Archive

Archive for October, 2008

Power of the People Fights Democracy in Thai Protests

19 October 2008 Leave a comment

เหตุผลนึง ที่ทำให้ผลชอบอ่านบทความต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทย
มากกว่าอ่านบทความของไทยเอง
เพราะ ผลคิดว่า ในหลายๆเรื่อง นักเขียนคนไทย มีข้อจำกัดในการเขียนมาก
แม้กระทั่ง ไม่สามารถเขียนอย่างที่คิดได้ทั้งหมด
รวมทั้ง การที่มองจากด้านนอกเข้ามา อาจจะเห็นประเด็นที่คนข้างในนึกไม่ถึง


Power of the People Fights Democracy in Thai Protests

By SETH MYDANS
Published: September 11, 2008

(A version of this article appeared in print on September 12, 2008, on page A12 of the New York edition.)

BANGKOK — It looks a lot like a “people power” revolution, the kind of brave and joyous pro-democracy uprising that has toppled dictators from the Philippines to Serbia.

For more than two weeks, thousands of people have camped on the grounds of the prime minister’s office, cheering and clapping as speakers with microphones have stood on the back of a truck and called for the downfall of the government.

But in fact the protest is more like a counterrevolution by the Thai establishment against the rising electoral power of the mostly rural poor.

The government the protest seeks to bring down, whatever its faults, was democratically elected with a huge majority. The new order the protest proposes would roll back democracy by replacing an elected Parliament with one that is mostly appointed, keeping power in the hands of the country’s royalist, bureaucratic, military elite.

“This is a very weird situation where a reactionary movement is mobilizing people by using conservative ideology mixed with leftist language,” said Prajak Kongkeerati, a leading political scientist at Thammasat University.

In the vision of the protesters, power would run top-down, as it does in the hierarchy of traditional Thai society.

The confrontation reflects a dynamic that is visible throughout the region: an underclass that is growing in power and an entrenched establishment that is pushing back.

The government, for its part, is hardly democratic, pursuing autocratic policies and seeking to neutralize the checks and balances of the Constitution. It is the friendly successor to former Prime Minister Thaksin Shinawatra, who was ousted in a coup in 2006 after a six-year tenure during which he worked to centralize power in his own hands while cracking down on the free press and on independent organizations.

Whichever way the confrontation ends, analysts say, democracy is unlikely to be the winner.

Although Thailand has in recent years been seen as a beacon of democracy in Asia, the system has always been tenuous, plagued by coups and corruption.

Since Thailand became a constitutional monarchy in 1932, its governments have been unstable and mostly short-lived coalitions, scrapping and replacing their constitutions 17 times. They have been subject to two corrective forces particular to Thailand: repeated intervention by the military and by the monarchy.

There have been 18 coups since 1932, and Thai commentators say conditions are ripe for a coup now. The army chief, Gen. Anupong Paochinda, has promised that this will not happen, but promises like this have been broken in the past.

If the situation becomes critical, many Thais hope King Bhumibol Adulyadej will step in as he has several times over the years to defuse confrontations. The king stands above the fray of politics, but he is deeply revered and his word is the authority of last resort in a country that has still not found its political footing.

Calling themselves the People’s Alliance for Democracy, or P.A.D., protesters have occupied the grounds of the prime minister’s office since Aug. 26, forcing him to move the business of government elsewhere.

In a strange twist unrelated to the protest, the prime minister, Samak Sundaravej, was removed from office on Tuesday after a court ruled that he had violated the Constitution by accepting payments to appear on a television cooking show while in office. His party is now divided over whether to re-nominate him as prime minister — an outcome that would be sure to incense the protesters.

In any case, the protests show no sign of easing at the moment. They go beyond a challenge to one government and are rooted in social and political divides that have only hardened in the past three years of political tension. It is a story of haves and have-nots, with the haves rising up against the poorer classes.

Traditionally in Thailand, governments have pursued policies that reflect the country’s hierarchical culture, favoring the urban elite.

“We can say that every government has a policy platform that has an urban bias,” Mr. Prajak, the political scientist, said. “So when elections come, they court the support of the rural vote. But when they are in power, they formulate policy that favors the urban and industrial sector.”

Because of this, he said, “we have an unequal growth between the agricultural sector and the industrial sector.

“This gives us the very high gap in income distribution.”

Mr. Thaksin tapped into this disparity, placing the poor at the center of his governing strategy with populist policies like low-cost health care and debt relief. Poor and rural voters found their voice in voting for him, creating an overwhelming electoral base that gave him and his allies increasing economic and political power that some saw as a challenge to the monarchy.

The People’s Alliance is a self-contradictory mix of royalist elites, generals and business professionals with some liberal democrats, students and trade unionists, united only by their opposition to the pro-Thaksin government.

But at its core, the People’s Alliance would move Thailand away from the basic democratic principle of one person one vote, Mr. Prajak said. “Many Thai elite don’t believe in that,” he said.

The People’s Alliance would return the country to a 20-year-old model of “semi-democracy,” in which the bureaucracy and the military have a role in politics and business professionals share a voice with elected representatives, Mr. Prajak said.

