Archive

Archive for June, 2009

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พัฒนาการของรัฐชาติ ความขัดแย้งภายในของชาวสยาม

29 June 2009 Leave a comment

พัฒนาการของรัฐชาติ ความขัดแย้งภายในของชาวสยาม

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
 
"เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อดีตผู้นำนักศึกษา 14 ตุลา 2516 ไม่ใช่พวกนักพูดขาประจำ ถ้าไม่ใช่โอกาสสำคัญจริงๆ อาจารย์เสกสรรค์มักเลี่ยงการพูดบนเวทีสาธารณะ

24 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ "70 ปีสยามเป็นไทย-ย้อนเวลา สู่อนาคต 24 มิถุนายน 2482-2552"

ดร.เสกสรรค์ขึ้นเวที กล่าวปาฐกถานำเรื่อง "พัฒนาการของรัฐชาติกับความขัดแย้งภายในของชาวสยาม" ท่ามกลางผู้ฟัง เต็มหอประชุม

ปาฐกถาใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง เมื่อไม่ได้พูดบ่อย เนื้อหาย่อมหนักแน่นเป็นธรรมดา

"ประชาชาติธุรกิจ" เก็บความบางตอนมานำเสนอ ดังนี้

วันนี้ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้มาสนทนากับท่านในเรื่องทุกข์สุขของบ้านเมือง แม้ว่าวาระโอกาสที่เรามาพูดคุยกันจะเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ค่อนข้างมาก และหัวข้อที่ตั้งไว้จะออกไปในทางฟื้นความหลังสักนิด แต่ประเด็นเรื่องความขัดแย้งนั้น ถึงอย่างไรก็ไม่เคยล้าสมัยในประเทศของเรา

ทุกวันนี้การอาศัยระบบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางก็ดี และการวางฐานะรัฐไว้เหนือชาติแบบผู้ใหญ่ปกครองเด็กก็ดี ย่อมก่อให้เกิดสภาพหนึ่งที่รัฐไทยคุมไม่ได้ นั่นคือปริมาณข้อเรียกร้องที่มีต่อรัฐ หรือจำนวนปัญหาต่างๆ ที่กลุ่มชนในชาติขอให้รัฐมาจัดการดูแล

ยิ่งสังคมเปลี่ยนแปลงไปบนเส้นทางทุนนิยม ข้อเรียกร้อง ที่มีต่อรัฐยิ่งมีมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและความหลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากชาติในความเป็นจริงไม่ได้มีเอกภาพทั้งในเรื่อง ผลประโยชน์และในด้านความรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้ผู้คนก็มิได้ถูกฝึกให้เคยชินกับการแก้ปัญหาของตนด้วยจิตใจของอิสรชน

ดังนั้นทำไปทำมา ชาติที่รัฐอยากให้สงบเสงี่ยมอยู่ในโอวาท จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นเด็กงอแงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเรียกร้องเรื่องเศรษฐกิจและประเด็นปากท้องล้วนกลายเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองได้ในเวลาข้ามคืน และข้อเรียกร้องทางการเมือง ไม่ได้รับการตอบสนอง คือจุดเริ่มต้นของความไม่พอใจทางการเมือง (political discontent) การที่รัฐไทยทำให้ชาติไทยเป็น "บุตรบุญธรรม" ของตนมาตั้งแต่แรก นับเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้ทุกวันนี้ ประชาชนคนไทยหลายหมู่เหล่าทำตัวเหมือนเด็กที่เอาแต่ใจ ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ แต่ก็อ่อนแอและขาดวุฒิภาวะที่จะรับผิดชอบตัวเอง

อย่างไรก็ดีนั่นเป็นเพียงด้านเดียวของปัญหา ในอีกด้านหนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมในระยะหลัง ก็ทำให้อำนาจผูกขาดของรัฐในการนิยามความเป็นชาติ และปลูกฝัง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมแห่งชาติลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อระบอบการเมืองการปกครองของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และสังคมไทยมีแนวโน้มเป็นเสรีนิยมมากกว่าเดิม การตรวจสอบท้าทายค่านิยม ตลอดจนบรรทัดฐานของความเป็นคนไทยที่รัฐกำหนดจึงมีโอกาสเกิดมากขึ้นเป็นธรรมดา ยังไม่ต้องพูดถึงการถอนตัวจากวัฒนธรรมแห่งชาติของ คนรุ่นโลกาภิวัตน์

พูดอีกแบบหนึ่งคือในปัจจุบันคนไทยเริ่มมีความคิดไม่ตรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับความเป็นชาติและความเป็นไทย และ การผูกขาดคำนิยามของจินตภาพเหล่านี้ นับวันจะทำได้ยากขึ้น

เพราะฉะนั้นในระยะที่ผ่าน ถ้าประเทศไทยไม่มีกระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง (conflict resolution) ที่สอดคล้องกับสภาพ พหุลักษณ์ (pluralism) ที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างเพียงพอ หรือถ้าหากยังมีการยืนกรานนิยามความเป็นชาติในแนวใดแนวหนึ่งอย่างตายตัว โดยไม่มีการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง ก็อาจนำไปสู่การปะทะรุนแรงระหว่างหมู่ชนที่ได้ชื่อว่าสังกัดชาติเดียวกันได้ทุกหนแห่ง

ถึงตรงนี้ ผมขออนุญาตกลับมาพูดถึงชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นประชากรของสยามยุคใหม่สักเล็กน้อย

ในสภาพทั่วไป สำหรับชาติพันธุ์หลักๆ ที่มีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงหรือเกี่ยวดองกับคนไทยภาคกลาง เช่น คนเหนือ คนใต้ และคนอีสาน การปรับตัวเข้าหาระเบียบการเมืองแบบรัฐชาติและ "วัฒนธรรมแห่งชาติ" อาจจะง่ายกว่ากลุ่มชายขอบ

กระนั้นก็ตาม ปัจจัยชี้ขาดยังมิใช่ภาษาและวัฒนธรรมเดิมที่ใกล้เคียงกับคนไทยภาคกลางเท่ากับการมีพื้นที่ทางเศรษฐกิจและ การเข้าถึงอำนาจทางการเมือง (political access)

การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้าไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ไม่เพียงเปลี่ยนวิถีชีวิตในต่างจังหวัดให้เกี่ยวโยงและขึ้นต่อระบบตลาดเท่านั้น หากยังจัดจำแนกชนชั้นในสังคมชนบทขึ้นมาใหม่ (class differentiation) ขณะที่ตัวเมืองต่างจังหวัดกลายเป็นศูนย์กลางการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการเติบโตของชนชั้นกลางในภูมิภาค และการปรากฏตัวขึ้นของชนชั้นนำใหม่ในท้องถิ่น (local elites)

สภาพดังกล่าวทำให้ความกลมเกลียวทางวัฒนธรรม (cultural homogeneity) ของภูมิภาคและชาติพันธุ์เหล่านี้ลดลงไปมิใช่น้อย ส่งผลให้ความแตกต่างกับคนไทยภาคกลางได้รับการประนีประนอมจนไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหา อันที่จริงทุกวันนี้ชนชั้นนำและคนชั้นกลางในต่างจังหวัดอาจจะใช้ภาษาและมีวิถีชีวิตใกล้เคียงกับพวกเดียวกันในเมืองหลวงมากกว่าบรรดาชาวนาชาวไร่ที่อยู่ ล้อมรอบพวกเขาเสียอีก

ระบอบรัฐสภาไทยนั้นมีปัญหาหลายอย่าง แต่อย่างน้อยที่สุด มันก็เป็นพื้นที่ทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้ชนชั้นนำจากภูมิภาคต่างๆ เข้ามาสู่ศูนย์อำนาจ และโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง มวลชนที่เป็นฐานเสียงย่อมสามารถต่อรองเอาผลประโยชน์จากนักการเมืองได้บ้าง ด้วยเหตุนี้การมีอยู่ของผู้แทนและนักการเมืองต่างจังหวัด จึงเท่ากับมีคนกลางคอยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐที่รวมศูนย์กับประชาชนระดับรากหญ้าอยู่ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญคือ สายสัมพันธ์นี้ได้ลดทอนความรู้สึกเป็น "คนนอก" ของภูมิภาคที่มีอัตลักษณ์ต่างจากเมืองหลวงและภาคกลางไปได้พอสมควร

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าการขยายตัวอย่างกว้างขวางของเศรษฐกิจทุนนิยม และการเข้าถึงเอเย่นต์การเมืองในระบบรัฐสภาด้วยความสม่ำเสมอมากขึ้น โอกาสที่ประชาชนเหล่านี้จะแปลกแยกแตกหักกับรัฐก็มีอยู่ไม่น้อย ทั้งในรูปของการแยกดินแดน และการร่วมขบวนปฏิวัติของฝ่าย "ซ้าย"

กรณีที่ชัดเจนที่สุดในทิศทางนี้ ได้แก่ พลเมืองไทยเชื้อสายลาวในภาคอีสาน ซึ่งจำนวนไม่น้อยมีบรรพบุรุษถูกกวาดต้อนมาจากอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง เคยถูกเหยียดหยามดูแคลนทั้งจากศูนย์อำนาจที่กรุงเทพฯ และคนไทยภาคกลาง ตลอดจนมีฐานะยากจนกว่า ภาคอื่นๆ อยู่เป็นเวลานาน ยังไม่ร้องเอ่ยถึงว่ามีชาติพันธุ์เดียวกัน ตั้งรัฐชาติอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน

สถานะดังกล่าวทำให้ในสายตาของรัฐ อีสานนับเป็นปัญหาความมั่นคงอยู่พักใหญ่ทีเดียว

ส่วนประเด็นคนจีนในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันนี้แทบไม่ต้อง เอ่ยถึงอีกก็ได้ เพราะไม่นับเป็นประเด็นอีกต่อไป

ดังนั้นเมื่อพูดถึงประเด็นรัฐชาติกับชาติพันธุ์ในบริบทปัจจุบัน ปัญหาจึงตกหนักอยู่กับบรรดากลุ่มชาติพันธุ์เล็กๆ ซึ่งยังคงมีลักษณะเป็น "คนอื่น" สูง และมีพื้นที่น้อยมากในตารางคุณค่าของรัฐและกระแสหลักของสังคมไทย

ในบรรดาปัญหาทั้งหมดที่ชาติพันธุ์เหล่านี้กำลังเผชิญอยู่การตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติหรือถูกถอนสัญชาติไทยดูจะเป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด ดังเราจะเห็นได้จากสถิติการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระหว่าง พ.ศ.2544-2551 ปรากฏว่าจากข้อร้องเรียนทั้งหมด 108 กรณี มีถึง 91 กรณีที่เป็นการขอให้ได้รับสัญชาติ

นอกจากเรื่องสัญชาติแล้ว ปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งของชาติพันธุ์เล็กๆ คือการขาดที่ดินทำกินและการเข้าไม่ถึงทรัพยากรธรรมชาติ

แต่เดิมมาที่ดินทำกินในราชอาณาจักรไม่เคยมีฐานะเป็นสมบัติส่วนตัวอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ราษฎรมีสิทธิ "ครอบครอง" ที่ดิน ก็เฉพาะเมื่อมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเท่านั้น ถ้าหากทิ้งรกร้างไว้ถึงเวลาหนึ่ง ผู้อื่นย่อมมีสิทธิเข้าไปใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโบราณ นอกจากนี้แล้วยังมีพื้นที่ซึ่งกันไว้เป็นชุมชนที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ หรือเป็นป่าใช้สอย เป็นต้น ในสภาพดังกล่าว เราอาจพูดได้ว่าชุมชนท้องถิ่นสามารถเข้าถึงฐานทรัพยากรได้อย่างเต็มที่ สามารถใช้ ภูมิปัญญาพื้นถิ่นดูแลตัวเองได้ตามอัตภาพ

การใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อฝ่ายรัฐได้ออกกฎหมายที่ดินและออกโฉนดที่ดินแบบสมัยใหม่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 จากนั้นมาการถือครองที่ดินในประเทศก็เป็นเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ส่วนตัว (private property) ตามระบบทุนนิยมอย่างครบถ้วน ที่ดินทำกินส่วนใหญ่กลายเป็นสินค้าในตลาด ซึ่งเอกชนสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ตลอดจนสะสมและปล่อยรกร้างได้

ส่วนพื้นที่ป่านั้นเมื่อมีการตั้งกรมป่าไม้ขึ้นในปี พ.ศ.2439 ก็เริ่มหลุดจากการดูแลของชนชั้นนำท้องถิ่นและชุมชน ไปสู่การบริหารจัดการโดยศูนย์อำนาจส่วนกลาง ยิ่งเวลาผ่านไปการควบคุมผืนป่าโดยรัฐก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับต่างๆ

แน่นอนสภาพดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบริเวณภูดอยอย่างหนักหน่วง ดังทราบกันดีอยู่แล้ว ปัจจุบันการถือครองที่ดินทำกินในประเทศไทยมีลักษณะกระจุกตัวสูงมาก ในเมื่อพื้นที่ทำกินในที่ราบมีผู้ถือครองหมดแล้ว เขตป่าเขาอันเป็นที่อยู่ดั้งเดิมของชาติพันธุ์หลายหมู่เหล่าก็กลายเป็น ทั้งป่าสงวน เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทางออกของกลุ่มชาติพันธุ์ในด้านที่ดินทำกินจึงมีไม่มากนัก

สภาพไร้สัญชาติก็ดี และถิ่นฐานที่ไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการผืนป่าโดยรัฐก็ดี ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่าง รัฐสมัยใหม่กับกลุ่มชาติพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งฝ่ายหลังมักจะตกเป็นผู้ถูกกระทำในแทบทุกกรณี บางกลุ่มถูกจับกุมซ้ำแล้วซ้ำเล่าในข้อหา "บุกรุกป่า" บางกลุ่มก็ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานมาใช้ชีวิตและทำมาหากินในที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ ยังมีบางชาติพันธุ์ที่กำลังสูญเสียพื้นที่ทำกินเพราะถูกกดดัน ทั้งโดยภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ความเดือดร้อนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จึงเกิดขึ้นอย่างมหาศาลสุดพรรณนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความยากแค้นสาหัสในด้านการครองชีพ บางส่วนถึงกับยอมขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวเพื่อความอยู่รอด บ้างส่งลูกหลานไปหากินในเมืองในฐานะชนชั้นล่างสุด ทำให้วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์หมิ่นเหม่ต่อการถูกทำลายล้างจนหมดสิ้น

ในกรณีสุดขั้วอีกแบบหนึ่ง นิยาม "ความเป็นไทย" ตามที่รัฐกำหนด ก็ส่งผลกดทับอย่างหนักหน่วงต่อชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างและโดดเด่นอย่างพลเมืองไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดภาคใต้ พลเมือง เหล่านี้ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มานานหลายศตวรรษ สืบทอดเชื้อสายมาจาก ผู้คนในอาณาจักร เก่าแก่โบราณ พูดภาษา

มลายู (ยาวี) เป็นภาษาแรกและนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งไม่เพียงแตกต่างจากศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาหลักในประเทศไทย หากยังเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีทางจิตวิญญาณที่ไม่อาจกลมกลืนกับระบบทุนนิยมได้โดยอัตโนมัติ

แน่นอนกรณีของชาวมลายูในสามจังหวัดภาคใต้ คงต้องถือเป็นปัญหาคนละระดับกับชาติพันธุ์ชายขอบอื่นๆ เพราะการที่ชาวมลายูมุสลิมจำนวนไม่น้อยผูกโยง อัตลักษณ์ของตนไว้กับสถานะทางการเมืองที่เคยเป็นแบบกึ่งอิสระในสมัยก่อน ทำให้ปัญหาแก้ได้ยากขึ้นสำหรับรัฐไทยยุคหลังที่ยึดถือการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้จึงผิดแผกแตกต่างจากปัญหาชาติพันธุ์ที่เหลือค่อนข้างมาก และอาจจะต้องอาศัยทางออกที่พิเศษออกไป

แต่พูดก็พูดเถอะ ปัญหาที่ตกค้างมาจากกระบวนการสร้างรัฐชาตินั้น มาถึงวันนี้ อาจจะไม่ใช่ "เรื่องส่วนตัว" ระหว่างรัฐไทยกับชาติไทยเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งตัวรัฐและประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองได้ถูกพลังอำนาจอื่นที่ไร้พรมแดนเข้ามาดัดแปลงจนเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปไม่น้อย กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง

ที่นับว่าอันตรายก็คือ ขณะรัฐกำหนดสังคมไม่ได้เหมือนเดิมหรือเท่าเดิม ตัวสังคมเองก็แตกกระจายเป็นหลายส่วนเสี้ยว ขาดการเชื่อมโยงกัน และยังไม่มีพลังพอที่จะพลิกฐานะมาควบคุมกำกับรัฐได้อย่างเป็นระบบเช่นกัน

อันที่จริงก่อนวิกฤต พ.ศ.2540 และการเปิดเสรีทั่วด้านตามแรงกดดันของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การพัฒนาประเทศแบบไม่ทั่วถึง (uneven develop ment) ก็ผลิตปัญหาโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว

แต่หลังจากรัฐไทยถูกบีบให้ออกกฎหมายเปิดประเทศ 11 ฉบับ เพื่อแลกกับความช่วยเหลือของไอเอ็มเอฟ ปัญหาเดิมที่เรื้อรังอยู่แล้วไม่เพียงถูกทำให้หนักหน่วงขึ้นเท่านั้น ตัวรัฐชาติเองก็สูญเสียฐานะไปหลายส่วน และอาจจะควบคุมกำกับทิศทางการพัฒนาประเทศไม่ได้อีกต่อไป

ด้วยเหตุนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เป็นแค่ประเด็นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว หากยังมีนัยสั่นคลอนระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติอย่างลึกซึ้งถึงราก

ประการแรก จินตภาพเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนถูกกัดกร่อนให้อ่อนลง เนื่องจากพลังอำนาจจากนอกประเทศเข้ามามีส่วนกำหนดนโยบายของรัฐไทยได้ในสัดส่วนที่สูงมาก

ประการต่อมา แนวคิดเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติเองก็ถูกหักล้างไปมาก เนื่องจากการเข้ามาผสมปนเปของผลประโยชน์ ต่างชาติจนแยกไม่ออกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแท้จริงแล้วเป็นผลประโยชน์ของใคร อันนี้ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติไม่ค่อยสมจริงมาตั้งแต่แรกแล้ว

