Archive

Archive for March, 2008

แนวรถไฟฟ้า 2008 (สมัคร 1)

31 March 2008 1 comment

เปิดแนวรถไฟฟ้ารัฐบาล สมัคร 1 คิกออฟเฟสแรก 7 สาย 3 แสนล้าน

ในที่สุดโครงการเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าสายสีรุ้งที่หลายคนเฝ้ารอคอยก็ได้ฤกษ์ตกผลึกกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากชุลมุนวุ่นวายอยู่ พักใหญ่ว่าจะก่อสร้างทั้งหมดกี่สาย ใช้เงินเท่าไหร่ และมีสายไหนบ้าง ณ วันนี้รัฐบาล "สมัคร 1" มีคำตอบให้กับคนกรุงเทพฯอย่างเป็นรูปธรรม

ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชนนัดแรก เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี "สมัคร สุนทรเวช" นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานคุมเกมการประชุมด้วยตนเอง แม้จะเป็นการประชุมครั้งแรก แต่บทสรุปสุดท้ายก็ลงตัวเพราะสามารถประกาศแนวทางที่ชัดเจนทั้งในแง่แนวเส้นทางรถไฟฟ้า ไปจนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะรับไปดำเนินการ และขั้นตอนหลังจากนี้

รถไฟฟ้าเฟสแรก 7 สาย 3 แสนล้าน

ตามนโยบายของรัฐบาลสมัคร 1 ในภาพรวมจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมด 9 สาย 9 แฉก ระยะทาง 300 กิโลเมตร ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

1 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระยะทาง 30 กิโลเมตร
2 สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ไทรน้อย ระยะทาง 25 กิโลเมตร
3 สายสีเขียว ช่วงตากสิน-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 21 7 กิโลเมตร
4 สายสีเขียว ช่วงสำโรง-เมืองโบราณ ระยะทาง 17 กิโลเมตร
5 สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา ระยะทาง 15 กิโลเมตร
6 สายคลองมหานาค-สุขสวัสดิ์- ป้อมพระจุล ระยะทาง 32.5 กิโลเมตร
7 สายมีนบุรี-ศาลายา ระยะทาง 51 กิโลเมตร
8 สายวงแหวนรอบใน (บางซื่อ-คลองเตย) ระยะทาง 29 กิโลเมตร
9 สายวงแหวนรอบนอก (เกษตรนวมินทร์- ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-ปู่เจ้าสมิงพราย-ราชพฤกษ์-พระราม 5) ระยะทาง 88 กิโลเมตร

แต่เมื่อดูความพร้อมด้านแบบ รายละเอียด ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผลศึกษาการร่วมทุนตาม พ ร บ ร่วมทุนฯ การเวนคืนที่ดินหรือความพร้อมในการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้าง ในที่สุด บทสรุปสุดท้ายที่รัฐบาล "สมัคร 1" จะดำเนินการขั้นตอนประกวดราคาได้ทันในปี 2551 นี้ มี 7 สาย มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท

ในเชิงการบริหาร การสานต่อจากแผนเดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้ว (รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์) ทำค้างไว้ให้ จะเป็นหนทางที่สั้นและเร็วที่สุด ซึ่งหน่วยงานหลักคือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข ) ได้มีการออกแบบรายละเอียดและเคลียร์ขั้นตอนที่จำเป็นตามกฎหมายทุกอย่างไว้รอเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนเปิดประกวดราคาเท่านั้นเอง โดยทาง สนข เตรียมความพร้อมไว้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบรถไฟฟ้าในเมืองกับรถไฟชานเมือง

ระบบรถไฟฟ้าในเมืองมี 4 สาย

ประเดิมสายแรกด้วยเส้นทาง "สายสีม่วง" ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ วงเงิน 55,945 ล้านบาท หน่วยงานหลัก คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม ) จะขายแบบเดือนมีนาคมนี้

การออกแบบตามแนวเส้นทางจะเป็นโครงสร้าง "ทางยกระดับ" ทั้งหมด เริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ณ ชุมทางสถานีบางซื่อ ออกแบบเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับไปทางสะพานสูงบางซื่อ วิ่งข้ามคลองเปรมประชากร ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สามแยกเตาปูน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แยก ท่าอิฐ แยกบางพลู ถนนวงแหวนรอบนอก สิ้นสุดปลายทางที่คลองบางไผ่ ซึ่งจะเป็น ที่ตั้ง "ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ" ขนาดพื้นที่ 170 ไร่ด้วย

สายสีม่วงมีระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน (บริเวณสามแยกเตาปูน) สถานีบางซ่อน สถานีวงศ์สว่าง (บริเวณสี่แยกวงศ์สว่าง) สถานีแยกติวานนท์หน้าซอย 14 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีพรสวรรค์ (ซอยรัตนาธิเบศร์ 22) สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า (ใกล้หมู่บ้านซื่อตรง) สถานีท่าอิฐ

สถานีบางรักใหญ่ (ใกล้แยกตัดถนนราชพฤกษ์) สถานีบางพลู (กลางสี่แยก บางพลูบนถนนรัตนาธิเบศร์) สถานีสามแยกบางใหญ่ (ใกล้หมู่บ้านกฤษดานคร โครงการ 10) สถานีตลาดบางใหญ่ (ติดโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์) และสถานีคลองบางไผ่

สายที่สอง คือ "สายสีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทางรวม 27 กิโลเมตร วงเงิน 75,540 ล้านบาท เตรียมขายแบบเดือนมิถุนายน 2551 โดยแนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ "ส่วนต่อช่วงหัวลำโพง-บางแค" ระยะทาง 14 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นรถไฟใต้ดิน 5 กิโลเมตร และยกระดับอีก 9 กิโลเมตร มี 11 สถานี โดย "สถานีใต้ดิน" จะเริ่มจากสถานีวัดมังกร (ซอยเจริญกรุง 16 หรือซอยอิสรานุภาพ) สถานีวังบูรพา (แยกวังบูรพา) สถานีสนามไชย (หน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ) สถานีอิสรภาพ (ซอยอิสรภาพ 34 หรือวัดราชสิทธาราม)

ส่วน "สถานียกระดับ" อยู่ที่สถานีท่าพระ (แยกท่าพระ) สถานีบางไผ่ (ด้านหน้าโรงพยาบาลบางไผ่) สถานีบางหว้า (จุดตัดถนนเพชรเกษม-ราชพฤกษ์) สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ (ห้างฟิวเจอร์ พาร์ค บางแค) สถานีบางแค (ซอยเพชรเกษม 62/3 หรือตลาดบางแค) และปลายทางที่สถานีหลักสอง (ซอยเพชรเกษม 82 หรือเดอะมอลล์ บางแค)

"ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ" ระยะทาง 13 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็น "ทางยกระดับ" ทั้งหมด เริ่มต้นจากสถานีรถไฟบางซื่อ วิ่งไปตามถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านสี่แยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ ผ่านแยกถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนสิรินธร คลองบางยี่ขัน แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนบรมราชชนนี ข้ามคลองบางกอกน้อย คลองมอญ ผ่านวัดท่าพระ และสิ้นสุดที่ สี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนเพชรเกษม บริเวณแยกท่าพระ

มี 10 สถานี ประกอบด้วย สถานีเตาปูน (แยกเตาปูน) สถานีบางโพ (แยกบางโพ) สถานีบางอ้อ (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 88 หรือโรงพยาบาลยันฮี) สถานีบางพลัด (ซอยจรัญฯ 74/1 หรือสำนักงานเขตบางพลัด) สถานีสิรินธร (แยกบางพลัด) สถานีบางยี่ขัน (ซอยจรัญฯ 53) สถานีบางขุนนนท์ (ซอยจรัญฯ 37 หรือสำนักงานเขตบางกอกน้อย) สถานีแยกไฟฉาย สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 และสุดท้ายที่สถานีท่าพระ (แยกท่าพระ)

สายที่สาม คือ "สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู" ตามแผนภายในเดือนกรกฎาคม 2551 จะขายแบบได้ โดย สนข มีการออกแบบรายละเอียดช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการไว้เรียบร้อยแล้ว วงเงิน 28,640 ล้านบาท แนวเส้นทางจะต่อเนื่องจากแนวโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กรุงเทพมหานคร (กทม ) กำลังก่อสร้างส่วน ต่อขยาย ซึ่งมีจุดสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 107 หรือซอยแบริ่ง

นั่นคือแนวเส้นทางจะเริ่มต้นจากจุดนี้ ก่อสร้างไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ข้ามคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงจุดตัดกับโครงการวงแหวนด้านใต้ แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันตก เพื่อยกข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท แล้วจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท 

เมื่อถึงแยกศาลากลาง แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนสุขุมวิทจนถึงบริเวณแยกการไฟฟ้า จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงหลบสะพานลอยข้ามแยกของกรมทางหลวง มาชิดแนวเขตทางด้านทิศใต้จนพ้นทางแยก จากนั้นจะเบี่ยงกลับมายังแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านถนนแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดบริเวณซอยเทศบาลบางปู 55 ระยะทาง 13 กิโลเมตร

สำหรับสถานีมีทั้งหมด 9 สถานี คือ สถานีสำโรง (หน้า สภ สำโรงเหนือ) สถานีปู่เจ้าสมิงพราย (ซอยสุขุมวิท 115) สถานีพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ (สุขุมวิทซอย 7) สถานีโรงเรียนนายเรือ สถานีศาลากลาง (หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ) สถานีศรีนครินทร์ (คลองบางปิ้ง) สถานีแพรกษา (โรงเรียนสมุทรปราการ) สถานีสายลวด (ซอยเทศบาลบางปู 45) และสถานี เคหะสมุทรปราการ

สายสีเขียวช่วงนี้มีพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมา คือมีการขยายเส้นทางไปถึงบางปูอีก 7 กิโลเมตร จากเดิมที่สิ้นสุดที่บางปิ้ง ขณะนี้ สนข กำลังเร่งรัดที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน เป้าหมายเพื่อให้ทันประกวดราคาพร้อมกับส่วนแรก บริษัทที่ปรึกษาคาดว่าในระยะ 7 กิโลเมตรนี้จะเป็นโครงสร้างทางยกระดับทั้งหมด มีสถานีเพิ่ม 4-5 สถานี วงเงินก่อสร้างเพิ่ม 8,000 ล้านบาทโดยประมาณ

ส่วนเส้นทางที่สี่ "สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่" วงเงิน 30,771 ล้านบาท จะขายแบบเดือนกรกฎาคมพร้อมกัน แนวเส้นทางของโครงการจะเริ่มจากทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต วิ่งไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงตัดถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านเซ็นทรัล ลาดพร้าว แยกรัชโยธิน แยกเกษตรฯ กรมป่าไม้ วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ตลาดยิ่งเจริญ สิ้นสุดสายทางบริเวณคลองบางเขน

มี 12 สถานี คือ 1 สถานีห้าแยกลาดพร้าว (หน้าห้างเซ็นทรัล) ห่างจากทางขึ้นลงรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 350 เมตร จะมีทางเชื่อมต่อกันยาวไปถึงโรงเรียนหอวัง 2 สถานีพหลโยธิน (ซอยพหลโยธิน 24) 3 สถานีรัชโยธิน (เลยแยกเมเจอร์รัชโยธินเล็กน้อย) 4 สถานีเสนานิคม (ประมาณซอยเสนานิคม 2) 5 สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ห่างจากแยกเกษตร 150 เมตร)

6 สถานีกรมป่าไม้ (โรงเรียนสารวิทยา) 7 สถานีบางบัว (ใกล้มหาวิทยาลัยศรีปทุม) 8 สถานีทหารราบที่ 11 9 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (หน้าสำนักงานเขตบางเขน) 10 สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ (หน้า ห้างโลตัสสะพานใหม่) 11 สถานีพหลโยธิน 50 12 สถานีตลาดยิ่งเจริญ