In their resistance to democracy, the protesters are squarely in a political camp that has roots deep in Thai history, said Thongchai Winichakul, a professor of Southeast Asian history at the University of Wisconsin-Madison.

“The P.A.D. is a variation of the deep-rooted hierarchical society,” he said. “In a nutshell, it’s a kind of distrust of the people.”

He added: “You can find this idea beginning in the late 19th century, when King Chulalongkorn said Thai people do not want democracy, that Thai people trust the king.

“Throughout all the years that kind of idea remained,” Mr. Thongchai said. “People are not ready.”

http://www.nytimes.com/2008/09/12/world/asia/12thai.html?_r=1&oref=slogin

Categories: News and politics

In Thai Protests, a Divide Between Urban and Rural

13 October 2008 Leave a comment

สงสัยไหมครับ ว่าประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่
ร่างกฎกติกาขึ้นมาเอง ควบคุมเลือกตั้งขึ้นมาเอง แต่พอแพ้ ก็จะล้มกระดานเอาใหม่
แบบนี้ควรจะเรียกว่าประชาธิปไตยหรือไม่


In Thai Protests, a Divide Between Urban and Rural

Memo From Ban Huay Chan, October 13, 2008
By SETH MYDANS

(A version of this article appeared in print on October 13, 2008, on page A6 of the New York edition.)

BAN HUAY CHAN, Thailand — When he was a young man, Damneun Pangsopha worked for a while in a doll factory in the big city, Bangkok, and he did not like it.

"They think differently from the people here in Isaan," he said, referring to the rural heartland of Thailand’s northeast. "In Bangkok it’s all work and pressure, work and pressure. Not like here, where life is slower. Fish in the river, rice in the field."

The rice is ripening now in Ban Huay Chan, about 250 miles northeast of Bangkok. As the farmers wait for the harvest, they gather in the mornings to pass the time, and they are angry.

"The people of Isaan are people, too," said Mr. Damneun, 48, who is now a farmer, as are most people here. "We also eat rice and we also have an education, and they can’t insult us like this."

The insult comes from the leaders of an antigovernment protest in Bangkok who say rural voters are misguided and ignorant. In the hope of changing the balance of political power, the protesters have put forward a reform plan that would weaken rural voices.

Huge crowds have barricaded themselves into the compound of the prime minister’s office in Bangkok for nearly seven weeks in what has become Thailand’s most severe crisis in years, splitting the country along social, economic and political lines. Last Thursday, one person was killed and more than 400 were injured when demonstrators clashed with the police in clouds of tear gas.

As the protesters see it, Mr. Damneun and rural people like him are the root of the country’s problems. It is largely their vote — the biggest constituency in Thailand — that has barred the political opposition from power.

The proposed solution is to dilute the voice of rural voters by creating a mostly appointed Parliament that might better represent the aspirations and needs of a traditional urban middle-class elite.

"That’s not democracy," said Sawai Marongrit, 56, a farmer. "They can’t win, so they try to find another way to fight. Because if we have an election they’ll lose again."

The farmers who are gathered in the shade here in Khon Kaen Province swagger a bit when they talk of their political clout.

In the last election, in December, the party that won the rural vote, the People Power Party, took 233 of 480 seats in Parliament.

"If the Isaan people don’t vote for them, the Democrats will never have a chance to win," said Mr. Sawai, referring to the main opposition party, the People’s Alliance for Democracy, or P.A.D.

To put it another way, Mr. Damneun said, "The only way they’ll ever win is if all the people of Isaan drop dead."

Thailand is sometimes described as two nations: Bangkok and everything else. About 10 percent of the population of 65 million lives in Bangkok, the capital, a number that expands by several million when migrant workers are counted. Nearly a third of the Thai population lives in Isaan.

On election days, Bangkok’s taxi drivers, laborers, housekeepers, street vendors and factory workers head home to Isaan to vote, draining the streets of much of their life.

Wooed by populist programs like low-cost health care and cheap loans, the rural poor came together in support of Thaksin Shinawatra, who transformed Thai politics during six years as prime minister.

Mr. Thaksin was ousted in a coup in 2006 and is now in London, where he fled to evade corruption cases. But the rural base he created remains solid, and his supporters control the government.

"The people of Isaan and the poor people everywhere all like Thaksin," said Prasart Pangsopa, 54, who breeds cows and grows long beans and red chili as well as rice.

The farmers here are one element in destabilizing social, economic and political divisions that have become sharper and more emotional as the Bangkok protests continue.

The protesters are a diverse mix of royalists, military officers, business owners, social activists, students and middle-class homemakers whose common ground is a passionate discontent with the state of the nation.

These passions showed themselves last week when doctors at a Bangkok hospital said they would refuse to treat police officers wounded in the clash with protesters.

Separately, a Thai Airways pilot refused to fly three members of Parliament from the governing party last week, calling one a threat to national security.

The anger runs the other way here in Ban Huay Chan, where the farmers spun violent fantasies of mayhem against the protesters.