และประการสุดท้าย ในเมื่อรัฐชาติไม่ว่าระบอบใดล้วนอาศัยจินตภาพเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติเป็นข้ออ้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจ เมื่อมาถึงจุดนี้ข้ออ้างดังกล่าวจึงขาดความหนักแน่นน่าเชื่อถือลงไปไม่น้อย กระทั่งเริ่มถูกคัดค้านถี่ขึ้นเรื่อยๆ

สภาพดังกล่าวหมายความว่า การสร้างฉันทานุมัติทางการเมือง (political consensus) จะกระทำโดยอาศัยข้ออ้างลอยๆ เกี่ยวกับชาติไม่ได้อีกต่อไป (ซึ่งก็มีชนชั้นนำบางกลุ่มฝืนทำอยู่) หากต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของกลุ่มก้อนองค์กรต่างๆ จากภาคประชาชนหรือประชาสังคมมาตกลงกับรัฐหรือตกลงกันเองจึงจะแก้ปัญหาได้

กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ สภาพประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเคลื่อนไปสู่สภาวะหลังรัฐชาติ (post nation-state) มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้คนจำนวนมากก็ยังไม่ตระหนักว่า เรามีองค์ความรู้ไม่พอที่จะจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางอำนาจให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป และจะต้องรีบคิดอ่านในเรื่องนี้กันอย่างเร่งด่วน

เรื่องที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่งคือ ทุกวันนี้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์อำนาจยังคงพยายามจัดระเบียบการปกครองตามกรอบคิดเก่าๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่สถานการณ์ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทั้งระบอบอำนาจนิยมนอกเครื่องแบบและระบอบประชาธิปไตยที่อาศัยอำนาจรัฐแบบแนวดิ่ง ต่างก็ล้มเหลวในการดูแลบ้านเมือง

อย่างไรก็ตามในความเห็นของผม ทางออกยังพอมีอยู่บ้าง ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองความสัมพันธ์ทางอำนาจได้ทันเวลา เราในที่นี้ผมหมายถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ส่วนบรรดา นักวิชาการนั้นจำนวนมากได้มองเห็นปัญหามาพักหนึ่งแล้ว

เปลี่ยนมุมมองหมายความว่าอย่างไร ?

พูดให้ชัดเจนคืออันดับแรก ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางอำนาจ (หรือที่ชอบเรียกกันว่าการปฏิรูปการเมืองนั้น) จุดเน้นไม่ควรจำกัดอยู่แค่การปรับแบ่งพื้นที่กันระหว่างชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ (แม้ว่าสิ่งนี้จะจำเป็น) หากจะต้องเปิดพื้นที่ให้การเมืองภาคประชาชน อันประกอบด้วยประชาธิปไตยทางตรงของชุมชนรากหญ้า และบทบาทตรวจสอบของภาคประชาสังคมในเมืองมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐที่ถูกผูกมัดไว้กับอิทธิพลไร้พรมแดนอย่างหนึ่ง กับเพื่อป้องกันตัวจากแรงอัดกระแทกของทุนนิยมข้ามชาติอีกอย่างหนึ่ง

อันดับต่อมา ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องลดความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์อำนาจลงบ้าง และหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องการพัฒนาแบบทางเลือก (alternative development) ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น

พูดอีกแบบหนึ่งคือรัฐจะต้องเลิกวางแผนหากำไรให้คนส่วนน้อยในนามคนทั้งชาติ หรืออย่างน้อยต้องเลิกใช้ข้ออ้างแบบนั้นเสียที รวมทั้งต้องตระหนักว่าการใช้อำนาจของรัฐชาติขับเคลื่อนการเติบโตแบบทุนนิยมอย่างไม่หยุดยั้ง นับเป็นการใช้อำนาจทำร้ายพลเมืองส่วนใหญ่อย่างรุนแรงที่สุด เพราะมันมีผลให้การจัดสรรทรัพยากรไม่เท่าเทียมและไม่ทั่วถึง วิบากกรรมดังกล่าวส่งผลให้จำนวนคนจนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และนับวันยิ่งกลายเป็นเบี้ยทางการเมืองที่ถูกใช้ ประโยชน์โดยชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ

ผมขออนุญาตเรียนตรงๆ ว่าทุกวันนี้ ในขณะที่รัฐไทยมีฐานะเป็นผู้จัดการสาขาของระบบทุนนิยมโลกมากขึ้นและมีลักษณะชาติน้อยลง อำนาจรัฐที่รวมศูนย์ไว้อย่างเต็มเปี่ยมจะยิ่งแก้ปัญหาภายในประเทศไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ช้าก็เร็วจะต้องมีการจัดระเบียบอำนาจกันใหม่ให้ประชาสังคม (civil society) สามารถกำกับรัฐและชุมชน ท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดวิถีชีวิตของตน

หากไม่ทำเช่นนั้น ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าคนในชาติที่ทั้งแตกปัจเจกและแยกกลุ่มย่อยจะสัมพันธ์กับรัฐอย่างไรและสัมพันธ์กันเองอย่างไร

ถึงตรงนี้ หลายท่านคงจะมองเห็นแล้วว่าความเป็นชาติแบบที่รัฐพยายามฟูมฟักมาอย่างน้อย 70 ปีนั้น ไม่อาจกลับไปเหมือนเดิมแล้ว และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาติก็ไม่อาจเหมือนเดิมด้วยเช่นกัน

ในสภาพเช่นนี้ ถ้าใครขืนใช้ชุดความคิดและวาทกรรมเก่าๆ มากดดันผู้คน บ้านเมืองก็คงเต็มไปด้วยความขัดแย้งที่หาข้อยุติมิได้ เพราะฉะนั้นผมจึงเห็นว่ามีแต่ต้องแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป เราจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข แม้ในอนาคต คนไทยยุคหลังสมัยใหม่อาจจะกลับไปคล้ายชาวสยามในอดีต คือมีอัตลักษณ์ที่ผิดแผกแตกต่างกันทั้งประเทศ แต่ก็คงสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าพื้นที่ทางการเมืองถูดจัดสรรไว้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

มันคงจะเป็นเรื่องไร้เหตุผลสิ้นดี ถ้านักธุรกิจจากทั่วโลกสามารถเข้ามาหาเงินในเมืองไทยได้อย่างสะดวก แล้วชาติพันธุ์ พื้นเมืองกลับถูกรังเกียจเดียดฉันท์ ในเมื่อ ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ทำให้รัฐไทยเลิก ตั้งคำถามต่อนักลงทุนว่า "เป็นคนไทยหรือเปล่า ?" แล้วทำไมยังต้องถามชาวไร่ชาวนาตามป่าเขา ถามปัญญาชนที่คิดต่างจากรัฐ หรือแม้แต่ถามผู้ใช้แรงงานรับจ้างจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยคำถามแบบนี้ด้วยเล่า

จริงอยู่ระเบียบอำนาจใหม่ในทิศทางดังกล่าวยังคงต้องอาศัยเวลาผลักดันให้ปรากฏเป็นจริง แต่แนวโน้มสถานการณ์หลังรัฐชาติ หรือหลังสมัยใหม่ (post moder nity) ก็นับว่าเปิดโอกาสให้ทิศทางนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทิศทางการเมืองใหม่ที่ไม่ได้เอารัฐเป็นตัวตั้ง (state oriented) หากถือมนุษยชาติ ชุมชน ท้องถิ่น และปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคลเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากร เรื่องสิ่งแวดล้อม ความยุติธรรม ตัวตนทางวัฒนธรรม หรือคุณค่าความเป็นคน

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4118  ประชาชาติธุรกิจ

Categories: News and politics

The Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

24 June 2009 Leave a comment

The Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
(French: Declaration Des Droits De l’Homme et du citoyen)

เพื่อเป็นการระลึกถึง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอดีต วันนี้ เคยเป็นวันชาติไทยด้วย
เลยนำเอา  Declaration Des Droits De l’Homme ของฝรั่งเศสมาลงรำลึก

Declaration Des Droits De l’Homme (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen)

Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

http://img146.imageshack.us/img146/648/declarationoftherightso.jpg
(ฉบับนี้เป็นฉบับที่ทำขึ้นที่หลัง หลังจากที่ได้ประกาศใช้แล้ว โดยสภาปฎิวัติได้นำประกาศฉบับลายมือ ไปทำเป็นกระดานศิลปะ)

ความหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ในรูป Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

1. ผู้หญิงขวามือ บนตัวประกาศ

ตัวแทนความยุติธรรม มือซ้ายชี้ไปที่ประกาศ ซึ่งต่อไปนี้ จะเป็นกฎหมายพื้นฐานใช้กับคนฝรั่งเศส
มือขวาชี้ไปที่สามเหลี่ยม ตัวแทน ของ เหตุผลตามปรัชญาเอนไลท์เมนท์ ซึ่งต่อไป เหตุผลจะเป็นตัวกำกับการกระทำของชาวฝรั่งเศส

2. ผู้หญิงซ้ายมือ บนตัวประกาศ

ตัวแทน ประเทศฝรั่งเศส (la France เป็นเพศหญิง)
ผู้หญิงคนนี้ใส่มงกุฎ สวมชุดน้ำเงิน และมีดอกเฟลอริส เป็นสัญลักษณ์ของระบอบกษัตริย์ หมายถึง ฝรั่งเศสที่มีกษัตริย์

ลองมาดูที่มือของผู้หญิงคนนี้ จะเห็นว่ากำลังปลดโซ่ตรวนออก
แสดงถึง การยุติระบอบแอบโซลูท โมนาร์ขี้ ไม่มีการอ้างเทวสิทธิ์ แต่จะปกครองโดย รธน.

