให้เห็นว่า มีคนไม่ยืนกันมาแล้ว ซึ่งอาจด้วยเหตุผลหลายประการ และการยืนตรงในโรงหนังเป็นจารีตที่มีความเป็นมาเหมือนกันและเป็นความจงใจ แต่เอาเข้าจริงทางปฏิบัติก็บังคับไม่ได้ เพื่อนบางคนที่ต้องการดูหนังและรำคาญไม่อยากยืน ก็จะไปเข้าห้องน้ำเมื่อเปิดเพลงข่าวอ ซึ่งก็คงไม่ท้าทายเท่าที่คุณโชติศักดิ์ทำ ถ้าใครดูหนังบ่อยๆ จะรู้ว่าเมื่อขึ้นโฆษณามือถือดีเทคหรือเอไอเอสในโรงหนังแล้ว ก็จะรู้ว่าจะมีเพลงนี้แล้วก็จะไปเข้าห้องน้ำ

ในต่างประเทศมีการแสดงเจตจำนงในการต่อต้านโดยตรง กรณีของของเพลงชาติอเมริกาก็มีคนไม่ยืนไม่เคารพเพลงชาติ คือ ‘โทนี สมิท’ [นักกีฬาบาสเกตบอลหญิงจากวิทยาลัยแมนฮัตตันวิล]ซึ่งมีเชื้อสายอินเดียนแดง ไม่สามารถจะยืนเคารพเพลงชาติอเมริกาได้ เพราะเป็นการดูถูกชนชาติของเขา

กรณีของโชติศักดิ์สะท้อนให้เห็นปัญหาในไทย 2 ระดับที่สำคัญมาก ระดับที่หนึ่ง อันนี้โยงกับที่ทางผู้จัดเปิดวิทยุผู้จัดการเมื่อสักครู่นี้ ขณะนี้กรณีโชติศักดิ์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง ด้วยการไม่ยืนตรงในโรงหนังแค่นี้กลายเป็นอาวุธทางการเมืองในการโจมตีรัฐบาล สมัคร ทำไมไม่จัดการ โจมตีจักรภพว่าทำไมยอมให้คนใส่เสื้อแบบนี้ออกทีวี โดยเหตุผลแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่งี่เง่า เพราะไม่มีกฎหมายอะไรบังคับ และตัวโชติศักดิ์เองก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับรัฐบาลและจักรภพ เพ็ญแข กระบวนการใส่ร้ายป้ายสีแบบนี้โดยมีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเป็นแกน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้จัดการตอนนี้กลายเป็น “ดาวสยามยุคใหม่” ถ้าเราทราบประวัติศาสตร์ที่ผ่านก็จะรู้ว่าดาวสยามแสดงบทบาทอย่างนี้ในสมัย 6 ตุลาในการใส่ร้ายป้ายสีนักศึกษาโดยใช้ประเด็นสถาบันกษัตริย์ในการโจมตี นักศึกษา วันนี้ไม่มีดาวสยามแล้ว แต่มีผู้จัดการซึ่งพยายามโยงเรื่องโชติศักดิ์ไม่ยืนในโรงหนัง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่คุณสมัครจะมาเป็นนายกฯ รัฐบาลสมัครไม่เคยมาหนุนและโชติศักดิ์ก็เกลียดสมัครที่สุด (หัวเราะ) อะไรประมาณนี้ ขณะที่ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นดาวสยามใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เปลี่ยนเป็นพรรคประชากรไทยยุคเก่า พรรคประชาธิปัตย์ได้หยิบยกเรื่องแบบนี้มาโจมตีสมัคร โจมตีทักษิณ แล้วพยายามโยงว่าเป็นพวกไม่จงรักภักดี

ประเด็น ในขณะนี้จึงไม่ใช่เรื่องการยืนหรือไม่ยืน และไม่ใช่แม้กระทั่งเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การโจมตีของผู้จัดการ หรือของคุณคำนูณ สิทธิสมาน นั้นโจมตีว่า ล้มล้างสถาบัน การไม่ยืนตรงนั้นกลายเป็น หรือใส่เครื่องหมายเท่ากับ การนำไปสู่สาธารณรัฐนิยม ดังนั้น การปลุกระดมอย่างที่เราได้ยินเมื่อกี๊จึงเกิดขึ้น จากการวางเป้าให้ประชาชนเกลียดชังโชติศักดิ์ ไม่ใช่เพราะแค่โชติศักดิ์ไม่ยืนตรง แต่เพราะจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ กลายเป็นเรื่องน่ากลัวมาก

การสร้างกระแสแบบนี้สร้างขึ้นไหม มีการตอบรับไหม ต้องเรียนตามจริงว่า สร้างขึ้น และมีกระแสตอบรับ เพราะขณะนี้ความวิตกอย่างยิ่งของกลุ่มนิยมเจ้า หรือที่เรียกว่า ultra royalist หวาดกลัวมากเรื่องความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่ามาจากกรณีเนปาล สภาพการณ์คล้ายปี 2518 คล้ายๆ เมื่อตอนที่กษัตริย์ลาวถูกโค่น พวกเขารับไม่ได้กับการที่ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ไม่มีกษัตริย์ เพราะเห็นว่าระบบกษัตริย์เป็นระบบที่ดีที่สุด การที่ประเทศอื่นไม่มีกษัตริย์เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ประเทศไทยจึงเป็นกรณีสูงเด่น มีบุญบารมียิ่งกว่าชาติใด ดังนั้น republic จึงไม่ได้คุกคามเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่คุกคามความดีงาม ความพิเศษของสังคมไทยด้วย พวกเขาจะตีความว่าถ้าไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์โลกทั้งโลกของสังคมไทยจะ ต้องพังทลาย ประชาชนไม่มีที่ยึดเหนี่ยว การเป็น republic จึงเป็นเรื่องร้ายแรง เลวร้าย ที่คนไทยทุกคนต้องลุกขึ้นมาปกป้อง รับไม่ได้อย่างเด็ดขาด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

การสร้างกระแสขวาจัดแบบผู้จัดการ การใส่ร้ายป้ายสีทางการเมืองจึงฟังขึ้น และสามารถบวกคะแนนเพิ่มให้กับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ และยิ่งกว่านั้นมันโยงกับการบริหารอันเฉไฉของรัฐบาลสมัครด้วย จริงๆ ไม่ควรจะโยงกัน พูดกันแบบแฟร์ๆ ถ้าเราจะต่อต้านรัฐบาลสมัคร จะให้เกิดปัญญาความรู้กับประชาชน ต้องบอกว่าเขาบริหาร ใช้นโยบายที่ผิด ไม่ถูกต้องยังไง และมีนโยบายที่ดีกว่านี้ยังไง ถ้าพูดแบบนี้สร้างสรรค์ แต่เมื่ออยู่ในโครงสร้างความคิดแบบนี้ การโจมตีแบบนั้นมันไม่พอ สู้โจมตีว่าทักษิณล้มสถาบัน สมัครล้มสถาบันไม่ได้ แบบนี้มีน้ำหนักทางการเมือง หรือพูดตรงๆ ว่า หลอกประชาชนได้ง่ายกว่า แล้วทำอย่างไรถึงจะมีรูปธรรม ก็ต้องหยิบกรณีโชติศักดิ์บ้าง กรณีชาญวิทย์บ้างมาโหมประโคมสร้างกระแส