"If those people come here, I’ll beat them to death and throw them into the river," cried Noochen Sinkham, 67, as he squatted with a cleaver, chopping bamboo. Everybody laughed, and Mr. Sawai, the farmer, declared: "I want the police to throw a bomb into that demonstration. Let them die."

The divide between rural and urban plays itself out here in Isaan, where many people in Khon Kaen city support the People’s Alliance for Democracy and disparage people like the farmers in Ban Huay Chan, nearly eight miles to the north.

"It is impossible to change the way rural people vote," said Achara Chantasuwan, 53, a librarian who recently attended a live broadcast of the Bangkok demonstration in Khon Kaen city’s central square.

"That’s why the P.A.D. wants to introduce the New Politics," she said, referring to the People’s Alliance for Democracy plan in which 70 percent of seats in Parliament would be appointed by professional groups, while 30 percent would be elected by voters.

"They’ll have the right to vote, but it will not allow their vote to dominate our country," she said. "If we let people be like that we cannot develop our country."

But the ruptures run deeper than a clash between city and countryside, she said. They are dividing friends, colleagues and families.

"Sometimes we condemn government actions, and the pro-Thaksin people are very angry," she said, speaking of her colleagues at the library. "They’ll say, ‘No, no, no,’ and try to say we are wrong. My friend nearly hit me. She was very angry."

Sompap Bunnag, 62, a social worker, stopped at the screening for a few minutes on his way to Bangkok to take part in the People’s Alliance for Democracy demonstration. He said he would catch an overnight bus and join the protest in the morning. In his hand he held a set of newly purchased swimming goggles to protect his eyes in case the police used tear gas.

"I don’t know what’s going to happen," he said. "I hope nothing happens."

http://www.nytimes.com/2008/10/13/world/asia/13thai.html?_r=1&hp=&pagewanted=all&oref=slogin


ไม่มีครั้งใด… "แตกแยก" เท่าครั้งนี้ !!!

ห้องอาหารของบริษัท หลายแห่ง ปิดป้าย งดวิจารณ์การเมือง

วงสนทนาของเพื่อนฝูงที่เมื่อก่อนพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ชั่วโมงนี้ ถ้าไม่อยากให้วงเหล้าจืดชืด ต้องไม่เอาเรื่อง พันธมิตรฯ กับ ทักษิณ มาเป็นประเด็นสนทนา

หลายครอบครัวในเมือง เถียงกันเรื่องการเมือง ฝ่ายเมียอาซิ่ม นั่งดู การชุมนุมของพันธมิตรฯ จากเอเอสทีวี ทั้งวันทั้งคืน ปากก็ด่า รัฐบาลทรราช ตำรวจป่าเถื่อน

ขณะที่ผัว อาแป๊ะ เกลียดพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เข้ากระดูกดำ ก่นด่าและสาปแช่งวันละสามเวลา

ก่อนหน้านี้ ผัวเมียคู่นี้เคยไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนรถไฟด้วยกัน แต่เดี๋ยวนี้ ต่างคนต่างอยู่ ไม่หันหน้ามาคุยกัน

เพราะคุยกันครั้งใด เป็นต้องเถียงกัน แหลกราญ ล่าสุด เมียอาซิ้ม ออกจากบ้านไปร่วมชุมนุม ไม่กลับบ้าน อาแป๊ะ เซื่องซึม ไม่พูดกับใคร

ที่จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านตั้งวงกินเหล้า เปิดทีวีดูข่าว ตำรวจสลายม็อบ คนหนึ่งเชียร์ตำรวจ อีกคนเชียร์พันธมิตรฯ เถียงกันไปเถียงกันมา ฝ่ายด่าม็อบชักมีดแทงฝ่ายเชียร์ม็อบพันธมิตรฯดับ

ส.ส. พรรครัฐบาล ยอมรับว่า แม่ของตัวเอง มาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ ขับไล่รัฐบาล

แม่ค้าตลาดสะพานควาย เบื่อม็อบ เต็มที หลุดปากว่า ตำรวจน่าจะจัดการ ไอ้พวกม็อบให้ราบคาบ ขายของไม่ได้แล้ว

ในกองบรรณาธิการข่าวหลายแห่ง เกิดปัญหา นักข่าว อิน กับกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างถอนตัวไม่ขึ้น บางคน กลายเป็นหน่วยข่าวของพันธมิตร และปกป้องพันธมิตรฯ อย่างออกหน้า นักข่าวสาวใหญ่ คนหนึ่งทำงานให้ แป๊ะลิ้ม แต่สามีของเธอ เป็น นักเขียน ประจำ แมกาซีน "ฟ้าเดียวกัน"

เดี๋ยวนี้ เวลาขึ้นแท็กซี่ ห้ามพูดเรื่องการเมือง หรือ แม้แต่โทร.มือถือด่าทักษิณ เพราะผู้โดยสารกับแท็กซี่ อาจทะเลาะกันด้วยเรื่องการเมือง

เดี๋ยวนี้ นักข่าวไปสัมภาษณ์แหล่งข่าว คำถามแรกที่แหล่งข่าวรุกถามนักข่าวก่อนก็คือ …คุณเป็นพวกไหน !!!

