Archive

Archive for the ‘Business’ Category

Oil Refinery

3 June 2008 Leave a comment

โรงกลั่นน้ำมัน
Oil Refinery

กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) 7 ราย
อาทิเช่น บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีเออาร์ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด และ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด
ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมัน ดังต่อไปนี้

สัดส่วนการผลิตน้ำมันของโรงกลั่นน้ำมันหลัก 7 แห่ง ในไทย แบ่งเป็น

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) 5%
เบนซิน 22%
น้ำมันอากาศยาน 11%
ดีเซล 38%
น้ำมันเตา 21%
และเชื้อเพลิงสูญเสีย 3%

ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่น ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2551

ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 122.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) อยู่ที่ 29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ติดลบ 93.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาเบนซิน ราคา 131.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บวก 8.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันอากาศยาน ราคา 159.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บวก 37.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาดีเซลราคา 158.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บวก 36.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันเตา ราคา 94.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ติดลบ 28.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ข้อมูลโครงสร้างราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2551

ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และเงินสมทบกองทุนต่างๆ
สำหรับน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 10.87 บาทต่อลิตร คิดเป็นสัดส่วน 27%
สำหรับน้ำมัน ดีเซล อยู่ที่ 5.07 บาทต่อลิตร คิดเป็นสัดส่วน 13%

โดยปี 2550 โรงกลั่นน้ำมันหลัก 7 แห่ง
มีกำไรรวมกันประมาณ 54,049 ล้านบาท
เท่ากับผลตอบแทนต่อเงินทุนที่ใช้ก่อสร้างและดำเนินงาน (Return on Capital Employed) 6% ต่อปี
เมื่อเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์แล้ว
โรงกลั่นมีกำไรการกลั่นขั้นต้น 1.08 บาทต่อลิตร
หรือกำไรสุทธิ 36 สตางค์ต่อลิตร

ขัอมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

Categories: Business

All Brands Are Not Created Equal

16 April 2008 1 comment

All Brands Are Not Created Equal

 
ในขณะที่ All Human Are Created Equal
(ยกเว้นว่าจะไปถามคนบางคนในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ซึ่งให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ของแต่ละคนไม่เท่ากัน)
แต่ All Brands Are Not Created Equal อย่างชัดเจน
 
การสำรวจของ Interbrand
ได้คำนวณมูลค่าของแบรนด์ brand ดังๆ
จากการที่เป็นบริษัทมหาชนมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
แล้วหักออกด้วยสิ่งต่างๆ ที่สามารถระบุได้ชัดเจนออกจากมูลค่านั้น
มูลค่าที่วัดได้ต่างๆ ที่อยู่ในงบดุลของบริษัทตามที่กล่าวมาแล้ว
เช่น มูลค่าของเงินสด เครื่องจักร สินค้าคงคลัง และอาคารโรงงานสามารถคำนวณหาได้ไม่ยากก่อนที่จะถูกหักออกไป
 
ในขั้นตอนต่อมา Interbrand พยายามที่จะให้มูลค่ากับสิ่งที่จับต้องไม่ได้
เช่น ประสบการณ์และการดำเนินงานของผู้บริหาร
หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัทเป็นเจ้าของ อย่างเช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือแม้แต่รายชื่อของลูกค้าของบริษัท
 
เมื่อมูลค่าต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ถูกหักออกไปแล้ว
ถ้ามูลค่านั้นยังมีค่าเป็นบวก Interbrand จะสรุปว่า
นั่นคือเงินที่เพิ่มพิเศษ (premium) ที่ผู้ถือหุ้นเต็มใจจะจ่ายมากกว่า สำหรับแบรนด์ brand ของบริษัท
 
ผลสำรวจสุดยอดแบรนด์ระดับโลกในปี 2007 (Best Global Brands 2007) ซึ่งมี 10 อันดับแรกได้แก่
อันดับหนึ่งคือ Coca-Cola ตามมาด้วย Microsoft, IBM, GE, Nokia, Toyota, Intel, McDonald’s, Disney and Mercedes
 
อันดับอื่นๆหรือข้อมูลอื่นๆ ถ้าสนใจ เข้าไปศึกษาต่อได้ที่ เวปไซต์ของ Interbrand
Categories: Business

Land Tax (ภาษีบำรุงท้องที่)

15 February 2008 Leave a comment

ปิดท้าย ต่อจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีป้าย ด้วยภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่เก็บจากที่ดินต่างๆ
มีอัตราภาษีตามประเภทการใช้สอยและสถานที่ตั้งของที่ดินนั้นๆ
โดยได้มาจากการประเมินราคาที่ดิน ทุกๆรอบ 4 ปี หรือปีที่มีการประเมินราคาที่ดินใหม่
ที่สำคัญ ต้องยื่นใบขอรับการประเมินราคาภายในเดือนมกราคม

รายละเอียดอื่นๆตามข้อมูลข้างล่างเลยครับ


ภาษีบำรุงท้องที่ : Land Tax (Place Tax)

1. ความรู้ทั่วไป

1.1 ที่ดินที่ต้องเสียภาษี

ที่ดินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ พื้นที่ดินรวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย

1.2 ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษี

(1) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(2) ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์

(3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์

(4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ

(5) ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์

(6) ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

(7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ

(8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว

(9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วน นั้น

(10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง

(11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

(12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนเช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ

1.4 ฐานภาษีและอัตราภาษี

ฐานภาษีคือ ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้ กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ ที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเองให้เสีย อย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดิน ให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า

2. ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

การยื่นแบบพิมพ์

ให้เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นและยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานเขตที่ที่ดินตั้งอยู่

2.1 กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

1) ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้แทนยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปี และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปีนั้น (ปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2545 – 2548)

2) บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมของเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงไป หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอันเป็นเหตุให้มีการลด หย่อนที่ดินเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเหตุอย่างอื่นทำให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าของที่ดินผู้นั้นแจ้งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นต่อเจ้า พนักงานประเมินภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่มีเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

2.2 เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ

กรณีที่ดินรายใหม่ หรือปีที่มีการตีราคาปานกลาง ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินหรือทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้กรรมสิทธิ์ใหม่หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท.5 พร้อมสำเนาหลักฐานประกอบการพิจารณา ได้แก่

– โฉนดที่ดิน

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

– กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

– หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

– ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

กรณีที่ดินรายเก่า ให้เจ้าของที่ดินชำระเงินค่าภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี และเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อ โปรดนำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้ายมาแสดงด้วย

2.3 การขอลดหย่อนภาษี

บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัด เดียวกันและใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

– ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ลดหย่อนได้ ดังนี้

(ก) ในท้องที่ที่มีชุมชนหนาแน่นมาก ให้ลดหย่อนหนึ่งร้อยตารางวา

(ข) ในท้องที่ที่มีชุมชนหนาแน่นปานกลาง ให้ลดหย่อนหนึ่งไร่

(ค) ในท้องที่ชนบท ให้ลดหย่อนห้าไร่

ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

ท้องที่ใดจะเป็นท้องที่ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้าง และใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อน สำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น

ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

การลดหย่อนตามหลักเกณฑ์ในมาตรานี้ ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว

ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ถ้าในปีล่วงมาแล้วการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) มีอำนาจพิจารณายกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ให้ได้ตามระเบียบที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด

ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยรับประโยชน์ตอบแทน อาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้เฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

2.4 เงินเพิ่ม

ให้เจ้าของที่ดินเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ในกรณีและอัตราดังนี้

(1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของ จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เว้นแต่กรณีที่เจ้าของที่ดินได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินก่อนที่เจ้าพนักงาน ประเมินจะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

(2) ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษี บำรุงท้องที่ลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีบำรุงท้องที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของที่ดินได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการที่ดินให้ถูกต้อง ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน

(3) ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงานสำรวจ โดยทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติม

(4) ไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบสี่ต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุง ท้องที่ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) (2) หรือ (3) มาคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มตาม (4) ด้วยเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นภาษีบำรุงท้องที่

2.5 การชำระภาษี

(1) ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้ยื่นหลักฐานการแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท.9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน กรณีได้รับแจ้งการประเมินหลังเดือนมีนาคมให้ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วัน ที่ได้รับแจ้งการประเมิน

(2) กรณีอื่น ๆ ให้ชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี

2.6 การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวด งวดละ เท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระ ภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง งวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง

2.7 การขอคืนเงินค่าภาษี

ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดย เร็ว เพื่อมาขอรับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