จะเห็นว่าผู้หญิงทั้งสองคนนี้ เผชิญหน้ากัน

3. สามเหลี่ยม ตรงกลาง บนสุด

สัญลักษณ์ ของเหตุผล
มีการส่องแสง แสดงถึง เอนไลท์เมนท์
ส่องไปที่ขมุกขมัว แสดงถึง ปรัชญายุคเอนไลท์เมนท์ ยึดเหตุผล จะส่องสว่างพาหลุดพ้นจากอวิชชา

4. ตัวประกาศ มีคำปรารภ และ 17 มาตรา แบ่งเป็นสองข้าง ตรงกลางคั่นโดยหอก

หอกนี้ เป็นสัญลักษณ์ของประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้ โดยเฉพาะพวก Sans Culotte
ตรงหอก มีพุ่มขนๆอยู่ แสดงถึง กองกำลังทหาร ที่จะทำหน้าที่ปกป้องหลักการใหม่ของระบอบใหม่

5. สายเชือกยาวๆ ที่พาดอยู่บนประกาศ

แสดงถึง ภราดรภาพ ที่ร้อยเรียงและยึดโยงพลเมืองฝรั่งเศสไว้ด้วยกัน


Declaration of the Rights of Man and of the Citizen

(ฉบับแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ)

Approved by the National Assembly of France, August 26, 1789

The representatives of the French people, organized as a National Assembly, believing that the ignorance, neglect, or contempt of the rights of man are the sole cause of public calamities and of the corruption of governments, have determined to set forth in a solemn declaration the natural, unalienable, and sacred rights of man, in order that this declaration, being constantly before all the members of the Social body, shall remind them continually of their rights and duties; in order that the acts of the legislative power, as well as those of the executive power, may be compared at any moment with the objects and purposes of all political institutions and may thus be more respected, and, lastly, in order that the grievances of the citizens, based hereafter upon simple and incontestable principles, shall tend to the maintenance of the constitution and redound to the happiness of all. Therefore the National Assembly recognizes and proclaims, in the presence and under the auspices of the Supreme Being, the following rights of man and of the citizen:

Articles:

1.  Men are born and remain free and equal in rights. Social distinctions may be founded only upon the general good.

2.  The aim of all political association is the preservation of the natural and imprescriptible rights of man. These rights are liberty, property, security, and resistance to oppression.

3.  The principle of all sovereignty resides essentially in the nation. No body nor individual may exercise any authority which does not proceed directly from the nation.

4.  Liberty consists in the freedom to do everything which injures no one else; hence the exercise of the natural rights of each man has no limits except those which assure to the other members of the society the enjoyment of the same rights. These limits can only be determined by law.

5.  Law can only prohibit such actions as are hurtful to society. Nothing may be prevented which is not forbidden by law, and no one may be forced to do anything not provided for by law.

6.  Law is the expression of the general will. Every citizen has a right to participate personally, or through his representative, in its foundation. It must be the same for all, whether it protects or punishes. All citizens, being equal in the eyes of the law, are equally eligible to all dignities and to all public positions and occupations, according to their abilities, and without distinction except that of their virtues and talents.

7.  No person shall be accused, arrested, or imprisoned except in the cases and according to the forms prescribed by law. Any one soliciting, transmitting, executing, or causing to be executed, any arbitrary order, shall be punished. But any citizen summoned or arrested in virtue of the law shall submit without delay, as resistance constitutes an offense.

8.  The law shall provide for such punishments only as are strictly and obviously necessary, and no one shall suffer punishment except it be legally inflicted in virtue of a law passed and promulgated before the commission of the offense.

9.  As all persons are held innocent until they shall have been declared guilty, if arrest shall be deemed indispensable, all harshness not essential to the securing of the prisoner’s person shall be severely repressed by law.

10.  No one shall be disquieted on account of his opinions, including his religious views, provided their manifestation does not disturb the public order established by law.

11.  The free communication of ideas and opinions is one of the most precious of the rights of man. Every citizen may, accordingly, speak, write, and print with freedom, but shall be responsible for such abuses of this freedom as shall be defined by law.

12.  The security of the rights of man and of the citizen requires public military forces. These forces are, therefore, established for the good of all and not for the personal advantage of those to whom they shall be intrusted.

13.  A common contribution is essential for the maintenance of the public forces and for the cost of administration. This should be equitably distributed among all the citizens in proportion to their means.

14.  All the citizens have a right to decide, either personally or by their representatives, as to the necessity of the public contribution; to grant this freely; to know to what uses it is put; and to fix the proportion, the mode of assessment and of collection and the duration of the taxes.

15.  Society has the right to require of every public agent an account of his administration.

16.  A society in which the observance of the law is not assured, nor the separation of powers defined, has no constitution at all.

17.  Since property is an inviolable and sacred right, no one shall be deprived thereof except where public necessity, legally determined, shall clearly demand it, and then only on condition that the owner shall have been previously and equitably indemnified.


Source
www.wikimedia.org – รูปภาพ Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
www.hrcr.org – คำประกาศฉบับภาษาอังกฤษ Declaration of the Rights of Man and of the Citizen
อ.ปิยบุตร ม.ธรรมศาสตร์ – สัญลักษณ์ในกระดาน

เพิ่มเติม

1.
คำประกาศคณะราษฎร์ ฉบับที่ 1 ของประเทศไทย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เคยเอามาลงให้อ่านกันแล้ว
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!570.entry

2.
วันชาติของประเทศไทย เดิมคือวันที่ 24 มิถุนายน
อันเป็นวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475
ทั้งนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในรัฐบาล พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
วันที่ 24 มิถุนายน จึงเป็นวันชาติของไทยนับแต่นั้นมา
กระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ในรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ได้มีประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ดังกล่าว
แล้วกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม เป็น "วันชาติ" ตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

Categories: Other

2 Girls 1 Cup

23 June 2009 Leave a comment

2 Girls 1 Cup

2 girls 1 cup is considered one of the most shocking videos on the internet.

Many in the media have taken the two girls one cup video’s popularity as a sign of society’s declining morals.

Watch Here http://free2g1c.com

ประเด็นสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่ ตัวของคลิปวีดีโอ (2 girls 1 cup, 2girls1cup, 2g1c, ทูเกิลวันคัพ) ที่ให้ดู
แต่อยู่ที่ ปฎิกิริยาของคนดู

ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร
ตั้งใจดูให้จบ
จะให้ดีก็ถ่ายวีดีโอตัวเองหรือเพื่อนๆ ขณะที่ดูเอาไว้ด้วย

Categories: Psychology

รายชื่อ 14 บริษัท ที่ 16 ส.ว. ถือครองหุ้นเข้าข่ายต้องห้าม

19 June 2009 Leave a comment

เปิดรายชื่อ 14 บริษัท ที่ 16 ส.ว. ถือครองหุ้นเข้าข่ายต้องห้าม

หมายเหตุ – คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเสียงข้างมากให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกตั้งและสรรหา 16 ราย สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 (5) ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ในลักษณะผูกขาดตัดตอน ตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 นอกจากนี้ยังมี ส.ส.จำนวน 85 คน ถูกร้องเรียนในกรณีเดียวกัน และ กกต.เตรียมวินิจฉัยในเร็วๆ นี้

รายชื่อบริษัทที่ ส.ว. 16 รายถือครองและเข้าข่ายต้องห้าม มีดังนี้

1.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
6.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
7.บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)
8.บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
9.บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)
10.บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
11.บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
12.บริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน)
13.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
14.บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

บริษัทที่ ส.ว.ถือหุ้นแล้วไม่เข้าลักษณะต้องห้าม มีดังนี้

1.บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
6.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
7.บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
8.บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
9.บริษัท จีเอ็มเอ็มมีเดีย จำกัด (มหาชน)
10.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
11.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
12.บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน)
13.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
14.บริษัท อีสเทอร์นไวร์ จำกัด (มหาชน)
15.บริษัท สยามรังนกใต้ จำกัด
16.บริษัท ร่วมมิตรเหมืองแร่ จำกัด
17.บริษัท คลีนเอเชียเซ็นเตอร์ จำกัด
18.บริษัท พะเยาธุรกิจ จำกัด
19.บริษัท พิสิษฐ์ธุรกิจ จำกัด
20.บริษัท พะเยาศิลาภัณฑ์ จำกัด
21.ห้างหุ้นส่วนจำกัด จรัลรัตน์

มติชนออนไลน์ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Categories: News and politics

“อมร-วรเจตน์” วิวาทะรอบใหม่

16 June 2009 Leave a comment

“อมร-วรเจตน์” วิวาทะรอบใหม่

ในช่วงเดือนพฤษภาคม ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ปรมาจารย์ทางกฎหมายมหาชนรุ่นเดอะ เขียนบทความเรื่อง คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.pub-law.net บางตอนได้พาดพิง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังพักร้อนอยู่ Passau ประเทศเยอรมนี