กระแสนี้จะนำไปสู่การรัฐประหารไหม คิดว่าเขาคิด เพราะวิธีการเบ็ดเสร็จอันเดียวที่จะทำลายรัฐบาลพลังประชาชน หรือรัฐบาลสมัครได้อย่างเฉียบพลันได้ก็คือ การัฐประหาร คนเหล่านี้ไม่ได้คิดว่าต้องปลุกระดม โฆษณาเคลื่อนไหวให้ประชาชนเกลียดชังจนกระทั่งไปโหวตไม่รับรัฐบาลแล้วไป เลือกพรรคอื่น เขาไม่ได้คิดอย่างนั้น คือ ถ้าคิดแบบนั้นก็โอเค ถือว่าแฟร์เพลย์ เป็นประชาธิปไตย แต่เขาต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ไม่ว่าการรัฐประหารหรือการแทรกแซงทางการเมืองโดยตรงโดยสถาบันพระมหา กษัตริย์ก็ตาม และถ้ากรณีที่สองเกิดขึ้นพวกเขาจะต้องรับผิดชอบ

ประเด็นเหล่านี้น่ากลัวมาก เพราะการรณรงค์อย่างที่ว่าทำให้เกิดความคับแคบทางความคิดอย่างมากในสังคมไทย คำขวัญที่ชูว่า ‘การคิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม’ เป็นเรื่องรับไม่ได้ของคนเหล่านี้ เพราะเขาคิดว่าการคิดต่างเรื่องสถาบันนั้นเป็นอาชญากรรมโดยตรง เป็นการละเมิดคุณค่าร่วมของสังคม ละเมิดสิ่งที่คนไทยควรยึดถือร่วมกัน เขาไม่อาจยอมรับในหลักการประชาธิปไตยที่ยึดหลักว่ามนุษย์คิดต่างกันได้ตราบ ใดที่ไม่ไปละเมิดการเคารพนับถือของคนอื่น ความจริงแล้วการนับถือหรือไม่นับถือใครเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างยิ่ง แต่สังคมไทยไม่ยอมรับว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ความคับแคบของสังคมไทยบังคับให้ทุกคนต้องนับถือในสิ่งเดียวกัน ถ้านับถือในสิ่งที่แตกต่างไปยอมไม่ได้

ดังนั้น กรณีของโชติศักดิ์จึงสะท้อนปัญหาใหญ่มากๆ มากไปกว่าการยืนไม่ยืน เพราะพฤติกรรมเช่นนี้กระทบกับกระแสครอบงำความคิด หรือทางทฤษฎีเรียกว่า hegemony ซึ่งก็คือ วัฒนธรรมศักดินา หรือ วัฒนธรรมไพร่ฟ้า ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของกลุ่มนิยมเจ้าที่ตกค้างมาตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ 2475 มีการแบ่งจำแนกคนออกไปโดยแบ่งโดยชาติกำเนิด คุณเกิดมาเป็นเจ้า เกิดมาเป็นไพร่ และมีวัฒนธรรมที่ผูกติดกับคุณ ก้าวก่ายแทรกแซงกันไม่ได้และตายตัวอย่างนั้น คนที่เกิดมาต้องยอมรับลำดับชั้นที่เกิดมา ความเสมอภาคทางสังคมจึงเป็นไปไม่ได้

หลังปี 2475 มีความพยามจะเลิกการแบ่งแยกตรงนั้น เลิกสิทธิโดยชาติกำเนิด ฐานันดร แต่กระแสนิยมเจ้าได้ฟื้นตัวกลับตั้งแต่ปี 2490 แล้วทำลายดอกผลของการปฏิวัติ 2475 แล้วนำสังคมไทยมาสู่ถอยหลังลงคลอง วัฒนธรรมไพร่ฟ้าถูกรื้อคืนขึ้นมา ประชาชนก็ถูกปฏิบัติ หรือคงรักษาให้อยู่ในสถานะคล้ายๆ กับเป็นไพร่ต่อไป อิทธิพลแบบนี้เองเป็นภัยร้ายแรงทางความคิด และเป็นสถานการณ์ทางความคิดของประชาชน ขอสรุปแบบนี้

วัฒนธรรมไพร่ฟ้า หรือวัฒนธรรมศักดินา ก่อให้เกิดอันตราย หรือภัยร้ายต่อสังคมไทย อย่างน้อย 4 ประเด็น

1 ทำให้แนวความคิดเรื่องความเสมอภาคกันระหว่างมนุษย์เป็นไปไม่ได้ คุณต้องยอมรับว่าจะต้องมีมนุษย์บางกลุ่มอยู่ในสถานะที่สูงกว่าประชาชนโดยทั่วไป

2 เรื่องนี้ตอบคำถามว่า ทำไมประชาธิปไตยในเมืองไทยจึงล้มลุกคลุกคลาน เพราะรากวัฒนธรรมศักดินานั้นทำลายการเมืองแบบประชาธิปไตย เพราะหลักการสำคัญของประชาธิปไตยนั้นอำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน ประชาชนต้องใช้อำนาจนั้น แต่ในสังคมไทย แนวคิดเราถูกทำให้ยอมรับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทานอำนาจนั้นแก่ประชาชน ดังนั้น ประชาชนไทย หรือกลุ่มที่คิดแบบนี้ยังคิดแบบสมบูรณาญาสิทธิราช และพร้อมเสมอในการถวายพระราชอำนาจคืน

3 แนวความคิดศักดินาทำลายแนวความคิดรัฐประชาชาติสมัยใหม่ เพราะรัฐประชาชาติสมัยใหม่นั้นประชาชนทุกคนต้องเป็นเจ้าของประเทศโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเจ้าหรือไพร่ หนึ่งเสียงในประเทศนี้เท่ากัน แต่แนวคิดศักดินาทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้อาศัยภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ในกรณีโชติศักดิ์จึงมีคนพูดว่าถ้าคิดอย่างนั้นก็ต้องไปอยู่ประเทศอื่น เบื้องหลังการพูดแบบนี้ก็คือความเชื่อที่ว่ารัฐประชาชาติไทยไม่ได้เป็นของ ประชาชนแต่เป็นของพระมหากษัตริย์ ประชาชนเป็นเพียงผู้อาศัย