ผู้ใดเสียภาษีบำรุงท้องที่โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควร ต้องเสียผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้เสียภาษี

2.8 การเร่งรัดภาษีค้างชำระ

ภาษีบำรุงท้องที่จำนวนใดที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้แจ้งหรือประกาศการประเมินแล้วถ้ามิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือเป็นภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ ซึ่งทรัพย์สินของผู้ค้างชำระ อาจถูกยึด อายัดหรือขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ

2.9 การอุทธรณ์

เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์อุทธรณ์ได้ 2 กรณี คือกรณีไม่เห็นพ้องด้วยกับราคาปานกลางของที่ดิน และกรณีที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีบำรุงท้องที่แล้วเห็นว่าการประเมินนั้น ไม่ถูกต้องการยื่นอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่เห็นพ้องด้วยกับการตีราคาปานกลางของที่ดินที่คณะ กรรมการตีราคาปานกลางของที่ดินได้พิจารณากำหนดไว้ตามประกาศ เจ้าของที่ดินมีสิทธิอุทธรณ์การตีราคาปานกลางของที่ดินได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศราคาปานกลางของที่ดิน

(2) ในกรณีที่เจ้าของที่ดินได้รับแจ้งการประเมินภาษีบำรุงท้องที่แล้วหากเห็น ว่าการประเมินไม่ถูกต้องก็สามารถอุทธรณ์การประเมินได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวนี้ให้อุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานเขตท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตามที่เจ้าของ ที่ดินยื่นมาแล้วแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์และเจ้า พนักงานประเมิน และผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อศาล ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยกอุทธรณ์ด้วยเหตุที่ผู้อุทธรณ์ ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร

การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีบำรุงท้องที่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาล ดังนั้น แม้จะยื่นอุทธรณ์เจ้าของที่ดินก็ต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด หากผลการอุทธรณ์จะต้องคืนเงินภาษีบำรุงท้องที่ก็ยื่นคำร้องขอรับเงินคืนได้

2.10 บทกำหนดโทษ

(1) ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสีย ภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(2) ผู้ใดจงใจไม่มาหรือไม่ยอมชี้เขตหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(3) ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งปฏิบัติการตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้เข้าไปทำการสำรวจที่ดิน หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดจำนวนเนื้อที่ที่ดินในการยื่นแบบแสดง รายการที่ดินแทนเจ้าของที่ดิน หรือผู้ใดขัดขวาง นายอำเภอ หรือ นายกเทศมนตรี ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ โดยกระทำการเพื่อไม่ให้นายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ ที่เกี่ยวข้องแก่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภายหลังจากที่เจ้าของที่ดินหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามหนังสือ เรียกของนายอำเภอหรือนายกฯเพื่อมาให้ถ้อยคำ หรือส่งบัญชี หรือเอกสารมาตรวจสอบ และในกรณีเจ้าของที่ดิน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ทำตามคำสั่งที่ให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อ ประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ หรือผู้ใดขัดขวาง เจ้าพนักงานประเมินในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ที่ เกี่ยวข้องแก่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ในเวลากลางวันหรือเวลาทำการ เพื่อสอบถามบุคคล ตรวจสอบ ตรวจค้นบัญชี หรือเอกสาร หรือยึด อายัดบัญชี หรือเอกสาร เพื่อให้ทราบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ปฏิบัติถูกต้องตามพระราช บัญญัติหรือไม่

ผู้ใดขัดขวางกรณีดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

(4) ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรี ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ ซึ่งได้ให้เจ้าของที่ดินหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งบัญชี หรือเอกสารมาตรวจสอบ หรือเจ้าของที่ดินหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีบำรุงท้องที่หรือผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้า พนักงานประเมินที่มีหนังสือสั่งให้ผู้มีหน้าที่ที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือส่งบัญชีหรือเอกสารมาตรวจสอบ หรือผู้อุทธรณ์หรือบุคคลใดๆ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีหนังสือเรียกเพื่อมาให้ ถ้อยคำหรือส่งเอกสารอันควรแก่เรื่องมาแสดงในการพิจารณาอุทธรณ์

ผู้ใดฝ่าฝืนต่อคำสั่งกรณีดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(5) ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้านายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณีเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่นายอำเภอหรือนายกเทศมนตรี กำหนดภายในสามสิบวัน คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินคดีต่อไป

หมายเหตุ ในที่นี้นายอำเภอ หมายถึง ผู้อำนวยการเขต , นายกเทศมนตรี หมายถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 มาตรา 50 มาตรา 69


ที่มา
: พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
: กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
: ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2525

Categories: Business

Board, Label Tax (ภาษีป้าย)

14 February 2008 1 comment

นอกจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
เราจะต้องไปยื่นเรื่องขอประเมินภาษี เพื่อจะได้จ่ายภาษี
ยังมีภาษีป้าย ซึ่งมีกำหนดให้ยื่นภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
แต่เพื่อความประหยัดเวลา
ผมมักจะไปยื่นขอประเมินพร้อมกัน
ทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน และ ภาษีป้าย
แล้วก็จ่ายพร้อมๆกันไปเลยทีเดียว

ปี 2008 นี้ เป็นปีแรกมั้ง เท่าที่เคยจ่ายมา
คือ หลังจากจ่ายภาษีป้ายแล้ว
จะได้สติกเกอร์สีส้มๆ เพื่อนำไปติดที่ป้ายที่เราจ่ายภาษี
เป็นหลักฐานแสดงว่าเราจ่ายภาษีเรียบร้อยแล้ว


ภาษีป้าย : Board, Label Tax (Advertisement Tax)

1. ความรู้ทั่วไป

1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี

ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี

(1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ

(2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

(3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

(4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์

(5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายใน อาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์

(6) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

(7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ

(8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้น

(10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน

(11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

(12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

(13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ

(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน

(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบ ครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตาม ลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดัง กล่าว

1.4 กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในเดือนมีนาคมของปี ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่ม ติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี ทั้งนี้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตรต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้าย เป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้ายและให้ข้อความดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีป้าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทน หรือผู้แทนในประเทศ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย เจ้าของป้ายผู้ใด

(1) ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม ให้เสียเป็นรายงวด

(2) ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ ข้อความ ภาพและเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว ป้ายชำรุดไม่ต้องชำระเฉพาะปีที่ติดตั้ง

(3) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม ป้ายที่เพิ่มข้อความชำระตามประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่มป้ายที่ลดขนาดไม่ ต้องคืนเงินภาษีในส่วนที่ลด ถ้าเปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่ ให้เจ้าของป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วัน ที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายป้ายเดิมแล้วแต่กรณี

1.5 ฐานภาษีและอัตราภาษี

ฐานภาษีและอัตรา คือเนื้อที่ของป้ายและประเภทของป้ายรวมกัน ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ การคำนวณพื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขต ของป้าย ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือเอาตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและ ยาวที่สุด แล้วคำนวณเป็นตารางเซนติเมตร เศษของ 500 ตารางเซนติเมตรถ้าเกินครึ่ง ให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง ประกอบกับประเภทของป้าย คำนวณเป็นค่าภาษีป้ายที่ต้องชำระ โดยกำหนดอัตราภาษีป้ายดังนี้

(1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด หรือไม่

(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

(4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

(5) ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

2. ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่สำนักงานเขตโดยไม่คิดมูลค่า กรอกรายการในแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวันเดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่น แบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติด ตั้งหรือแสดงอยู่ สำหรับป้ายที่แสดงไว้ที่ยานพาหนะที่ต้องเสียภาษี ให้ยื่น ณ สำนักงานเขตซึ่งการจดทะเบียนยานพาหนะได้กระทำในท้องที่นั้น

2.1 เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ

กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่

– ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

– กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท,ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20

– หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

– หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

กรณีป้ายเก่า ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1

2.2 การชำระภาษี

ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขต ซึ่งป้ายนั้นตั้งอยู่หรือที่กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่กรุงเทพมหานครก็ได้ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย

2.3 การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละเท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระ ภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่ สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง

2.4 เงินเพิ่ม

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้

(1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้า หน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลด น้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่ เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงาน เจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน

(3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายเศษของ เดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม

2.5 การอุทธรณ์

เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายมี อำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัย พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการยกอุทธรณ์ดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีป้าย เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครว่าให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลเสียก่อน