ต้นมิถุนายน นักกฎหมายหนุ่มเขียนจดหมายชี้แจงจากเยอรมนี อันเป็นเสมือนการเปิดวิวาทะทางวิชาการอีกรอบ หลังจากเคยเปิดศึกวิวาทะคดีปราสาท เขาพระวิหารมาแล้ว

ก่อนหน้านี้ ดร.อมรมักวิเคราะห์ว่า การเมืองไทยที่ล้าหลัง เป็นเพราะชนชั้นนำและนักวิชาการไทยไม่มีคุณภาพ และที่สำคัญเวลานี้บ้านเราไม่มี statesman

ดร.อมรมองปรากฏการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ว่า เท่าที่ผ่านมาก็ปรากฏว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพยากรของชาติ โดย “เผด็จการทหาร” มีน้อยกว่า “เผด็จการโดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ)”

ดร.วรเจตน์ชี้แจงว่า “นี่หรือคือสังคมวิทยาของท่านผู้เขียนบทความ บทสรุปนี้ท่านสรุปจากอะไร มีข้อมูลในเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือสนับสนุนความเห็นของท่านอย่างไร ถ้าไม่มี นั่นก็เป็นเพียงความเชื่อของท่านเท่านั้น”

นักกฎหมาย หนุ่มชี้ว่า การวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะต้องนำสถาบันและกลุ่ม ผลประโยชน์ทางการเมืองทุกกลุ่มทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและที่ไม่ปรากฏในรัฐ ธรรมนูญมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อพิจารณาว่าสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร

การกระจายผลประโยชน์ในทางการเมืองบนพื้นฐานของกติกา ประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่การวิเคราะห์เฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้หากจะวิเคราะห์สภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้เป็นวิชาการจริงๆ แล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องวิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ในทางการเมืองของสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านี้ ทั้งหมด คือ สถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี นักการเมืองและพรรคการเมือง บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี ผู้พิพากษาตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร อิสระ ทหาร ข้าราชการ พนักงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ

เพราะหากการวิเคราะห์ไม่ได้กระทำอย่างรอบด้านแล้ว ก็อาจนำไปสู่บทสรุป ที่ผิดพลาดได้ เช่น การเปรียบเทียบ ระบอบนาซีเยอรมันกับการปกครองของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ “หยาบ” อย่างยิ่ง

เพราะไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ บรรทัดฐานทางกฎหมายและสังคม การดำรงอยู่ของสถาบันทางการเมือง ทัศนคติ อารมณ์และความรู้สึกของคนในชาติ ฯลฯ การปกครองทั้ง 2 กรณีนี้ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย

เมื่อไม่ได้ศึกษาความเป็นมาเป็นไปของระบอบนาซีเยอรมันให้ถ่องแท้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ท่านผู้เขียนบทความเพียงแค่เห็นว่าฮิตเลอร์เข้าสู่ อำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งเหมือนกัน ก็กระโจนไปสู่บทสรุปอย่างง่ายดายว่าผลของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ก็จะต้องออกมาในลักษณะที่เป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองเหมือนกัน และขยายเป็นความเชื่อตามๆ กันไป การยกเอาระบอบนาซีเยอรมันขึ้นมาเปรียบเทียบจึงไม่สามารถจะเข้าใจเป็นอย่าง อื่นได้

นอกจากผู้ที่เปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามหยิบ “หน้ากาก” ทางวิชาการ ขึ้นมาสวม เพื่อตอบสนอง “ธง” หรือ “การเคลื่อนไหว” ทางการเมืองของตนเท่านั้น

วิวาทะระหว่างกูรูใหญ่กับนักกฎหมายหนุ่ม ยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางกองเชียร์ของทั้ง 2 ฝ่าย แฟนพันธุ์แท้ของ ดร.วรเจตน์ทั้งในและต่างประเทศต่างยกนิ้วให้ผู้นำทางวิชาการรุ่นใหม่ ขณะที่กองเชียร์ของ ดร.อมร ในกระบวนการตุลาการภิวัตน์ก็มีไม่ใช่น้อย

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4114


เป็นวิวาทะฉบับย่อ ที่ประชาชาติเอามาให้ลงอ่านกันสั้นๆ ตัดทอนมา
ฉบับเต็มๆ เข้าไปอ่านได้ด้านล่างนี้เลย

“จดหมายชี้แจง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!753.entry

คดี Colombani et autres c. France : ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น

14 June 2009 Leave a comment

คดี Colombani et autres c. France : ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น

โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล

อนุสนธิจากบทความ "Europe’s lese majeste laws and the freedom of expression" ของ Tjaco Van Den Hout เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 (http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/17035/europe-lese-majeste-laws-and-the-freedom-of-expression) ทำให้ผู้เขียนระลึกขึ้นได้ว่า เคยได้ยินชื่อคดี Colombani et autres c. France และค้นคว้าคดีนี้มาอยู่บ้าง เนื่องจากในปีการศึกษา 2003-2004 ผู้เขียนได้ศึกษาระดับ Master 2 สาขาวิชากฎหมายมหาชน และมีโอกาสเรียนวิชาสิทธิมนุษยชนซึ่งในชั้นเรียนมีการพูดถึงคดีนี้

ต้นสายปลายเหตุของคดีเริ่มมาจาก คณะกรรมาธิการประจำสหภาพยุโรป มอบหมายให้คณะผู้สังเกตการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองว่าด้วยยาเสพย์ติด (OGD) ไปสำรวจและจัดทำรายงานเรื่องการผลิตและการส่งออกยาเสพย์ติดของโมร็อกโก เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาว่าสมควรรับโมร็อกโกเข้าเป็นสมาชิกตามที่ร้องขอหรือไม่ รายงานของ OGD ชิ้นนี้เสนอต่อคณะกรรมาธิการในเดือนกุมภาพันธ์ 1994 โดยระบุชื่อบุคคลของทางการโมร็อกโกที่เกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการตัดสินใจลบชื่อเหล่านั้นออก ก่อนที่จะเผยแพร่รายงานสู่สาธารณะ

ต่อมาหนังสือพิมพ์ Le Monde วันที่ 3 พฤศจิกายน 1995 ได้ตีพิมพ์บทความ พาดหัวหลักลงหน้า 1 ว่า "โมร็อกโก ผู้ส่งออกใบกัญชาอันดับ 1 ของโลก" และพาดหัวรอง "มีรายงานที่น่าเชื่อถือว่าเกี่ยวพันกับบริวารแวดล้อมของกษัตริย์ Hassan II" เขียนโดยนาย Eric Incyan เนื้อหาของบทความชิ้นนี้เกี่ยวกับการตั้งประเด็นสงสัยถึงความตั้งใจจริงของทางการโมร็อกโก ในการต่อสู้กับการผลิตและการจำหน่ายใบกัญชา โดยอ้างข้อมูลจาก

รายงานของ OGD ผู้เขียนบทความสรุปว่า รายงานการศึกษานี้ตั้งข้อสงสัยต่อเจตจำนงของทางการโมร็อกโกในการปราบปรามการขนย้ายยาเสพย์ติด แม้ว่าในปี 1992 โมร็อกโกจะประกาศสงครามยาเสพย์ติดและรณรงค์โฆษณาอย่างหนักก็ตาม การคอร์รัปชั่นช่วยเหลือเครือข่ายขนส่งยาเสพย์ติดได้รับการสนับสนุนจากผู้คุ้มครอง "ซึ่งเป็นข้าราชการกรมศุลกากรซึ่งใกล้ชิดกับพระราชวัง"

วันที่ 23 พฤศจิกายน 1995 กษัตริย์ Hassan II (กษัตริย์ของโมร็อกโกในขณะนั้น ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว Mohammed VI ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แทน) ยื่นคำร้องเป็นทางการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อหนังสือพิมพ์ Le Monde นาย Jean-Marie Colombani บรรณาธิการบริหาร และนาย Incyan ผู้เขียนบทความ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศตามมาตรา 36 แห่งรัฐบัญญัติลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881

5 กรกฎาคม 1996 ศาลชั้นต้นกรุงปารีสตัดสินว่า จำเลยทั้งสามไม่มีความผิด เพราะในฐานะนักข่าวย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนด้วยความสุจริตใจ และบทความดังกล่าวก็ไม่ได้บิดเบือนข้อมูลจากรายงานของ OGD กษัตริย์ Hassan II และอัยการยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ปารีสพิพากษาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1997 โดยยอมรับว่าการเสนอข่าวชิ้นนี้เป็นวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม แต่เนื้อความมีเจตนากล่าวหาว่าการผลิตและขนส่งยาเสพย์ติดเป็นความรับผิดชอบของข้าราชบริพารและกษัตริย์ โดยมีเจตนาไม่สุจริต รายงานของ OGD เผยแพร่ในปี 1994 แต่บทความเขียนเมื่อพฤศจิกายน 1995 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ห่างกันจนข้อเท็จจริงอาจเปลี่ยนแปลงไป แต่นักข่าวกลับไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง นอกจากนี้นักข่าวยังไม่เผยแพร่ข้อมูลจาก "สมุดปกขาว" ซึ่งรัฐบาลโมร็อกโกจัดทำขึ้นเพื่อโต้แย้งรายงานของ OGD