4 ประชาชนไทยจะคุ้นกับการคิดด้านเดียว เห็นภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ในอดีตเพียงด้านดีด้านเดียว พระมหากษัตริย์ทั้งหลายเป็นผู้มีบุญบารมี มีความสามารถรอบด้าน ซึ่งต้องย้ำว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะมีด้านดีด้านเดียวเช่นนี้ เป็นความคิดที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง และเมื่อคนไทยรับความคิดแบบนี้ เมื่อมีคนเสนออีกด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องรับไม่ได้

ประเด็นที่ผมชี้แจงมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหญ่กว่าการที่โชติศักดิ์ยืนหรือไม่ยืน และที่จริงมันใหญ่กว่าแม้กระทั่งการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อให้ไม่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย ก็มีกำแพงความคิดจากการครอบงำ ทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างปราศจากเหตุผล อย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกรณี 6 ตุลา [2519] รวมทั้งลุกขึ้นมาทำลายอะไรหรือใครก็ได้ที่เขาคิดว่าเป็นภัย โดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองเลย กรณีเหล่านี้เองที่คุกคามภาวะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างยิ่ง


ประวิตร โรจนพฤกษ์
ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น (The Nation)

1
สังคมที่ทุกคนต้องพูด เห็น เหมือนกันไปหมด
และไม่ต้องการตั้งคำถาม ได้ยินคำถาม ฟังคำตอบ หรือแม้กระทั่งตั้งคำถามไม่ได้
คงมิอาจเรียกว่าเป็นสังคมมนุษย์ได้
เพราะการตั้งคำถามเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง
ของการเป็นมนุษย์

2
ผมฝัน ว่าตนเองหลงหลุดไปในเมืองลับแล ที่ผู้คนเชื่อว่า
เมืองตนนั้นแปลกแตกต่าง มีเอกลักษณ์วิเศษพิสดารกว่าที่อื่น และรักสันติ
แต่ ณ เมืองนั้นผมเห็นผู้คนถูกปลุกระดมจนบ้าคลั่ง
ไล่ล่าฆ่าคนที่เห็นต่างอย่างกระหายเลือด

3
สื่อกระแสหลักจำนวนมากในไทยเลือกที่จะเซ็นเซอร์ตัวเอง 
พวกเขามิเพียงละเลยหน้าที่ที่จะเป็นเวทีเปิดของความเห็นต่าง
ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนโต้เถียงอย่างสันติ
มิหนำซ้ำ ยังนิ่งดูดายกับการที่สื่อเครือข่ายพันธมิตรฯ
พยายามเรียกร้องให้มีการกดทับ ปราบปราม หรือทำร้าย

ต้องขอออกตัวว่า ที่มาพูดที่นี่ไม่ได้มาในนามหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น แม้ว่าผมจะทำงานอยู่ที่นั่น และสิ่งที่ผมจะเสนอก็อาจจะต้องหรือต่างกับความเห็นของคนในหนังสือพิมพ์บ้างก็แล้วแต่

ประเด็นนี้เตรียมมาอ่านเป็บบทความสั้นๆ ขอตั้งชื่อบทความว่า ‘คำถามต่อสังคมที่มิต้องการคำถาม’

….ไม่ว่าผู้ฟังจะเห็นด้วย หรือไม่กับนายโชติศักดิ์ อ่อนสูง กรณีนายโชติศักดิ์ ผู้ไม่ยอมยืนระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนัง ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามในสังคมว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน

ปฏิกิริยามีทั้งเห็นใจ ชื่นชม รวมถึงโกรธแค้น เกลียดชัง และต้องการทำร้ายหรือแม้กระทั่งประชาทัณฑ์เข่นฆ่านายโชติศักดิ์

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในจังหวะที่สถาบันกษัตริย์กำลังถูกนำมาอ้าง เพื่อผลประโยชน์ในการต่อสู้ทางการเมือง โดยกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ และสื่ออย่าง ASTV นสพ.ผู้จัดการ วิทยุผู้จัดการ อย่างที่ท่านผู้ฟังได้ฟังตอนต้น หรือที่ถูกเรียกขานนามว่าเป็น ดาวสยามยุคใหม่ หรือเรียกว่า ดาวสยามยุคดิจิตอลอาจจะดีกว่า

ก่อนอื่นผู้พูดอยากให้พิจารณาข้อเท็จจริงบางประการ เช่น นายโชติศักดิ์กับเพื่อนหญิง หลังจากที่ไม่ยืน ถูกทำร้ายร่างกายในโรงหนัง และตัวนายโชติศักดิ์เองเป็นผู้โทรศัพท์ เรียกให้ตำรวจเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ และการฟ้องเกิดขึ้นหลังจากที่นายโชติศักดิ์ไม่ยอมถอนฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายแก่นายนวมินทร์ นายโชติศักดิ์เท่าที่ผมทราบ ไม่ใช่สมาชิก นปก. หรือ นปช. และก็ไม่สู้จะชื่นชอบนายทักษิณ ชินวัตร

แต่ก็มิวายที่สื่อที่ไร้ความรับผิดชอบอย่าง นสพ.ผู้จัดการและ ASTV พยายามที่จะจับแพะชนแกะ ปลุกผีให้ผู้คนคลุ้มคลั่งเกลียดชังนายโชติศักดิ์ และถึงแม้นายโชติศักดิ์จะได้เขียนจดหมายร้องเรียนพยายามอธิบายตนเองแก่ นสพ.ผู้จัดการ แต่ก็ดูเหมือนจะมิได้รับแม้กระทั่งโอกาส ที่จะมีพื้นที่ชี้แจงความเห็นต่างและจุดยืนตัวเองใน นสพ. ฉบับนั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงอาทิตย์กว่าที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาถึงความเห็นทำนองต้องการประชาทัณฑ์ หรือแม้กระทั่งฆ่านายโชติศักดิ์นั้น ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบาก หรือแม้กระทั่งความล้มเหลวของสังคมไทย ที่จะถกพูดหรือตั้งคำถามเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างปกติ โดยมิต้องกระหายเลือด ขาดสติหรือเอียงไปทางขั้วใดขั้วหนึ่งอย่างสุดกู่

สังคมที่คนเห็นต่างมิสามารถ แม้เพียงแต่จะมีที่ยืน (หรือที่นั่งในกรณีนี้) หรือตั้งคำถามโดยข้อเขียนหรือการกระทำ แถมยังถูกทำให้เป็นอาชญากรทั้งทางกฎหมายและสังคม และโดยที่น่ากลัวกว่านั้น คือ ผู้คนจำนวนมิน้อยกลับเห็นชอบและชื่นชม คำถามคือ ควรเรียกสังคมเช่นนี้ว่าสังคมอะไร?