ขณะที่ในรั้วมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อาจารย์สอนกฎหมายผู้หนึ่ง นามสกุล "ณ นคร" ประกาศตัวเป็นพันธมิตรฯ นำผ้าสีเหลือง กู้ชาติ ปิดหน้าประตู พักอาจารย์ ใครไปใครมาก็รู้กันไปเลยว่า เป็นนักกฎหมาย ที่ฝักใฝ่พันธมิตรฯ

กูรูกฎหมายมหาชนรุ่นคุณปู่ชื่อดัง สนใจแนวคิดการเมืองใหม่ของ "คำนูณ สิทธิสมาน" จนถูกกลุ่มอาจารย์หนุ่มสาวที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบ ตะวันตก ร่วมกันแอนตี้ …รุมถอนหงอก

แต่ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ แปลกแยกกว่านั้น มีทั้งอาจารย์ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ มีทั้งอาจารย์ที่ด่าพันธมิตรฯ มีทั้งอาจารย์ที่ด่าอาจารย์ด้วยกันเองว่า "เฮงซวย มั่วแหลก"

ในห้องเลกเชอร์ระดับปริญญาโท อาจารย์กับลูกศิษย์เถียงกัน เพราะอาจารย์ชื่นชอบทักษิณ แต่ลูกศิษย์เป็นแฟนพันธมิตรฯ

แม้แต่ในการรถไฟแห่งประเทศไทย พนักงานจำนวนมากก็ไม่เห็นด้วยกับสหภาพการรถไฟฯที่หยุดเดินรถ ประท้วงรัฐบาล เช่นเดียวกับพนักงานการบินไทย จำนวนไม่น้อยก็รับไม่ได้กับการที่กัปตัน (กู้ชาติ) ไล่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน ด้วยสาเหตุ ผู้โดยสารเป็น ส.ส.พรรคพลังประชาชน

ถามกันว่า เคยไหมที่สังคมไทย เคยแตกแยกเช่นนี้มาก่อน

คนวัย 40 กว่า อย่าง ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 บอกว่า ความแตกร้าวในช่วง ขวาพิฆาตซ้าย บาดลึกมิใช่น้อย เพราะในครอบครัวใดที่ ลูกสาวลูกชายเข้าป่า ครอบครัวนั้นแทบล่มสลาย

แต่คนวัย 60 กว่า เช่น ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ เล่าว่า ความขัดแย้ง พ.ศ.นี้น่าจะเทียบได้กับช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งนั้นการต่อสู้ระหว่างคณะราษฎรกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยืดเยื้อยาวนานนับสิบปี

ขณะที่ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เห็นตรงกันว่า ความขัดแย้งรอบนี้ ลึกถึงโครงสร้าง อาจต้องใช้เวลาเยียวยานานนับ 10 ปี ก็เป็นได้

แต่ไม่ว่า คุณจะเป็นรุ่นไหน ถ้าคุณมีสติ และปัญญา คุณย่อมคิดได้เองว่า คุณควรวางตัวเช่นไร ! ในห้วงที่คนในบ้านเมืองหลายๆ คน ไร้สติ

ประชาชาติธุรกิจ, วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4044
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe03131051&day=2008-10-13&sectionid=0223

Categories: News and politics

Thailand in Turmoil

11 October 2008 Leave a comment

อ่านแล้วตรงใจมาก เขียนได้ดีและถูกต้อง
เข้าใจความเป็นไปทางการเมืองไทย ยิ่งกว่าคนไทยหลายๆคน


Thailand in Turmoil

OCTOBER 9, 2008
FROM TODAY’S WALL STREET JOURNAL ASIA

Two years after the Thai military ousted then-Prime Minister Thaksin Shinawatra, the full cost of that bloodless coup is finally becoming clear. Violent antigovernment protests this week have left two people dead, 443 injured, and the country’s democratic prospects in jeopardy.

The struggle is over whether Thai citizens will continue to enjoy their democratic rights. The protesters, who seek to oust the current government, have brought the government to near paralysis. The cast of characters is similar to 2006: Seven months ago the same group that had helped organize protests to oust Mr. Thaksin re-formed, led by a similar coterie of Bangkok elites, businessmen and academics.

They now call themselves the People’s Alliance for Democracy, but they are anything but. Their goal is to eliminate Thailand’s one-man-one-vote democracy and replace it with a parliament that is 30% elected and 70% appointed. Why? To make sure that no one like Mr. Thaksin is ever elected again.

The generals behind the 2006 coup thought that by simply removing Mr. Thaksin they could solve what they saw as the problem of Thailand’s democracy: The fact that voters might choose to elect someone whom the generals and their friends in Bangkok didn’t like. But when they organized elections in December, at the end of their 15-month stint as caretakers, the People Power Party, political heirs to Mr. Thaksin’s party, was the victor. Mr. Thaksin, who had been in exile, jetted back to Bangkok.