2.6 การขอคืนเงินค่าภาษี

ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลด จำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็วเพื่อมา ขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้อง เสียมีสิทธิได้รับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระเงินค่าภาษี

2.7 บทกำหนดโทษ

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท ผู้ใดไม่ปฏิบัติดังนี้คือป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตรต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษร ไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งร้อยบาทเรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายคือให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับโอน หรือไม่แสดงการเสียภาษีป้าย (ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ให้เข้าไปในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย หรือบริเวณที่ต่อเนื่องกับสถานที่ดังกล่าว หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีป้ายในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและ พระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้ปฏิบัติการถูก ต้องตามพระราชบัญญัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมาให้ถ้อยคำหรือให้ ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของ นิติบุคคลนั้น


ที่มา
: พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
: พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
: กฎหมายกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510

Categories: Business

Building & Land Tax (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน)

13 February 2008 Leave a comment
ทุกเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ใครก็ตามที่มีอสังหาริมทรัพย์ ที่นอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตัวเองแล้วละก็
หนีไม่พ้นที่จะต้องไปจ่ายภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ถ้าทำเป็นเนียนไม่ยอมไปแจ้งหรือจ่าย ณ ที่ทำการเขต ของเขตที่สถานที่ตั้งทรัพย์แล้วละก็
วันดีคืนดี อาจจะโดนเรียกภาษีย้อนหลังเป็น 10 ปีเลยก็ได้

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : Building & Land Tax (House Tax)

1. ความรู้ทั่วไป

1.1 ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งใช้ปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทน นอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่น นำไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

(1) โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

(2) ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ และที่ดินอันเป็นบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติ ใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

1.2 ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี

(1) พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน

(2) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง

(3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษา พยาบาลและในการศึกษา

(4) ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์

(5) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าใน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน

(6) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2535 ยกเว้นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นที่ต่อเนื่อง

1.3 การขอลดหย่อนภาษี

การขอลดหย่อนภาษี การขอยกเว้น การงดเว้น การขอปลดภาษี การขอลดค่าภาษี จะทำได้ดังกรณีต่อไปนี้

– ถ้าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ถูกรื้อถอนหรือทำลาย ให้ลดยอดค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นตามส่วนที่ถูกทำลายตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ ทำขึ้น แต่ในเวลานั้นโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ นั้นต้องเป็นที่ซึ่งยังใช้ไม่ได้

– โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งทำขึ้นในระหว่างปีนั้น ให้ถือเอาเวลาซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ นั้นได้มีขึ้นและสำเร็จจนควรเข้าอยู่ได้แล้วเท่านั้นมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่า รายปี

– ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกล เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าว แล้วด้วย

– เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้รับความเสียหายเพราะโรงเรือน ว่างลงหรือชำรุดจึงจำเป็นต้องซ่อมแซมส่วนสำคัญ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นมีสิทธิขอลดภาษีได้ ทั้งนี้เป็นไปตามดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะลดค่าภาษีตามส่วนที่ เสียหายหรือปลดภาษีทั้งหมดก็ได้

– ถ้าเจ้าของโรงเรือนมีเหตุเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินในปีที่ผ่านมาย่อมได้รับการยกเว้น งดเว้น ปลดภาษี หรือลดค่าภาษี แล้วแต่กรณี

1.4 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ “ผู้รับประเมิน” ซึ่งหมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีเว้นแต่ถ้าที่ดินและอาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เป็นคนละเจ้าของกันให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.5 กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

ให้ผู้รับประเมินยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

1.6 ฐานภาษี

ฐานภาษีคือ ค่ารายปีของทรัพย์สินซึ่งหมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่าและค่าเช่านั้นเป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะ ให้เช่าได้ให้ถือค่าเช่านั้นเป็นค่ารายปี แต่ถ้ามีกรณีที่สมควรจะให้พิจารณาได้ว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควร ที่จะให้เช่าได้ หรือกรณีที่ไม่มีค่าเช่าเนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองหรือ ด้วยเหตุอื่น ๆ ให้พิจารณากำหนดค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า ที่มีลักษณะ ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะซึ่งทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกัน

1.7 อัตราภาษี

อัตราภาษีให้เสียในอัตราร้อยละสิบสองจุดห้าของค่ารายปี

2. ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

2.1 การยื่นแบบพิมพ์

ให้ผู้รับประเมินขอรับแบบ ภ.ร.ด.2 ได้ที่สำนักงานเขตโดยกรอกรายการในแบบ ภ.ร.ด.2 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน รับรองความถูกต้องของข้อความดังกล่าว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ วันที่ เดือน ปี กำกับไว้ แล้วส่งคืนไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ ณ สำนักงานเขตที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ การส่งแบบพิมพ์ จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ (ให้ถือวันที่ส่งทางไปรษณีย์เป็นวันยื่นแบบพิมพ์)

2.2 เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ

กรณีโรงเรือนรายใหม่ : ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังไม่เคยยื่นแบบเสีย ภาษีโรงเรือนและที่ดินมาก่อน ยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่ได้มีการใช้ประโยชน์ ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โดยยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ พร้อมสำเนาหลักฐานประกอบการพิจารณาได้แก่

– โฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น

– หนังสือสัญญาขาย หรือสัญญาให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

– ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร, ใบอนุญาตให้ใช้อาคาร

– ใบให้เลขหมายประจำบ้าน

– สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของโรงเรือน, สำเนาทะเบียนบ้านของโรงเรือนที่พิกัดภาษี

– บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

– หลักฐานการเปิดดำเนินกิจการ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท/ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / ทะเบียนพาณิชย์

– สำเนางบการเงิน (กรณีเป็นนิติบุคคล)

– หลักฐานของสรรพากรเช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20

– ใบอนุญาตตั้งและ/หรือประกอบกิจการโรงงาน

– ใบอนุญาตติดตั้งเครื่องจักร

– ใบอนุญาตของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

– ใบเสร็จค่าติดตั้งมิเตอร์น้ำประปา / ไฟฟ้า

– สัญญาเช่าโรงเรือนที่พิกัดภาษี

– หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

– หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์โรงเรือนที่พิกัดภาษี

หมายเหตุ ให้ผู้รับประเมิน หรือ เจ้าของโรงเรือนถ่ายสำเนาหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น พร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับทุกฉบับ

กรณีโรงเรือนรายเก่า : ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี พร้อมใบเสร็จรับเงิน การเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท พร้อมการยื่นแบบ ภ.ร.ด.2

2.3 การชำระภาษี

ผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) ให้ชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน โดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขตซึ่งโรงเรือนนั้นตั้งอยู่หรือที่กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) การชำระภาษีจะชำระโดยการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินของธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ และให้ถือว่าวันส่งทางไปรษณีย์เป็นวันรับชำระภาษี

2.4 การขอผ่อนชำระภาษี

ผู้มีสิทธิขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด โดยไม่เสียเงินเพิ่มมีเงื่อนไขดังนี้

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะขอผ่อนชำระค่าภาษีได้ โดยวงเงินค่าภาษีที่จะขอผ่อนชำระนั้น จะต้องมีจำนวนเงินค่าภาษีตั้งแต่เก้าพันบาทขึ้นไป

2. ได้ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น

3. ได้แจ้งความจำนงขอผ่อนชำระค่าภาษีเป็นหนังสือต่อพนักงานเก็บภาษี ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

2.5 เงินเพิ่ม

เงินค่าภาษีค้างชำระให้เพิ่มจำนวนดังอัตราต่อไปนี้

1. ถ้าชำระไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันถัดจาก วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง

2. ถ้าเกินหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสองเดือนให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง

3. ถ้าเกินสองเดือนแต่ไม่เกินสามเดือนให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง

4. ถ้าเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือนให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง

ถ้ามิได้มีการชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายในสี่เดือนกรุงเทพมหานครมีอำนาจ ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีได้

ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็น ของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม เจ้าของเก่าและเจ้าของใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน

2.6 การอุทธรณ์ภาษี

เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้รับแจ้งการประเมินแล้วไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเห็นว่าค่าภาษีสูงเกินไป หรือประเมินไม่ถูกต้องก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยกรอกในแบบพิมพ์(ภ.ร.ด.9) และยื่นแบบดังกล่าว ณ สำนักงานเขตท้องที่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้รับประเมินหมดสิทธิที่จะขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ และไม่มีสิทธินำคดีสู่ศาล เว้นแต่ในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งอ้างว่าเป็นเหตุหมดสิทธินั้น เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเป็นประการใดจะแจ้งคำชี้ขาดไปยังผู้ ยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้รับประเมินยังไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจในคำชี้ขาดดังกล่าว ย่อมมีสิทธินำคดีสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง และขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินนั้นเสีย แต่ต้องทำภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งคำชี้ขาด และการยื่นฟ้องต้องเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างคดียังอยู่ในศาล

2.7 การขอคืนเงินค่าภาษี

ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้มีการลดจำนวนเงินที่ประเมินไว้ให้ยื่นคำขอ รับเงินคืนได้ที่สำนักงานเขต โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงินประกอบด้วยกรณีที่ศาล พิพากษาให้ลดค่าภาษีศาลจะพิพากษาคืนเงินส่วนที่ลดนั้นให้ภายใน 3 เดือน

2.8 บทกำหนดโทษ

– ผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองทรัพย์สินกรอกรายการในแบบพิมพ์ตามความเป็นจริงตามความรู้เห็น ของตนให้ครบถ้วน และรับรองความถูกต้องของข้อความดังกล่าว พร้อมทั้งลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้แล้วส่งคืนไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้อง ที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ การส่งแบบพิมพ์จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ หากผู้ใดละเลยไม่แสดงข้อความข้างต้น เว้นแต่จะเป็นด้วยเหตุสุดวิสัย ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

– ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานเจ้า หน้าที่ไม่แจ้งรายการเพิ่มเติมละเอียดยิ่งขึ้นเมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดง หรือไม่ตอบคำถามเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถาม (ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้รับคำตอบจากผู้รับประเมินภายในสิบวัน หรือได้รับคำตอบอันไม่เพียงพอ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้รับประเมินมา ณ สถานที่ซึ่งเห็นสมควรและให้นำพยานหลักฐานในเรื่องอสังหาริมทรัพย์นั้นมาแสดง กับให้มีอำนาจซักถามผู้รับประเมินในเรื่องใบแจ้งรายการนั้น) ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

– ผู้ใด

ก) โดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือจัดหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่ง ทรัพย์สินของตนตามที่ควร

ข) โดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกง โดยอุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นที่จะหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนตามที่ควร ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


ที่มา

: พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
: ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2535
: กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475

Categories: Business

10 Selling Resolutions

15 January 2006 Leave a comment

It’s January! When you made your resolutions on December 31, were you worried primarily about your weight, your waistline, or even your reception at the water cooler? If so, you may have been overlooking something. Here are 10 New Year’s resolutions you may have overlooked.

Repeat after me…

1. I resolve not to waste any more time calling Seemore. You remember Seemore–he’s the analytical type who shoots down ideas for a living, as opposed to the visionary type (VITO, the Very Important Top Officer; the CEO, president or owner), the person who’s always in search of good ideas that’ll get him closer to the over-accomplishment of his company’s vision. If you’re not sure which of these two people you should be making your first sales call to, go directly to Jail. Do not pass go. Do not collect a fat commission check.

2. I resolve not to treat Tommie like a gatekeeper. VITO’s personal assistant (that’s Tommie) is one of the most important people in the entire organization, and deserves to be treated as such. Dump all of the outdated, tactics used in 2005 because they simply didn’t work. Just treat Tommie like he were VITO.

3. I resolve to avoid the "F" word during all conversations and correspondence with and to VITO. Translation: stay away from discussions about features, the "how" of your product, services or solutions. Stick to compelling demonstrations of the "what"–the benefit to VITO or VITO’s organization. Always put those benefits at the beginning of every discussion or presentation with VITO.

4. I resolve to achieve equal business stature with every VITO I want to sell to. You really are the expert in your product or service, and VITO will respect you for acting like one. Remember, you’re the functional equivalent of VITO.

5. I resolve to contact VITO directly. No more pussyfooting around. Build a VITO-speak correspondence blitz and follow up purposefully, promptly and directly by phone.

6. I resolve to avoid leaving lame voice-mail messages to VITO. Make sure your message broadcasts confidence and focuses directly on the quantifiable gains you delivered to one of VITO’s colleagues or an organization VITO will be able to relate to.

7. I resolve to never avoid leaving voice-mail messages for VITO. Get yourself out of the habit of letting all contact drop because VITO "isn’t in" or because you "do better on live calls." This is call avoidance, pure and simple.

8. I resolve never to waste VITO’s time, or even give the appearance of wasting VITO’s time. Getting dragged into unproductive discussions, discussions that eat away at the precious hours, minutes and seconds in the working day, is one of VITO’s chief fears. Don’t trigger that alarm. Make it clear that you know how to get to the point and stay on point, know exactly what you want from VITO, know when to stop talking, and know when to report back with something that’ll add value to VITO’s day.

9. I resolve not to treat VITO like any other customer. When was the last time you sent VITO a handwritten message of any kind? I rest my case.

10. I resolve not to shy away from asking VITO directly whether he/she will do business with me, and on what terms. This is the big one. If you can’t find out exactly where you stand at the end of your first conversation, you’re not implementing the system I teach. VITOs will respect you for asking this question, and as a general rule they’ll give you the straight scoop more reliably than anyone else in the organization. And it sounds something like this:

"Ms. Importanta, if our suspicions are right and we’re able to provide you with valuable (yap, yap…blah, blah*) could you see yourself becoming a customer of ours by the end of (January**)?"

* Of course, the "yap, yap…blah, blah" are words and phrases that VITO can understand that relate directly to what you can most likely do for VITO and VITO, Inc.

** Of course, you must pick a timeframe that makes sense to VITO and fits the time line of delivering your product, service or solution.

By following these 10 selling resolutions, you’re sure to see a notable increase in the number of successful sales calls you make this year. Practice these each day and you’ll be getting through to VITO in no time!

By Tony Parinello

Categories: Business

9 Ways to Use Your Business Plan

16 December 2005 Leave a comment

It’s not just for financing–your business plan can help you spot future success or failure, attract suppliers and employees, and more.

The process of writing a business plan helps you take a thorough, careful and comprehensive look at the most important facets of your business, including the contexts in which it operates. Just raising questions can sometimes lead to a solution, or at least ensure that if conditions change you won’t be forced to make decisions hastily. The ongoing "what if this or that happens?" inherent in the planning process keeps you alert. In other words, the planning process itself makes you a far more capable manager than you would be without it. For many, this is a more valuable result than securing funding.

In many ways, writing a business plan is an end in itself. The process will teach you a lot about your business that you are unlikely to learn by any other process. You’ll spot future trouble areas, identify opportunities, and help your organization run smoothly, simply through the act of writing a plan.

1 Evaluating a New Venture

Lisa Angowski Rogak is an entrepreneur who started several newsletters in much the same way. She devised a plan focusing on marketing strategy and cash flow projections to see if she could come up with a way to sell the newsletters while keeping her bills paid. She then prepared a sample issue to be used in a direct mail and publicity campaign. "Planning is the key to the success of your newsletter," says Rogak, whose latest venture is Williams Hill Publishing. "It’s the single most important thing you can do to ensure the success of your newsletter."

That’s the kind of encouragement that helps entrepreneurs persevere, whether they have an existing concern that’s hitting a rough spot or a startup concept that nobody else seems to believe in. Numbers can lie, of course, and nobody can create a spreadsheet that really tells the future. But evaluating financial data is to entrepreneurship what evaluating lab results is to a medical doctor. If your vital signs are good, odds are your future will be as well

But what if the odds don’t look so favorable? What if the first pass through your cash flow projection or income pro formas contains more red than a fire station paint locker? Sure, you can go back and look for an error or an overly pessimistic or conservative assumption. You can even try altering a few of the inevitable numbers that you really have no way of estimating accurately to see where the pressure points are, if nothing else.

But what if you do that, even pushing your alterations past the point of credibility, and your plan still doesn’t make sense? Well, in that case, you’ve probably done yourself the really big favor of finding out something isn’t going to work before you sink your money into it. Nobody knows exactly how often this happens, but it’s safe to say that a lot of businesses are never attempted because the plan convincingly says that they shouldn’t be.

Is that bad? Well, it may feel bad. But think how much worse you would feel if you went ahead with the venture, and things turned out as the plan forecast. Business planning is a powerful tool for evaluating the feasibility of business ventures. Use it.