ศาลอุทธรณ์ปารีสจึงพิพากษาให้จำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศตามมาตรา 36 แห่งรัฐบัญญัติลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881 ซึ่งบัญญัติว่า "การหมิ่นประมาทในทางสาธารณะต่อประมุขของรัฐต่างประเทศ หัวหน้ารัฐบาลต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัฐต่างประเทศ มีโทษปรับไม่เกิน 45,000 ยูโร" ให้จำเลยจ่ายค่าปรับ 50,000 ฟรังก์ และชำระค่าเสียหายเชิงสัญลักษณ์ให้แก่กษัตริย์ Hassan II 1 ฟรังก์ นาย Colombani และพวกยื่นฎีกา 20 ตุลาคม 1998 ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์

นาย Colombani ไม่เห็นด้วย จึงอาศัยช่องทางฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเมื่อวันที่ 19 เมษายน 1999 โดยหยิบยกประเด็นว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาขัดกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 10 ของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก สิทธินี้ประกอบด้วยเสรีภาพในความคิดเห็น เสรีภาพในการรับหรือสื่อสารข้อมูลข่าวสารหรือความคิด โดยปราศจากการแทรกแซงของเจ้าหน้าที่รัฐ…" วรรคสองบัญญัติว่า "การใช้เสรีภาพดังกล่าวซึ่งต้องประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิด อาจอยู่ภายใต้รูปแบบ เงื่อนไข ข้อจำกัด หรือการลงโทษ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องเป็นมาตรการจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ การบูรณาการดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ การรักษาระเบียบ การป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสุขภาพและศีลธรรม การคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลลับ หรือเพื่อประกันอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ"

ในท้ายที่สุด ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2002 โดยในเนื้อหาของคำวินิจฉัยนั้นมีประเด็นที่ศาลได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ได้แก่

1.ศาลเริ่มต้นเกริ่นนำถึงความสำคัญของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย และยอมรับว่ากรณีที่ศาลภายในของฝรั่งเศสพิพากษาลงโทษนาย Colombani และพวกนั้นเป็นการกระทำอันเป็นการแทรกแซงต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งศาลภายในอ้างว่าเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 10 วรรคสอง เพราะเป็นมาตรการจำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิของบุคคลภายนอก (คือ กษัตริย์ Hassan II)

2.ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเห็นว่า สาธารณชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณชนฝรั่งเศสมีสิทธิอันชอบธรรมในการทราบข้อมูลของคณะกรรมาธิการของประชาคมยุโรปในการประเมินคุณสมบัติและความเหมาะสมของรัฐที่ร้องขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวพันกับการผลิตและการขนส่งยาเสพย์ติด

3.ศาลยืนยันว่าบทบัญญัติในมาตรา 10 ได้ให้หลักประกันในเสรีภาพแสดงความคิดเห็นแก่สื่อสารมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขต้องเสนอข้อมูลที่ถูกต้องด้วยความสุจริตและน่าเชื่อถือตามศักดิ์ศรีและจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เมื่อพิจารณาถึงรายงานของ OGD ที่หนังสือพิมพ์ Le Monde ได้นำเสนอนั้น ศาลเห็นว่าเนื้อหาของรายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้

4.ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปยังได้ลงไปพิจารณาลักษณะความผิดและโทษฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐด้วย โดยทั่วไป ในคดีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา หากจำเลยพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ จำเลยอาจได้รับการยกเว้นโทษ ในขณะที่บทบัญญัติมาตรา 36 นี้ให้เอกสิทธิพิเศษแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ โดยจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ความจริงเพื่อเป็นเหตุยกเว้นโทษได้ เอกสิทธินี้เป็นมาตรการปกป้องสิทธิของบุคคลมากเกินความจำเป็นเมื่อเทียบกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แม้บุคคลที่ปกป้องนั้นจะดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐก็ตาม

5.นอกจากนี้ศาลยังอ้างถึงแนวโน้มของการไม่ยอมรับความผิดลักษณะดังกล่าว โดยศาลอ้างถึงคำพิพากษาของศาลภายใน คือ คำพิพากษาศาลชั้นต้นกรุงปารีสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2001 ได้ยอมรับว่าความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศตามมาตรา 36 แห่งรัฐบัญญัติลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881 และการหยิบยกบทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแก่คดี ย่อมกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 10 ของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ในขณะที่องค์กรของรัฐฝรั่งเศสหลายองค์กรยอมรับว่าความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศตามมาตรา 36 เป็นมาตรการที่ไม่จำเป็นต่อสังคมประชาธิปไตย และประโยชน์ที่ได้จากมาตรา 36 น้อยกว่าผลเสีย ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักแห่งความได้สัดส่วน

6.ศาลกล่าวไว้ในประเด็นสุดท้ายอย่างน่าสนใจว่า กฎหมายกำหนดความผิดต่อประมุขของรัฐได้ให้สถานะพิเศษแก่ประมุขของรัฐมากกว่าบุคคลอื่น เป็นการหลบเลี่ยงจากการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยสถานะความเป็นประมุข โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ของการวิจารณ์ ลักษณะดังกล่าวไม่สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติและความคิดทางการเมืองในทุกวันนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศาลเห็นว่าวัตถุประสงค์ที่ศาลภายในมุ่งคุ้มครอง (คุ้มครองประมุขของรัฐ) ไม่ได้สัดส่วนกับ ผลเสีย (จำกัดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น) จึงมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า รัฐฝรั่งเศสละเมิดต่อมาตรา 10 ให้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง 4,096.46 ยูโร และให้ใช้ค่าธรรมเนียมศาล 21,852.20 ยูโร

แม้คำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาภายในที่ได้ตัดสินเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผลพลอยได้จากคำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป คือ วางหลักการและวิธีการปฏิบัติแก่รัฐสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจนำไปสู่การกระตุ้นเตือนให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับหลักการในคำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้น

กรณีนี้ก็เช่นกัน ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปแล้ว วันที่ 9 มีนาคม 2004 รัฐสภาฝรั่งเศสได้ลงมติให้ความเห็นชอบแก้ไขรัฐบัญญัติลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881 ว่าด้วยเสรีภาพสื่อมวลชน โดยยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 36 ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศ

นี่คือเรื่อง "หมิ่นๆ" ในยุโรป

ประชาชาติธุรกิจ คอลัมน์ ระดมสมอง วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4113


อ่าน Europe’s lese majeste laws and the freedom of expression ได้จาก
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!2AAF032065B8040B!751.entry

Categories: News and politics

“จดหมายชี้แจง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

10 June 2009 Leave a comment

“จดหมายชี้แจง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โดย
www.pub-law.net (http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1366)

Passau, Germany

3 มิถุนายน 2552

เรื่อง ชี้แจงการถูกพาดพิงจากบทความที่เผยแพร่ใน www.pub-law.net
เรียน ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ บรรณาธิการเว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2552 และวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 เว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย (www.pub-law.net) ได้เผยแพร่บทความของศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทร- สมบูรณ์ เรื่อง คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 บทความทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 มีข้อความที่พาดพิงถึงผม โดยเหตุที่ข้อความที่พาดพิงถึงผมนั้นมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงต่อความจริง หากปล่อยไว้ ผู้อ่านที่ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมาอาจเข้าใจผิดได้ จึงจำเป็นที่ผมต้องเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่าน อนึ่งโดยที่บทความของศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ มีความคลาดเคลื่อนในทางวิชาการอยู่ด้วย ผมจึงขอถือโอกาสนี้อธิบายความไปในคราวเดียวกัน ดังนี้

1. ศาสตราจารย์ ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ท่านผู้เขียนบทความ”) ได้เขียนบทความว่าการที่คนไทยมองไม่เห็นปัญหาที่ท่านเรียกว่า “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ)” นั้นเป็นเพราะความล้มเหลวของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยท่านเห็นว่าข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวดังกล่าวสามารถยืน ยันได้จากบทความของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์จำนวน 5 ท่านของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบทความที่อ้างถึงข้างต้น ท่านได้เขียนดังนี้ “ท่าน คณาจารย์ฯได้กล่าวไว้ในบทความของท่านว่า ท่าน(คณาจารย์)เห็นว่า ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีดุลยภาพแห่งอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ; ทั้งที่ตามความเป็นจริง (reality) แล้ว ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (ลายลักษณ์อักษร) ของประเทศไทย ระบบสถาบันการเมืองของเรา ไม่มีดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับองค์กรบริหารแต่อย่างใด”

บทความที่ท่านผู้เขียนบทความกล่าวถึงนี้ ที่จริงแล้ว คือ แถลงการณ์ของอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 5 ท่าน ซึ่งออกไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ รับคำฟ้องกรณีแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาเรื่องการขอ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไว้พิจารณาและกำหนดมาตรการหรือวิธีการ คุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยผู้เขียนเป็นหนึ่งในห้าอาจารย์ที่ออกแถลงการณ์ดังกล่าว ข้อความในแถลงการณ์ที่ท่านผู้เขียนบทความได้กล่าวพาดพิงถึงนั้นปรากฏอยู่ใน หัวข้อที่ 16 ของแถลงการณ์ ความว่า “คณาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งห้าดังมีรายนามตอนท้าย ตระหนักในความสำคัญของหลักการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง ปกครองโดยองค์กรตุลาการ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความห่วงใยในดุลยภาพแห่งอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ว่าอาจจะเสียไปโดยการที่ศาลปกครองในคดีนี้เข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจ ทางบริหารโดยแท้ของคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อสภาผู้แทนราษฎรตามวิถีทางในทาง ประชาธิปไตยอยู่แล้ว อีกทั้งคำสั่งในคดีนี้ยังขัดแย้งกับแนวทางที่ศาลปกครองสูงสุดได้เคยวางไว้ใน คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 ที่คณาจารย์เห็นว่าสอดคล้องกับหลักนิติรัฐอีกด้วย จึงขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อคำสั่งของศาลปกครองกลางในคดีนี้ผ่าน แถลงการณ์ฉบับนี้”