The PPP may not be perfect, but it has a mandate from the voters. A vote-buying case against the PPP and two smaller parties will be brought to court next week, and a guilty verdict could force the PPP to dissolve. Until then, it remains the popularly elected government.

The PAD, in contrast, wishes to rewrite the constitution to get rid of the one-man-one-vote principle. And since it cannot win at the ballot box, it is hoping to win in a street fight instead. For the past six weeks, PAD supporters have besieged Government House, demanding that the PPP government step down.

After two PAD leaders were arrested over the weekend, 1,500 PAD supporters blockaded Parliament House while parliament was in session. The ensuing melee left hundreds wounded. The newly appointed prime minister, Somchai Wongsawat (who is Mr. Thaksin’s brother-in-law), had to scale a wall and dive into a military helicopter to escape the mayhem. Thai police eventually cleared the way for the other politicians using tear gas, rubber bullets and stun grenades to dispel the crowd, according to the Associated Press. By yesterday the situation had calmed.

The PAD is crying foul over the measures employed by what they call a "killer" government. But they themselves operate like a small army: Several PAD supporters were carrying guns during the street battle on Tuesday, and others had iron rods, slingshots, spears, etc. One policeman was impaled, and two were shot.

These are not merely disgruntled citizens: The PAD is a well funded, highly organized force that operates a small city inside the government compound it has occupied for more than a month. The occupiers have electricity from generators, a constant supply of free food and water, and even portable toilets.

Facing these circumstances, Mr. Somchai doesn’t have any good options. Dialogue with the PAD may be all but impossible after the violence this week. He could call a state of emergency, which would give more power to the military and police to enforce law and order, although that could turn out to be embarrassing if they didn’t follow orders. A third option is to form a unity government and share governing powers with the opposition Democrat Party, albeit at the risk of looking weak. He could also hunker down and wait for the PAD to wear out — although this could take a long time, seeing as the PAD is constantly rotating in new "protesters" from the countryside.

Meanwhile, the PAD continues its occupation of Government House. Pipop Thongchai, a PAD leader, told reporters, "We will continue to fight until Somchai resigns."

Thailand’s democracy has weathered many blows, including three coups since 1973. The peaceful transition of power to the PPP after polls that were largely fair and free was a step forward. If the PAD succeeds in overturning those elections, it will be at the cost of disenfranchising millions of voters — and at a cost to Thailand’s struggling democracy.

http://online.wsj.com/article/SB122350169960916759.html?mod=googlenews_wsj

Categories: News and politics

การเมืองใหม่-ประชาธิปไตย 70 = 30 คือสภาขุนนาง

10 October 2008 Leave a comment

จะ 70:30 หรือ 50:50 ความแตกต่างในบริบทแทบไม่มี
สิ่งที่พันธมิตรประชาชนฯ เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่า ไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน
จะสภาอาชีพหรืออะไรก็แล้วแต่
อาชีพ อย่างโสเภณี เด็กปั้ม หรือพนักงานทำความสะอาดก็คงไม่ได้เป็นตัวแทนในสภานั้น
มันจะต่างอะไร ในเมื่อคนที่จะได้เป็นตัวแทน ก็คงเป็นพวกนายกสมาคมอาชีพต่างๆ
ซึ่งคงมีแต่คนระดับสูงเท่านั้นอีก

ถ้าเสนอการเมืองใหม่แบบนี้ อย่าใช้คำว่าประชาธิปไตยในชื่อตัวเอง
และอย่าพยายามบอกว่าตัวเองเรียกร้องประชาธิปไตยเลย


การเมืองใหม่-ประชาธิปไตย 70 = 30 คือสภาขุนนาง

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา โดย อภิชาต สถิตนิรามัย apichat@econ.tu.ac.th

สำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การเมืองใหม่ที่ 70 = 30 และยังเป็นประชาธิปไตยได้ เพราะ 70 = 30 คือข้อเรียกร้องของชนชั้นกลางและอภิสิทธิ์ชนที่ต้องการสร้างระบอบการปกครองโดย "สภาขุนนาง" (philosopher kings) ผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาและอุดมคุณธรรมขึ้น เพื่อใช้กีดกันรากหญ้าออกจากส่วนแบ่งอำนาจทางการเมือง การเมืองใหม่ก็คือการชี้หน้าหลุมศพวีรชนเดือนตุลาว่า สิ่งที่คนหนุ่มสาวเรียกร้องในครั้งนั้น (รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง) เป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ที่เปิดทางให้ระบอบรัฐสภาในปัจจุบันลงหลักปักฐานในสังคมไทย ในแง่นี้การเมืองใหม่จึงเท่ากับการทุบทิ้งอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม และการสร้างอนุสาวรีย์ให้สามทรราช ถนอม-ประภาส-ณรงค์ เพื่อยืนยันว่าระบอบการเมืองก่อนเดือนตุลาคม 2516 เป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว

ทำไมผมเห็นว่าการเมืองใหม่คือการสร้างสภาขุนนาง คำตอบคือฐานคิดของ 70 = 30 ตั้งอยู่บนบทวิเคราะห์ที่ว่า วิกฤต การเมืองปัจจุบันมีต้นตอจากปัญหาการขายเสียงของคนจนรากหญ้า ในขณะที่พฤติกรรมขายเสียงเกิดขึ้นเพราะคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมขาดการศึกษา ขาดข้อมูล จึงถูกชักจูงให้ขายเสียงแก่นักเลือกตั้ง ในภาษาพูด การวิเคราะห์เช่นนี้ก็คือการกล่าวหาและดูถูกคนรากหญ้าว่า "โง่" หรือไม่ก็เห็นว่าคนจนขายเสียงแลกกับเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาทนั้น เป็นเพราะรากหญ้าขาดจิตสำนึกทางการเมือง ข้อหานี้จึงเท่ากับการกล่าวหาคนจนว่าขาดจริยธรรม หรือ "งก" นั่นเอง สรุปแล้วคนจน/รากหญ้าคือคนที่ตัดสินใจทางการเมืองแบบไร้เหตุผล-ไม่โง่ก็งก ในอีกด้านหนึ่งนักการเมืองก็คือผู้ทำธุรกิจ-การเมืองโดยการลงทุนซื้อเสียง เพื่อกุมตำแหน่งรัฐมนตรี แล้วนำอำนาจบริหารไปใช้ถอนทุนคืนผ่านการทุจริต โกงบ้านกินเมือง ซึ่งก็เป็นปัญหาขาดจริยธรรมอีกเช่นกัน และนำมาซึ่ง "วิกฤตที่สุดในโลก"

เมื่อลดทอนต้นตอ "วิกฤตการเมือง" ลงเหลือเพียงแค่ปัญหาโง่และงกแล้ว ข้อสรุปเชิงตรรกะจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องสรุปว่า คนจนไม่พร้อม/ไม่สามารถที่จะปกครองตัวเองได้ตามระบอบประชาธิปไตย จึงต้องถูกปกครองด้วยผู้มีความรู้และอุดมจริยธรรม แล้วใครล่ะจะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาและคุณธรรม หากไม่ใช่เหล่า "ขุนนางและผู้ดี" (ข้าราชการระดับสูง ทั้งทหาร พลเรือน และอภิสิทธิ์ชน) เช่น คุณอานันท์ ปันยารชุน (นายกฯในฝันของชนชั้นกลางและสูง) ดังนั้น 70 จึงเท่ากับ 30 ได้ และยังเป็นประชาธิปไตยอีกด้วย

กรอบการวิเคราะห์ปัญหาข้างต้นตั้งอยู่บนฐานคิดที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะของปัญญาชนฝ่ายพันธมิตรฯ บางคนที่สอนวิชาปรัชญาการเมืองทั้งที่จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ โดยรากศัพท์แล้ว คำว่า "demos" แปลว่าคนจน ซึ่งในสังคมไหนๆ ก็คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น demo-cracy จึงแปลว่า ระบอบการเมืองที่คนจนเป็นใหญ่ แต่ปัญญาชนเหล่านี้ไม่เคยเชื่อมั่นเลยว่าคนจนจะสามารถปกครองตัวเองได้ หากให้คนทุกชั้นทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน (1 คน-1 เสียง) ในการตัดสินใจทางการเมืองแล้ว ชะตากรรมของประเทศจะจบลงแบบเดียวกับที่นครรัฐเอเธนส์ต้องล่มสลายลง เพราะสภาของนครรัฐมีคนจนเป็นเสียงข้างมากที่โง่/งก จึงถูกชักจูง/ตกเป็นเหยื่อ/ถูกหลอกโดยวาทศิลป์ของนักการเมืองผู้ไร้จริยธรรม ดังนั้นในสายตาของปัญญาชนฝ่ายพันธมิตรฯเหล่านี้ ระบอบการปกครองที่ดีที่สุดก็คือการปกครองโดยผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และอุดมคุณธรรมประกอบกันขึ้นเป็นสภาขุนนาง 70 = 30

สำหรับผมแล้ว ความเชื่อข้างต้นขัดกับหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นเราจะเรียกระบอบสภาขุนนางว่าอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่เรียกว่าระบอบประชาธิปไตย ผมเห็นว่าระบอบหนึ่งๆ จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่นั้นจะต้องตั้งอยู่บนฐานคิด 2 ข้อ คือ 1.เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน จะเป็นตาสีตาสา หรือจบ Ph.D. ไม่ว่าจะเกิดในชาติตระกูลใด 2.เชื่อว่า demos-คนจนเป็นคนตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุด้วยผล (rational choices)