เพิ่มรถไฟชานเมือง 3 สาย

ระบบรถไฟชานเมืองจะเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ส่วนรางจะใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ คือ รถไฟดีเซลรางและรถไฟฟ้าชานเมือง วัตถุประสงค์เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาจุดตัดบริเวณทางแยก โดยมีศูนย์กลางสถานีร่วมที่สถานีบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางคมนาคม มี 3 สาย ได้แก่

1 "สายบางซื่อ-ตลิ่งชัน" วงเงิน 8,971 ล้านบาท หน่วยงานหลัก คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร ฟ ท ) เปิดประกวดราคาแล้วปลายปี 2550 อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับเหมา 2 ราย คือ บริษัทยูนิคและซินเทค มีกำหนดเซ็นสัญญาเดือนพฤษภาคมนี้ โดยแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากสถานีบางซื่อไปจนสุดเส้นทางที่สถานีตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน

2 "สายบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" วงเงิน 63,774 ล้านบาท ขายแบบเดือนมิถุนายนนี้ แนวสายทางวิ่งไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยใช้โครงสร้างโฮปเวลล์เดิม ปัจจุบัน สนข อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดโดยเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดแค่รังสิตต่อขยายออกไปถึง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมระยะทาง 36 กิโลเมตร คาดว่าแบบจะแล้วเสร็จเดือนเมษายนนี้

จุดจอดสถานีมีทั้งหมด 12 สถานี ประกอบด้วย จตุจักร วัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง หลักหก รังสิต คลองหนึ่งเชียงราก และปลายทางที่ ม ธรรมศาสตร์

3 "สายบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก" ระยะทาง 19 กิโลเมตร วงเงิน 37,000 ล้านบาท ขายแบบเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยแนวเส้นทางจะวิ่งคู่ขนานไปกับรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ)

ทั้งนี้ถือว่ารถไฟชานเมืองสายนี้เป็นสายที่สำคัญ เพราะเป็นเส้นทางที่จะเชื่อมระหว่าง 2 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมืองกับสุวรรณภูมิ โดยเชื่อมกับรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จึงทำให้ในการประชุม "คณะกรรมการขนส่งระบบราง" มีมติให้เร่งสร้างรถไฟสายนี้ โดยบรรจุเข้าไปในแผนเร่งด่วนระยะแรก

โดยแนวเส้นทางจะใช้แนวเส้นทางรถไฟเดิม คือ สถานีสามเสน สถานีราชวิถี จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้น เส้นแรก เลี้ยวไปทางมักกะสัน สถานีต่อจากสถานีร่วมราชวิถี จะเป็นสถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง และสิ้นสุดที่สถานีหัวหมาก เส้นที่สอง เส้นต่อจากสถานีราชวิถี จะเป็นสถานียมราช สถานียศเส และปลายทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีหัวลำโพง

รถไฟฟ้าชานเมือง เฟส 2 ขายแบบปี 2552

ส่วนเฟสที่ 2 จะเริ่มดำเนินการประกวดราคาปี 2552 เนื่องจากเป็นนโยบายที่เพิ่มเติมเข้ามาของนายกฯ "สมัคร" ประกอบด้วย

1 ต่อขยายสายสีเขียว ช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (คลอง 4) และดอนเมือง-รังสิต
2 สายสีน้ำเงิน ช่วงรัชดาฯ-พระราม 7 และช่วงท่าพระ-คลองเตย
3 สายวงแหวนรอบนอก (เกษตร นวมินทร์-แคราย-สะพานพระราม 5-ราชพฤกษ์-ปู่เจ้าสมิงพราย-ศรีนครินทร์)
4 สายศาลายา-มีนบุรี ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างสายสีน้ำตาลเดิม (บางกะปิ-มีนบุรี) กับสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-บางบำหรุ) โดย "สายสีน้ำตาลเดิม" เป็นทางวิ่งยกระดับตลอดสาย ระยะทาง 9 5 กิโลเมตร มี 5 สถานี เริ่มต้นจากบางกะปิ ไปตามถนนสุขาภิบาล 3 ถนนราษฎร์พัฒนา ถนนมีนพัฒนา ถนนร่มเกล้า สิ้นสุดที่แยกถนนสุขาภิบาล 3 ตัดถนนสุวินทวงศ์ (มีนบุรี)
"สายสีส้มเดิม" (บางกะปิ-บางบำหรุ) เป็นทางวิ่งยกระดับ 3 กิโลเมตร และวิ่งใต้ดิน 21 กิโลเมตร มีสถานีใต้ดิน 15 สถานี และสถานียกระดับ 2 สถานี แนวเส้นทางเริ่มจากบางกะปิ เป็นเส้นทางยกระดับไปตามถนนสุขาภิบาล 3 แล้วเปลี่ยนเป็นทางวิ่งใต้ดิน ลอดใต้แยกลำสาลี ถนนรามคำแหง เลี้ยวขวาเข้าซอยรามคำแหง 21 ผ่านศูนย์ซ่อมบำรุง ถนนรัชดาภิเษก ถนนประชาสงเคราะห์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ถนนราชวิถี ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานกรุงธน ผ่านถนนสิรินธร แล้วเปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับเข้าสู่บางบำหรุ และต่อเชื่อมกับสายสีแดง (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)
5 ต่อขยายสายสีเขียว ช่วงตากสิน-บางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 6 สายสีม่วงส่วนใต้ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุล 6 ต่อขยายสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ไทรน้อย 7 ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม 43 กิโลเมตร ช่วงมักกะสัน-ฉะเชิงเทรา 50 กิโลเมตร ช่วงธรรมศาสตร์-อยุธยา และช่วงหัวลำโพง-มหาชัย (หน้าพิเศษ)

From : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3988

Categories: News and politics

Reset Ink Cartridge Canon MP 145,150,160‏

30 March 2008 4 comments

Reset Ink Cartridge Canon MP 145,150,160‏
วิธีรีเซ็ตตลับครับ สำหรับ แคนอน MP 145,150,160

คนที่ใช้ตลับหมึกแบบหมึกเติม หรือใช้อิงค์แทงค์ (Ink tank)
ของเครื่องพิมพ์ แคนอน (canon) รุ่น MP145, MP150, MP160
เมื่อเจอปัญหาที่หน้าจอขึ้นรหัส E.4 ซึ่งหมายความว่า
ตลับหมึก (Ink Cartridge) ของคุณ ได้หมึกหมดลงไปแล้ว
ทั้งๆที่ในความเป็นจริง หมึกยังเต็มอยู่
จากการเติมหรือการต่อสายอิงค์แทงค์ (Ink tank)
ก็ต้อง รีเซ็ต (reset) เครื่อง ให้เข้าใจว่าหมึกเราเต็มอีกครั้งหนึ่ง

โดยมีวิธีรีเซ็ตตลับหมึก สำหรับ แคนอน MP 145,150,160 ดังนี้

1 กอดปลั๊ก เครื่องพิมพ์ออก

2 กดปุ่ม Power ค้างไว้

3 เสียบปลั๊กเครื่องพิมพ์

4 กดปุ่ม Stop/Reset 2 ครั้ง ปล่อยปุ่ม Power

5 หน้าจอจะขึ้นเลข " 0 " กดปุ่ม " + " 1 ครั้ง หน้าจอจะขึ้นเลข " 1 "

6 กดปุ่ม Star Color 2 ครั้ง และกดปุ่ม Power 1 ครั้ง รอกระดาษ Test (บางครั้งก็เป็นกระดาษเปล่าออกมา ไม่ต้องตกใจครับ) ออกมา 2 แผ่น

7 เปิดฝาเครื่องพิมพ์ รอหัวพิมพ์เลื่อนมาทางซ้าย กอดปลั๊กออก และถอดตลับหมึก (Ink Cartridge) ออกทั้งดำและสี

8 ปิดฝาเครื่องพิมพ์ เสียบปลั๊ก แล้วเปิดเครื่อง (กดปุ่ม Power)

9 เครื่องจะเรียกหาตลับหมึก (Ink Cartridge) ให้เปิดฝาเครื่องแล้วใส่ตลับหมึกทั้งสอง ปิดฝาหน้าจอขึ้นเลข 1 OK  พร้อมใช้งาน

เท่าที่ก็จะใช้งานได้ตามปกติแล้วครับ

ANCHORMAN vs ROSANA

27 March 2008 Leave a comment

ANCHORMAN vs ROSANA

ก่อนจะนำ 2 บทความนี้มาลง
ก็คิดอยู่หลายวัน ว่ามันมีคุณค่าพอหรือไม่
เพราะผู้เขียนทั้ง 2 ก็ไม่ใช่เป็นบุคคลที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษแต่อย่างใด
เพียงแต่ต้องยอมรับว่า
ทั้งคุณ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (ปลื้ม) และ คุณ รสนา โตสิตระกูล
เป็นผู้ที่อยู่ในความสนใจของสังคมในเวลานี้

ในเรื่องความเห็นต่อบทความทั้ง 2
ผมคิดว่าค่อนข้างชัดเจนที่ บทความเรื่อง Are you kidding me?
เป็นบทความที่อ่อนด้านข้อมูล มากกว่าบทความเรื่อง Who’s kidding whom? อย่างชัดเจน
แทบจะเหมือนกันว่า ไม่ได้รู้ประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์ที่พยายามนำเสนอในเรื่องแต่อย่างใด
ถ้าในมุมมองของผม ก็คงต้องบอกว่า คุณ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (ปลื้ม)
เขียนบทความนี้ ในขณะที่เต็มไปด้วยอคติ และอีโก้

ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้เลือกคุณ รสนา โตสิตระกูล ในการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งที่ผ่านมา
แต่ผมยอมรับว่า กรณีของ ปตท (PTT) เป็นกรณีที่ คุณรสนา โตสิตระกูล ได้แสดงจุดยืนเรื่องนี้อย่างชัดเจน
และเนื่องจาก ผมมีมุมมองที่ดีต่อ NGO มากกว่าโครงสร้างอย่างรัฐ ผมจึงไม่เห็นปัญหาที่ คุณรสนา โตสิตระกูล เป็น NGO แต่อย่างใด
ผมเชื่อว่า ตลาดเสรี (free market) ไม่ใช่ตลาดที่ไม่มีกฎเกณฑ์
แต่ตลาดเสรี เป็นตลาดที่ผู้เล่นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน ป้องกันการผูกขาด
เพื่อให้ตลาด (market) ได้แสดงประสิทธิภาพสูงสุดของมัน

เรื่องนี้ ผู้ที่เชื่อระบบเศรษฐกิจแบบ Social Liberal อย่างผม มีจุดยืนที่ชัดเจน
มากกว่าคนที่คิดว่าตัวเองเชื่อใน free market and capitalism รวมทั้งฉลาดกว่าใครๆ


Are you kidding me?

By ML Nattakorn Devakula

Senator Rosana Tositrakul can be expected to block pro-investment/pro-business laws, cause disturbances to the otherwise smooth process of much-needed constitutional amendments, and last but not least be a nagging noise to rational people who work for a living.

Rosana Tositrakul, are you kidding me?

I would normally like to think higher of my capital city, the place I’ve come to believe holds the highest ratio of educated/informed voters to politically indifferent individuals. That ratio may not necessarily be so high any more, judging from the recent senatorial election results.

Aside from being a place where there is believed to be a whole lot of "smart" politically-aware voters, maybe Bangkok’s real values are similar to those of Venezuela, North Korea, Cuba, Bolivia, and other leftist states out in the world.

Here’s the fact of the case. Social activist and claimed representative of consumers Rosana Tositrakul won 743,397 votes, or 49.78% of the tally, in the first senatorial election under the new constitution. Being that only one person can represent the capital, the selection became more significant than ever because the elected Bangkok senator would effectively be the city’s sole representative in the all-powerful Upper House.