ท่านบรรณาธิการคงจะเห็นว่าในแถลงการณ์ฉบับนี้ไม่ปรากฏข้อความตอนใดของ แถลงการณ์ ที่คณาจารย์ทั้งห้าเขียนดังที่ท่านผู้เขียนบทความได้สรุปไว้ ในทางความเป็นจริงดุลยภาพแห่งอำนาจทั้งสามจะมีหรือไม่ จะมีมากน้อยเพียงใด เป็นประเด็นหนึ่งที่อาจจะอภิปรายในมิติและแง่มุมต่างๆได้มากมาย แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในทางกฎหมายในคดีนี้มีอยู่ว่าการที่ศาลปกครอง เข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดการใช้อำนาจบริหารโดยแท้ของคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นการ วินิจฉัยชี้ขาดคดีในเขตอำนาจของตนหรือไม่ การรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณานั้นต้องด้วยเงื่อนไขที่ปรากฏตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หรือไม่ หากใครคนใดคนหนึ่งสรุปเอาเองง่ายๆว่า ไม่มีดุลยภาพดังกล่าว จึงไม่ต้องสนใจหลักการพื้นฐานในทางกฎหมายเสียแล้ว เราจะเรียนและสอนวิชานิติศาสตร์กันอย่างไร หากท่านผู้เขียนบทความเห็นว่าในทางความเป็นจริงดุลยภาพขององค์กรนิติบัญญัติ และองค์กรบริหารไม่มีอยู่ (ซึ่งอาจจะโต้แย้งได้อีกในหลายแง่มุม โดยเฉพาะในแง่พัฒนาการของการปกครองในระบบรัฐสภา เพราะถ้าใช้ตรรกะของท่านผู้เขียนบทความแล้ว โดยเหตุที่คณะรัฐมนตรีจะบริหารราชการแผ่นดินได้ก็โดยความไว้วางใจของสภาผู้ แทนราษฎร ซึ่งหมายความว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายข้างมากย่อมเป็นฝ่ายรัฐบาล ก็จะไม่มีวันมีดุลยภาพในความเข้าใจของท่านได้ ) ก็จะต้องเสนอว่าจะทำให้ดุลยภาพตลอดจนการถ่วงดุลอำนาจขององค์กรทั้งสองเป็นไป อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างไร แต่จะพาลเอาเหตุนี้ไปทำลายหลักการในทางนิติศาสตร์ที่จะต้องใช้วินิจฉัยชี้ ขาดคดีไม่ได้ สำหรับเรื่องนี้อันที่จริงอาจชี้ให้ท่านผู้เขียนบทความแยกแยะมิติของกฎหมาย ในแง่ของบรรทัดฐานที่กำหนดสิ่งที่ควรจะต้องเป็น (Sollen) กับกฎหมายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางข้อเท็จจริง ระหว่างนิติศาสตร์โดยแท้ (Rechtsdogmatik; Legal dogmatics) กับสังคมวิทยากฎหมาย (Rechtssoziologie; Sociology of law) ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Verfassungsrecht; Constitutional law) กับสังคมวิทยาการเมือง (Politische Soziologie; Political sociology)ได้อีก แต่จะทำให้จดหมายฉบับนี้ยาวเกินไป ในชั้นต้นนี้ผมต้องการชี้แจงให้ท่านบรรณาธิการเห็นการสรุปความที่คลาด เคลื่อนและการกล่าวหาห้าอาจารย์อย่างไม่เป็นธรรมเท่านั้น

อนึ่ง ในบทความเกี่ยวกับคดีประสาทพระวิหารซึ่งผมและท่านผู้เขียนบทความได้โต้แย้งกัน และเคยเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งนี้มาแล้วนั้น ผมได้อธิบายโต้แย้งประเด็นทางกฎหมายกับท่านผู้เขียนบทความหลายประเด็น แต่ไม่ปรากฏว่าท่านผู้เขียนบทความได้อธิบายประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นอำนาจฟ้องคดี ประเด็นการวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดีในชั้นของการคุ้มครองชั่วคราว ฯลฯ เลย

2. ท่านผู้เขียนบทความได้อ้างถึงคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 5 ท่านเป็นตัวอย่าง (ตามความเห็นของท่าน) ว่าไม่รู้จักระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะอาจารย์ที่เรียนกฎหมายและจบปริญญาเอกทางกฎหมายจากเยอรมนี ซึ่งในบรรดาอาจารย์ทั้งห้านั้น มีผมเพียงคนเดียวที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางกฎหมายจากเยอรมนี จึงอาจอนุมานได้ว่าท่านผู้เขียนบทความมุ่งหมายถึงตัวผม ท่านผู้เขียนบทความได้ยกตัวอย่างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ไม่บังคับให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สังกัดพรรคการเมือง และให้ ส.ส.ปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระตามมโนธรรมสำนึกของตน เป็นเครื่องสนับสนุนความเห็นของท่าน พร้อมกับกล่าวว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษากฎหมายจากประเทศเยอรมนีควรจะต้องรู้ เรื่องนี้ ผมขอเรียนท่านบรรณาธิการว่าผมทราบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการไม่บังคับให้สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองในระบบกฎหมายของเยอรมันดีพอที่จะทำให้ทราบ ว่าท่านผู้เขียนบทความมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวนี้ ท่านผู้เขียนบทความเข้าใจว่าบทบัญญัติในกฎหมายพื้นฐาน (Grundgesetz; Basic Law ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญเยอรมัน) ที่กำหนดอย่างชัดแจ้งให้ ส.ส.ต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมโนธรรมของตนนั้นเป็น มาตรการที่ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีเขียนขึ้น เพราะเกรงว่าจะเกิดระบบผูกขาดอำนาจโดยพรรคการเมืองซ้ำอีก (กล่าวคือจะซ้ำรอยฮิตเลอร์ที่ขึ้นครองอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้ง นำรัฐเยอรมันไปสู่ความเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จและพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ สองในที่สุด) อันที่จริงแล้วบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวมีมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ก่อนที่ฮิตเลอร์จะขึ้นมามีอำนาจในเยอรมัน หาใช่เป็นบทบัญญัติที่เป็นนวัตกรรมของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ (กฎหมายพื้นฐาน) ค.ศ. 1949 ไม่ และในช่วงที่ฮิตเลอร์กำลังจะขึ้นมามีอำนาจนั้น บทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวก็ใช้บังคับอยู่ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ ส.ส.เป็นผู้แทนของปวงชน ไม่ต้องผูกพันกับอาณัติหรือคำสั่งของผู้ใดนั้น ปรากฏขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1871 ซึ่งเป็นปีที่บิสมาร์คได้รวมอาณาจักรเยอรมันสำเร็จ (ในทางประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ แนวความคิดดังกล่าวนี้สืบสาวกลับไปได้ถึงรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ.1791 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส) ท่านบรรณาธิการอาจตรวจสอบเรื่องนี้ได้ในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรเยอรมัน ค.ศ.1871 หลังจากเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับถัดมาที่เรียกกันว่า รัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ.1919) ก็บัญญัติข้อความไว้ทำนองเดียวกันในมาตรา 21 และได้เพิ่มความขึ้นมาอีกว่า ส.ส.พึงจำนนต่อมโนธรรมสำนึกของตนเท่านั้น บทบัญญัติทำนองนี้ ปรากฏขึ้นอีกครั้งในกฎหมายพื้นฐานหรือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งประกาศใช้ เมื่อ ค.ศ. 1949 (และเพิ่งมีการเฉลิมฉลองครบรอบหกสิบปีแห่งการประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมานี้) ในมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หลักการพื้นฐานของบทบัญญัติดังกล่าวมีเนื้อหาสาระสำคัญสามประการ คือ 1. ส.ส. ต้องเป็นผู้แทนปวงชน (ไม่ใช่ผู้แทนของเขตเลือกตั้งหรือของผู้ที่เลือกตนเข้ามาเท่านั้น) 2. ส.ส. ไม่ผูกพันกับอาณัติหรือคำสั่งของผู้ใด 3. ส.ส.จำยอมเพียงแต่มโนธรรมสำนึกของตนเท่านั้น