การตั้งคำถาม หากกระทำมิได้กับบางเรื่อง ย่อมต้องมีผลต่อทักษะในการตั้งคำถามเรื่องอื่นๆ ในชีวิตด้วย และมีผลต่อระดับสติปัญญา ความเข้าใจรับรู้ของผู้คนในสังคมนั้น

สื่อกระแสหลักจำนวนมากในไทยเลือกที่จะเซ็นเซอร์ตัวเองเกี่ยวกับกรณีข่าวนี้ ซึ่งรวมถึง นสพ.เดอะเนชั่น พวกเขามิเพียงละเลยหน้าที่ที่จะเป็นเวทีเปิดของความเห็นต่างอันมีอยู่หลากหลาย ซึ่งเป็นธรรมดาปกติของสังคมมนุษย์ ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนโต้เถียงอย่างสันติ มิหนำซ้ำ ยังนิ่งดูดายกับการที่สื่อเครือข่ายพันธมิตรฯ พยายามเรียกร้องให้มีการกดทับ ปราบปราม หรือทำร้าย และไม่เปิดให้พื้นที่ความเห็นหรือคำถามต่างๆ ที่แตกต่างมีที่ทาง

สังคมที่ทุกคนต้องพูด เห็น เหมือนกันไปหมด และไม่ต้องการตั้งคำถาม ได้ยินคำถาม ฟังคำตอบ หรือแม้กระทั่งตั้งคำถามไม่ได้ คงมิอาจเรียกว่าเป็นสังคมมนุษย์ได้ เพราะการตั้งคำถามเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งอย่างหนึ่งของการเป็นมนุษย์

สังคมที่ขาดความหลากหลาย หรือทำลายความหลากหลาย ย่อมมิต่างอะไรจากพืชไร่เชิงเดี่ยวที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความเสี่ยงสูง แมลงลงทีเดียวอาจกวาดกินพืชจนหมดไร่ได้ เช่นนี้เปรียบได้กับสังคมที่ผู้คนถูกบังคับให้คิดเห็นไปในทางเดียวกันหมด

แน่นอนวัฒนธรรมอุปถัมภ์ทำให้คนจำนวนมากรู้สึกอบอุ่นผูกพัน ประชาชนจำนวนหนึ่งจึงรู้สึกโกรธแค้น และอาฆาตนายโชติศักดิ์ เพราะรู้สึกถูกละเมิด แต่ความอาฆาต หรือแม้กระทั่งความกระหายเลือด คือด้านมืดของวัฒนธรรมอุปถัมภ์

การเขียนข้อความด่าทอนายโชติศักดิ์ทางเว็บ การแสดงความเห็นทำนองเดียวกันทางวิทยุอย่างที่ได้รับฟังมา โดยไม่พยายามโต้เถียงต่างมุม คือความล้มเหลวของผู้คนในสังคมที่จะเผชิญหน้ากับความต่างด้วยเหตุผลและสติอย่างสันติ

หลายคนโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ประชาไท หรือฟ้าเดียวกัน ฯลฯ ว่านายโชติศักดิ์ ไม่ใช่คนไทยบ้าง ควรไปอยู่พม่า เขมร หรือจีนบ้าง บางคนเรียกโชติศักดิ์เป็น “โชติสัตว์” ดั่งมิใช่มนุษย์ เหล่านี้คือการสร้าง “ความเป็นอื่น” และทำลายความเป็นมนุษย์ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนที่อยากทำร้ายร่างกายนายโชติศักดิ์ไม่ต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป และผู้คนเหล่านี้จะได้สามารถกระทำรุนแรงต่อนายโชติศักดิ์เยี่ยงสัตว์ได้

เรื่องทำนองนี้ก็เคยเกิดขึ้นแล้วในเมืองไทยในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 หรือในตะวันตก ยุคยุโรปตอนกลางหรือยุคมืดที่ผู้คนที่ถูกกล่าวหา หรือไม่ยอมเชื่อคริสต์ศาสนาถูกเข่นฆ่า

หรือนี่คือสังคมไทย สังคมพุทธที่มี ‘ความสงบ’ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่โดยคนหมู่มาก ลิดรอนมิให้คนจำนวนหนึ่งที่เห็นต่างสามารถคิดและตั้งคำถามกับสังคม และเป็นสังคมที่มิต้องการคำถามหรือคำตอบหรือคำอธิบายใดๆ อย่างแท้จริง

ป.ล. เมื่อคืนวันก่อนผมฝัน ว่าตนเองหลงหลุดไปในเมืองลับแล ที่ผู้คนเชื่อว่า เมืองตนนั้นแปลกแตกต่าง มีเอกลักษณ์วิเศษพิสดารกว่าที่อื่น และรักสันติ แต่ ณ เมืองนั้นผมเห็นผู้คนถูกปลุกระดมจนบ้าคลั่ง ไล่ล่าฆ่าคนที่เห็นต่างอย่างกระหายเลือด ชายคนหนึ่งถูกเตะทุบตีครั้งแล้ว ครั้งเล่า จนสิ้นลมหายใจ

ผู้คนสงสัยว่า ทำไมเหยื่อไม่ยอมประพฤติปฎิบัติเหมือนคนส่วนมาก และเขาไม่กลัวคุกกลัวตะราง หรือแม้กระทั่งห่วงชีวิตตนเองหรืออย่างไร เขาคงกลัวคุก แต่เขาคงทนคุกแห่งสามัญสำนึกที่ถูกผู้คนและสังคมยัดเยียดให้เขาต่อไปไม่ไหวกระมัง

ในเมืองลับแลนี้ การไล่ล่าฆ่าผู้เห็นต่างเกิดขึ้นเป็นระยะๆ จนในที่สุดผู้คนที่เห็นต่างหมดไปจากสังคม และผู้คนในเมืองลับแลก็มิต้องคิดแลกเปลี่ยนความเห็นหรือถกเถียงประเด็นอะไรกันอีกต่อไป เพราะทุกคนคิดเห็นเหมือนกันไปหมดแล้ว

มันเป็นฝันร้ายที่ดูเสมือนจริงยิ่งนัก แต่หลังจากตื่นขึ้น ข้าพเจ้าก็ตระหนักว่าบางครั้ง โลกแห่งความจริงมันน่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่าฝันร้ายเสียอีก และคุณจะตื่นขึ้นก็ไม่ได้อีกต่างหาก หลายคนจึงยอมอยู่ในโลกแห่งฝันร้ายต่อไป