This is exactly why the results that we received from the election are so sad. Anusorn Tammajai symbolically represented the investment class and values associated with free-market economics, while Nitipong Hornak symbolically represented the arts and entertainment community.

At the same time, Manit Wittayatem – as a former judge – represented the class of experienced officials which, in this case, is from the legal sector. There were a whole host of others who stood out in terms of background and accomplishments. Instead, we now get someone who can be expected to block pro-investment/pro-business laws, cause disturbances to the otherwise smooth process of much-needed constitutional amendments, and last but not least, be a nagging noise to rational people who work for a living, to those who are part of the real economy trying to bring about economic growth to this country.

Rosana almost single-handedly brought the downfall of PTT Public Company Limited, one of Thailand’s most successful business conglomerates ever, which has become the pride and joy of the country’s investment community. Her role in the nullification of the planned stock market listing of the Electricity Generating Authority of Thailand clearly shows how she stands in the way of development and economics.

As unforgivable as these past two actions are, there is more where that came from. Implicitly, leading a crusade in the name of consumers – who are represented by organisations without even having the opportunity to play a role in the policy-making of these organisations – led to Rosana’s very fame today.

It brought her name to the forefront of those who sacrificed personal time for the sake of the public – when, in fact, much of her popularity was earned on the back of investors and judges having to deal with petty burdensome cases relating to miscellaneous consumer claims, the very thing that paved the way for her political success. Nothing is sicker. Don’t sue me; I know that’s something you’d already planned to do.

Looking back at the senatorial elections prior to the coup, Rosana also won 118,332 votes which made her the 4th largest vote-getter in Bangkok. Believe it or not, she was behind only Nitipoom Naovarat, Samak Sundaravej and Klanarong Chantik. The more I think about all these results, the more I begin to contemplate the real potential of how "left" we are moving as a society.

Rosana should not represent a city that understands the values of the free market and capitalism. She should not represent a city that is attempting to become one of the thriving investment hubs of Asia. If there was a city she could represent, I was thinking Pyongyang or Caracas. Or maybe Havana, where she can join the new batch of Raulistas. Or even better, Sucre or La Paz, where she can wear similar native outfits to dance around with Evo Morales.

At the end of the day, however, I still hold higher hopes for Bangkok, for when the next election – whichever it is – comes around, the "smart" voters and the real silent-yet-informed majority will pick someone more in favour of growth and progression, rather than decline and stagnation.

Higher hopes translate into the selection of someone who understands that being a left-wing NGO seeking to redistribute income by bringing down the economic cornerstones of capitalism will never bring actual benefits to consumers. This past Sunday’s results show that there is much room for improvement when it comes to the mindset of city voters.

M L Nattakorn Devakula is a news analyst.

http://www.bangkokpost.com/topstories/topstories.php?id=126504


Who’s kidding whom?

By Rosana Tositrakul

You are a well-educated young man. Bangkokians know well that I am not against a free-market economy that is fair. After 30 years of public work I have achieved a firm position in society and have the patience to seek sense in what you write.

ML Nattakorn Devakula, who’s kidding whom?

Most Bangkokians support liberal democracy and a free-market economy. They love justice and hate corruption, unfair monopolies and hypocrisy. This has not changed and it does not make them "leftist" as you claim. The only people who could see this as leftist are those on the extreme right. Bangkokians know well that I am not against a free-market economy that is fair. What they, and I, will not tolerate is bad governance and shady privatisation deals.

The net worth of the Electricity Generating Authority of Thailand was as high as 3.8 trillion baht, but the government tried to sell it on the stock market through shares worth about 200 billion baht. (*See note at end of article)

PTT Plc was listed in a rush. Before the initial public offering, cabinet passed a resolution that the gas pipelines would be retained by the state and a regulatory body would be set up to protect consumers. This resolution was included in the PTT prospectus. A year later, the Thaksin government simply cancelled the resolution and the PTT acquired what should have been a national asset.

Fair-minded investors would agree that this is a form of theft. In fighting these cases of policy corruption, I never resorted to street protests. I always relied on the courts to give judgements on what was legally right and fair. Let me ask you this, as a dutiful, taxpaying citizen: does an attempt to reclaim public assets erode the foundations of the economy? Or does it instil respect for good governance, the rule of law and long-term stability?

One prominent banker recently said that Thailand is not just the stock market and the country’s future does not depend only on GDP. Your own father, former governor of the Bank of Thailand M R Pridiyathorn Devakula, touched on the short-comings of unthinking economic development on Oct 3, 2006: "Free markets without sufficiency won’t make it through. Some people follow Western theories and view the sufficiency idea as an impediment to economic growth – that is not true. On the contrary, the sufficiency philosophy serves as a balance to the growth – sustains it and makes sure that people’s wellbeing and the environment are protected."

This is similar to my economic standpoint. To be exact, I share the vision of the late Dr Puey Ungphakorn, another former governor of the BoT, in wishing to see free-market capitalism function alongside a serious attempt at wealth redistribution to benefit the more than 70% of the population who are still underprivileged.

Is this the Pyongyang or Havana way of thinking that you lambaste me for? Other countries have their own economic systems and I must confess I am not well-versed in the details, or how they have developed that way. But we should not discuss other countries with contempt.

We should cultivate an attitude of tolerance so that we can respect the economic and cultural differences that may have led them to develop the type of economic system they are using, just as our country has developed an economic system that is in harmony with our social and cultural values. But it doesn’t matter if my political and economic standpoint is the same as in other countries or not; I believe it must be consistent with that of the people of Bangkok, who voted for me.

You are a well-educated young man. If you try to see things from other people’s perspective, you might understand contemporary Bangkok better. It can be good for your political depression.

This is not the first time you have insulted me in your column. I, of course, have the right to protect my reputation by suing you for defamation. But as a Thai brought up in the Confucian tradition, I am grateful to your ancestors HRH Prince Devavongse Varoprakarn and HRH Prince Devavongse Varothai, former foreign ministers who stood at the forefront of the country’s elite who tried to liberate Siam from unfair treaties imposed by imperialist powers that wanted to control the Thai economy and judicial systems throughout the reigns of Kings Rama V, VI and VII. I will therefore refrain from doing anything that would cause damage to a distinguished family that has done so much for Thailand.

I would advise you to think more deeply and consult more widely before offering your opinions, especially if you are going to show contempt for decisions of the Administrative Court, the votes of your fellow Bangkokians, and people of other countries. As for myself, after 30 years of public work I have achieved a firm position in society and have the patience to seek sense in what you write.

Rosana Tositrakul is a social campaigner and newly elected senator for Bangkok.

(* Due to an error, the original story used the figure of 20 billion. The correct figure is 200 billion baht.)

http://www.bangkokpost.com/topstories/topstories.php?id=126503

Categories: News and politics

We will never have a perfect model of risk

26 March 2008 Leave a comment

We will never have a perfect model of risk
เราไม่มีวันมีโมเดลประเมินความเสี่ยงที่สมบูรณ์แบบ

เห็นว่าเป็นหนึ่งในบทความที่น่าสนใจมากในรอบสัปดาห์
เลยเอามารวบรวมไว้
ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่เขียนโดย Alan Greenspan (อลัน กรีนสแปน) ที่เขียนลงใน FT
และฉบับที่มีคนแปลเป็นภาษาไทย เขียนลงในประชาชาติธุรกิจ


We will never have a perfect model of risk

By Alan Greenspan

Published: March 16 2008

The current financial crisis in the US is likely to be judged in retrospect as the most wrenching since the end of the second world war. It will end eventually when home prices stabilise and with them the value of equity in homes supporting troubled mortgage securities.

Home price stabilisation will restore much-needed clarity to the marketplace because losses will be realised rather than prospective. The major source of contagion will be removed. Financial institutions will then recapitalise or go out of business. Trust in the solvency of remaining counterparties will be gradually restored and issuance of loans and securities will slowly return to normal. Although inventories of vacant single-family homes – those belonging to builders and investors – have recently peaked, until liquidation of these inventories proceeds in earnest, the level at which home prices will stabilise remains problematic.

The American housing bubble peaked in early 2006, followed by an abrupt and rapid retreat over the past two years. Since summer 2006, hundreds of thousands of homeowners, many forced by foreclosure, have moved out of single-family homes into rental housing, creating an excess of approximately 600,000 vacant, largely investor-owned single-family units for sale. Homebuilders caught by the market’s rapid contraction have involuntarily added an additional 200,000 newly built homes to the “empty-house-for-sale” market.

Home prices have been receding rapidly under the weight of this inventory overhang. Single-family housing starts have declined by 60 per cent since early 2006, but have only recently fallen below single-family home demand. Indeed, this sharply lower level of pending housing additions, together with the expected 1m increase in the number of US households this year as well as underlying demand for second homes and replacement homes, together imply a decline in the stock of vacant single-family homes for sale of approximately 400,000 over the course of 2008.

The pace of liquidation is likely to pick up even more as new-home construction falls further. The level of home prices will probably stabilise as soon as the rate of inventory liquidation reaches its maximum, well before the ultimate elimination of inventory excess. That point, however, is still an indeterminate number of months in the future.

The crisis will leave many casualties. Particularly hard hit will be much of today’s financial risk-valuation system, significant parts of which failed under stress. Those of us who look to the self-interest of lending institutions to protect shareholder equity have to be in a state of shocked disbelief. But I hope that one of the casualties will not be reliance on counterparty surveillance, and more generally financial self-regulation, as the fundamental balance mechanism for global finance.

The problems, at least in the early stages of this crisis, were most pronounced among banks whose regulatory oversight has been elaborate for years. To be sure, the systems of setting bank capital requirements, both economic and regulatory, which have developed over the past two decades will be overhauled substantially in light of recent experience. Indeed, private investors are already demanding larger capital buffers and collateral, and the mavens convened under the auspices of the Bank for International Settlements will surely amend the newly minted Basel II international regulatory accord. Also being questioned, tangentially, are the mathematically elegant economic forecasting models that once again have been unable to anticipate a financial crisis or the onset of recession.

Credit market systems and their degree of leverage and liquidity are rooted in trust in the solvency of counterparties. That trust was badly shaken on August 9 2007 when BNP Paribas revealed large unanticipated losses on US subprime securities. Risk management systems – and the models at their core – were supposed to guard against outsized losses. How did we go so wrong?

The essential problem is that our models – both risk models and econometric models – as complex as they have become, are still too simple to capture the full array of governing variables that drive global economic reality. A model, of necessity, is an abstraction from the full detail of the real world. In line with the time-honoured observation that diversification lowers risk, computers crunched reams of historical data in quest of negative correlations between prices of tradeable assets; correlations that could help insulate investment portfolios from the broad swings in an economy. When such asset prices, rather than offsetting each other’s movements, fell in unison on and following August 9 last year, huge losses across virtually all risk-asset classes ensued.

The most credible explanation of why risk management based on state-of-the-art statistical models can perform so poorly is that the underlying data used to estimate a model’s structure are drawn generally from both periods of euphoria and periods of fear, that is, from regimes with importantly different dynamics.

The contraction phase of credit and business cycles, driven by fear, have historically been far shorter and far more abrupt than the expansion phase, which is driven by a slow but cumulative build-up of euphoria. Over the past half-century, the American economy was in contraction only one-seventh of the time. But it is the onset of that one-seventh for which risk management must be most prepared. Negative correlations among asset classes, so evident during an expansion, can collapse as all asset prices fall together, undermining the strategy of improving risk/reward trade-offs through diversification.

If we could adequately model each phase of the cycle separately and divine the signals that tell us when the shift in regimes is about to occur, risk management systems would be improved significantly. One difficult problem is that much of the dubious financial-market behaviour that chronically emerges during the expansion phase is the result not of ignorance of badly underpriced risk, but of the concern that unless firms participate in a current euphoria, they will irretrievably lose market share.

Risk management seeks to maximise risk-adjusted rates of return on equity; often, in the process, underused capital is considered “waste”. Gone are the days when banks prided themselves on triple-A ratings and sometimes hinted at hidden balance-sheet reserves (often true) that conveyed an aura of invulnerability. Today, or at least prior to August 9 2007, the assets and capital that define triple-A status, or seemed to, entailed too high a competitive cost.