It would be a shame to keep the benefits of a well-done plan to yourself. And you shouldn’t. You can use your plan to find funding. But a good plan can also help sell your products, services, and your whole company to prospects and suppliers. Furthermore, a plan is a valuable tool for communicating your visions, goals and objectives to other managers and key employees in your firm.

2 Selling with Your Plan

As a rule, your business plan is only likely to be required in the later stages of being selected as a supplier. Let the customer’s process decide when or if you’ll present your plan. As an added benefit, working your way through the early stages of vendor selection will give you a chance to rework your plan, if necessary, to stress the areas you’ve learned are more important to your potential customer.

3 Informing Suppliers and Customers

Increasingly, companies large and small have been trying to trim the number of suppliers and customers they deal with and develop deeper and stronger relationships with the ones they keep. An essential part of this is getting to know more about existing and prospective vendors and clients. So don’t be surprised if one day, when you’re trying to set up a new supplier relationship or pitch a deal to a big company, the person you’re negotiating with asks to see your business plan.

Why do suppliers care about business plans? Suppliers only want to sell to people who can pay, which is one important reason a new supplier is likely to want to see your business plan before taking a big order. Remember, if a supplier is selling to you on credit–letting you take delivery of goods and pay for them later–that supplier is, in effect, your creditor. Suppliers who sell for other than cash on delivery have the same legitimate interest in your business’s strategy and soundness as does a banker.

Say a supplier’s analysis of customer records shows it has a knack for developing long-term profitable relationships with moderate-sized companies that emphasize excellent service, price at a premium level, and provide only the best merchandise. Business plans provide all the information such a company will need to find and clone its best customers. So if a supplier asks to see your plan, be willing to share it. It could be the start of a long and mutually beneficial relationship.

Customers are likely to be concerned about how well your respective strategies fit with theirs. For instance, say your mission statement says that you intend to produce the best-in-the-world example of your product no matter what the cost. Your customer, meanwhile, is a high-volume, low-price reseller of the type of products you make. Even if your offering fits the customer’s need this time, odds are good that the relationship won’t work out over the long haul. If, on the other hand, a look at your business plan reveals that your companies share the same kind of strategies and have similar objectives in type if not scope, it’s an encouraging sign.

4 Managing With Your Plan

The spread of the open-book management theory means a lot more employees are seeing their companies’ business plans than ever before. When employees get the key information managers are using to make decisions, they understand management better and make better decisions themselves, and efficiency and profitability often increase as a result.

Many companies hold annual meetings at which they present and discuss an edited version of their business plan to all employees. Others provide new hires with their business plan-type information as part of their indoctrination in company culture. Both are effective approaches. You can also use bulletin boards or company newsletters to publish smaller sections of your plan, such as your mission statement or some details of financial objectives and how you’re progressing.

One drawback to using a plan to help inform and manage your employees is that many won’t understand it. Some firms provide employees with rudimentary training in matters like how to read a financial report before they hand out the company’s plans. Often this training is done by the CEO and can take considerable time. But don’t be afraid to share details of your business plan with employees. They may turn out to understand it better than you.

5 Monitoring Your Business’s Performance

Using a business plan to monitor your performance has many benefits. If your cash flow is running much shorter than projected at the moment, even though you’re not currently in trouble, that information may help you to spot disaster before it occurs. By comparing plan projections with actual results, you gain a deeper understanding of your business’s pressure points or the components of your operation that have the most effect on results.

    * Spotting trouble early. A teenager taking driver’s education is told to look through the rear window of the car in front to try to see the brake lights on the vehicle ahead of that one. The idea is that if the novice driver waits until the car immediately ahead slams on the brakes, it may be too late to stop. Looking forward, past the immediate future, helps traffic move more smoothly and averts countless accidents.

The same principle applies in business planning. You don’t have to be a wizard to get some solid hints about the future beyond tomorrow, especially when it comes to the operations of your own business. You can look at virtually any page of your business plan and find an important concept or number describing some expected future event that, if it turns out to be diverging from reality, may hint at future trouble.

Say your profit margins are shrinking slowly but steadily and seemingly irreversibly. If you can see that within a few months your declining margins will push your break-even point too high to live with, you can take action now to fix the problem. You may need to add a new, higher-margin product; get rid of an old one; or begin marketing to a more profitable clientele. All these moves, and many more you could take, have a good chance of working if your careful comparison of plan projections with actual results warns you of impending danger. Wait until the last minute, and you could be peeling yourself off the windshield.

    * Understanding pressure points. Not all tips that come from comparing plans with results have to do with avoiding danger. Some help you identify profit opportunities. Others may show how seemingly minor tweaks can produce outsized improvements in sales or profitability. For example, the plan for a one-person professional service business indicated that rising sales were not, in general, accompanied by rising costs. Fixed items such as office rent and insurance stayed the same, and even semivariable costs such as phone bills went up only slightly. The bulk of any extra business went straight to the bottom line, showing up as profit improvement. But one cost that didn’t seem especially variable went up sharply as business volume climbed. That was the number of transactions.

Ordinarily this would be a given and not necessarily a matter of grave concern. A large enterprise could absorb these costs, but for this single professional, however, added paperwork came at a very high cost–her own time. As a part of checking her plan against results, she noticed this unexpected increase in transactions and calculated that she spent around an hour on paperwork for each transaction no matter how large or small. She realized that one of the most important pressure points in her business was related to the size of a transaction. By refusing small engagements and seeking clients who could offer big jobs, she would reduce the amount of time spent on otherwise unproductive paperwork and increase the time she could spend completing client requirements.

Ultimately, she was able to trim what had been 100 annual transactions down to 75, while increasing the amount of her dollar revenue. The result was a free 25 hours to spend working on more business or just vacationing. If you can see and relieve a pressure point like that, you can really keep your business from boiling over.

There are few things to equal the sensation of filling in all the numbers on a cash flow projection, hitting the recalculate button, and scrolling to the bottom of your spreadsheet to see what the future holds. If the news is good and you see a steady string of positive cash balances across the bottom row, you know that, assuming your data is good and your assumptions reasonable, your business has a good chance of making it.

6 Do the Numbers Add Up?

Many businesses fail because of events that are impossible to foresee. If you’d begun a car dealership specializing in yacht-sized gas guzzlers right before the Arab oil embargo in the 1970s, you would be in the same position as a driver heading at 100 miles per hour into a brick wall–through no fault of your own. The same might go for a software startup that comes out with a new program just before Microsoft unveils a top-secret, long-term development effort to create something that does the same job for a lot less money.

It’s probably not a bad idea, as part of your business planning process, to try to include some information in your business plan about the activities or intentions of the potential embargos and Microsofts. If nothing else, crafting a scenario in which the unthinkably awful occurs may help you to deal with it if it does. But some things are just wild cards and can’t be predicted. For these you just have to trust the luck of the draw.

So what numbers have to add up? Certainly you have to be selling your products and services at a profit that will let you sustain the business long term. You’ll also have to have a financial structure, including payables and receivables systems and financing, that will keep you from running out of cash even once. If you have investors who want to sell the company someday, you may need a plan with a big number in the field for shareholders’ equity on the projected balance sheet.

When you’re asking yourself whether the numbers add up, keep the needs of your business and your business partners, if you have any, in mind. Even if it looks like it’ll take an air strike to keep your business from getting started, you don’t want to do it if the numbers say that long-term it’s headed nowhere.

7 Attracting Good People

It takes money to make money, sure, but it also takes people to make a company, that is, unless you’re a one-person company. Sometimes even then a plan can be an important part of your effort to attract the best partners, employees, suppliers and customers to you.

    * Prospective partners. Partners are like any other investors, and it would be a rare one who would come on board without some kind of plan. Partners want to know your basic business concept, the market and your strategy for attacking it; who else is on your team; what your financial performance, strengths and needs are; and what’s in it for them. Luckily, these are exactly the same questions a business plan is designed to address, so you’re likely to please even a demanding prospective partner by simply showing him or her a well-prepared plan. The one difference is a plan probably won’t contain the details of a partnership agreement. And you’ll need one of these to spell out the conditions of your partnership, no matter how well you and your prospective partner know, understand and trust one another.
    * Prospective employees. Although employees may not be making cash contributions to your business, they’re making an investment of something equally important–their own irreplaceable time. The kinds of employees you probably want are careful, thorough, good at assessing problems and risks, and unwilling to leap into hazardous waters. As it happens, these are just the kind of people who are going to want to see a written plan of your business before they come on board.

Now, it’s not going to be necessary, if you’re running a restaurant, to show your full business plan to every waitperson or assistant dishwasher who fills out a job application. It’s the most desirable employees–the talented technologists, the well-connected salespeople, the inspired creative types, and the grizzled, seen-it-all managers–who are most likely to feel they can and should demand to see details of your plan before they cast their lot with you.