สุลักษณ์ ศิวรักษ์

นามปากกา ส. ศิวรักษ์, เป็นนักคิด นักเขียนชั้นแนวหน้าของประเทศไทย
ได้รับ รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล ในปี พ.ศ. 2538

(
www.sulak-sivaraksa.org)

1
เราต้องรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้
แต่รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เพื่ออยู่ฝ่ายราษฎร

2
ถ้าเรารักสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้
ไม่แน่ใจว่าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์จริงๆ หรือเปล่า
หรือต้องการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ตนเอง
จะเล่นกับทักษิณ ถ้าเก่งจริงก็ควรเล่นกันตัวต่อตัว
อย่าดึงข้างบนมาเล่น

3
เวลานี้ความกลัวสะกดคนไทยมาก โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไปโยงกับความกลัว
เราต้องสลัดทิ้งและมีความกล้าหาญทางจริยธรรม
สื่อมวลชนไม่มีแม้ซักฉบับเดียวที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
ไม่กล้าพูดความจริง หากินกับโฆษณา

ผมจะพยายามพูดให้คุณประวิตรหายจากฝันร้าย แต่ก่อนพูดในทางบวกต้องพูดหยิกเล็บให้เจ็บเนื้อเล็กน้อยว่า ผู้พูดทั้งหมดวันนี้เป็นผู้ชายทั้งนั้น และเอ่ยถึงแต่โชติศักดิ์ ทำไมไม่เอ่ยถึงชุติมา เพ็ญภาค บ้าง ผู้หญิงหายไปไหน

อาจารย์ สุธาชัยให้ความรู้ดีมากในทางประวัติศาสตร์ แต่อยากจะออกความเห็นที่ต่างไปเล็กน้อย เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีเล่นนั้นได้เล่นในโรงมหรสพก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีข้อมูลชัดเจนในหนังสือเรื่อง State Ceremony of Siam บรรยายพิธีกรรมของฝ่ายรัฐสมัยรัชการที่ 7 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า มียายแก่คนหนึ่งไม่ยืนขึ้นเคารพตอนเพลงสรรเสริญพระบารมี ถูกตำรวจจับ เวลานั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงอยู่ ณ ที่นั้นด้วยได้ตรัสให้ปล่อยทันที เพราะธรรมเนียมการยืนนั้นไม่เคยใช้ เราเพิ่งไปเอาอย่างฝรั่ง ยายแก่จะไปรู้อะไร

เรื่องชนชั้นศักดินา อาจารย์สุธาชัยอธิบายได้มีประโยชน์มากแต่ขอติงว่าตึงเกินไปนิด ในสังคมไทยไม่ถึงขั้นเป็นระบบวรรณะแบบของพราหมณ์ พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบัน และพระเชษฐาธิราชก็มีพระมารดาเป็นไพร่ รัชกาลที่ 3 ก็มีพระมารดาเป็นไพร่ เจ้าพระยายมราชเป็นเสนาบดี ได้สุพรรณบัตรสูงสุดในบรรดาขุนนางก็เป็นไพร่ อีกนัยยะหนึ่งแปลว่าสังคมไทยมีการเลื่อนสถานะพอสมควร ปฏิวัติ 2475 ต้องการเปลี่ยนอันนี้แต่ก็ล้มเหลว

ประเด็นวันนี้เรื่องสิทธิมนุษยชนกับความคิดที่แตกต่าง เราจะต้องเห็นบุญคุณของทั้งสองซึ่งจุดชนวนให้เห็นว่า สิทธิมนุษยชนและความคิดที่แตกต่างสำคัญ เหมือนที่เราต้องสำนึกในบุญคุณของคนที่ต่อต้านกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นใน เดือนสิงหาคมนี้ เป็นครั้งแรกที่คนทั่วโลกแลเห็นว่ากีฬาโอลิมปิคเป็นเครื่องมือของจักรวรรดิ นิยม และมันหากินรับใช้ใกล้ชิดกับบรรษัทข้ามชาติ ผมเชื่อว่าต่อไปบรรษัทข้ามชาติและจีนจะต้องเปลี่ยน

เช่นเดียวกันควาฝันร้ายของคุณประวิตรจะต้องเปลี่ยนถ้าเราตีประเด็นให้ชัด เรื่องนี้มี 2 ประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องคือ 1. ความเลวร้ายของสื่อกระแสหลักในสังคมไทย ไม่ใช่เฉพาะผู้จัดการอย่างเดียว แต่เดอะ เนชั่นของคุณประวิตรก็เลวร้าย มิหนำซ้ำบรรณาธิการใหญ่ของเดอะ เนชั่นจะได้รับรางวัลศรีบูรพาปีนี้อีกด้วย คุณศรีบูรพาเป็นนักหนังสือพิมพ์คนสุดท้ายของไทยที่ยืดหยัดอยู่ฝ่าย สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และคนยากไร้ ซึ่งบรรณาธิการของเดอะ เนชั่น ไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้ แล้วยังสามารถพูดโกหกคำโต เช่น เขียนว่าไปหาท่านติช นัท ฮันห์ เป็นครูบาอาจารย์เก่าทั้งที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ความเลวร้ายก็ไม่ได้มีเฉพาะผู้จัดการ มติชน หนังสือพิมพ์คุณภาพเองก็เลวร้ายพอกัน คุณขรรค์ชัย บุนปาน สั่งไม่ให้ลงเรื่องของ ส.ศิวรักษ์ แต่ไม่มีสื่อฉบับไหนเลยที่เล่นงานมติชน เล่นงานผู้จัดการ เพราะมันเลวร้ายกันทั้งนั้น พร้อมที่จะพูดอาสัตย์ ไม่พูดความจริง ไม่มีจุดยืนในทางสัจธรรม จริยธรรม เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน…ทุกฉบับ

ในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมมีความเห็นว่า สถาบันนี้จะอยู่ได้ก็ต้องเหมือนทุกสถาบัน รวมทั้งสถาบันหนังสือพิมพ์ คือ ต้องเปิดเผย โปร่งใส วิพากษ์วิจารณ์ได้ พระเจ้าแผ่นดินจะต้องเป็นมนุษย์ธรรมดาเหมือนเราทั้งหลาย เป็นสมมติเทวราชไม่ใช่เป็นเทวราช และในสมัยศักดินา พระเจ้าแผ่นดินอยู่ใต้อำนาจขุนนาง โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชการที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 5 เวลานี้กำลังจะเอากลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิ์ ถ้าเราไม่แก้ตรงนี้ก็จะพัง ผมพูดด้วยความจงรักภักดีและพร้อมที่จะติดคุกถ้าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