I do not say that the current systems of risk management or econometric forecasting are not in large measure soundly rooted in the real world. The exploration of the benefits of diversification in risk-management models is unquestionably sound and the use of an elaborate macroeconometric model does enforce forecasting discipline. It requires, for example, that saving equal investment, that the marginal propensity to consume be positive, and that inventories be non-negative. These restraints, among others, eliminated most of the distressing inconsistencies of the unsophisticated forecasting world of a half century ago.

But these models do not fully capture what I believe has been, to date, only a peripheral addendum to business-cycle and financial modelling – the innate human responses that result in swings between euphoria and fear that repeat themselves generation after generation with little evidence of a learning curve. Asset-price bubbles build and burst today as they have since the early 18th century, when modern competitive markets evolved. To be sure, we tend to label such behavioural responses as non-rational. But forecasters’ concerns should be not whether human response is rational or irrational, only that it is observable and systematic.

This, to me, is the large missing “explanatory variable” in both risk-management and macroeconometric models. Current practice is to introduce notions of “animal spirits”, as John Maynard Keynes put it, through “add factors”. That is, we arbitrarily change the outcome of our model’s equations. Add-factoring, however, is an implicit recognition that models, as we currently employ them, are structurally deficient; it does not sufficiently address the problem of the missing variable.

We will never be able to anticipate all discontinuities in financial markets. Discontinuities are, of necessity, a surprise. Anticipated events are arbitraged away. But if, as I strongly suspect, periods of euphoria are very difficult to suppress as they build, they will not collapse until the speculative fever breaks on its own. Paradoxically, to the extent risk management succeeds in identifying such episodes, it can prolong and enlarge the period of euphoria. But risk management can never reach perfection. It will eventually fail and a disturbing reality will be laid bare, prompting an unexpected and sharp discontinuous response.

In the current crisis, as in past crises, we can learn much, and policy in the future will be informed by these lessons. But we cannot hope to anticipate the specifics of future crises with any degree of confidence. Thus it is important, indeed crucial, that any reforms in, and adjustments to, the structure of markets and regulation not inhibit our most reliable and effective safeguards against cumulative economic failure: market flexibility and open competition.

The writer is former chairman of the US Federal Reserve and author of ‘The Age of Turbulence: Adventures in a New World’

Copyright The Financial Times Limited 2008


เราไม่มีวันมีโมเดลประเมินความเสี่ยงที่สมบูรณ์แบบ

ผู้แปล : คุณสฤณี อาชวานันทกุล


อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหลายสมัย เขียนบทความ "We will never have a perfect model of risk" : เราไม่มีวันมีโมเดลประเมินความเสี่ยงที่สมบูรณ์แบบ ลงในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 16 มีนาคม 2551 แปลโดย คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ

เมื่อมันจบลงแล้ว มีแนวโน้มว่าคนจะหันกลับมามองวิกฤต การเงินปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาว่ารุนแรงที่สุดนับตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา วิกฤตนี้จะจบลงในที่สุดเมื่อราคาบ้านมีเสถียรภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าทุนของบ้านที่เป็นพื้นฐานของหลักทรัพย์สินเชื่อบ้านมีเสถียรภาพตามไปด้วย

เสถียรภาพของราคาบ้านจะนำความชัดเจนที่จำเป็นมาสู่ตลาด เพราะจะทำให้รับรู้ผลขาดทุนที่แท้จริงได้ แทนที่จะบันทึกเป็นตัวเลขคาดคะเน (prospective) เท่ากับว่าเราสามารถกำจัดแหล่งสำคัญของโรคระบาดในครั้งนี้ หลังจากนั้นสถาบันการเงินก็จะต้องเพิ่มทุน มิฉะนั้นก็ต้องเลิกล้มธุรกิจไป ความเชื่อมั่นในสถานภาพของคู่ค้า (counterparties) ต่างๆ จะค่อยๆ ได้รับการฟื้นคืนมาอีกครั้ง กิจกรรมการปล่อยเงินกู้และหลักทรัพย์ก็จะหวนคืนสู่สภาพปกติ ถึงแม้ว่าสต๊อกบ้านเดี่ยวซึ่งเป็นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุน จะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดเมื่อไม่นานมานี้ ระดับที่ราคาบ้านจะเริ่มเข้าสู่เสถียรภาพก็จะยังเป็นที่กังขาจนกว่ากระบวนการขายทอดตลาดบ้านในสต๊อกจะเริ่มอย่างจริงจัง

ฟองสบู่บ้านแตก

ภาวะฟองสบู่ในตลาดบ้านอเมริกาพุ่งถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 2549 ตามด้วยการถดถอยอย่างเฉียบพลันและรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2549 ครอบครัวหลายร้อยหลายพันครัวเรือนย้ายออกจากบ้านเดี่ยวไปอยู่บ้านเช่าแทน หลายครัวเรือนในนี้ต้องย้ายเพราะถูกเจ้าหนี้ยึดบ้าน ส่งผลให้เกิดสต๊อกบ้านเดี่ยวที่ไร้ผู้อยู่อาศัยถึงประมาณ 600,000 หลัง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เผชิญกับปัญหานี้อย่างกะทันหันมีบ้านใหม่อีก 200,000 หลัง รวมกันเป็นตลาด "บ้านไม่มีคนอยู่" เพื่อขาย

ราคาบ้านได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วภายใต้น้ำหนักของสต๊อกบ้านเหลือเฟือ (inventory overhang) ที่สูงขนาดนี้ ราคาบ้านเดี่ยวปรับตัวลดลงมาแล้วกว่าร้อยละ 60 ตั้งแต่ต้นปี 2549 แต่เพิ่งลดลงต่ำกว่าระดับความต้องการบ้านเดี่ยวเมื่อไม่นานมานี้เอง อันที่จริงอัตราการสร้างบ้านใหม่ที่ลดลง ประกอบกับตัวเลขครัวเรือนใหม่อีก 1 ล้านครัวเรือนในปีนี้ และอุปสงค์สำหรับบ้านหลังที่ 2 และบ้านที่ปลูกแทนบ้านเดิม รวมกันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสต๊อกบ้านเดี่ยวที่ไม่มี ผู้อยู่อาศัยจะลดลงกว่า 400,000 หลังตลอดปี 2551

อัตราการขายทอดตลาดบ้านน่าจะเพิ่มขึ้น สวนทางกับอัตราการสร้างบ้านใหม่ที่ลดลงกว่าเดิม ระดับราคาบ้านน่าจะมีเสถียรภาพเมื่ออัตราการขายทอดตลาดบ้านในสต๊อกพุ่งถึงจุดสูงสุด ก่อนที่จะถึง จุดที่กำจัดส่วนเกินสต๊อกไปได้หมด อย่างไรก็ตามจุดนั้นยังอยู่ในอนาคตอีกหลายเดือนที่ยังมาไม่ถึง

วิกฤตนี้จะมีผู้เสียหายมากมาย คนที่จะเสียหายมากจะเป็นระบบประเมินความเสี่ยงทางการเงินส่วนใหญ่ ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่ล้มเหลวภายใต้แรงตึงเครียด ใครที่คาดหวังว่าประโยชน์ส่วนตนของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้จะช่วยปกป้องผู้ถือหุ้นคงตกอยู่ในสถานะช็อกอย่างรุนแรง แต่ผมหวังว่าผู้เสียหายจะไม่ใช่การตรวจตราสอดส่องคู่ค้า (counterparty surveillance) หรือการกำกับดูแลตัวเอง (self-regulation) ของสถาบันการเงิน ซึ่งนับเป็นกลไกสร้างความสมดุลขั้นพื้นฐานสำหรับระบบการเงินโลก

ปัญหาต่างๆ อย่างน้อยก็ในระยะแรกของวิกฤตนี้ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนที่สุดในเหล่าธนาคารที่กลไกการกำกับดูแลมีความสลับซับซ้อนมานานหลายปีแล้ว แน่นอนระบบการคิดคำนวณเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับธนาคาร ทั้งในแง่ของเศรษฐศาสตร์และกฎหมาย ซึ่งได้พัฒนาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จะต้องได้รับการยกเครื่องขนานใหญ่หลังจากที่เราได้บทเรียนในครั้งนี้ ว่ากันตามจริงนักลงทุนเอกชนเองก็กำลังเรียกร้องทุนกันชน (capital buffers) และหลักประกันในระดับสูงกว่าเดิม แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญที่มาหารือกัน ภายใต้ Bank for International Settlements (BIS) จะแก้ไข basel II ซึ่งเป็นชุดหลักเกณฑ์ที่ใช้กันทั่วโลก นอกจากนั้นประเด็นที่หลายคนกำลังกังขาก็คือโมเดลการพยากรณ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความสละสลวยทางคณิตศาสตร์ เพราะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่โมเดลเหล่านี้ไม่สามารถพยากรณ์วิกฤตการเงินหรือจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้

"ซับไพรม" โมเดลขาดทุนมหาศาล

ตลาดสินเชื่อระดับการใช้เงินกู้ต่อยอดเงิน (leverage) และสภาพคล่องของตลาด ล้วนตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นในตัวคู่ค้า (counterparty) ว่าจะไม่ล้มละลาย ความเชื่อมั่นดังกล่าวสั่นคลอนอย่างมากเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2550 เมื่อ BNP Paribas เปิดเผยผลขาดทุนมหาศาลที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในหลักทรัพย์ซับไพรม ระบบบริหารความเสี่ยง และโมเดลที่อยู่ในแก่นกลางควรถูก ออกแบบมาป้องกันผลขาดทุนมหาศาล เราทำผิดพลาดอย่าง มหันต์ไปได้อย่างไร ?

ปัญหาหลักคือ โมเดลของเราไม่ว่าจะเป็นโมเดลความเสี่ยงหรือโมเดลเศรษฐมิติ (econometric models) ยังไม่ซับซ้อนพอที่จะครอบคลุมตัวแปรทั้งหมดที่ผลักดันสภาวะที่แท้จริงของเศรษฐกิจโลก โดยธรรมชาติของมันโมเดลจำเป็นจะต้องเป็นนามธรรมที่สกัดจากโลกภายนอกที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ คอมพิวเตอร์คำนวณข้อมูลประวัติศาสตร์จำนวนมหาศาลเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงลบ (negative correlations หมายถึงภาวะที่การเคลื่อนไหวของตัวแปรหนึ่งส่งผลตรงกันข้ามกับตัวแปรอีกตัวหนึ่ง-ผู้แปล) ระหว่างราคาของสินทรัพย์ชนิดต่างๆ ที่ซื้อขายได้ ในทางที่สอดคล้องกับ ข้อเท็จจริงที่มีคนค้นพบมานานแล้วว่า การกระจายความเสี่ยง (diversification) ช่วยลดความเสี่ยง คอมพิวเตอร์ ควานหาความสัมพันธ์เชิงลบที่จะช่วยคุ้มกันพอร์ตลงทุนจากแรงเหวี่ยงกว้างๆ ในระบอบเศรษฐกิจ เมื่อราคาของสินทรัพย์ทั้งหลายพร้อมใจกันตกในวันที่ 9 สิงหาคมปีที่แล้ว และหลังจากนั้นแทนที่มันจะเคลื่อนไหวในทิศตรงกันข้ามเพื่อหักล้างผลกระทบ ผลขาดทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแทบทุกประเภทก็เกิดขึ้นตามมา

คำอธิบายที่น่าเชื่อถือที่สุดที่อธิบายว่า เหตุใดระบบบริหารความเสี่ยงที่ตั้งอยู่บนโมเดลสถิติที่ก้าวหน้าที่สุดจึงทำงานได้แย่มากคือ ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการประเมินโครงสร้างของโมเดล เป็นข้อมูลที่ดึงมาจากทั้งช่วงเวลาแห่งความลิงโลด (euphoria) และช่วงเวลาแห่งความกลัว (fear) นั่นคือข้อมูลมาจาก 2 ช่วงเวลาที่มีพลวัต แตกต่างกันมาก