So even if you don’t show your plan to more than a few prospective employees, when you need it, you may really need it bad. Make sure you’re ready when a promising but inquisitive job candidate shows up at your doorstep. Another thing, as we’ve pointed out, not all businesses have plans. So by having one, you’ll be making yourself a more desirable employer.

8 Plan for the Possibility of Failure

There’s no point in planning for failure, but there is a point in writing a business plan that’s willing to admit the possibility of failure. It’s only natural to create a plan that will describe a roaring success, but you have to be careful not to present an overly optimistic view, especially of such elements as sales, costs and profit margins.

It’s tempting to noodle around with the numbers until you come up with the desired result. And if you only make small changes here and there, it may seem all right. What difference does it make? Say you increase your projected market share by 1 percent here, reduce expected costs by 2 percent there, and lower your estimate of required startup capital by a few percentage points as well.

A number of similarly small changes, in sum, can make a big difference in the bottom line of your plan and turn what otherwise looks like a loser into a projected winner. But don’t be seduced. You may be asking for investments from friends and family you care about as well as putting your own life savings into the enterprise. Arm’s-length investors’ feelings may not be so important, but if you mislead them in your plan, you may open yourself up to accusation of misrepresentation.

Looking at things in your plan through rose-colored glasses may even doom your business to failure if it causes you to seek insufficient startup capital, underprice your product or service or expect unrealistically rapid growth. Temper your enthusiasm. If your plan indicates that the business idea isn’t sound, by all means look for errors. But don’t make the mistake of skewing your plan to fit an idea that isn’t sound.

9 Update Your Plan

Writing a business plan is one of those skills that improves with practice. The first one or two times you create one, you may feel a little unsure of yourself and even less certain that what you’re doing has value.

If you go on to start several ventures during your career, you’ll naturally write several business plans, and each one will be better than the last. It’s likely as well that with better planning skills will come improved business skills, boosting the odds that each successive company you start will do better than the one before.

But there’s no reason that only serial entrepreneurs should get the benefit of regular business planning sessions. If you start just one company or even if you never start a company at all, you can and should be constantly honing your business planning skills by updating and rewriting your business plan.

Updating a plan is normally easier than starting from scratch. Instead of trying to figure out what your basic business concept is, you only have to decide whether it’s changing. Instead of wondering where you’ll find the current market research you need, you just have to go back to the original source for updated figures. You’ll usually be able to reuse the financial formulas, spreadsheets, management biographies and other more or less evergreen contents of your plan.

It’s important, however, that a plan update not be a mechanical task, limited to plugging in the most recent sales figures. Take the time to challenge some of the core assumptions of your prior plan to see if they still hold up. Have profit margins been higher than you expected? Then start planning how to make the most of any extra cash you generate. Is your new retail store unit not performing as well as others or you expected? Then now’s the time to figure out why. Has competition for your new product arisen sooner than you guessed? Take a look at other products with an eye to seeing if they are also more vulnerable than you think.

In large corporations with strict planning routines requiring annual, semiannual and quarterly plans and plan updates, managers spend at least part of their time working on or thinking about a new plan or plan update. All that information flowing up to senior managers in the form of plans helps keep the brass informed. It helps those in the trenches, too. It’s a fact that everybody is judged by past performance. And the best way to ensure that a year from now you’ll be looking back on your performance with satisfaction and pride is to plan now and often.

Here are eight reasons to think about updating your plan. If one applies to you, it’s time for an update.

   1. A new financial period is about to begin. You may update your plan annually, quarterly or even monthly if your industry is fast changing.
   2. You need financing, or additional financing. Lenders and other financiers need an updated plan to make financing decisions.
   3. Significant markets change. Shifting client tastes, consolidation trends among customers and altered regulatory climates can trigger a need for plan updates.
   4. New or stronger competitors are looking to your customers for their growth.
   5. Your firm develops or is about to develop a new product, technology, service or skill. If your business has changed a lot since you wrote your plan, it’s time for an update.
   6. You have had a change in management. New managers should get fresh information.
   7. Your company has crossed a threshold, such as moving out of your home office, reaching $1 million in sales or employing 100 people.
   8. Your old plan doesn’t seem to reflect reality anymore. Maybe you did a poor job last time; maybe things have just changed faster than you expected. But if your plan seems irrelevant, redo it.

By David H. Bangs Jr.,  September 27, 2005

Categories: Business

5 Common Sales Mistakes

14 December 2005 Leave a comment

The things you do–and don’t do–could keep you from closing sales. Watch out for these 5 common mistakes, and learn how to avoid them.

Everyone makes mistakes. Usually, these mistakes can be easily rectified by small changes in work habits, time management and–most important of all–attitude. The biggest mistake people make when selling is lack of enthusiasm. Customers are drawn to passionate people–if you’re not passionate about what you’re selling, even the best skills will go to waste.

Luckily, there’s always room for improvement. Though we all make mistakes, we have the potential for improvement every day. Here are five common sales mistakes to watch out for:

1. Not making enough calls: Selling is a numbers game. A great attitude certainly opens up opportunities, but you also have to call as many people as possible. It’s simple math–the more people you call, the higher the number of positive responses you’ll get. A higher activity level increases your ability to connect with customers.

2. Not connecting with the right decision-makers: You won’t close sales by calling on people who are not qualified to make the deal. If a prospect has no authority to make a decision, you have to ask tough questions like, "Is there anybody besides yourself who is involved in this decision that I should speak with?" Don’t be afraid to call from the top down; the big guns just might take your call and direct you to the person who handles your type of product or service.

3. Not listening: Salespeople make this mistake many times–they’re so busy thinking about what they’re going to say next, they forget to listen to what the prospect is telling them. In my November column, I talked about asking smart questions. It’s not only asking questions that counts–it’s also getting prospects to expand on their answers and learning from what they say. Don’t get so excited about what you’re selling that you talk too much and stop listening.

4. Time mismanagement: Not closing enough deals is a time-management issue. It’s important to keep your goals in sight, to be able to see the big picture, and to know where you are in every customer’s sales cycle. It helps to have a visual reminder in front of you, perhaps a goal board or a diagram showing you what you need to do every day and how much time should be allotted to each activity. This will help you know when you should be closing. It’s better to ask for the order early than not to ask at all.

5. Not recovering quickly enough: Everyone experiences rejections and setbacks. Deals that have been in the works for months or even years fall through. A sale that seems like a sure thing turns out to be dead in the water. If you take this rejection personally, it will diminish your enthusiasm and hinder you from moving on to the next sale. The most successful salespeople are able to shake off their disappointment and keep right on going. The reason most salespeople let rejection get to them goes back to mistake No. 1: They don’t have enough activity to fall back on or other prospects to call. It’s not failing or falling that’s the problem–it’s the inability to get back up again. The secret to dealing with setbacks is finding the positive after a negative encounter. Let that "No" motivate you to figure out a different approach so you’ll get a "Yes."

By Barry Farber, December 2005

Categories: Business

It’s Who You Know

13 December 2005 Leave a comment

If you really know how to work your connections, a successful startup is less than 6 degrees away.

The saying goes that every person on earth is separated from every other person by only six degrees. That means your friend’s brother’s nephew’s wife could know Michael Dell, Donald Trump or Martha Stewart. You could conceivably be only a few networking steps away from someone who could help you get your business off the ground–be it an industry contact, a top lawyer or a state government official. You’ve heard all about the importance of networking, but what about harvesting your own network to uncover someone who just might be able to get you in touch with a stellar business contact? That’s six-degree networking.

Even if you don’t think you know someone who can help, you’d be surprised. What about an old schoolmate you send holiday cards to? Who might she know? Or could your softball teammate have a brother in the same industry in which you hope to hang your shingle?

Perhaps the biggest benefit of using the "six degrees of separation" method is that you have an "in" with this new person. Since your friend of a friend is opening the door, you’re not exactly a stranger. "The whole key to six degrees is you’re coming with a reference; you’re not cold calling," says Keith Ferrazzi, author of Never Eat Alone: And Other Secrets to Success, One Relationship at a Time and CEO of Ferrazzi Greenlight, a marketing and sales consulting and training firm in Los Angeles. "You’re coming with a warm lead, so to speak."