คนที่เห็นคุณค่าของการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ พูดอย่างไม่เกรงใจคือ ในสังคมไทยมีน้อย บางคนไม่พอใจอยากให้ล้มเลย แต่ไม่กล้าพูดดังๆ เพราะกลัว ซึ่งความกลัวเป็นอคติอย่างหนึ่งที่อันตรายมาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอคติมี 4 ประการ รัก หลง เกลียดและกลัว เวลานี้ความกลัวสะกดคนไทยมาก โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไปโยงกับความกลัว เราต้องสลัดทิ้งและมีความกล้าหาญทางจริยธรรม สื่อมวลชนไม่มีแม้ซักฉบับเดียวที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่กล้าพูดความจริง หากินกับโฆษณา

คุณประวิตรเองแม้จะอยู่ในสื่อกระแสหลัก แต่ก็เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ไปลงเว็บไซต์ประชาไทบ้าง ฟ้าเดียวกันบ้าง ฯ สื่อนอกกระแสหลักเหล่านี้เคารพความแตกต่าง แม้ประชาไท แม้ฟ้าเดียวกันก็ด่านายโชติศักดิ์ได้ ด่า ส.ศิวรักษ์ก็ได้ และด้วยความเคารพ ด่าเบื้องสูงก็ได้ อันนี้จะทำให้เบื้องสูงอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ถ้าเรารักสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่แน่ใจว่าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์จริงๆ หรือเปล่าหรือต้องการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ตนเอง จะเล่นกับทักษิณ ถ้าเก่งจริงก็ควรเล่นกันตัวต่อตัว อย่าดึงข้างบนมาเล่น แล้วที่ร้ายยิ่งกว่านั้นคุณมาเล่นงานเด็ก ตัวเล็กๆ เลวร้ายที่สุด แล้ววิธีที่เล่นงานคนที่ไม่มีความผิด เราทำมาตั้งแต่เล่นงานปรีดี พนมยงค์ 2490 สร้างให้ปรีดีเป็นคนเลวร้ายได้ ทำให้คุณเตียง ศิริขันธ์ ซึ่งเป็นคนสำคัญในขบวนการประชาธิปไตยถูกฆ่าแล้วไม่มีใครรู้สึกอะไรเลย หรือย่างที่เกิดกับกรณี 6 ตุลา

ผมว่าเราต้องเลิกกันได้แล้ว แต่สื่อกระแสหลักยังไม่เลิก การศึกษาในสถาบันการศึกษาหลักยังไม่เลิก รวมทั้งสถาบันของอาจารย์สุธาชัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย หรือที่ธรรมศาสตร์แห่งนี้ ซึ่งอธิการบดีสั่งให้คณบดีมาปิดห้องสัมมนานี้แล้วด้วยซ้ำ ถ้าข่าวที่ได้มาไม่จริงจะยอมขอโทษ และอธิการบดีคนนี้ได้เคยบอกด้วยว่า ประชาธิปไตยไทยเติบโตมาในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อธรรมศาสตร์เป็นสถาบันพระปกเกล้า ถ้าเราไม่กล้าพูดความจริงและไม่มีหิริโอตตัปปะในการพูดความจริง แล้วศักดิ์ศรีนักวิชาการ ศักดิ์ศรีสื่อมวลชน จะอยู่ตรงไหน

ผมเพิ่งไปดูโอเปราที่นิวยอร์คเกี่ยวกับคานธี คานธีใช้สัจวาจาเอาชนะจักรวรรดิอังกฤษได้ เวลานี้ในสหรัฐอเมริกาคนกำลังเห็นแล้วว่าสิ่งที่บุชทำนั้นเลวร้าย สื่อกระแสหลักก็มอมเมา แล้ววันที่ 13 วัน สงกรานต์ ผมพูดร่วมกับอีกหลายท่านในวัดใหญ่ที่สุดในนิวยอร์ค เราเห็นกันเลยว่าคนที่อื่นๆ ก็ฝันร้ายเหมือนกัน เพราะทุนนิยมบริโภคนิยมทำให้เราเห็นอาสัตย์กลายเป็นสัจจะ ให้เห็นความรุนแรงสำคัญกว่าสันติวิธี

เราต้องรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ แต่รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เพื่ออยู่ฝ่ายราษฎร ถ้อยคำตอนสุดท้ายของเพลงสรรเสริญพระบารมีเหมาะหรือไม่เหมาะอย่างไร ที่ว่า ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจจะถวายชัย ชโย…… ถ้า พระประสงค์ใด เช่น ประสงค์ในทางสร้างเขื่อนไม่รู้จักหยุดก็แย่แน่ ประสงค์จะมีอำนาจเต็มที่ก็แย่แน่ แต่พระประสงค์ใดเพื่อประโยชน์ของราษฎร จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัยเพื่อรับใช้ราษฎร รับใช้สัจธรรม ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณประวิตรก็คงจะหายจากการฝันร้าย

 

Categories: News and politics

Metro Life วิทยุยานเกราะยุคดิจิตอล

9 May 2008 Leave a comment

Metro Life วิทยุยานเกราะยุคดิจิตอล, manager.co.th

ไม่น่าเชื่อครับ
ว่าจะมีรายการวิทยุแบบนี้

เป็นรายการเมโทรไลฟ์ Metro Life ในเครือผู้จัดการ manager.co.th
บางคนแซวว่าเป็น วิทยุยานเกราะยุคดิจิตอล ซึ่งวิทยุยานเกราะ เป็นคลื่นที่มีบทบาทอย่างสูงในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19
ล่าสุด รายการ 2 วันดังกล่าว ได้ถูกนำเอาออกจาก เวปไซต์ในเครือผู้จัดการ
ยังดีที่ผมมีเก็บไว้

รายการวิทยุ Metro Life ออกอากาศในกรุงเทพฯ เวลา 21.30 น. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551
มีการหยิบยกประเด็นงานเสวนาที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม
หัวข้อสิทธิมนุษยชนกับความเห็นที่แตกต่าง
ซึ่งในงานนี้ ก็ได้มีการเชิญวิทยากรจำนวนมากมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น
ซึ่งในรายการก็มีการเชิญชวนผู้ฟังรายการให้มาร่วมงานเสวนางานนี้ โดยผู้ดำเนินรายการ 2 คน

ตามที่ผมได้เคยเสนอไป อ่านได้ที่
Human Rights and Thinking Differently
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!546.entry
ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ของคุณโชติศักดิ์ อ่อนสูง และคุณชุติมา เพ็ญภาค ด้วย

เนื้อหาส่วนหนึ่งของรายการ Metro Life เป็นดังนี้

ผู้ดำเนินรายการ 1 : วันศุกร์นะฮะ ห้องประชุม 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปอวยพรเขาหน่อย