ช่วงเวลาแห่งการหดตัวของสินเชื่อและวงจรธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความกลัวเป็นแรงผลักดัน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่มีอายุสั้นและกะทันหันกว่าช่วงเวลาแห่งการขยายตัว ซึ่งผลักดันด้วยอารมณ์ลิงโลดที่ค่อยๆ สะสมอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจอเมริกาตกอยู่ในช่วงหดตัวเพียง 1 ใน 7 ของช่วงเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ 1 ใน 7 นั้นคือสิ่งที่ระบบบริหารความเสี่ยงต้องเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างสินทรัพย์หลายประเภทซึ่งเป็นสิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนในช่วงการขยายตัว อาจจะพังทลายลงเมื่อราคา สินทรัพย์เหล่านั้นตกลงพร้อมกัน ทำให้กลยุทธ์ที่ปรับปรุงประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทน (risk/reward trade-offs) ด้วยการกระจายความเสี่ยงใช้ไม่ได้ผล

ถ้าเราสามารถมีโมเดลแต่ละช่วงเวลาของวงจรธุรกิจแยกกันได้อย่างพอเพียง และล่วงรู้สัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกว่าช่วงเวลาหนึ่งกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง ระบบบริหารความเสี่ยงก็จะทำงานได้ดีกว่าเดิมมาก ปัญหาที่ยากมากข้อหนึ่งคือ พฤติกรรมน่าแคลงใจในตลาดการเงินที่อุบัติขึ้นเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาแห่งการขยายตัวนั้น ไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากการละเลยความเสี่ยงที่คนตีมูลค่าต่ำเกินไป แต่เป็นผลลัพธ์ของความกังวลที่ว่า บริษัทไหนที่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการลิงโลดนั้นด้วยจะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปอย่างไม่มีวันเอาคืนได้

โมเดล-พฤติกรรมซับซ้อนคาดเดายาก

เป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงคือ ทำอย่างไรให้ได้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุนที่คำนึงถึงความเสี่ยงแล้ว (risk-adjusted rates of return on equity) ออกมาสูงสุด บ่อยครั้งในกระบวนการเช่นนี้ทุนที่ไม่ถูกใช้อย่างเพียงพอ (underused capital) จะถูกมองว่าเป็น "ส่วนเกิน" (waste) ห้วงเวลาที่ธนาคารภูมิใจกับอันดับความน่าเชื่อถือสูงระดับ AAA และบอกเป็นนัยว่ายังมีทุนสำรองอีกเหลือเฟือบนงบดุลเพื่อสร้างกลิ่นอายว่าพวกเขายิ่งใหญ่ไม่มีวันล้มได้นั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่จะไม่หวนคืนมาแล้ว วันนี้หรืออย่างน้อยก็ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2550 สินทรัพย์และทุนที่เข้าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินจะได้ AAA ดูจะนำไปสู่ต้นทุนในการแข่งขันที่สูงเกินไป

ผมไม่ได้บอกว่าระบบบริหารความเสี่ยงหรือระบบพยากรณ์แบบเศรษฐมิติในปัจจุบันไม่มีรากฐานในโลกแห่งความจริง การสำรวจศึกษาประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยงในโมเดลบริหารความเสี่ยงทั้งหลายนั้นเป็นเรื่องถูกต้องอย่างแน่นอน และการใช้โมเดลเศรษฐมิติอันสลับซับซ้อนในระดับมหภาคก็ช่วยสร้างวินัยในการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น โมเดลเหล่านี้บังคับให้ระดับการออมเท่ากับระดับการลงทุน บังคับให้ระดับความโน้มเอียงที่จะบริโภคส่วนเพิ่ม (marginal propensity to consume) มีค่ามากกว่าศูนย์ และบังคับให้ตัวสินค้าคงคลัง (inventories) ไม่ติดลบ ข้อจำกัดเหล่านี้ช่วยกำจัดลักษณะความไม่สอดคล้องกันที่น่าวิตกในโลกของการพยากรณ์แบบง่ายๆ เมื่อครึ่งศตววรษที่แล้ว

แต่โมเดลเหล่านี้ไม่ครอบคลุมปัจจัยใหม่ที่ผมเชื่อว่า เพิ่งเป็นส่วนเสริมตรงชายขอบ (peripheral addendum) ของโมเดลวงจรธุรกิจและโมเดลการเงินนั่นคือ การตอบสนองโดยสันดานของมนุษย์ที่เกิดจากแรงเหวี่ยงระหว่างช่วงเวลาแห่งความลิงโลดและ ช่วงเวลาแห่งความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผ่านคนรุ่นแล้ว รุ่นเล่า ที่ดูเหมือนจะไม่เคยมีบทเรียนใดๆ ฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์พองตัวขึ้นแล้วก็แตก ในทำนองเดียวกับที่มันเป็นมาตั้งแต่ตลาด สมัยใหม่เกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 18 แน่นอน เรามักจะชอบนิยามพฤติกรรมเหล่านั้นว่า "ไม่มีเหตุผล" (nonrational) แต่สิ่งที่นักพยากรณ์ควรเป็นห่วงไม่ใช่ประเด็นว่า พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์มีเหตุผลหรือไม่มี หากเป็นประเด็นว่า มันเป็นสิ่งที่สังเกตได้และเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมากน้อยเพียงใด

ความบกพร่องเชิงโครงสร้าง

สำหรับผมนี่คือ "ตัวแปรอธิบาย" (explanatory variable) ที่ยังไม่อยู่ในทั้งโมเดลบริหารความเสี่ยงและโมเดลเศรษฐมิติระดับมหภาค วิธีปฏิบัติในปัจจุบันคือให้เพิ่มแนวคิดเกี่ยวกับ "สปิริตของสัตว์ป่า" (animal spirits) ในคำพูดของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ด้วยการ "เพิ่มปัจจัย" (add factors) กล่าวคือ ให้เราเปลี่ยนผลลัพธ์ของสมการในโมเดลเราตามใจชอบ แต่วิธีเพิ่มปัจจัยเท่ากับเป็นการยอมรับกลายๆ ว่าโมเดลของเรามีความบกพร่องเชิงโครงสร้าง มันไม่ได้เป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาเรื่องตัวแปรที่หายไปได้อย่างเพียงพอ

เราไม่มีวันพยากรณ์ภาวะชะงักงันในตลาดเงินได้ทั้งหมด ภาวะชะงักงันโดยนิยามย่อมเป็นเรื่องไม่คาดฝัน เหตุการณ์ใดก็ตามที่ คาดเดาได้ล่วงหน้าย่อมเป็นสิ่งที่ป้องกันความเสี่ยงได้ แต่ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่ผมเชื่อ นั่นคือเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะกำราบช่วงเวลาแห่งความลิงโลดในขณะที่มันก่อตัว ก็แปลว่าช่วงเวลานี้จะไม่พังทลายลงมาจนกว่ากระแสเก็งกำไรจะแตกไปเอง เป็นเรื่องที่ดูย้อนแย้งไม่น้อยที่ยิ่งระบบบริหารความเสี่ยงสามารถคาดเดาช่วงเวลา ดังกล่าวได้ดีเท่าไร มันก็อาจช่วยยืดและขยายช่วงเวลาแห่งความลิงโลดได้ดีเท่านั้น แต่ไม่มีวันที่ระบบบริหารความเสี่ยงจะทำงานได้ดีสมบูรณ์แบบ วันใดวันหนึ่งมันต้องล้มเหลว ข้อเท็จจริงที่น่ากังวลจะปรากฏเป็นชนวนให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองเฉียบพลันที่คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้

เราสามารถเรียนรู้อะไรๆ มากมายในวิกฤตปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่เราได้เรียนรู้ในวิกฤตทุกครั้งที่ผ่านมา และนโยบายในอนาคตก็จะตั้งอยู่บนบทเรียนเหล่านี้ แต่เราไม่อาจหวังให้เราสามารถคาดเดารายละเอียดของวิกฤตในอนาคตได้อย่างมั่นใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากๆ ที่กระบวนการปฏิรูปและปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างของตลาดและกฏเกณฑ์การกำกับดูแลจะไม่สกัดกั้นภูมิคุ้มกันความล้มเหลวทางเศรษฐศาสตร์ของเราที่มีประสิทธิผลที่สุดนั่นคือ ความยืดหยุ่นของตลาดและการแข่งขันโดยเสรี

From : ประชาชาติธุรกิจ : วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3986 (3186)

Categories: Economics & Finance

How Thai Government Work Part III

23 March 2008 Leave a comment

How Thai Government Work Part III

ปัญหาเกี่ยวกับพลังงานยังเป็นปัญหาที่ยังต้องหาทางแก้ไข
การแก้ไขปัญหาปริมาณการใช้น้ำมัน
โดยใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ
เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีการวิจัยพัฒนาและพยายามรณรงค์กันมาก
แต่จริงๆแล้ว การแก้ปัญหาที่ว่า
เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว หรือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

บทความที่จะกล่าวถึง
พูดถึงเรื่องไบโอดีเซล
ซึ่งผลกระทบในการใช้ไบโอดีเซลในระยะยาวจะเป็นอย่างไร
มันก็เป็นเรื่องที่น่าจะเฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิด
เพราะถ้ามีปัญหาที่ผิดพลาดขึ้นมา
มันคงเป็นปัญหาในระดับโลก ซึ่งมีผลกระทบวงกว้าง


จากทอร์เทียถึงข้าวเหนียวนึ่ง

"ทอร์เทีย" (Tortilla) เป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิกัน เช่นเดียวกับข้าวเป็นอาหารหลักของชาวไทย โดยทั่วไปทอร์เทียทำจากแป้งข้าวโพด มีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายข้าวโปงและขนาดเท่าๆ กับฝ่ามือของผู้ใหญ่ ชาวเม็กซิกันใช้ทอร์เทียห่ออาหารเกือบ ทุกอย่างก่อนส่งเข้าปาก ในทำนองเดียวกันกับคนไทยตักข้าวสวยหรือปั้นข้าวเหนียวนึ่งพร้อมกับข้าวส่งเข้าปาก สำหรับชาว เม็กซิกันที่มีรายได้น้อย อาหารแต่ละมื้อจะไม่ค่อยมีอะไรมากนักนอกจากทอร์เทีย เฉกเช่นคนไทยที่มีรายได้น้อย ไม่ค่อยมีกับข้าวมากนัก นอกจากข้าวสวยหรือข้าวเหนียวนึ่ง ราคาของทอร์เทียจึงมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของชาว เม็กซิกัน ไม่ต่างกับราคาข้าวมีต่อคนไทย

เมื่อปีที่แล้วชาวเม็กซิกันออกมาประท้วงอย่างกว้างขวาง หลังจากราคาของทอร์เทียเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ในบางพื้นที่ราคาขึ้นไปถึง 4 เท่า จึงร้อนถึงรัฐบาล หลังจากต่อรองกันอยู่นาน รัฐบาลชักจูงผู้ผลิตทอร์เทียให้ลดราคาลงมาจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้บริโภค ปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาของทอร์เทียขึ้นไปแบบก้าวกระโดด ได้แก่ ราคาข้าวโพด ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะข้าวโพดเป็นวัตถุดิบหลักอย่างหนึ่งสำหรับผลิตเอทานอล อันเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่กำลังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั่วโลก เนื่องจากการขาดแคลนน้ำมันทำให้ราคาของมันพุ่งสูงถึงบาร์เรลละกว่า 100 ดอลลาร์ และปัญหาโลกร้อนซึ่งการเผาผลาญน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงมีส่วนก่อให้เกิดขึ้น