A Friend of a Friend

A warm lead is exactly how Paul Taylor found someone who could help him get his specialty clothing business off the ground. Taylor, 36, had been working as an arborist and found that his work clothing wasn’t as practical for tending trees as he would’ve liked. He wanted to combine the durability of a canvas work pant with the agility and great fit of a rock-climbing pant–so in 1997, he launched Arborwear LLC from his parents’ Cleveland-area home.

Like any entrepreneur excited about a new idea, Taylor was talking about the venture one day with a friend who was also an arborist. This friend happened to have a friend whose sister worked in a New York City fashion enterprise. Taylor called that friend of a friend, who then introduced Taylor to his fashion-industry sister. "I called her, and I ran the whole idea by her. She didn’t know anything about chain saws or tree work or arborists, but she said, ‘The key to it is that you have a niche, and that’s really the only place you can ever hope to get started,’" recalls Taylor. "I wound up going to New York City and meeting [this contact]. She loaned me a cell phone and gave me this list of people to see about fabric."

Taylor’s fashion-industry contact was so helpful and encouraging, in fact, that he credits her with helping him launch his business. "She gave me confidence that this was a good idea–and she gave me a push in the right direction," he says.

Sincerity is the key to making the six-degree method of networking work for you, according to experts. If you go to people thinking only about what’s in it for you, you’ll turn off a lot of potential contacts. "As you approach these individuals, be sure you’ve clearly defined what you can do for them," says Ferrazzi. "Generosity is the [key] to your success with relationships. Defining what currency you have–what you can do for others-is crucial."

If you can bring something to the table, do it. If you can’t, as was the case with Taylor and the fashion-industry contact, display complete humility, and be genuine in your communication with contacts. Says Taylor, "The thing that helped me most was that I never lied, [though] I always tried to sound like I knew what I was talking about. I really found that people bent over backward to help me."

To get started, plumb your expertise, and look for things to offer. Taylor, for instance, was able to barter his tree-removal services with a lawyer he met through another friend–he got legal services to help set up his business, and the lawyer got a problem tree removed from his property. Cultivating contacts has paid off for Taylor, whose $1.5-million business now sells its Arborwear line of specialty climbing and outdoor-work clothing online. The company’s line of pants, shirts, T-shirts, belts and hats is also sold through retailers such as REI nationwide.

Coincidental Meeting

The seeds of your six-degree network can grow in the most unlikely places. You might sit next to someone on an airplane, or be chatting with someone as you wait for an elevator, when business kismet strikes–so be sure to bring your game face with you wherever you go. "Every interaction with anybody counts because it reflects on your brand," says Alaina G. Levine, president of Quantum Success Solutions, a Tucson, Arizona, company that provides expertise on topics such as PR, personal branding and marketing.

Kaz Kihara always had his business idea in the back of his head. While working for a CPA firm in the late 1990s, he was attending night school and started chatting with one of his classmates. The two struck up a friendly rapport, and Kihara learned his classmate was the chief information officer for an $80-million company in the medical services industry. In 1999, when Kihara decided to start Premier Data Technology Inc., a Torrance, California, provider of IT services to small and midsize companies, this high-level executive hooked him up with a former colleague–who became one of Kihara’s first and largest clients.

Keeping his six-degree network of contacts in mind at all times, Kihara regularly calls his contacts socially–not always with a specific business goal in mind, but to keep those lines of communication open. "While I’m driving in my car, I call my clients, friends, ex-employees, just to see how everything’s going," says Kihara, 35.

And just like the experts suggest, he approaches contacts with ways of helping their businesses. Says Kihara, "I try not to do it too aggressively–I usually try to know the person or help that person in their business or personally. How can I help them so that they might want to help me out?"

There’s one definite no-no of the six-degree system: Don’t be too pushy or aggressive when pursuing your leads. And don’t rush a connection too quickly, says Steve Harper, author of The Ripple Effect: Maximizing the Power of Relationships for Your Life and Business. "If person A can get you aligned with person B, but you don’t have enough rapport built up with person A, you have a tendency to really burn a bridge," he says. "You [can] make people feel used and seedy in the process [by] leapfrogging them. It’s really important to let everybody know that they’re individually important in the process–and give the proper credit to person A for opening that door of opportunity." You can do that by following up with a thank you, he notes.

Ever appreciative of his business relationships, Kihara’s company grew to a second location in Las Vegas in May thanks to six-degree networking. He is currently establishing and building relationships in Asia with hopes of bringing his services to the Japanese market, which will likely push sales past the 2005 projections of more than $2.4 million.

Proactive Network

Consider the biblical adage "seek, and ye shall find" when it comes to six-degree networking. As Ferrazzi notes, you have to be proactive when employing this approach during startup. First, you must decide exactly what type of startup help you need: Are you looking for someone to help finance your business? A mentor to teach you about your industry? A source of great employees? "Once you identify what you want to achieve, you can specifically target the individuals you need to associate with to achieve [your] goals," says Ferrazzi. "Some are going to be prospective clients, community leaders, influencers, etc."

That kind of preparation is precisely what helped Cindy Page build her Blockhead Bath line of bath and body products. When she launched her company in 2002, she needed help determining her company name in addition to general information about the bath and body industry. A former assistant buyer for Filene’s, Page knew a vendor who referred her to a friend who worked in marketing for a large bath and body manufacturer–and she was able to glean a lot of industry knowledge from that contact. "When I talked to that person, I really made sure I had a goal in mind and the kinds of questions I wanted to ask [all prepared]," says Page, 35. "I made sure I did my homework."

Do your homework, and don’t be afraid to ask politely for what you need. But, Ferrazzi cautions: "You’ve got to make sure the intimacy you have with them is commensurate with the request." There’s a fine line between being proactive and being aggressive, but experts agree that many people are willing to help if you approach them in a positive, "what can I do for you" kind of way.

It’s really just being brave enough to open your mouth about your business. Says Page, "I tapped into every friend, every trusted colleague, every business associate." A friend of a former co-worker, for instance, was organizing a Ronald McDonald House fund-raising event; thanks to that connection, the organizer tapped Blockhead Bath to donate to the silent auction-a social coup and a brand boost. Page was also invited to participate in a sales event at an arts fair in Chicago when a friend of hers, who went to college with the person who ran the fair, put in a good word. The real-life implication of such relationships is clear: Page has seen her company’s 2005 sales approach $500,000, and her company currently sells its products online at www.blockheadbath.com and at the Amazon.com Beauty store. Says Page, "People like to do business with people they know, and they like to help people they know-or kind of know."

Six Degrees of Success

It would seem that using your six-degree network of contacts is not only smart for business, it’s essential. "It’s amazing to think that we are connected to every other person on the planet by only six steps, which means there are unlimited business opportunities out there," says Levine.

And if you’ve learned anything, it’s that this isn’t just an easy, one-time gig. It’s important to keep your six-degree network thriving as you grow your business. "It’s a never-ending process. It isn’t just going to events and collecting business cards–it’s about finding people you can build something with and cultivate a relationship [with]," says Harper. "It’s a lot of hard work to build that trust and rapport, but you’ll be rewarded handsomely because you’re willing to put the time and effort into it." Cultivating your six-degree network is a deliberate and valuable act, so tend to it as you would a garden, and watch the business opportunities grow.

6 Ways to Start 6-degree Networking Right Now

Ready to build and cultivate your own connections? These six action steps will help you get your six-degree network up and running:

    * 1. Make a list of the 250 people most important to you. Keith Ferrazzi, CEO of Ferrazzi Greenlight, a marketing and sales consulting and training firm in Los Angeles, suggests you consider business leaders, community leaders, friends and family–basically anyone who can help you and to whom you might have something to offer. Start cultivating those relationships.

    * 2. Become a master at relationships. It’s not just about picking up the phone; it’s about creating long-term connections and developing a real rapport. Ferrazzi says to remember things like your contacts’ birthdays and favorite hobbies.

    * 3. Join business and social groups. Start attending meetings, luncheons, mixers, whatever–anything that will build your contact list. "As you grow [your] business, your circle–your network- should grow as well," says Zoe Alexander, networking expert and founder of Divas Who Dine LLC, a women’s business networking group in New York City.

    * 4. Assess your attributes. Clearly define what you can bring to the table for all your new contacts. The more you bring to the party, the more willing people will be to help you, Alexander points out.

    * 5. Engage in conversations. No matter where you are, start talking with your seatmate or line buddy. Ask questions about their business or industry and talk a bit about yours, Levine suggests. You’ll get ideas, inspiration and, if you’re lucky, a really good six-degree contact.