ผมไม่เคยให้ความเห็นในที่แห่งใดเลยว่าผมเห็นด้วยกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 ที่บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง แต่ในขณะเดียวกันผมก็ไม่เคยสรุปและยึดถือเป็นสรณะว่า รากเหง้าของปัญหาในระบบการเมืองไทยทั้งหมด มาจากการที่รัฐธรรมนูญ 2540 บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง หากปฏิรูปการเมืองโดยอาศัย Statesman มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้แล้ว จะแก้ปัญหาทางการเมืองได้ ผมเห็นว่าสิทธิของปัจเจกบุคคลในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการลง สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ควรถูกจำกัดทั้งในแง่ของการบังคับให้สังกัดพรรค หรือเงื่อนไขประการอื่น เช่น การบังคับให้ต้องสำเร็จการศึกษาในชั้นปริญญาตรี อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงหลักความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นผู้แทนปวงชนของ ส.ส.แล้ว จะต้องอภิปรายถึงการรักษาวินัยของพรรคการเมืองในกรณีที่ ส.ส.ผู้นั้นสังกัดพรรคการเมือง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าคะแนนเสียงที่ประชาชนออกเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือก ตั้งนั้น ส่วนหนึ่งก็เกิดจากความนิยมชมชอบในนโยบายของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับ เลือกตั้งผู้นั้นสังกัด จะต้องพูดถึงการสร้างความเข้มแข็งและการทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยในพรรค การเมืองพร้อมกันไปด้วย ใครก็ตามที่จะพูดถึงหลักดังกล่าว จะต้องคิดถึงประสิทธิภาพของพรรคการเมืองและการทำงานของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพูดถึงมโนทัศน์ว่าด้วยกลุ่มการเมืองในสภา (Fraction) จะต้องพูดถึงสิทธิของ ส.ส.ที่ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองในสภา (หรือไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง – ส.ส.อิสระ) ว่าต่างจาก ส.ส.ที่สังกัดกลุ่มการเมืองในสภาอย่างไร เช่น ส.ส.ที่ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองในสภา (หรือไม่มีพรรคการเมืองสังกัด) จะไม่สามารถเป็นกรรมาธิการต่างๆได้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องพูดและอภิปรายกันในภาพใหญ่ จะต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์ในกฎหมายรัฐสภาและกฎหมายพรรคการเมืองไปพร้อมกัน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้

อนึ่ง ในแง่โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ ผมเป็นผู้หนึ่งที่ได้วิพากษ์วิจารณ์บทบัญญัติบางเรื่องของรัฐธรรมนูญ 2540 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่ผมสำเร็จการศึกษาจากประเทศเยอรมนี และกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผมมีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2540 สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น แต่ในขณะเดียวกัน ผมไม่เคยสนับสนุนวิธีการนอกระบบ ในการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว และไม่อาจยอมรับวิธีการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญได้

3. ท่านผู้เขียนบทความได้พยายามกล่าวถึงการวิเคราะห์ปัญหาสภาพการเมืองไทยโดย อาศัย “สังคมวิทยา” และกล่าวในทำนองว่าผู้อื่น (คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ทั้งห้า โดยเฉพาะอาจารย์ที่จบปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี) มองไม่เห็นเหตุผลในทางสังคมวิทยา (ที่ท่านเรียกว่านิติปรัชญาแห่งยุคศตวรรษที่ 20) ดังที่ท่านเห็น จึงปล่อยให้เกิดการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคและนำไปสู่ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง ผมอยากเรียนท่านบรรณาธิการว่าการกล่าวอ้างสังคมวิทยาการเมือง หรือสังคมวิทยากฎหมายมาเป็นเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของตนอย่างง่ายๆ ปรากฏอยู่อย่างดาษดื่นทั่วไป เช่น เมื่อมีการให้ความเห็นไปตามหลักการที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป แต่ไม่ต้องด้วยความเห็นของตน ก็จะบอกว่าผู้ให้ความเห็นไม่เข้าใจสภาพสังคมวิทยาของเมืองไทย ทั้งๆที่ผู้พูดเองต่างหากที่ไม่เข้าใจทั้งเนื้อหาสาระ และวิธีการของวิชาสังคมวิทยาการเมืองและสังคมวิทยากฎหมาย และด้วยความไม่เข้าใจ ไม่มีวิธีวิจัยตามทฤษฎีว่าด้วยวิธีการที่เป็นศาสตร์หรือวิธีวิทยา (Methodologie) ในการศึกษาปัญหานี่เอง จึงทำให้ท่านผู้เขียนบทความสรุปปรากฏการณ์ของการยึดอำนาจในประเทศไทยว่า “และเท่าที่ผ่านมา ก็ปรากฏว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพยากรของชาติ โดย “เผด็จการทหาร” มีน้อยกว่า “เผด็จการโดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ)” นี่หรือ คือ สังคมวิทยาของท่านผู้เขียนบทความ บทสรุปนี้ท่านสรุปจากอะไร มีข้อมูลในเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือสนับสนุนความเห็นของท่านอย่างไร ถ้าไม่มี นั่นก็เป็นเพียงความเชื่อของท่านเท่านั้น

ผมอยากเรียนท่านบรรณาธิการว่า การวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะต้องนำสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทุกกลุ่มทั้งที่ปรากฏในรัฐ ธรรมนูญและที่ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อพิจารณาว่าสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร การกระจายผลประโยชน์ในทางการเมืองบนพื้นฐานของกติกาประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่การวิเคราะห์เฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น ด้วยเหตุนี้หากจะวิเคราะห์สภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้เป็นวิชาการจริงๆ แล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในทางการเมืองของสถาบันและกลุ่มผล ประโยชน์ทางการเมืองเหล่านี้ทั้งหมด คือ สถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี นักการเมืองและพรรคการเมือง บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี ผู้พิพากษาตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทหาร ข้าราชการ พนักงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อมวลชนตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เพราะหากการวิเคราะห์ไม่ได้กระทำอย่างรอบด้านแล้ว ก็อาจนำไปสู่บทสรุปที่ผิดพลาดได้ เช่น การเปรียบเทียบระบอบนาซีเยอรมันกับการปกครองของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ “หยาบ” อย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ บรรทัดฐานทางกฎหมายและสังคม การดำรงอยู่ของสถาบันทางการเมือง ทัศนคติ อารมณ์และความรู้สึกของคนในชาติ ฯลฯ การปกครองทั้งสองกรณีนี้ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ผมมีข้อสังเกตว่าท่านผู้เขียนบทความอาจจะไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติเยอรมันสมัยฮิตเลอร์เรืองอำนาจและตัวบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น อย่างละเอียดลึกซึ้งมากนัก ดังจะเห็นได้จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับที่มาของบทบัญญัติว่าด้วย การปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระของ ส.ส.โดยไม่ขึ้นอยู่กับอาณัติของผู้ใด (freies Mandat) ที่ผมได้ชี้ให้เห็นข้างต้น เมื่อไม่ได้ศึกษาความเป็นมาเป็นไปของระบอบนาซีเยอรมันให้ถ่องแท้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ท่านผู้เขียนบทความเพียงแค่เห็นว่า ฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งเหมือนกัน ก็กระโจนไปสู่บทสรุปอย่างง่ายดายว่า ผลของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ก็จะต้องออกมาในลักษณะที่เป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองเหมือนกัน และขยายเป็นความเชื่อตามๆกันไป การยกเอาระบอบนาซีเยอรมันขึ้นมาเปรียบเทียบจึงไม่สามารถจะเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากผู้ที่เปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามหยิบ “หน้ากาก” ทางวิชาการขึ้นมาสวม เพื่อตอบสนอง “ธง” หรือ “การเคลื่อนไหว” ทางการเมืองของตนเท่านั้น

4. ในตอนหนึ่งของบทความท่านผู้เขียนบทความกล่าวว่า มนุษย์ทุกคน ต่างมี “ความเห็นแก่ตัว” เป็นธรรมชาติ (ของมนุษย์)” น่าเสียดายที่ท่านผู้เขียนบทความใช้สมมติฐานข้อนี้ไปวิเคราะห์เฉพาะพรรคการ เมืองกับนักการเมือง สมมติฐานข้อนี้ ถ้าท่านผู้เขียนบทความจะใช้ก็พึงใช้ให้เสมอกันกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการ เมืองทุกกลุ่ม ไม่เว้นแม้แต่ Statesman ของท่าน เว้นแต่ท่านผู้เขียนบทความจะคิดว่า Statesman ไม่ใช่มนุษย์ ถ้าเช่นนั้นก็สุดที่ผมจะอภิปรายให้เหตุผลกับท่านผู้เขียนบทความได้ ดังนั้นเมื่อพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มที่ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่มีผลประโยชน์ในทางการเมือง กลุ่มที่ไม่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญก็มีผลประโยชน์ในทางการเมืองเช่นกัน ปัญหาจึงมีอยู่แต่เพียงว่าผลประโยชน์อันใดเป็นผลประโยชน์อันชอบธรรมที่บุคคล พึงได้รับ และจะจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่บุคคลตลอดจนกลุ่มประโยชน์ต่างๆให้ยุติธรรมได้ อย่างไร ภายใต้หลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

จึงเรียนมาเพื่อท่านบรรณาธิการได้โปรดพิจารณาเผยแพร่จดหมายฉบับนี้ใน www.pub-law.net ให้ท่านผู้อ่านเว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทยได้ทราบเรื่องราวโดยถูกต้อง ตามความเป็นจริงด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์

From : http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1366


 

อ่านบทความ “คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร” ตอนที่หนึ่ง และ “คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร” ตอนที่สอง โดย ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์

คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง”ได้อย่างไร โดย ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1358

คนไทยจะหา “ทางออกทางการเมือง”ได้อย่างไร (ตอนที่ 2) โดย ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=1361