ในอเมริกาเหนือ รัฐบาลอเมริกันสนับสนุนการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดอย่างเต็มที่ การสนับสนุนนั้นมีผลกระทบหลายอย่าง ในเบื้องแรกมันก่อให้เกิดการแย่งซื้อข้าวโพด ซึ่งเป็นวัตถุดิบของ อุตสาหกรรมสารพัดชนิดทั้งอาหารสัตว์และอาหารคน ยังผลให้ราคาของมันพุ่งขึ้นไปเป็นราวสองเท่าเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าต้นทุนการผลิตหมู ไก่ ไข่ เนื้อ นม และผลิตภัณฑ์อาหารสารพัดชนิดขึ้นตามไปด้วย ผู้ผลิตสิ่งเหล่านั้นพยายามหาทางลดต้นทุนด้วยการใช้วัตถุดิบที่ทดแทนกันได้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวสาลี ส่วนผู้บริโภคก็พยายามบริโภคสิ่งอื่นทดแทนเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่ชาวไร่ลดการปลูกถั่วเหลืองและข้าวสาลีแล้วหันไปปลูกข้าวโพดแทน ภาวะเช่นนี้มีผลทำให้ราคาของถั่วเหลืองและข้าวสาลีเพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือที่มาของปรากฏการณ์เกี่ยวกับราคาอาหารกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก

เมื่อปี 2549 การคำนวณของนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมินนิโซตาพบว่า ถ้าสหรัฐอเมริกาใช้ข้าวโพดที่ผลิตได้ทั้งหมดในปีนั้นผลิตเอทานอล มันจะแทนการใช้น้ำมันได้ 12% ในช่วงนั้นชาวอเมริกันใช้ข้าวโพดราว 25% ผลิตเอทานอล (มีรายละเอียดในหนังสือชื่อ The Last Oil Shock ของ David Strahan) ส่วนผลกระทบอย่างอื่นยังไม่มีใครสามารถวัดได้อย่างแน่นอนนัก แต่คาดว่าจะหนักหนาสาหัสเพราะสหรัฐเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดของโลก นั่นคือมีสัดส่วนสูงถึงเกินครึ่งของข้าวโพด ที่ซื้อขายระหว่างประเทศ การขึ้นราคาแบบก้าวกระโดดของทอร์เทียในเม็กซิโกอาจเป็นตัวชี้บ่งว่าอะไรอาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นความต้องการข้าวโพดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การปลูกข้าวโพดในพื้นที่เดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีกแทนที่จะปลูกพืชหมุนเวียนเช่นในภาวะปกติ ยังผลให้การควบคุมศัตรูพืช ยากขึ้นและระบบนิเวศขาดสมดุล

ในบราซิล ผู้ผลิตเอทานอลใช้อ้อย เป็นวัตถุดิบซึ่งทำให้บราซิลสามารถผลิต เอทานอลได้มากและถูกกว่าในสหรัฐอเมริกาเสียอีก บราซิลประกาศว่าจะเป็นผู้ส่งออกเอทานอลหมายเลขหนึ่งของโลก เพราะยังมีที่ดินสำหรับใช้ปลูกอ้อยได้อีกมาก แต่บราซิลจะทำได้จริงหรือไม่และเอทานอลของบราซิลจะทดแทนการใช้น้ำมันได้เท่าไรยังไม่มีใครทราบ

การคำนวณของ David Strahan พบว่า ถ้าบราซิลใช้เนื้อที่ทั้งหมดที่บราซิลอ้างว่าใช้ปลูกอ้อยได้ ผลผลิตของอ้อยจะแทนน้ำมันที่ชาวโลกใช้กันอยู่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้ไม่เกิน 30%

ความต้องการใช้น้ำมันยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่มักไม่มีใครพูดถึงก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นหากบราซิลทำเช่นนั้นจริงๆ การเปลี่ยนพื้นดินซึ่งใช้ปลูกพืชอย่างอื่นอยู่แล้วมาปลูกอ้อยย่อมมีผลกระทบต่อผลผลิตเหล่านั้น และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือถ้าบราซิลนำที่ดินซึ่งในขณะนี้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศมาปลูกอ้อย ผลได้จากการใช้เอทานอลแทนน้ำมันจะคุ้มกันกับการสูญเสียระบบนิเวศนั้นไปหรือไม่ ยังไม่มีใครรู้แน่นอน

อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ 2 กลุ่มนำโดยอาจารย์ของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน และนักวิทยาศาสตร์ขององค์กรชื่อ Nature Conservancy ได้นำผลการศึกษาออกมาเผยแพร่ การศึกษาทั้งสองนั้นสรุปว่า การผลิตและการใช้ไบโอดีเซลแทนน้ำมันจะทำให้ปัญหาโลกร้อนร้ายแรงยิ่งขึ้น ไม่ใช่ลดลงดังที่เชื่อกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้

หันมาทางเมืองไทย เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้าน้ำมันปาล์ม 30,000 ตัน เนื่องจากราคาของมันพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์น้ำมันปาล์มขึ้นราคาจะเกิดจากการกักตุนเพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อนำไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซลไม่เป็นที่ประจักษ์ แต่ที่แน่นอนก็คือการนำมันไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซลย่อมมีผลกระทบต่อความสมดุลในตลาด การขาดความสมดุลนั้นจะนำไปสู่อะไรย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค หากผู้ผลิตหันไปใช้ทุนและที่ดินผลิตปาล์มน้ำมันมากขึ้น การผลิตอย่างอื่นย่อมลดลง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในสิ่งเหล่านั้นและราคาของพวกมันจะขยับขึ้น ความต้องการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจึงอาจนำไปสู่การบุกรุกที่ป่าเพื่อนำเอาที่ดินมาใช้ปลูกทั้งปาล์มน้ำมันและพืชอย่างอื่นที่ราคาดีขึ้น เมื่อบวกลบคูณหารกันแล้ว มันอาจจะไม่ช่วยลดปัญหาโลกร้อน แต่กลับสร้างความเสียหายด้านอื่น

เมื่อโลกหันไปสนใจผลิตพืชเพื่อใช้ผลิตพลังงานทางเลือกมากขึ้น เป็นไปได้สูงว่าการผลิตข้าวย่อมลดลงในขณะที่ความต้องการข้าวยังเพิ่มขึ้นเพราะการเพิ่มของประชากรโลก ในภาวะเช่นนี้ราคาข้าวจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ชาวนาไทยอาจได้ประโยชน์ แต่คนไทยส่วนใหญ่มิได้ทำนาและยังรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก จริงอยู่ราคาข้าวอาจไม่ขึ้นพรวดเดียวเป็น 2-4 เท่า เช่นราคาทอร์เทียในเม็กซิโกเมื่อปีที่ผ่านมา แต่ราคาข้าวไม่จำเป็นต้องขึ้นถึงขนาดนั้น ก่อนที่คนไทยส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก รัฐบาลจะทำอย่างไรในภาวะ เช่นนี้ ? หากเป็นดังที่ผ่านมา รัฐบาลคงคุมราคาข้าวเพื่อเอาใจผู้บริโภคและกดขี่ชาวนา แต่ชาวนาไทยในสมัยนี้ไม่ใช่ในสมัยปู่ย่าตาทวดอีกแล้ว พวกเขาคงไม่ยอมให้กดขี่ได้ดังในสมัยก่อน ผลของการมีสองนคราในภาวะเช่นนี้ คือ การตีกันระหว่างชาวบ้านกับชาวเมือง

เมื่อมองโดยรวมแล้วจะเห็นว่าพลังงานจากพืชอาจทดแทนพลังงานจากน้ำมันได้ไม่มากนัก แต่ผลกระทบในทางลบของมันอาจใหญ่หลวงเกินคาด ฉะนั้นทางเลือกที่ดีกว่าน่าจะเป็นการลดความต้องการพลังงานที่นอกเหนือจากความจำเป็นในการดำเนินชีวิตเบื้องต้นจริงๆ หวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตพืชเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกและการวางแผนพัฒนา จะได้ช่วยกันคิดทุกอย่างแบบบูรณาการอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป

From : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3985 (3185), ดร.ไสว บุญมา, คอลัมน์ ระดมสมอง

How Thai Government Work Part II
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!467.entry
How Thai Government Work Part I
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!464.entry

Categories: News and politics

FED – Financial Tools 2007-2008

17 March 2008 Leave a comment

ลำดับมาตรการปลดชนวนวิกฤตของ ธนาคารกลางสหรัฐ

นับจากวิกฤตซับไพรมก่อตัวขึ้นในสหรัฐปี 2550 (2007) และส่งผลกระทบไปทั่ว กลายเป็นบททดสอบฝีมือของ เบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด – FED)

ต่อไปนี้คือ เครื่องมือต่างๆ (Financial Tools) ที่ถูกทยอยนำออกมาใช้ เพื่อป้องกันเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะไม่ให้เดินเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือ recession

เครื่องมือดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น

เฟดใช้เครื่องมือดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืน (federal fund rate) และอัตราส่วนลด (discount rate) เป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการบรรเทาปัญหาระบบการเงิน โดยนับจากการประชุมเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2550 จนถึงการประชุมวันที่ 30 ม.ค. 2551 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดได้ปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเทศลงแล้ว 2.25% และ 2.75% ตามลำดับ โดยช่วงเวลา ดังกล่าวมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมฉุกเฉิน นอกวาระการประชุม 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2551 (2008) ซึ่งครั้งนั้นเฟดดึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นครั้งเดียวถึง 0.75%

กลไกการเงินพิเศษ

1 กลไกประมูลชั่วคราว (temporary auction facility : TAF) มีการพัฒนากลไกใหม่ๆ ขึ้นมาช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระบบ เสริมกับการอัดฉีดสภาพคล้องผ่านตลาดเปิด (open market) และช่องทาง (discount loan) โดยกลไกใหม่ที่สหรัฐนำมาใช้เรียกว่า กลไกประมูลชั่วคราว (temporary auction facility : TAF) โดยเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมถึงปัจจุบันมีการประมูลไปแล้ว 6 ครั้ง วงเงินประมูลประมาณ 1.60 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศเพิ่มวงเงินของกลไกสำหรับเดือนมีนาคมเป็น 1 แสนล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ประกาศไว้ 6 หมื่นล้านดอลลาร์

2 กลไกตลาดเปิด (open market) และช่องทาง (discount loan) เฟดยังได้ร่วมมือกับธนาคารกลางของแคนาดา สหภาพยุโรป อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์ อัดฉีดสภาพคล่องอีกกว่า 500 พันล้านดอลลาร์ในยุโรป จากนั้นเมื่อ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา เฟดประกาศอัดฉีดสภาพคล่องผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร อีก 1 แสนล้านดอลลาร์

3 กลไก swap currency คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ประกาศเพิ่มวงเงินในกลไกธุรกรรม สวอปอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำกับธนาคารกลางแห่งยุโรป และธนาคารกลางสวิสเป็น 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 6 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ ขยายระยะเวลาของธุรกรรมประเภทนี้เป็นถึง 30 ก.ย.ปีนี้

4 กลไก term securities lending facility มาตรการก่อนๆ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ปัญหาเงินตึงตัวลดลง ระบบการเงินมีสภาพคล่องมากขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มของวิกฤตสินเชื่อที่ยังไม่จบสิ้นง่ายๆ ส่งผลให้เฟดประกาศกลไกใหม่เมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา เรียกว่า กลไก term securities lending facility วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยเป็นการปล่อยกู้แก่สถาบันการเงินชั้นดีของประเทศ 20 ราย

(ข้อสังเกตของ ไทมส์ออนไลน์ ที่มองการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐและพันธมิตร อัดฉีดเม็ดเงินในสัปดาห์เดียวมากถึง 2.80 แสนล้านดอลลาร์ ว่าเป็นเสมือนสัญญาณที่ยืนยันชัดว่า มีสถาบันการเงินอย่างน้อย 1 แห่ง กำลังดิ้นรนเพื่ออยู่รอด