    * 6. Bone up on current events. "Leaders are readers," says Steve Harper, author of The Ripple Effect: Maximizing the Power of Relationships for Your Life and Business. To be relevant to your desired contacts, you’ve got to stay abreast of news, happenings and the like. Doing so will also give you good conversation-starters for any networking situation.

By Nichole L. Torres, December 2005

Categories: Business

Top 10 Business Plan Mistakes

7 December 2005 Leave a comment

When it comes to creating a business plan that attracts investors, these tips will help you get it right the first time.

Every business should have a business plan. Unfortunately, despite the fact that many of the underlying businesses are viable, the vast majority of plans are hardly worth the paper they’re printed on. Most "bad" business plans share one or more of the following problems:

1. The plan is poorly written. Spelling, punctuation, grammar and style are all important when it comes to getting your business plan down on paper. Although investors don’t expect to be investing in a company run by English majors, they are looking for clues about the underlying business and its leaders when they’re perusing a plan. When they see one with spelling, punctuation and grammar errors, they immediately wonder what else is wrong with the business. But since there’s no shortage of people looking for capital, they don’t wonder for long–they just move on to the next plan.

Before you show your plan to a single investor or banker, go through every line of the plan with a fine-tooth comb. Run your spell check–which should catch spelling and punctuation errors, and have someone you know with strong "English teacher" skills review it for grammar problems.

Style is subtler, but it’s equally important. Different entrepreneurs write in different styles. If your style is "confident," "crisp," "clean," "authoritative" or "formal," you’ll rarely have problems. If, however, your style is "arrogant," "sloppy," "folksy," "turgid" or "smarmy," you may turn off potential investors, although it’s a fact that different styles appeal to different investors. No matter what style you choose for your business plan, be sure it’s consistent throughout the plan, and that it fits your intended audience and your business. For instance, I once met a conservative Midwest banker who funded an Indian-Japanese fusion restaurant partly because the plan was–like the restaurant concept–upbeat, trendy and unconventional.

2. The plan presentation is sloppy. Once your writing’s perfect, the presentation has to match. Nothing peeves investors more than inconsistent margins, missing page numbers, charts without labels or with incorrect units, tables without headings, technical terminology without definitions or a missing table of contents. Have someone else proofread your plan before you show it to an investor, banker or venture capitalist. Remember that while you’ll undoubtedly spend months working on your plan, most investors won’t give it more than 10 minutes before they make an initial decision about it. So if they start paging through your plan and can’t find the section on "Management," they may decide to move on to the next, more organized plan in the stack.

3. The plan is incomplete. Every business has customers, products and services, operations, marketing and sales, a management team, and competitors. At an absolute minimum, your plan must cover all these areas. A complete plan should also include a discussion of the industry, particularly industry trends, such as if the market is growing or shrinking. Finally, your plan should include detailed financial projections–monthly cash flow and income statements, as well as annual balance sheets–going out at least three years.

4. The plan is too vague. A business plan is not a novel, a poem or a cryptogram. If a reasonably intelligent person with a high school education can’t understand your plan, then you need to rewrite it. If you’re trying to keep the information vague because your business involves highly confidential material, processes or technologies, then show people your executive summary first (which should never contain any proprietary information). Then, if they’re interested in learning more about the business, have them sign noncompete and nondisclosure agreements before showing them the entire plan. [Be forewarned, however: Many venture capitalists and investors will not sign these agreements since they want to minimize their legal fees and have no interest in competing with you in any case.]

5. The plan is too detailed. Do not get bogged down in technical details! This is especially common with technology-based startups. Keep the technical details to a minimum in the main plan–if you want to include them, do so elsewhere, say, in an appendix. One way to do this is to break your plan into three parts: a two- to three-page executive summary, a 10- to 20-page business plan and an appendix that includes as many pages as needed to make it clear that you know what you’re doing. This way, anyone reading the plan can get the amount of detail he or she wants.

6. The plan makes unfounded or unrealistic assumptions. By their very nature, business plans are full of assumptions. The most important assumption, of course, is that your business will succeed! The best business plans highlight critical assumptions and provide some sort of rationalization for them. The worst business plans bury assumptions throughout the plan so no one can tell where the assumptions end and the facts begin. Market size, acceptable pricing, customer purchasing behavior, time to commercialization–these all involve assumptions. Wherever possible, make sure you check your assumptions against benchmarks from the same industry, a similar industry or some other acceptable standard. Tie your assumptions to facts.

A simple example of this would be the real estate section of your plan. Every company eventually needs some sort of real estate, whether it’s office space, industrial space or retail space. You should research the locations and costs for real estate in your area, and make a careful estimate of how much space you’ll actually need before presenting your plan to any investors or lenders.

7. The plan includes inadequate research. Just as it’s important to tie your assumptions to facts, it’s equally important to make sure your facts are, well, facts. Learn everything you can about your business and your industry–customer purchasing habits, motivations and fears; competitor positioning, size and market share; and overall market trends. You don’t want to get bogged down by the facts, but you should have some numbers, charts and statistics to back up any assumptions or projections you make. Well-prepared investors will check your numbers against industry data or third party studies–if your numbers don’t jibe with their numbers, your plan probably won’t get funded.

8. You claim there’s no risk involved in your new venture. Any sensible investor understands there’s really no such thing as a "no risk" business. There are always risks. You must understand them before presenting your plan to investors or lenders. Since a business plan is more of a marketing tool than anything else, I’d recommend minimizing the discussion of risks in your plan. If you do mention any risks, be sure to emphasize how you’ll minimize or mitigate them. And be well prepared for questions about risks in later discussions with investors.

9. You claim you have no competition. It’s absolutely amazing how many potential business owners include this statement in their business plans: "We have no competition."

If that’s what you think, you couldn’t be further from the truth. Every successful business has competitors, both direct and indirect. You should plan for stiff competition from the beginning. If you can’t find any direct competitors today, try to imagine how the marketplace might look once you’re successful. Identify ways you can compete, and accentuate your competitive advantages in the business plan.

10. The business plan is really no plan at all. A good business plan presents an overview of the business–now, in the short term, and in the long term. However, it doesn’t just describe what the business looks like at each of those stages; it also describes how you’ll get from one stage to the next. In other words, the plan provides a "roadmap" for the business, a roadmap that should be as specific as possible. It should contain definite milestones–major targets that have real meaning for your business. For instance, reasonable milestones might be "signing the 100th client" or "producing 10,000 units of product." The business plan should also outline all the major steps you need to complete to reach each milestone.

Smoothing Out the Rough Spots

Once you know what mistakes not to make, there are still a few steps you need to take to make your business plan "bulletproof." Be sure you . . .

    * Think it through. You might have a great idea, but have you carefully mapped out all the steps you’ll need to take to make the business a reality? Think about building your management team, hiring salespeople, setting up operations, getting your first customer, protecting yourself from lawsuits, outmaneuvering your competition, and so on. Think about cash flow and what measures you can take to minimize your expenses and maximize your revenue.

    * Do your research. Investigate everything you can about your proposed business before you start writing your business plan–and long before you start the business. You’ll also need to continue your research while you write the business plan, since inevitably, things will change as you uncover critical information. And while you’re researching, be sure to consult multiple sources since many times the experts will disagree.

    * Research your potential customers and competitors. Is your product or service something people really want or need, or is it just "cool"? Study your market. Is it growing or shrinking? Could some sort of disruptive technology or regulatory change alter the market in fundamental ways? Why do you think people will buy your product or service? If you don’t have any customers or clients yet, you’ll need to convince investors that you have something people really want or need, and more important, that they’ll buy it at the price you expect.

    * Get feedback. Obtain as much feedback as you can from trusted friends, colleagues, nonprofit organizations, and potential investors or lenders. You’ll quickly find that almost everyone thinks they’re an expert and they all could do a better job than you. This may be annoying, but it’s just part of the feedback process. You’ll know when you’re done when you’ve heard the same questions and criticisms again and again and have a good answer to almost everything anyone can throw at you.

    * Hire professional help. Find a professional you trust to help guide you through the entire process, fill in knowledge gaps (for instance, if you know marketing but not finance, you should hire a finance expert), provide additional, unbiased feedback, and package your plan in an attractive, professional format.

Writing a business plan is hard work–many people spend a year or more writing their plan. In the early, drafting stages, business plan software can be very helpful. But the hard part is developing a coherent picture of the business that makes sense, is appealing to others and provides a reasonable road map for the future. Your products, services, business model, customers, marketing and sales plan, internal operations, management team and financial projections must all tie together seamlessly. If they don’t, you may not ever get your business off the ground.

By Andrew Clarke,  November 28, 2005

Categories: Business