ผู้ดำเนินรายการ 2 : ศุกร์ที่ 2 นี้นะฮะ ศุกร์ที่ 2 นี้นะฮะ (พูดเน้นเสียง) ใครที่อยากเจอโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ที่ใส่เสื้อ "คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร" ผมอยากให้ไปกันนะฮะ งานนี้ใครจะไปผมไม่สน ผมเห็นชื่อโชติศักดิ์ อ่อนสูง แล้วผมสนใจ เราก็แสดงสิทธิด้วยการขว้างขวดน้ำ หรืออะไร (ไม่ได้-ผู้ดำเนินรายการอีกคนแทรก) ได้ๆๆๆ ในกฎระเบียบห้องนั้นผมไม่เคยเห็นว่ามีห้ามขว้างขวดน้ำหรืออะไร ห้ามสูบบุหรี่มี แล้วก็ห้ามส่งเสียงดังตอนบรรยายอะไรคงไม่ได้ แต่ผมว่าถ้าจะมีขวดน้ำน่ะได้ ถ้าเขาพูดอะไรที่เราไม่เห็นด้วย โห่ได้มั้งผมว่า

(เปิดสายให้ผู้ฟังทางบ้าน)

ผู้ฟังทางบ้าน : คือห้อง 101 ผมว่ามันไม่ใหญ่นะ ปารองเท้าไปยังถึงเลย คือ ผมอยู่ตึกข้างบนอยู่แล้ว มีคนไม่ชอบกันเยอะ ผมจะระดมกันไปให้เยอะๆ

ผู้ดำเนินรายการ 1 : มีผู้ฟังทางบ้านถามว่า ถ้าเราตีหัวคนนี่เราต้องจ่าย 500 หรือเปล่า เข้าใจว่าต้องจ่าย แต่ต้องไม่ให้เกิดเลือด อย่าใช้อาวุธ ต้องให้ไม่เกิดเลือดถึงเลือดออกก็ 500 แต่ส่วนใหญ่ก็จ่ายแค่ค่าเข็มเท่านั้นเอง …ห้อง 101 นะฮะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หาไม่ยากหรอก ติดโรงอาหาร

ผู้ฟังทางบ้าน : ชกครับ ชก ไม่ต้องเสียค่าเย็บปาก เสียค่าพยาบาล ค่าปรับ 500 บาท กำถ่านไฟฉายไปด้วยนะฮะ

ผู้ฟังทางบ้าน : เขามีตรวจอาวุธหรือเปล่าพี่…

ผู้ดำเนินรายการ 1 : ไม่มีหรอก แล้วคุณจะเอาอาวุธไปทำไม…

ผู้ดำเนินรายการ 2 : โชติศักดิ์บอกว่า ไม่ว่าใครทำอะไรผิดถูกอย่างไร เขาต่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่จะไม่ถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกดู หมิ่น…แล้วเยี่ยวใส่หน้าบุพการีของคุณเลยฮะ ไม่ผิดกฎหมายดีฮะ

ผู้ฟังทางบ้าน : ผมอึดอัดครับ…ไอ้คนนี้มันน่ากระทืบครับ"

ดาวสยามในวันก่อน กับผู้จัดการในวันนี้
ความเหมือนที่ไม่แตกต่าง

คำพูดบางส่วนที่ยกมา บอกอะไรเราบ้างครับ
ถ้าง่ายๆ ไม่ต้องบอกอะไรให้ซับซ้อนหรือลึกลับ จะเห็นว่า
การไม่เห็นคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง เป็นคนที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน
ไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์ ซึ่งเมื่อวันก่อน ผมก็เพิ่งเอาหลักของ UN มาให้อ่านกัน ดูได้ที่
All Human Rights For All
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!547.entry

การใช้ความรุนแรง ไม่สนใจกระบวกการยุติธรรม ถึงขนาดที่ว่า สามารถลงมือกันกระทั่งถึงแก่ชีวิต

ย้อนไปกว่า 30 ปี, 6 ตุลาคม 2519 มันไม่ได้สอนอะไรคนในสังคมเลยหรือไงเนี่ย

เดี๋ยวจะ upload clip รายการมาไว้ใน blog ครับ
Clip 1 : ss
Clip 2 : ss

Categories: News and politics

All Human Rights For All

7 May 2008 Leave a comment

All Human Rights For All

ยังเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เกิดอยู่รอบๆตัวในทุกวันนี้
บางทีจะพูดหรืออธิบายอะไร มันก็น่าเบื่อ
เพราะความคิดความเชื่อของแต่ละคน มันเปลี่ยนกันยาก
แต่ที่ยากกว่า คือการยอมรับความคิดและความเชื่อของผู้อื่น
ว่ามีคุณค่าเช่นเดียวกับความคิดความเชื่อของตน

ว่าแล้วก็เอา All Human Rights For All ของสหประชาชาติมาให้อ่าน
จะว่าอะไรก็ได้ …
แต่ในเมื่อประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
ก็อยากให้พลเมืองไทยมีโอกาสได้อ่านด้วย
ถ้าเราคิดแค่ว่า UN ไม่ใช่พ่อ เหมือนนายกฯบางคนพูดไว้
ก็ไม่ต้องสนใจ
แต่ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่ง ในประชาคมโลก
ลองอ่านกันหน่อย ว่าสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ขั้นต้น ควรมีอะไรบ้าง


On December 10, 1948 the General Assembly of the United Nations adopted and proclaimed the Universal Declaration of Human Rights the full text of which appears in the following pages. Following this historic act the Assembly called upon all Member countries to publicize the text of the Declaration and "to cause it to be disseminated, displayed, read and expounded principally in schools and other educational institutions, without distinction based on the political status of countries or territories."

PREAMBLE

      Whereas recognition of the inherent dignity and of the equal and inalienable rights of all members of the human family is the foundation of freedom, justice and peace in the world,

      Whereas disregard and contempt for human rights have resulted in barbarous acts which have outraged the conscience of mankind, and the advent of a world in which human beings shall enjoy freedom of speech and belief and freedom from fear and want has been proclaimed as the highest aspiration of the common people,

      Whereas it is essential, if man is not to be compelled to have recourse, as a last resort, to rebellion against tyranny and oppression, that human rights should be protected by the rule of law,

      Whereas it is essential to promote the development of friendly relations between nations,

      Whereas the peoples of the United Nations have in the Charter reaffirmed their faith in fundamental human rights, in the dignity and worth of the human person and in the equal rights of men and women and have determined to promote social progress and better standards of life in larger freedom,

      Whereas Member States have pledged themselves to achieve, in co-operation with the United Nations, the promotion of universal respect for and observance of human rights and fundamental freedoms,

      Whereas a common understanding of these rights and freedoms is of the greatest importance for the full realization of this pledge,

Now, Therefore THE GENERAL ASSEMBLY proclaims THIS UNIVERSAL DECLARATION OF HUMAN RIGHTS as a common standard of achievement for all peoples and all nations, to the end that every individual and every organ of society, keeping this Declaration constantly in mind, shall strive by teaching and education to promote respect for these rights and freedoms and by progressive measures, national and international, to secure their universal and effective recognition and observance, both among the peoples of Member States themselves and among the peoples of territories under their jurisdiction.