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในจังหวะที่ดาวโจนส์พุ่งขึ้นไปกว่า 400 จุดนั้น มีกระแสข่าวลือแพร่สะพัดในตลาดนิวยอร์กตลอดทั้งวันว่า แบร์ สเติร์นส์ กำลังตกที่นั่งลำบาก โดยต้นตอของข่าวมาจากบทวิเคราะห์ของ ดิ๊ก โบฟ นักวิเคราะห์จากพังค์ ซีเกล ซึ่งสะท้อนถึงโมเดลการดำเนินธุรกิจของวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่รายนี้ว่า กำลังสร้างปัญหาให้กับบริษัท

โดยเฉพาะข้อสังเกตเกี่ยวกับการที่แบร์ สเติร์นส์ ผนวกเอาธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเข้ามาอยู่ในปีกอย่างเต็มตัว โดยจับทั้งการเป็นผู้ออกสินเชื่อที่อยู่อาศัยมือแรก ดูแลการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ (securitization) ให้บริการผลิตภัณฑ์การเงินประเภท structured finance ตลอดจนเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้กับกองทุนในเครือ ดังนั้นเมื่อช่วงเวลาทำเงินก้อนโตผ่านพ้นไป นวัตกรรมการเงินเริ่มมีปัญหา รายได้งามก็ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง ที่สุดก็กระทบต่องบดุลของธนาคาร

เหตุนี้เอง นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์จึงเชื่อว่า ปฏิบัติการที่ได้รับเสียงเชียร์อย่างท่วมท้นของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปกป้อง "ธนาคารอเมริกันรายหนึ่ง" ให้รอดพ้นจากการล้มละลาย

ยิ่งกว่านั้น นักวิเคราะห์เชื่อว่า มาตรการใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐจะได้ผลดีแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพราะตัวชี้วัดหลายตัวไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่กำลังรุนแรงขึ้นในหมู่กองทุน บริหารความเสี่ยง (hedge fund) ที่ถูกธนาคารเจ้าหนี้เรียกหลักประกันเพิ่ม หลังสินทรัพย์ค้ำประกันหนี้เริ่มมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงตัวเลขยึดบ้าน และการผิดนัดชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยับขึ้นเรื่อยๆ

นอกเหนือจากนี้ นักวิเคราะห์มองเห็นจากมาตรการใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐ พวกเขาตีความว่า การที่เบอร์นันเกเลือกที่จะเข้าไปจัดการปัญหาสินเชื่อโดยตรง เท่ากับเป็นสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นมากเท่ากับ ที่ตลาดการเงินคาดหวัง

ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน 18 มีนาคมนี้ ธนาคารกลางสหรัฐจะลดดอกเบี้ยลงแค่ 0.50% ดึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืนมาอยู่ที่ 2.5%)

สาระสำคัญของกลไกใหม่คือเฟดจะรับซื้อตราสารหนี้ อันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระดับ AAA โดยตรงจากสถาบันการเงินเป้าหมาย โดยชำระเป็นพันธบัตรรัฐบาลประเภทต่างๆ ปัจจุบันเฟดถือครองอยู่ 7.13 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีกำหนดระยะเวลาซื้อคืน 28 วัน

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3984 (3184)

Categories: Economics & Finance

แนวเส้นทางรถไฟฟ้า 6 สาย ปี 2551 รัฐบาลสมัคร

16 March 2008 Leave a comment

แนวเส้นทางรถไฟฟ้า 6 สาย ปี 2551 รัฐบาลสมัคร

ภายหลังการเข้าหารือเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551
ระหว่าง นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กับ สนข. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า
โครงการรถไฟฟ้าที่มีความพร้อมและน่าจะเริ่มกระบวนการเปิดประกวดราคาภายในปี 2551 มีทั้งสิ้น 6 สาย
มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท

แนวเส้นทางรถไฟฟ้า 6 สายประกอบด้วย

1.สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 55,945 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นว่า น่าจะขายแบบได้ปลายเดือนมีนาคมนี้ ไล่เลี่ยกับที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) จะเซ็นสัญญาปล่อยเงินกู้เพื่อใช้ลงทุนก่อสร้างโครงการดังกล่าวจำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำหนดไว้ช่วงปลายเดือนมีนาคมเช่นเดียวกัน

2.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 27 กิโลเมตร มูลค่า 75,540 ล้านบาท จะขายแบบช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในเดือนมิถุนายน

3.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กิโลเมตร มูลค่า 8,748 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติของผู้รับเหมา 2 ราย ที่ยื่นเอกสารประกวดราคา จะเคาะราคาเร็วๆ นี้ คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้

4. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 36 กิโลเมตร มูลค่า 63,774 ล้านบาท ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเดือนเมษายน และพร้อมขายแบบเดือนมิถุนายนนี้

5.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 12 กิโลเมตร มูลค่า 30,700 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และออกแบบรายละเอียด จะแล้วเสร็จเดือนเมษายน ขายแบบเดือนกรกฎาคม และ

6.สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กิโลเมตร มูลค่า 24,600 ล้านบาท กำลังศึกษาเพื่อดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเดือนเมษายน ขายแบบได้เดือนกรกฎาคมนี้

ด้าน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง
เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 สำนักบริหารหนี้ฯ ได้นำเสนอแผนระดมทุนเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนทั้ง 9 สาย วงเงิน 500,000 ล้านบาท ต่อที่ประชุมที่นายกฯเป็นประธานครั้งหนึ่งแล้ว และเห็นว่าสายที่มีความพร้อมมากที่สุดคือสายสีม่วง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างจะเปิดประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมา โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากเจบิก วงเงินกู้งวดแรก 18,000 ล้านบาท จะเซ็นสัญญากู้เงินภายในเดือนมีนาคมนี้

Source : ประชาชาติธุรกิจ 13 มีนาคม 2551


ดูเหมือนไอ้แนวที่ว่านี้ มันเปลี่ยนได้เกือบทุกปีจริงๆ นี่ก็ไม่รู้ว่าคุณสมัครยังจะทำโครงการ 9 สายรึป่าว หรือตกลงจะทำอะไรแค่ไหน
ถ้ามีการกินหัวคิว คาดว่าจะกินแค่โครงการนี้โครงการเดียว ก็รวยไม่รู้เรื่องไปหลายร้อยปี

Categories: News and politics

Inflation Targeting (เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ)

10 March 2008 Leave a comment

Inflation Targeting
การดำเนินนโยบายการเงินกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ

นโยบายการเงินของหลายๆ ประเทศในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าเงินเฟ้อกลายเป็นเป้าหมายเดียว (Inflation Targeting) ของการดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศ
ยกตัวอย่างเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือประเทศในกลุ่มยุโรป

การหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเงินเฟ้อของภาคนโยบายในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องยาวนาน
ได้ส่งผลต่อจิตวิทยาความเชื่อของผู้คนว่าปัญหาเงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น

กลไกการทำงาน คือ

ถ้าบรรดาผู้ผลิตเชื่อว่าราคาสินค้าและวัตถุดิบจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนักในอนาคต
พวกเขาก็จะผลิตสินค้าออกมาในระดับปกติ
ไม่มีการกักตุน ไม่มีการลดหรือเพิ่มระดับการผลิตสินค้าอย่างผิดปกติ
ถ้าบรรดาผู้บริโภคเชื่อว่าราคาสินค้าจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนักในอนาคต
พวกเขาก็จะไม่เร่งรีบไปต่อแถวซื้อสินค้ามากักตุน
หรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปจากพฤติกรรมปกติ
การขึ้นลงของราคาสินค้าอย่างรุนแรงก็ไม่เกิดปัญหาเงินเฟ้อมันก็ไม่เกิด

ในสมัยก่อน ช่วงก่อนปี พ.ศ.2522-2523
ทัศนคติต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินได้ถูกครอบงำโดยแนวคิดแบบ keynesianism
ซึ่งให้ความสำคัญกับการเติบโตของตัวเลข GDP แต่เพียงอย่างเดียว

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ เกิดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในระดับสองเท่าตัวในระยะเวลาปีกว่าๆ
ที่ก่อให้เกิดปัญหาการหดตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าอย่างบ้าเลือด
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา USA ตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ระดับ 13.4 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่ตัวเลขคนว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10.6 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

เป็นผลทำให้้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการดำเนินนโยบายการเงินของนักเศรษฐศาสตร์มหภาคครั้งใหญ่
จากที่เราเคยให้ความสำคัญแต่เฉพาะตัวเลขการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ หรือ GDP
เปลี่ยนมาให้น้ำหนักความสำคัญกับปัญหาเงินเฟ้อมากยิ่งขึ้น (Inflation Targeting)

ตัวอย่างที่ชัดเจนของความแตกต่างในการกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ต่างกัน คือ

ถ้าประเทศหนึ่งโชว์ตัวเลขการเติบโตของ GDP ที่ระดับ 9 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์
ผลก็คือ ปริมาณผลผลิตที่แท้จริงในประเทศมันหดตัวลงราว 1 เปอร์เซ็นต์
หรือเข้าใจง่ายๆได้ว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ต้องเสียเงิน ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์
ในการที่จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนเท่าเดิม

แต่ถ้าการที่ประเทศหนึ่งมีอัตราการเติบโตของ GDP ที่ระดับ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่า 3 เปอร์เซ็นต์
นั่นแสดงว่า ปริมาณผลผลิตที่แท้จริงในประเทศมันขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 1.8 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งแปลได้ว่า ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นั่นเป็นข้อสรุปที่ทำให้ความคิดที่ว่า
การกำหนดเป้าหมายการเติบโตของ GDP แต่เพียงอย่างเดียว
เป็นเรื่องที่ดูไร้สาระในกรอบของนักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน
และทำให้หลายๆประเทศ รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในยุคหลัง
ดำเนินนโยบายการเงิน โดยกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)

ต้องฝากความหวังไว้ว่า รัฐบาลนี้
จะไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการกำหนดนโยบายทางการเงินต่างๆ

อ้างอิง : ภาวิน ศิริประภานุกูล, คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา, ประชาชาติธุรกิจ, 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3982 (3182)

Categories: Economics & Finance

Maruey (ห้องสมุดมารวย)

9 March 2008 Leave a comment

Maruey (ห้องสมุดมารวย)

เพิ่งอ่านข่าวเจอว่า ห้องสมุดมารวย (Maruey) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
มาเปิดที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า (National Institute for Development Administration – NIDA)
ในชื่อว่า ห้องสมุดมารวย@นิด้า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ซึ่งเปิดให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไปตลอด 365 วัน
โดยเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 8.00 – 24.00 น.
(ประทับใจโคตรๆ ห้องสมุดมันต้องมีเวลาเปิดนานๆ)
แต่แปลกนะ ที่ ห้องสมุดมารวย@นิด้า มีเวลาเปิด นานกว่า ห้องสมุดมารวย ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก
ซึ่ง ห้องสมุดมารวย ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากวันศุกร์กับเสาร์แล้ว วันอื่นๆ ปิดเวลา 23.00 น.