หากเชื่อในความมีเหตุผลของคนทุกคนแล้ว เราจะวิเคราะห์ปัญหาคนจนขายเสียงได้ใหม่ โดยไม่ต้องมองว่าคนจนเท่ากับคนโง่/งก แต่มันเป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผลรองรับ ในยุคก่อนรัฐบาลทักษิณ การเลือกตั้งระดับประเทศไม่เคยมีผลใดๆ ต่อรากหญ้า/คนจนเลย ไม่ว่าพรรคใดจะเป็นแกนนำรัฐบาล หรือใครจะเป็นนายกฯ ชีวิตของชาวบ้านก็ยังเหมือนเดิม ดังนั้นผลประโยชน์ของการลงคะแนนโดยไม่ขายเสียงให้แก่พรรคใดก็ตามจึงมีค่าเท่ากับศูนย์ ในขณะที่ผลประโยชน์จากการขายเสียงมีค่ามากกว่าศูนย์แน่นอน มันจึงสมเหตุสมผลอย่างยิ่งที่คนจนจะเลือกขายเสียง

ส่วนในยุคทักษิณ เช่น การเลือกตั้งปี 2548 นั้น การขายเสียงของ demos ยิ่งสมเหตุสมผลมากกว่าเดิม เพราะยังไงๆ ก็จะเลือกพรรคไทยรักไทยอยู่แล้ว ด้วยนโยบาย 30 บาท กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ เมื่อนักการเมืองแถมเงินให้เป็นค่าเหนื่อยในการกาบัตรแล้ว ทำไมชาวบ้านจะไม่รับ อาจจะมีผู้โต้แย้งว่าเหตุผลของการขายเสียงข้างต้นเป็นแต่เพียงการคำนวณถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของตนเองโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของทั้งประเทศ พูดง่ายๆ คือความงกแบบหนึ่งของคนจนนั่นเอง จุดนี้ต้องถามต่อด้วยว่า แล้วชนชั้นไหนไม่งก อย่าลืมว่าการเลือกตั้งปี 2548 คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็เลือกไทยรักไทย เพราะหวังว่าจะได้ระบบรถไฟฟ้า อย่าลืมว่าหลักใหญ่ใจความของการเมือง คือ การจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ในสังคม มีการเมืองที่ไหนในโลกนี้หรือที่เป็นเรื่องของศีลธรรมและการบริจาคทาน

ประเด็นที่แท้จริงจึงมีอยู่ว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบที่อนุญาตให้เสียงส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือ คนจน ไม่ใช่เทวดาหรือผู้ดีมีตระกูลคนใดเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการจัดสรรผลประโยชน์ผ่านบัตรเลือกตั้ง

ความเชื่อพื้นฐานทั้ง 2 ข้อข้างต้นจึงเป็นที่มาของกฎข้อที่หนึ่งในระบอบประชาธิปไตย คือ กฎที่เสียงส่วนใหญ่ (majority rule) ของคนที่มีเหตุผลและมีความเท่าเทียมกันเป็นผู้ตัดสินใจเลือกชะตากรรมของสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆ ดังนั้นความชอบธรรมหรือไม่ของรัฐบาลในสายตาของนายแดง ณ ทุ่งหมาว้อ หรือนายดำ ณ ทุ่งหมาหลง จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าความเห็นของคุณชายใหญ่ ณ เมืองฟ้าอมร ในแง่นี้นโยบายประชานิยมจะมีความชอบธรรมหรือไม่จะต้องไม่ถูกตัดสินด้วยความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ณ ท่าพระจันทร์ แต่จะต้องตัดสินด้วยบัตรเลือกตั้ง พูดอีกแบบหนึ่งรัฐบาลจะทำผิดทางนโยบายหรือไม่ (เช่น Bush นำอเมริกาเข้าสู่สงครามอิรัก) จะต้องตัดสินด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

แต่กฎเสียงส่วนใหญ่ไม่ใช่ทั้งหมดของความเป็นประชาธิปไตย แม้มันจะเป็นเงื่อนไขที่ขาดเสียมิได้ กฎข้อที่ 2 คือหลักนิติรัฐ หรือหลักที่รัฐจะต้องมีอำนาจอันจำกัด (rule of laws or limited government) ซึ่งมิได้หมายความว่า การปกครองโดยกฎหมาย เพราะรัฐบาลเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ก็ปกครองด้วยกฎหมาย แต่มีอำนาจตามมาตรา 17 ที่สามารถสั่งประหารใครก็ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม หัวใจของหลักการนี้คือกรอบจำกัดอำนาจของรัฐไม่ให้ทำตามอำเภอใจของตัวเอง จนกระทั่งรัฐกล้าพูดแบบเดียวกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสว่า "I"m the state" หลักนิติรัฐจึงเป็นหลักในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง เช่น รัฐจะไม่สามารถยึดทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐได้ตามอำเภอใจ จะฆ่าคนนอกกฎหมายไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งก็คือหลักที่ป้องกันไม่ให้รัฐใช้อำนาจแบบฉ้อฉล (abuse of power) เช่น ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ ซุกหุ้น ฯลฯ ดังนั้นหากรัฐบาลทำผิดกฎข้อนี้แล้วก็จะต้องถูกตัดสินด้วยกระบวนการยุติธรรม ต้องพิสูจน์กันในศาล ที่สำคัญคือความผิดประเภทนี้จะยุบสภา ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงตัดสินไม่ได้ ดังที่นายกฯทักษิณกระทำในช่วงต้นปี 2549 เพราะมันไม่ใช่ความผิด/ถูกทางนโยบาย