Article 1.

      All human beings are born free and equal in dignity and rights.They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.

Article 2.

      Everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth in this Declaration, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status. Furthermore, no distinction shall be made on the basis of the political, jurisdictional or international status of the country or territory to which a person belongs, whether it be independent, trust, non-self-governing or under any other limitation of sovereignty.

Article 3.

      Everyone has the right to life, liberty and security of person.

Article 4.

      No one shall be held in slavery or servitude; slavery and the slave trade shall be prohibited in all their forms.

Article 5.

      No one shall be subjected to torture or to cruel, inhuman or degrading treatment or punishment.

Article 6.

      Everyone has the right to recognition everywhere as a person before the law.

Article 7.

      All are equal before the law and are entitled without any discrimination to equal protection of the law. All are entitled to equal protection against any discrimination in violation of this Declaration and against any incitement to such discrimination.

Article 8.

      Everyone has the right to an effective remedy by the competent national tribunals for acts violating the fundamental rights granted him by the constitution or by law.

Article 9.

      No one shall be subjected to arbitrary arrest, detention or exile.

Article 10.

      Everyone is entitled in full equality to a fair and public hearing by an independent and impartial tribunal, in the determination of his rights and obligations and of any criminal charge against him.

Article 11.

      (1) Everyone charged with a penal offence has the right to be presumed innocent until proved guilty according to law in a public trial at which he has had all the guarantees necessary for his defence.

      (2) No one shall be held guilty of any penal offence on account of any act or omission which did not constitute a penal offence, under national or international law, at the time when it was committed. Nor shall a heavier penalty be imposed than the one that was applicable at the time the penal offence was committed.

Article 12.

      No one shall be subjected to arbitrary interference with his privacy, family, home or correspondence, nor to attacks upon his honour and reputation. Everyone has the right to the protection of the law against such interference or attacks.

Article 13.

      (1) Everyone has the right to freedom of movement and residence within the borders of each state.

      (2) Everyone has the right to leave any country, including his own, and to return to his country.

Article 14.

      (1) Everyone has the right to seek and to enjoy in other countries asylum from persecution.

      (2) This right may not be invoked in the case of prosecutions genuinely arising from non-political crimes or from acts contrary to the purposes and principles of the United Nations.

Article 15.

      (1) Everyone has the right to a nationality.

      (2) No one shall be arbitrarily deprived of his nationality nor denied the right to change his nationality.

Article 16.

      (1) Men and women of full age, without any limitation due to race, nationality or religion, have the right to marry and to found a family. They are entitled to equal rights as to marriage, during marriage and at its dissolution.

      (2) Marriage shall be entered into only with the free and full consent of the intending spouses.

      (3) The family is the natural and fundamental group unit of society and is entitled to protection by society and the State.

Article 17.

      (1) Everyone has the right to own property alone as well as in association with others.

      (2) No one shall be arbitrarily deprived of his property.

Article 18.

      Everyone has the right to freedom of thought, conscience and religion; this right includes freedom to change his religion or belief, and freedom, either alone or in community with others and in public or private, to manifest his religion or belief in teaching, practice, worship and observance.

Article 19.

      Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.

Article 20.

      (1) Everyone has the right to freedom of peaceful assembly and association.

      (2) No one may be compelled to belong to an association.

Article 21.

      (1) Everyone has the right to take part in the government of his country, directly or through freely chosen representatives.

      (2) Everyone has the right of equal access to public service in his country.

      (3) The will of the people shall be the basis of the authority of government; this will shall be expressed in periodic and genuine elections which shall be by universal and equal suffrage and shall be held by secret vote or by equivalent free voting procedures.

Article 22.

      Everyone, as a member of society, has the right to social security and is entitled to realization, through national effort and international co-operation and in accordance with the organization and resources of each State, of the economic, social and cultural rights indispensable for his dignity and the free development of his personality.

Article 23.

      (1) Everyone has the right to work, to free choice of employment, to just and favourable conditions of work and to protection against unemployment.

      (2) Everyone, without any discrimination, has the right to equal pay for equal work.

      (3) Everyone who works has the right to just and favourable remuneration ensuring for himself and his family an existence worthy of human dignity, and supplemented, if necessary, by other means of social protection.

      (4) Everyone has the right to form and to join trade unions for the protection of his interests.

Article 24.

      Everyone has the right to rest and leisure, including reasonable limitation of working hours and periodic holidays with pay.

Article 25.

      (1) Everyone has the right to a standard of living adequate for the health and well-being of himself and of his family, including food, clothing, housing and medical care and necessary social services, and the right to security in the event of unemployment, sickness, disability, widowhood, old age or other lack of livelihood in circumstances beyond his control.

      (2) Motherhood and childhood are entitled to special care and assistance. All children, whether born in or out of wedlock, shall enjoy the same social protection.

Article 26.

      (1) Everyone has the right to education. Education shall be free, at least in the elementary and fundamental stages. Elementary education shall be compulsory. Technical and professional education shall be made generally available and higher education shall be equally accessible to all on the basis of merit.

      (2) Education shall be directed to the full development of the human personality and to the strengthening of respect for human rights and fundamental freedoms. It shall promote understanding, tolerance and friendship among all nations, racial or religious groups, and shall further the activities of the United Nations for the maintenance of peace.

      (3) Parents have a prior right to choose the kind of education that shall be given to their children.

Article 27.

      (1) Everyone has the right freely to participate in the cultural life of the community, to enjoy the arts and to share in scientific advancement and its benefits.

      (2) Everyone has the right to the protection of the moral and material interests resulting from any scientific, literary or artistic production of which he is the author.

Article 28.

      Everyone is entitled to a social and international order in which the rights and freedoms set forth in this Declaration can be fully realized.

Article 29.

      (1) Everyone has duties to the community in which alone the free and full development of his personality is possible.

      (2) In the exercise of his rights and freedoms, everyone shall be subject only to such limitations as are determined by law solely for the purpose of securing due recognition and respect for the rights and freedoms of others and of meeting the just requirements of morality, public order and the general welfare in a democratic society.

      (3) These rights and freedoms may in no case be exercised contrary to the purposes and principles of the United Nations.

Article 30.

      Nothing in this Declaration may be interpreted as implying for any State, group or person any right to engage in any activity or to perform any act aimed at the destruction of any of the rights and freedoms set forth herein.

http://www.un.org/Overview/rights.html

Categories: Other