สมัยเรียนธรรมศาสตร์ อยู่จนโดนไล่เพราะห้องสมุดจะปิด ก็ถึงแค่ประมาณ 2 ทุ่ม
แถมวันอาทิตย์ไม่เปิดอีก หรือไม่ก็ปิดตั้งแต่เย็นๆ
นอกจากช่วงสอบ อาจปิดช้ากว่านั้น แต่แค่ซัก ไม่เกิน 3 ทุ่มนะ

ห้องสมุดมารวย@นิด้า ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารอเนกประสงค์ นิด้า
เป็นห้องสมุดแห่งที่ 3 ที่ได้รับการพัฒนาให้มีรูปลักษณ์และบรรยากาศคล้ายกับ ห้องสมุดมารวย ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีพื้นที่ประมาณ 440 ตร.ม. แบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่
Library Zone, Reading Zone, Education Zone, SET Corner, Coffee Zone และ Internet Zone

ก็ไม่รู้ว่า ห้องสมุดมารวย@นิด้า จะมีหนังสือหลากหลายมากเท่าที่ ห้องสมุดมารวย ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ รึป่าว
แต่อย่างน้อย ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ที่จะได้มีที่อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหลาย ที่หาซื้อยาก และราคาค่อนข้างสูง
หลายๆเล่มต้องสั่งซื้อในเนต โดยที่มีโอกาสได้ลองอ่านเนื้อหาข้างในน้อยมาก

ปัญหาคือ แล้วนิด้ามันคิดค่าจอดรถเท่าไหร่ ?!?!?!
ทั้งที่อยู่ห่างจากบ้านแค่ 10 กิโลกว่าๆ แต่ไม่เคยเข้าไปในนั้นเลย
(อยู่บ้านนอกน่ะ แค่ 10 กว่ากิโลเมตร ถือว่าไม่ไกลหรอก)
ถ้าคิดค่าจอดแพง ไปเข้าห้องสมุดที ก็คงเหนื่อยใจเหมือนกัน
เพราะตามนิสัยแล้ว ไปห้องสมุดทีไร นั่งอ่านได้ทีละหลายๆชั่วโมง

แต่ถ้าค่าจอดไม่แพง และหาที่จอดไม่ยาก
คงได้มีโอกาสไปบ่อยๆ

Categories: Other

The Pak Moon Dam (เขื่อนปากมูล)

6 March 2008 Leave a comment

The Pak Moon Dam เขื่อนปากมูล

แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำน้ำหลายสายไหลมาบรรจบ มีพื้นที่รับน้ำถึง 117,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศไทยมีปริมาณน้ำไหลเฉลี่ยปีละ 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับ 740 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำดังกล่าวไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากลำน้ำมูลและน้ำโขงไปทางตะวันตกประมาณ 5.5 กิโลเมตร ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก โดยมีค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2537

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนปากมูล (The Pak Moon Dam) ถูกจัดอยู่ในแผน พัฒนาไฟฟ้าของ กฟผ. ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2534) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 กฟผ. เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2533 งานแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2537 ตรงตามกำหนดการที่ตั้งไว้

ในประเทศไทย เขื่อนปากมูล เป็นตัวอย่างอันดีของการพัฒนาแบบมักง่ายและไร้ความ รับผิดชอบต่อชุมชน เป็นเขื่อนที่คณะกรรมการเขื่อนโลก (World Commission on Dams – WCD) สรุปไว้อย่างชัดเจนในรายงานศึกษากรณีนี้ว่า ประสบความล้มเหลวในทุกด้าน โดยผลการศึกษาดังที่เก็บความในนิตยสารสารคดี ปีที่ 16 ฉบับที่ 188 เดือนตุลาคม 2543 ระบุว่า "กำลังไฟฟ้าที่เขื่อนปากมูลผลิตได้จริงนั้น น้อยกว่าที่ทาง กฟผ. คาดการณ์ไว้ตอนแรกหลายเท่า คือจาก 150 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 20.81 เมกะวัตต์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการสร้างเขื่อนทั้งหมดที่เพิ่มสูงขึ้น จากที่คาดการณ์ไว้ตอนแรกกว่าหนึ่งเท่าตัว คือจาก 3,880 ล้านบาท เป็นกว่า 8,000 ล้านบาท เขื่อนแห่งนี้จึงไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจดังที่คาดการณ์ไว้ ส่วนในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการฯสรุปว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูลไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ กล่าวคือมิได้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และหามาตรการแก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินโครงการ นอกจากนี้ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ทาง กฟผ. ก็ไม่เคยมีการหารือกับชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ และไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ตลอดจนกระบวนการแก้ไขผลกระทบแต่อย่างใด"

สภาพปัญหาทางเศรษฐศาสตร์

การสร้างเขื่อนปากมูล ต้นทุนการก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นจาก 3,880 ล้านบาท เป็นกว่า 8,000 ล้านบาท โดยยังไม่รวมต้นทุนผล กระทบทางสังคม

เขื่อนปากมูล ถูกออกแบบให้ผลิตไฟฟ้าในช่วง 4 ชั่วโมงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวัน แต่ในฤดูฝนเขื่อนปากมูลไม่ สามารถเดินเครื่องได้ตลอดทั้ง 4 ชั่วโมงที่มีความต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุด แต่ต้องเดินเครื่องในช่วงเวลาอื่นเป็นประจำ  เนื่องจาก เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนแบบน้ำไหลผ่าน (run-of the river) กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในอ่างและระดับน้ำท้ายอ่าง

การศึกษาคณะกรรมการเขื่อนโลก ในสรุปร่างรายงานฉบับสุดท้าย (Final Report จาก www.dams.org) ระบุว่า 4 ในช่วงเดือน เมษายนและพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณน้ำมีความเหมาะสม เขื่อนปากมูลผลิตไฟฟ้าได้ไม่เกิน 5 ล้านหน่วย หากเทียบเป็นกำลัง การผลิตติดตั้งแล้วเท่ากับไม่เกิน 40 เมกกะวัตต์จากกำลังการผลิตสูงสุด 136 เมกกะวัตต์ (สามารถเดินเครื่องได้เกิน 40 เมกกะวัตต์ได้  แต่จะเดินเครื่องได้ไม่ถึงวันละ 4 ชั่วโมง) และเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นมากๆ ก็ต้องหยุดเดินเครื่อง เนื่องจากระดับน้ำแตกต่างกัน น้อยจนไม่สามารถหมุนกังหันได้

นอกจากนั้น จากการศึกษาของคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาฯ 16 กรณี พบว่า ในปี 2541 มีหลายเดือนที่เขื่อนปากมูล ไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load)

กฟผ.ระบุว่า เขื่อนปากมูลจะก่อให้เกิดพื้นที่ชลประทาน 160000 ไร่ ซึ่งคิดเป็น 3% ของผลประโยชน์ทั้งหมด แต่ปัจจุบัน ยังไม่มี โครงการโดยตรงในการใช้ประโยชน์ในทางชลประทาน มีเพียงโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งเป็นของกรมพัฒนาและ ส่งเสริม พลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งดำเนินการมาก่อนหน้านี้

กฟผ.ระบุว่า เขื่อนปากมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการประมงคิดเป็น 7% ของประโยชน์ที่ได้ทั้งหมด แต่การศึกษาของ คณะกรรมการเขื่อนโลก เมื่อปลายปี 2542 พบว่า ผลประโยชน์ที่ได้จริงเป็นลบ เพราะปริมาณปลาที่จับได้บริเวณอ่างเก็บน้ำหลังการสร้างเขื่อนลดลง ทั้งตอนกลางและตอนปลายของอ่างเก็บน้ำ คิดเป็น 60% และ 80% ตามลำดับ

สภาพปัญหา ผลกระทบต่ออาชีพประมง

ชุมชน 2 ริมฝั่งน้ำมูน มีอาชีพหลักคือการทำประมง เนื่องจากระบบนิเวศน์ เอื้อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของพันธุ์ปลาจากแม่น้ำโขง ประกอบกับพื้นดินบริเวณเหนือตลิ่งไม่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม อาชีพประมงจึงเป็นบ่อเกิดที่หล่อเลี้ยงชีวิต และเป็นที่มาของวัฒนธรรมของชุมชนริม 2 ฝั่งลุ่มน้ำปากมูนมาเนิ่นนาน เขื่อนปากมูลได้ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของปลาและผลผลิตปลาลดลงอย่างรวดเร็ว ชาวประมงกว่า 4000 ครอบครัวสูญเสียอาชีพ ที่เหลือรายได้ลดลง การเพาะพันธ์ปลาเพื่อปล่อยทดแทนพันธ์ปลาที่สูญหายไปจากลำน้ำมูน ก็ช่วยไม่ได้มากนัก เพราะความสามารถในการ เพาะพันธ์ปลาบางชนิดทำได้ยากมาก ปลาที่เลี้ยงจึงมีเพียงปลาในท้องตลาด ที่ได้รับการส่งเสริมจาก บริษัท ซี.พี. ซึ่งมีราคาต่ำ และไม่เป็นที่นิยมในท้องถิ่น

เมื่อปี 2545 จะมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เสนอให้ EGAT ควรเปิดประตูเขื่อนตลอดทั้งปีเป็นเวลา 5 ปีนั้น แต่รัฐบาลยุคนั้น (รัฐบาลทักษิณ) เลือกที่จะให้เปิดเพียงแค่ 4 เดือนปิด 8 เดือน และล่าสุดรัฐบาลสุรยุทธ์ ก็มีมติให้ปิดประตูเขื่อนถาวร เมื่อกลางปี 2550 (พลันที่รัฐบาลมีมติออกมาเช่นนี้ทัพของชาวบ้านแม่มูนก็เคลื่อนมายังเมืองกรุงเพื่อเรียกร้องให้รัฐทบทวนมติดังกล่าว, "สมัชชาคนจน" ก็มีจุดเริ่มต้นจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล)

สภาพปัญหา ความไม่ยุติธรรมที่ชาวบ้านได้รับ

กระบวนการสร้าง เขื่อนปากมูล ไม่เคารพต่อสิทธิของชาวบ้าน ที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนตั้งแต่แรก แต่กลับกีดกัน ชาวบ้านออกไป อีกทั้งใช้ตรรกะคนส่วนน้อยต้องเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งเขื่อนสร้างจวนเสร็จชาวบ้านก็เพิ่งทราบว่าที่ดิน ทำกินและที่อยู่อาศัยของตนจะถูกน้ำท่วมหรือไม่ กฟผ. ยังได้ปกปิดข้อมูลการระเบิดแก่งท้ายเขื่อนเพื่อสร้างร่องระบายน้ำ และเมื่อเกิดการคัดค้าน ยังได้ใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วปกครอง โดยดึงชาวบ้านส่วนหนึ่งที่อิงกับอำนาจรัฐออกไปดูงานและโน้มน้าวให้สนับสนุนการ สร้างเขื่อน จนกระทั่งชาวบ้านต้องแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน

ยิ่งไปกว่านั้น แรกเริ่ม กฟผ. ยังได้บิดเบือนข้อมูลว่าจะมีการสร้างฝายยาง ขณะที่ทำตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบให้ดูน้อยโดยระบุ ว่าคาดว่าจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 241 ครอบครัวใน 11 หมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริงมีชาวบ้านถึง 1700 ครอบครัวที่ต้องสูญเสีย บ้าน ที่ดิน หรือทั้ง 2 อย่าง

การจ่ายค่าชดเชยไม่ได้มาจากการวางแผน  ทำให้ชาวบ้านต้องชุมนุมประท้วงอย่างยืดเยื้อเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม จนกระทั่งได้มีการชดเชย แต่มาตรการการแก้ปัญหาอาชีพของผู้ได้รับผลกระทบของ กฟผ. โครงการอบรมวิชาชีพให้แก่ชาวบ้าน เช่น ทำขนมเค็ก ตัดผม  ดัดผม ซ่อมจักรยานยนต์  ช่างไฟ  ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด ตาม link อ้างอิงข้างล่าง เนื่องจาก ผมได้ตัดแปะและผสมผสานข้อความจากข้อมูลข้างล่างนี้

From :
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3981 (3181) คอลัมน์ ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ โดย สฤณี อาชวานัทกุล
www.thaingo.org/story/book_034.htm
www.searin.org/Th/PMD/PMDinf/PMDin2.htm
www.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=388&Itemid=38
www.egat.co.th
www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=8824&Key=HilightNews
th.wikipedia.org/wiki/เขื่อนปากมูล
www.dams.org/news_events/media84.htm
www.dams.org/news_events/media32.htm
www.oknation.net/blog/print.php?id=186633
www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9500000039703

Categories: News and politics