สรุปแล้ว ผมเห็นว่าในประชาธิปไตย 70 จะเท่ากับ 30 ไม่ได้ เพราะมันปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานสองข้อของระบอบประชาธิปไตย คือ คนเราเกิดมาเท่าเทียมกันและเป็นผู้เลือกกระทำการต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล และปฏิเสธกฎพื้นฐานอีกสองข้อด้วย คือ กฎเสียงส่วนใหญ่ และกฎนิติรัฐ

ผมจะไม่ต่อว่าใครเลยที่เลือกจะไม่เชื่อกฎทั้งสองและฐานคิดอีกสองข้อที่รองรับกฎทั้งสอง แต่ผมขออย่างเดียว คือ ขอให้ประกาศตัวให้ชัดเจนต่อสาธารณะว่าไม่เชื่อ และจะต้องยอมเรียกตัวเองด้วยว่า เป็น "นัก xxx" อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่นักประชาธิปไตย ผมขอร้องล่ะ โดยเฉพาะเหล่านักวิชาการทั้งหลายที่แจกจ่ายแถลงการณ์กันเป็นว่าเล่นในเดือนที่แล้ว

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi03091051&day=2008-10-09&sectionid=0212

Categories: News and politics

ตำรวจเล็งยิง โดย สันติวิธี ของ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ??

8 October 2008 Leave a comment
ตำรวจเล็งยิง โดย สันติวิธี ของ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ??

ตอนแรกเห็นแต่คลิปนี้ครับ

Thai Police Shoot PAD
http://www.youtube.com/watch?v=TR9swxDq4_Q

 

ปรากฎไปเจออีกคลิป
ดูแล้ว มันเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหรือไม่ ???
แต่ถ่ายมาไม่หมด
(สังเกต ฉากหลังเดียวกัน แนวกำแพงเหมือนกัน)

รถพันธมิตรฯพุ่งชนตำรวจ
http://www.youtube.com/watch?v=EclHSHBJeaA

 

อาจจะเป็นที่ตำรวจพยายามจะยิงหยุดรถคันที่ไล่ทับตำรวจ
เพื่อที่จะไม่ให้ เร่งรถมาทับอีก หรือไม่ ??

ต้องดูทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้น ก่อนที่จะตัดสินใจว่าอะไรเป็นอะไร
Categories: News and politics

ความเป็นมืออาชีพของแพทย์?

8 October 2008 Leave a comment

ความเป็นมืออาชีพของแพทย์?

จากข่าวที่ว่า แพทย์จุฬาฯ-สถาบันจิตเวชศาสตร์เจ้าพระยาไม่รับรักษา “ตำรวจ” แต่งเครื่องแบบ โดยมีรายละเอียดย่อๆ คือ

วันนี้ (8 ต.ค.) รศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ แพทย์โรคทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า หลังจากที่กลุ่มแพทย์ พยาบาล และแพทย์ประจำบ้านของโรงเรียนแพทย์ 8 สถาบัน ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาสงขลานครินทร์ ออกแถลงการณ์ประณามตำรวจ และผู้สั่งการที่สลายการชุมนุม อย่างไร้มนุษยธรรม ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
      
ล่าสุด วันนี้ (8 ต.ค.) แพทย์ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่วนหนึ่ง ได้ติดป้ายงดตรวจและรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการทางสังคมที่ทำเพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นว่าแพทย์และ พยาบาลไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่รุนแรงเกิดเหตุของผู้บริหารประเทศ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการกระทำนี้จะเป็นเฉพาะปัจเจกบุคคล โดยการนำป้ายมาติดหน้าห้องตรวจไม่ใช่ว่าปฏิเสธการรักษา แต่ก็มีข้อแม้อยู่ว่า หากผู้ป่วยเป็นตำรวจ จะมารักษานั้น ต้องไม่ทำบันทึกประวัติโดยใส่ยศ ตำแหน่ง หรือไม่แต่งเครื่องแบบตำรวจเข้ามารักษา ก็จะทำการตรวจรักษาให้ตามปกติ ซึ่งตอนนี้แพทย์ภายในโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ดำเนินการรูปแบบเดียวกันกว่า 10 คน ซึ่งก็ยังได้ขยายแนวร่วมออกไปโดยส่งแถลงการณ์ไปทางอีเมล์ ยังโรงเรียนแพทย์ทั้ง 8 สถาบัน เพื่อกระทำการร่วมกัน

ผมคงไม่พูดถึงจรรยาบรรณแพทย์ สิทธิมนุษยชน หรือ สิทธิของผู้ป่วย
แต่ความเป็นมืออาชีพ ของบุคคลที่ทำอาชีพนี้ อยู่ที่ไหน?

เอาความคิด ความเชื่อ ความเห็นส่วนตัว มาปะปนกับการทำหน้าที่การงาน

นี่คือสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ?

Categories: News and politics